คดีนี้น่าสนใจ... กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งนอกจากได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจงานของตนเองแล้ว ยังได้รับมอบหมายให้ควบตำแหน่งพนักงานขับรถในการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจแทนพนักงานขับรถด้วย เนื่องจากหน่วยงานต้นสังกัดไม่มีพนักงานขับรถประจำ แต่เคราะห์ร้ายเกิดอุบัติเหตุระหว่างทาง ทำให้รถราชการได้รับความเสียหาย
เช่นนี้... เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องรับผิดหรือไม่ ? และต้องรับผิดเพียงใด ? มาดูคำตอบกันค่ะ
กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อหน่วยงานต้นสังกัดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้กำหนดให้หน่วยงานมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนได้ หากเจ้าหน้าที่นั้นได้กระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (มาตรา 8 มาตรา 10 และมาตรา 12 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
ฉะนั้น ย่อมหมายความว่า ถ้าเป็นการกระทำไปโดยประมาทเลินเล่อธรรมดาที่ไม่ถึงระดับร้ายแรง หน่วยงานของรัฐต้นสังกัดย่อมต้องเป็นผู้รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่อาจเรียกเอากับเจ้าหน้าที่ผู้กระทำได้
นอกจากนี้ แม้เจ้าหน้าที่จะเป็นการกระทำไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฉบับดังกล่าว ก็มิได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเต็มจำนวนความเสียหาย หากแต่กำหนดให้รับผิดเฉพาะตามส่วนความรับผิดของตน โดยพิจารณาจากระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมแต่ละกรณี โดยหากหน่วยงานมีส่วนบกพร่องที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย ก็ต้องหักส่วนความรับผิดของหน่วยงานออกจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จะเห็นได้ว่า... กฎหมายฉบับดังกล่าวได้ตราขึ้นเพื่อให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งต่างจากก่อนที่จะมีกฎหมายฉบับดังกล่าวที่การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเป็นการกระทำส่วนตัว และไม่ว่าจะประมาทเลินเล่อธรรมดาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดก็ต้องรับผิดเต็มจำนวนและรับผิดเองทั้งสิ้น โดยไม่มีการหักส่วนบกพร่องของหน่วยงานออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจทำงานเพราะกลัวต้องรับผิด จึงเป็นที่มาของการตรากฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฉบับดังกล่าวขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดความเสียหายขึ้น รวมทั้งเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานแก่เจ้าหน้าที่ด้วย
ดังเช่นคดีที่นำมาพูดคุยกันนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการกรมป่าไม้ ตำแหน่งรองผู้กำกับการ 3 กองตำรวจป่าไม้ ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นเวลา 9 วัน โดยใช้รถยนต์ของกรมป่าไม้ ซึ่งมีผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ขับรถยนต์เนื่องจากกรมป่าไม้ไม่มีพนักงานขับรถประจำ
หลังจากปฏิบัติงานในท้องที่จังหวัดพังงาแล้วเสร็จเวลาประมาณ 14.00 น. ผู้ฟ้องคดีและเจ้าหน้าที่อีก 1 คน จะต้องรีบไปปฏิบัติหน้าที่ต่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ระหว่างทางมีฝนตกหนักและเบาเป็นระยะๆ เมื่อถึงทางโค้งซ้าย ผู้ฟ้องคดีได้ห้ามล้อรถยนต์อย่างกะทันหันและหักหลบรถจักรยานยนต์ทางด้านซ้าย รถยนต์ที่ผู้ฟ้องคดีขับได้พุ่งตกถนนลงไปข้างทางและตกลงในคลองสาธารณะซึ่งไม่มีน้ำ จนรถได้รับความเสียหาย
กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความเห็นว่า เชื่อว่าผู้ฟ้องคดีขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นการขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่ไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงเห็นสมควรยุติเรื่อง และได้รายงานให้กระทรวงการคลังพิจารณา ต่อมากระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 75 ของค่าเสียหาย กรมป่าไม้จึงมีหนังสือเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวภายใน 30 วัน ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์แต่ถูกยกอุทธรณ์ จึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีต้องเดินทางจากพังงาให้ถึงสุราษฎร์ธานีภายใน 16.30 น. ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดความเร็วของการขับรถยนต์นอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ให้ขับไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร การที่ผู้ฟ้องคดีขับรถด้วยความเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง จึงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และเมื่อพิจารณาบริเวณที่เกิดเหตุเห็นได้ว่ามีสภาพเป็นทางโค้งซ้ายและขณะนั้นมีฝนตกย่อมทำให้ถนนลื่น
