xs
xsm
sm
md
lg

ยธ.นัดหารือกรมพระธรรมนูญ ศาลทหาร รับโอนคดีหมิ่นเบื้องสูง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


MGR Online - ยธ.เผยหลังการประชุม UPR รับ 6 ข้อ ยันศาลทหารมีการคุ้มครองสิทธิฯ เช่นเดียวกันกับศาลยุติธรรม หลัง คสช.มีคำสั่งให้คดีหมิ่นสถาบันฯ ม.112 ขึ้นต่อศาลยุติธรรม เริ่ม 12 ก.ย. นัดหารือกรมพระธรรมนูญ ศาลทหารอีกครั้ง

วันนี้ (13 ก.ย.) เวลา 11.30 น. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยหลังการเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่ผลการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) ว่าหลังจากเดินทางไปนำเสนอรายงานต่อคณะทำงาน UPR เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 59 ที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยได้รับข้อเสนอแนะจากประเทศต่างๆ 249 ข้อ ซึ่งประเทศไทยรับมา 181 ข้อ และนำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม 68 ข้อ ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยจึงได้มีการประชุมกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชาสังคมซึ่งมีส่วนร่วมในกระบวนการ UPR มาตลอด เพื่อจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันและร่วมมือในการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนในทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นายชาญเชาวน์กล่าวอีกว่า โดยส่วนมากข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยตอบรับ คือ การพัฒนางานด้านการศึกษา สาธารณสุข การคุ้มครองกลุ่มผู้เปราะบางต่างๆ เช่น เด็ก สตรี คนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และ ข้อเสนอแนะที่ไทยขอรับกลับมาพิจารณา คือ ข้อเสนอเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การจำกัดเสรีภาพ ที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน การยกเลิกโทษประหาร การใช้ศาลทหาร และการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ โดยมี 6 ประเด็นสำคัญรับพิจารณาเรียบร้อยแล้ว คือ 1. การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อเสนอของประเทศฟิลิปปินส์ 2. ตั้งองค์กรอิสระเข้าไปตรวจสอบการทรมานที่ถูกกล่าวหาว่าเกิดขึ้น รวมทั้ง จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม ข้อเสนอของประเทศแคนาดา

“3. กรณียกเลิกโทษการประหารชีวิตและอยู่ระหว่างดำเนินการ เพราะว่าเรื่องดังกล่าวถูกบรรจุอยู่ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ข้อเสนอของประเทศฝรั่งเศส 4. ปฏิบัติตามมาตราฐานของสหประชาชาติว่าด้วยการปฎิบัติต่อผู้ต้องขัง โดยจะให้หน่วยงานหรือองค์กรอิสระเข้าไปตรวจสอบการถูกกล่าวหาว่ามีการทรมานในเรือนจำ ที่สังกัดในกระทรวงยุติธรรมทุกแห่งได้ ข้อเสนอของสหราชอาณาจักร 5. เสนอกฎหมายเพื่อลดและป้องกันการกดขี่ทางเพศในทุกรูปแบบ เช่น เสนอ พ.ร.บ.ความเสมอภาคทางเพศ พ.ร.บ.ผู้กระทำผิดความรุนแรงในครอบครัว ข้อเสนอประเทศคีร์กีซสถาน และ 6.ปรับลดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิเด็ก โดยเฉพาะเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศอายุต่ำกว่า 13 ปี จะมีบทลงโทษผู้กระทำชำเราไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ซึ่งตามหลักกฎหมายต้องอายุ 17 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ กรณีเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไปแต่ถูกละเมิดทางเพศ ถ้าเด็กยินยอมจะให้สมรสกับผู้ละเมิดนั้น หลายประเทศไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้และให้มีการปรับแก้กฎหมายเพราะเด็กไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง” ปลัดกระทรวงยุติธรรมกล่าว

นายชาญเชาวน์กล่าวต่อว่า ประเทศไทยรับพิจารณาข้อเสนอ 6 ข้อดังกล่าวเรียบร้อยแล้วแต่หลังจากคำสั่ง คสช.ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 59 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องดูด้วยว่าข้อเสนอแนะอื่นๆ จะสอดคล้องกับคำสั่ง คสช.หรือไม่ หากไม่สอดคล้องก็รับไม่ได้ โดยประเด็นเกี่ยวกับพลเรือนขึ้นศาลทหารมาเป็นศาลกระทรวงยุติธรรม ประเทศสมาชิกกลุ่มยูเอ็นมีความคิดเห็นต่างๆ ให้ยกเลิกหรือโอนไปศาลกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะว่าในวันที่ 23 ก.ย.นี้ โดยนายธานี ทองภักดี เอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องไปรายงานผลการรับข้อเสนอแนะ คาดว่าวันที่ 15 ก.ย.นี้จะมีนัดประชุมอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ถ้ารับเพิ่มก็ต้องเอามาพัฒนาส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ขับเคลื่อนตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ส่วนข้อที่รับไม่ได้ต้องมาศึกษาเหมือนกันว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะตัดทิ้งเสียเลย

นายชาญเชาวน์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้กระทำความผิด 3 กลุ่ม 1. ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหมิ่นสถาบัน ม.112 ความผิดความมั่นคงต่อราชอาณาจักร 2. ผู้ที่กระทำความผิดคำสั่ง คสช. และ 3. ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอาวุธสงคราม หากพบว่ากระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 59 เป็นต้นไป ให้ขึ้นต่อศาลยุติธรรม ส่วนคดีที่ยังค้างอยู่ให้ดำเนินให้แล้วเสร็จในศาลทหาร ถึงแม้ว่าจะเป็นศาลทหารก็มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้กระทำผิดเช่นเดียวกันกับศาลยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ในวันที่หารือกันก็จะเชิญกรมพระธรรมนูญ ศาลทหาร มาร่วมชี้แจงอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
 
 

“บัวแก้ว” ปรับทัพ 10 นักการทูต -“เหมืองแร่พ่นพิษ” 2 รองอธิบดีเข้ากรุ-โอน “รองปลัดแรงงาน” เข้าสำนักนายกฯ
“บัวแก้ว” ปรับทัพ 10 นักการทูต -“เหมืองแร่พ่นพิษ” 2 รองอธิบดีเข้ากรุ-โอน “รองปลัดแรงงาน” เข้าสำนักนายกฯ
“บัวแก้ว” ปรับทัพ “10 เอกอัครราชทูต” โยก “รองปลัดฯไปตุรกี” ด้าน “ธานี ทองภักดี” ผู้แทนถาวรไทยประจำเจนีวา นั่งรองปลัดฯ แทน ตั้ง “บุษฎี สันติพิทักษ์” นั่งโฆษก กต. คนใหม่ แทน “เสข วรรณเมธี” ที่ไปเป็นคณะผู้แทนถาวรไทยในเจนีวา โยก “ทูตจากเวียงจันทน์” ไปอาร์เจนตินา เผย “เหมืองแร่พ่นพิษ” อุตสาหกรรมย้าย “2 รองอธิบดี” เข้ากรุผู้ตรวจฯ ส่วน “พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ” ได้นั่งบอร์ด ธอส. หลังเกษียณ ด้าน ก.แรงงาน โอน “กรีฑา สพโชค” รองปลัดฯ เข้ากรุสำนักนายกฯ
กำลังโหลดความคิดเห็น