xs
xsm
sm
md
lg

ศาลเยาวชนฯ ชี้คดีอุ้มบุญไม่อยู่ในอำนาจพิจารณา

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ชี้ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอุ้มบุญ เพราะอยู่นอกเหนือ กม. และไม่เป็นไปตามกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องชายหญิงอยู่กินมีเพศสัมพันธ์จนเกิดบุตร แต่เป็นการนำไข่ของหญิงอีกคนหนึ่งไปผสมกับสเปิร์มของชาย แล้วไปฝังในมดลูกของหญิงอีกคนหนึ่งที่ไม่ใช่เครือญาติ

วันนี้ (20 ส.ค.) ที่สำนักงานศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก นายสุภัทร อยู่ถนอม อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เปิดเผยกรณี “อุ้มบุญ” ว่า ศาลเยาวชนฯไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคดีอุ้มบุญโดยตรง เพราะปกติพ่อ - แม่เด็ก สามารถไปร้องต่อสำนักงานเขตได้อยู่แล้ว แต่ที่มายื่นคำร้องที่ศาลเยาวชนฯ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตร มาตรา 1548 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยผู้ร้องอ้างว่า มีเหตุขัดข้องตามกฎหมายแพ่ง จึงต้องมาขอคำสั่งจากศาลเยาวชนฯ กล่าวคือ ปกติผู้ร้องต้องเป็นบิดาของเด็ก ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนกับมารดาเด็ก เพราะอาจจะมีสาเหตุส่วนตัวเช่น เป็นภรรยาน้อย หรือเหตุผลทางธุรกิจ หรืออาจมีปัญหาเรื่องการให้ความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก เมื่อมีข้อขัดข้องก็มาร้องขอต่อศาลเยาวชนฯ ซึ่งที่ผ่านมา มีชาวต่างชาติมาร้องขอ 5 คดี ศาลอนุญาต 3 คดี ซึ่งยกคำร้อง 1 คดี ที่ยกคำร้อง คือ คดีของ นายบุน ก๊อก วู ชาวสิงคโปร์ เนื่องจากผู้ร้องระบุว่า ไม่ได้อยู่กินฉันสามีภรรยา หรืออยู่ร่วมหลับนอนกับหญิง ที่เป็นมารดาเด็ก ซึ่งไม่เข้าเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะอนุญาตได้ สำหรับกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ผู้ร้องก็สามารถนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน สำนักงานเขตได้

อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนฯ กล่าวอีกว่า คดีอุ้มบุญ มักมีข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1548 เพราะการอุ้มบุญที่เป็นข่าวทุกวันนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องชายหญิงอยู่กินมีเพศสัมพันธ์จนเกิดบุตร แต่เป็นการนำไข่ของหญิงอีกคนหนึ่งไปผสมกับสเปิร์มของชาย แล้วไปฝังในมดลูกของหญิงอีกคนหนึ่งที่ไม่ใช่เครือญาติ อย่างนี้ศาลก็ยกคำร้อง

สำหรับคู่สามีภรรยาที่ไม่มีบุตร และต้องใช้วิธีอุ้มบุญจริงๆ โดยต้องการรับเด็กเป็นบุตรตามกฎหมาย ก็มีร้องเข้ามาบ้างแต่ไม่มาก ศาลจะพิจารณาโดยคำนึงถึงจริยธรรม ศีลธรรม ความเป็นอยู่ของเด็ก ยอมรับว่า จริงๆ แล้ว ศาลไม่ทราบว่าที่มีการว่าจ้างหญิงไทยให้อุ้มบุญ เพื่อต้องการนำเด็กไปทำอะไร ถ้าต้องการเอาเด็กไปเลี้ยงเป็นบุตรจริงๆ การอนุญาตให้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าไม่ต้องการเอาไปเลี้ยงดูจริงๆ การอนุญาตก็อาจจะเป็นผลร้ายแก่เด็กมากกว่า หรือการที่ศาลไม่อนุญาต แล้วหญิงที่อุ้มท้องไม่อยากเลี้ยงเด็กไว้ ก็จะกลายเป็นปัญหาสังคม เพราะเด็กอาจถูกทอดทิ้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าต่อไป

“ขณะนี้หลังจากปรากฏข่าว “อุ้มบุญ” ตามสื่อต่างๆ อย่างครึกโครม ศาลเยาวชนฯจะเข้มงวดกับการไต่สวนคดีลักษณะนี้ให้มากยิ่งขึ้น จะต้องมีการตรวจพิสูจน์พันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) และต้องมีแพทย์มาเบิกความประกอบการพิจารณา และต้องได้ความจริงว่า พ่อแม่เด็กมีเพศสัมพันธ์จริงเท่านั้น” อธิบดีผู้พิพากษาเยาวชนฯ กล่าวตอนท้าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 บัญญัติไว้ว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็ก เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอม ของเด็ก และ มารดาเด็ก

ในกรณีที่ เด็ก และ มารดาเด็ก ไม่ได้มาให้ความยินยอม ต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียน แจ้งการขอจดทะเบียนของบิดา ไปยังเด็ก และ มารดาเด็ก ถ้า เด็ก หรือ มารดาเด็ก ไม่คัดค้าน หรือ ไม่ให้ความยินยอม ภายใน หกสิบวัน นับแต่การแจ้งนั้นถึง เด็ก หรือ มารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่า เด็ก หรือ มารดาเด็ก ไม่ให้ความยินยอม ถ้า เด็ก หรือ มารดาเด็ก อยู่นอกประเทศไทย ให้ขยายเวลานั้น เป็น หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

5% ในกรณีที่ เด็ก หรือ มารดาเด็ก คัดค้านว่า ผู้ขอจดทะเบียน ไม่ใช่บิดา หรือ ไม่ให้ความยินยอม หรือ ไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

เมื่อ ศาลได้พิพากษา ให้บิดา จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และ บิดาได้นำคำพิพากษา ไปขอจดทะเบียนรับรองบุตรกับนายทะเบียน
กำลังโหลดความคิดเห็น