บุคคลที่ขับรถไปถึงบริเวณดังกล่าวย่อมคาดหมายได้ว่าอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ง่าย และต้องขับรถด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะต้องลดความเร็วลงให้ต่ำกว่าการขับรถในกรณีปกติ การที่ผู้ฟ้องคดีขับรถมาด้วยความเร็วสูงจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้รถยนต์ของทางราชการได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อกรมป่าไม้ ส่วนข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีที่ว่ามีรถจักรยานยนต์วิ่งตัดหน้านั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาด้วยหลับจึงไม่เห็นเหตุการณ์และผู้ฟ้องคดีไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุน ข้ออ้างดังกล่าวศาลจึงไม่อาจรับฟังได้
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของจำนวนเงินที่ต้องรับผิดเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ศาลพิจารณาว่าเมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีตำแหน่งเป็นพนักงานขับรถยนต์แต่ได้รับมอบหมายให้ขับรถยนต์ และการเดินทางไปปฏิบัติราชการในระยะทางไกลเป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน กรมป่าไม้ควรมอบหมายให้พนักงานขับรถทำหน้าที่ขับรถ เพราะผู้ฟ้องคดีย่อมมีความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติภารกิจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงการบุกรุกป่าตามอำนาจหน้าที่และยังต้องขับรถไปยังที่หมายตามเวลาที่กำหนดด้วย การละเมิดส่วนหนึ่งจึงเกิดจากความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานโดยรวม จึงสมควรหักส่วนความรับผิดของหน่วยงานออก เมื่อพิจารณาระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมแล้ว จึงเห็นสมควรให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร้อยละ 25 ของความเสียหายที่เกิดขึ้น (คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1232/2559)
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฉบับดังกล่าว ได้ช่วยให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และคดีนี้ยังเป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ขับรถราชการที่ต้องมีความระมัดระวัง ไม่ขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด และโดยเฉพาะต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้นหากมีฝนตก
ที่ต้องลดความเร็วลง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐเองควรต้องจัดสรรพนักงานขับรถโดยเฉพาะ
การถูกควบ 2 หน้าที่เช่นผู้ฟ้องคดี ย่อมไม่เป็นผลดีนะคะ
ป.ธรรมศลีญ์
เช่นนี้... เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องรับผิดหรือไม่ ? และต้องรับผิดเพียงใด ? มาดูคำตอบกันค่ะ
กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อหน่วยงานต้นสังกัดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้กำหนดให้หน่วยงานมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนได้ หากเจ้าหน้าที่นั้นได้กระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (มาตรา 8 มาตรา 10 และมาตรา 12 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
ฉะนั้น ย่อมหมายความว่า ถ้าเป็นการกระทำไปโดยประมาทเลินเล่อธรรมดาที่ไม่ถึงระดับร้ายแรง หน่วยงานของรัฐต้นสังกัดย่อมต้องเป็นผู้รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่อาจเรียกเอากับเจ้าหน้าที่ผู้กระทำได้
นอกจากนี้ แม้เจ้าหน้าที่จะเป็นการกระทำไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฉบับดังกล่าว ก็มิได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเต็มจำนวนความเสียหาย หากแต่กำหนดให้รับผิดเฉพาะตามส่วนความรับผิดของตน โดยพิจารณาจากระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมแต่ละกรณี โดยหากหน่วยงานมีส่วนบกพร่องที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย ก็ต้องหักส่วนความรับผิดของหน่วยงานออกจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จะเห็นได้ว่า... กฎหมายฉบับดังกล่าวได้ตราขึ้นเพื่อให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งต่างจากก่อนที่จะมีกฎหมายฉบับดังกล่าวที่การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเป็นการกระทำส่วนตัว และไม่ว่าจะประมาทเลินเล่อธรรมดาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดก็ต้องรับผิดเต็มจำนวนและรับผิดเองทั้งสิ้น โดยไม่มีการหักส่วนบกพร่องของหน่วยงานออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจทำงานเพราะกลัวต้องรับผิด จึงเป็นที่มาของการตรากฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฉบับดังกล่าวขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดความเสียหายขึ้น รวมทั้งเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานแก่เจ้าหน้าที่ด้วย
