xs
xsm
sm
md
lg

รอง ผบช.น.แถลงมาตรการแก้ไขปัญหาการจราจร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


MGR Online - รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แถลงผลการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล กำหนดมาตรการรอบด้าน เข้มงวดบังใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
 
วันนี้ (4 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. พร้อมด้วย พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รอง ผบช.น. พล.ต.ต.มงคล วรุณโณ ผบก.จร. พล.ต.ต.ทรงพล วัธนะชัย ผบก.น.6 และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงผลการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
 
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า เรื่องการแก้ไขปัญหาการจราจรได้มีการประสานหลายหน่วยงาน และมีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ดั้งนี้ 1. มาตรการประสานหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กทม. ได้ผู้แทนจากเทศกิจ ตัวแทนจากสำนักการจราจรและขนส่งเข้าร่วมประชุมกับ บช.น. โดยจะมีการปรับปรุงแก้ไข พ่อค้า แม่ค้าหาบเร่ แผงลอย และดำเนินการในส่วนของเครื่องหมายจราจรต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
1.1 การจัดทำอุโมงค์ลอดถนนที่มีการจราจรหนาแน่น จำนวน 10 จุด ยกตัวอย่าง ถนนอโศกมนตรี ซึ่งตรงนั้นมีประชาชนที่ใช้ทางม้าลายถึง 5 จุด ทำให้เกิดการจราจรติดขัด และการปรับปรุงทางกายภาพของถนนที่มีปัญหากับการจราจร ตัวอย่างเช่น การตัดเกาะกลางถนนบริเวณแยกผ่านพิภพ หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ประสาน กทม. ไปแล้ว คาดว่า จะดำเนินการเสร็จเรียบร้อยภายใน 30 วัน
1.2 กรมการขนส่งทางบกและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทาง บช.น. ได้มีการเสนอให้มีการกำหนดอายุการใช้งานของรถประจำทาง เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหารถประจำทางเสียจอดกีดขวางการจราจร โดยมีการเสนออายุเลขคัทซี จาก 50 ปี เป็น 20 ปี ส่วนเครื่องยนต์ เหลือไม่เกิน 10 ปี
1.3 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้เพิ่มช่องทาง EASY PASS ซึ่งมีการเพิ่มทุกจุด และมีการปรับปรุงระบบของ EASY PASS ที่สามารถผ่านได้โดยไม่ต้องมีไม้กั้น ทางผู้ว่าการการทางพิเศษรับเรื่องดำเนินการ เข้าอนุกรรมการเรียบร้อยแล้ว
1.4 การรถไฟแห่งประเทศไทย ทาง บช.น. ได้เสนอให้ย้ายจุดเริ่มต้นจากหัวลำโพง ที่คนใช้สัญจรในทุก ๆ วัน ซึ่งมีรถยนต์ใช้เส้นทางตัดผ่านเฉลี่ยนวันละ 1,000 กว่าขบวน จึงเสนอให้รถไฟสายเหนือเริ่มต้นที่สถานีดอนเมือง สายตะวันออกให้ไปเริ่มต้นที่สถานีทับช้าง สายตะวันตกให้ไปเริ่มต้นที่ชุมทางตลิ่งชัน ขณะนี้ได้นัดหมายกับผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะประชุมในการที่จะกำหนดให้เป็นรูปธรรม ส่วนกรณีเร่งด่วนอาจจะมีรถตัดผ่านเข้าเส้นหัวลำโพง แต่เจ้าหน้าที่จะพยายามไม่ให้มี เพื่อที่การจราจรจะได้ไม่ติดขัด
1.5 รถไฟฟ้าและบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างต่าง ๆ ทาง บช.น. ได้สั่งการให้ตำรวจ สน. ต่าง ๆ สำรวจ โดยการลงพื้นที่ไปตรวจสอบจุดที่มีการกั้นผิวทางการจราจรทั้งที่ไม่มีการก่อสร้าง หรือจุดที่มีการก่อสร้างให้รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพื่อที่จะรีบคืนพื้นที่การจราจร ในกรณีเร่งด่วนจะเพิ่มแบริเออร์ยางในพื้นที่การจราจร เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการสัญจร เมื่อหมดเวลาเร่งด่วนก็ยกแบริเออร์ออก ซึ่งกำหนดในหลายจุด
 
