xs
xsm
sm
md
lg

ปปง.จับมือ “SAS” เพิ่มประสิทธิภาพตรวจสอบทุจริตฟอกเงิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


MGR Online - ปปง.นำเทคโนโลยี “SAS” ช่วยดักจับธุรกรรมทางการเงินต้องสงสัยเข้าข่ายการฟอกเงินได้อย่างเร็ว เพิ่มศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมด้านต่างๆ

วันนี้ (15 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. สำนักงานป้องกันและปรามปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. พร้อมนายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด (SAS) แถลงข่าวความร่วมมือนำเทคโนโลยีวิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงิน เพื่อป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและเข้าข่ายผิดกฎหมาย

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาการฟอกเงินถือเป็นปัญหาที่มีความสำคัญกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ มีการกระทำผิดในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มอาชญากรรมหรือผู้กระทำผิดมีพฤติกรรมที่หลีกเลี่ยงโดยพัฒนาในด้านการตบตาเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้การตรวจสอบเส้นทางการเงินยากมากขึ้น สำหรับ ปปง.เป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ได้ร่วมมือกับ บริษัท แซส นำโปรแกรม “SAS” มาใช้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวนั้นมีประสิทธิภาพเหมือนตาข่ายไอทีอัจฉริยะในการกรอง ดักจับการทำธุรกรรมทางการเงินทีมีขนาดใหญ่มากขึ้น หลัก 1,000-10,0000 บาท

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการใช้เจ้าหน้าที่ช่วยวิเคราะห์และจดบันทึกข้อมูลทางการเงิน ซึ่งแต่ละบัญชีต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ แต่เมื่อมีการนำโปรแกรม SAS มาใช้ช่วยประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้น พร้อมมีระบบแจ้งเตือนกรณีตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินแปลกๆ ที่เข้าข่ายการฟอกเงินจะแจ้งเตือนทันที โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบบัญชีดังกล่าวอย่างละเอียดอีกครั้ง

“ปกติ ปปง.รับข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินจากสถาบันการเงินประมาณ 150,000 บัญชีต่อเดือน หรือ 500-1,000 ล้านบัญชีต่อปี หากสถาบันการเงินร่วมมือกับ ปปง. มีการแชร์ข้อมูลการทำธุระกรรมที่แปลกๆ เข้าข่ายกลุ่มอาชญากรรม ทาง ปปง.ยินดีแลกเปลี่ยนข้อมูลและจะนำไปใช้กับหน่วยอื่นๆของรัฐบาล นอกจากนี้ ปปง. ได้งบ 120 ล้านบาทในการปรับปรุงหลังไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างมากว่า 17 ปี ช่วยเพิ่มศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น” พ.ต.อ.สีหนาทกล่าว

นายทวีศักดิ์เผยว่า โปรแกรม SAS ได้รับการยอมรับและรับรองจากหน่วยงานทางการเงินในประเทศสหรัฐฯ ก่อตั้งมาแล้ว 40 ปี มีเครือข่ายกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และช่วยให้ลูกค้าที่มีมากกว่า 75,000 แห่งทั่วโลกเข้าถึงข้อมูล สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และตั้งในประเทศไทยประมาณ 15 ปี โดยปัจจุบันมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตระดับ 4G ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินสามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น