ดังเช่นคดีที่นำมาพูดคุยกันนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการกรมป่าไม้ ตำแหน่งรองผู้กำกับการ 3 กองตำรวจป่าไม้ ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นเวลา 9 วัน โดยใช้รถยนต์ของกรมป่าไม้ ซึ่งมีผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ขับรถยนต์เนื่องจากกรมป่าไม้ไม่มีพนักงานขับรถประจำ
หลังจากปฏิบัติงานในท้องที่จังหวัดพังงาแล้วเสร็จเวลาประมาณ 14.00 น. ผู้ฟ้องคดีและเจ้าหน้าที่อีก 1 คน จะต้องรีบไปปฏิบัติหน้าที่ต่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ระหว่างทางมีฝนตกหนักและเบาเป็นระยะๆ เมื่อถึงทางโค้งซ้าย ผู้ฟ้องคดีได้ห้ามล้อรถยนต์อย่างกะทันหันและหักหลบรถจักรยานยนต์ทางด้านซ้าย รถยนต์ที่ผู้ฟ้องคดีขับได้พุ่งตกถนนลงไปข้างทางและตกลงในคลองสาธารณะซึ่งไม่มีน้ำ จนรถได้รับความเสียหาย
กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความเห็นว่า เชื่อว่าผู้ฟ้องคดีขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นการขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่ไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงเห็นสมควรยุติเรื่อง และได้รายงานให้กระทรวงการคลังพิจารณา ต่อมากระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 75 ของค่าเสียหาย กรมป่าไม้จึงมีหนังสือเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวภายใน 30 วัน ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์แต่ถูกยกอุทธรณ์ จึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีต้องเดินทางจากพังงาให้ถึงสุราษฎร์ธานีภายใน 16.30 น. ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดความเร็วของการขับรถยนต์นอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ให้ขับไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร การที่ผู้ฟ้องคดีขับรถด้วยความเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง จึงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และเมื่อพิจารณาบริเวณที่เกิดเหตุเห็นได้ว่ามีสภาพเป็นทางโค้งซ้ายและขณะนั้นมีฝนตกย่อมทำให้ถนนลื่น
บุคคลที่ขับรถไปถึงบริเวณดังกล่าวย่อมคาดหมายได้ว่าอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ง่าย และต้องขับรถด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะต้องลดความเร็วลงให้ต่ำกว่าการขับรถในกรณีปกติ การที่ผู้ฟ้องคดีขับรถมาด้วยความเร็วสูงจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้รถยนต์ของทางราชการได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อกรมป่าไม้ ส่วนข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีที่ว่ามีรถจักรยานยนต์วิ่งตัดหน้านั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาด้วยหลับจึงไม่เห็นเหตุการณ์และผู้ฟ้องคดีไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุน ข้ออ้างดังกล่าวศาลจึงไม่อาจรับฟังได้
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของจำนวนเงินที่ต้องรับผิดเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ศาลพิจารณาว่าเมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีตำแหน่งเป็นพนักงานขับรถยนต์แต่ได้รับมอบหมายให้ขับรถยนต์ และการเดินทางไปปฏิบัติราชการในระยะทางไกลเป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน กรมป่าไม้ควรมอบหมายให้พนักงานขับรถทำหน้าที่ขับรถ เพราะผู้ฟ้องคดีย่อมมีความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติภารกิจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงการบุกรุกป่าตามอำนาจหน้าที่และยังต้องขับรถไปยังที่หมายตามเวลาที่กำหนดด้วย การละเมิดส่วนหนึ่งจึงเกิดจากความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานโดยรวม จึงสมควรหักส่วนความรับผิดของหน่วยงานออก เมื่อพิจารณาระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมแล้ว จึงเห็นสมควรให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร้อยละ 25 ของความเสียหายที่เกิดขึ้น (คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1232/2559)
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฉบับดังกล่าว ได้ช่วยให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และคดีนี้ยังเป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ขับรถราชการที่ต้องมีความระมัดระวัง ไม่ขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด และโดยเฉพาะต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้นหากมีฝนตก
ที่ต้องลดความเร็วลง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐเองควรต้องจัดสรรพนักงานขับรถโดยเฉพาะ
การถูกควบ 2 หน้าที่เช่นผู้ฟ้องคดี ย่อมไม่เป็นผลดีนะคะ
ป.ธรรมศลีญ์