2. มาตรการเร่งรีบบังคับใช้กฎหมาย ยกรถ ล็อกล้อให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กำชับในเรื่องของการกวดขันการบังคับใช้กฎหมาย โดยทาง บช.น. ได้เร่งรัด กวดขัน การบังคับใช้กฎหมายในถนน 15 สาย และบังคับให้ สน. ต่าง ๆ ดำเนินการใช้กฎหมายตามถนนและพื้นที่จราจรต่าง ๆ จำนวน 216 จุด เพื่อให้การจราจรในจุดต่าง ๆ มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
 
3. มาตรการกวดขันรถแท็กซี่ รถโดยสารสาธารณะ (รถเมล์ รถตู้) โดยท่านนายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้ทาง ผบ.ตร. ผบช.น. รวมทั้งผู้บัญชาการในทุกท้องที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว ให้เร่งรัดในเรื่องของแท็กซี่ ซึ่งทาง บช.น. ได้ดำเนินการกวดขันมาตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. 59 ในข้อหาปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร จำนวน 94 ราย แต่งกายไม่เรียบร้อย จำนวน 753 ราย ไม่กดมิตเตอร์ จำนวน 11 ราย ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถโดยสารสาธารณะ จำนวน 359 ราย และใช้กิริยาไม่สุภาพ
 
4. มาตรการเรื่องเด็กแว้น บช.น. ได้กำชับให้ทุก สน. ในพื้นที่นครบาล ปฏิบัติตามคำสั่ง คสช. ที่ 22/58 และ 46/58 อย่างเคร่งครัด
 
5. มาตรการห้ามรถบรรทุกวิ่งในเขตพื้นที่ กทม. ในเวลาห้าม เพราะที่ผ่านมา มีรถบรรทุก 6 ล้อ 10 ล้อ เข้ามาวิ่งใน กทม. จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั่วโมงเร่งด่วน ทำให้การจราจรติดขัด ทาง บช.น. ได้มีการกำชับไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา หากพบเห็นรถบรรทุกเข้ามาวิ่งในพื้นที่ กทม. นอกเวลาก็จะมีการลงโทษ โดยการแจกใบเหลือง เพื่อที่จะกำชับเจ้าหน้าที่ให้สอดส่องดูแลอย่างเคร่งครัด
 
6. มาตรการนำภาคเอกชนเข้ามาช่วยบริหารจัดการบังคับใช้กฎหมายจราจร โดยมีการประสานให้ภาคเอกชนเข้ามาติดตั้ง วางระบบบบริหารจัดการและบังคับใช้กฎหมายการจราจรใน 4 ส่วน ได้แก่
 
6.1 การตรวจจับผู้กระทำผิดทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร จำนวน 30 จุด ตรวจจับการเปลี่ยนช่องทางในที่ห้าม จำนวน 400 จุด ตรวจจับการจอดรถในที่ห้ามจอด จำนวน 200 จุด ตรวจจับป้ายทะเบียนผิดกฎหมาย และตรวจจับการกระทำผิดอื่น ๆ เช่น การขับรถย้อนศร รถจักรยานยนต์วิ่งบนทางเท้า เป็นต้น
6.2 การตรวจจับโดยใช้เครื่องอัตโนมัติ (E-TICKET)
6.3 การเพิ่มช่องทางชำระค่าปรับทางร้านสะดวกซื้อ และธนาคาร (E-PAYMENT) และ
6.4 การดำเนินการจัดระบบร่วมกับภาคเอกชน

 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น