“คำรณวิทย์” เผยกรณี ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบการปลอมปนน้ำมันก๊าซหุงต้ม หวั่นแก๊งสวมรอยราคา “แก๊ส” เก็งกำไร
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. สั่งการให้ศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.) เข้าไปตรวจสอบการปลอมปนน้ำมันก๊าซหุงต้มว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมายให้ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าชุดการปราบปรามน้ำมันเถื่อน มีตนและ พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นรองหัวหน้าชุด ร่วมทำงานกับกรมพลังงานแห่งชาติ พร้อมประสานงานการทำงาน เพราะที่ผ่านมาการซื้อแก๊สมาจาก ปตท. ซึ่งมีการบรรจุขายที่ไม่ถูกต้อง มีผลเสียหายต่อประเทศชาติประมาณหมื่นล้านบาท
โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบย้อนหลัง ซึ่งนครบาลมีข้อมูลอยู่หลายแห่ง และจะดำเนินการตรวจสอบการบรรจุแก๊สว่ารับแก๊สไปในราคาหุงต้ม แต่นำไปขายในราคาแก๊สรถยนต์จำนวนเท่าไหร่ เพราะทำให้รัฐบาลต้องเอาเงินไปพยุงราคาในส่วนนี้ รวมทั้งได้ประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ให้ตรวจสอบจังหวัดที่มีโรงงานบรรจุแก๊ส ซึ่งขณะนี้เข้าตรวจค้นอยู่ ถ้าพบว่ามีหลักฐานไม่ถูกต้องจะถูกดำเนินคดี เพราะภาษีประชาชนเสียไปเยอะมาก
นอกจากนี้ ดูข้อมูลกรมพลังงานแห่งชาติ โดยประสานทุกบริษัทที่ซื้อแก๊สไปจำนวนเท่านี้แต่บรรจุขายเท่านี้ ส่วนที่เหลือนั้นเอาไปไว้ที่ไหน เช่น ซื้อแก๊สจาก ปตท.1,000 ลิตร แต่บรรจุได้แค่ 600 ลิตรต่อครั้ง แล้วอีก 400 ลิตรหายไปไหน เพราะซื้อมาในราคาของแก๊สหุงต้ม 18 บาท แต่พออีก 400 ขายในราคาแก๊สรถยนต์ 21 บาท ก็ได้กำไรเกินไป
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. สั่งการให้ศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.) เข้าไปตรวจสอบการปลอมปนน้ำมันก๊าซหุงต้มว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมายให้ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าชุดการปราบปรามน้ำมันเถื่อน มีตนและ พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นรองหัวหน้าชุด ร่วมทำงานกับกรมพลังงานแห่งชาติ พร้อมประสานงานการทำงาน เพราะที่ผ่านมาการซื้อแก๊สมาจาก ปตท. ซึ่งมีการบรรจุขายที่ไม่ถูกต้อง มีผลเสียหายต่อประเทศชาติประมาณหมื่นล้านบาท
โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบย้อนหลัง ซึ่งนครบาลมีข้อมูลอยู่หลายแห่ง และจะดำเนินการตรวจสอบการบรรจุแก๊สว่ารับแก๊สไปในราคาหุงต้ม แต่นำไปขายในราคาแก๊สรถยนต์จำนวนเท่าไหร่ เพราะทำให้รัฐบาลต้องเอาเงินไปพยุงราคาในส่วนนี้ รวมทั้งได้ประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ให้ตรวจสอบจังหวัดที่มีโรงงานบรรจุแก๊ส ซึ่งขณะนี้เข้าตรวจค้นอยู่ ถ้าพบว่ามีหลักฐานไม่ถูกต้องจะถูกดำเนินคดี เพราะภาษีประชาชนเสียไปเยอะมาก
นอกจากนี้ ดูข้อมูลกรมพลังงานแห่งชาติ โดยประสานทุกบริษัทที่ซื้อแก๊สไปจำนวนเท่านี้แต่บรรจุขายเท่านี้ ส่วนที่เหลือนั้นเอาไปไว้ที่ไหน เช่น ซื้อแก๊สจาก ปตท.1,000 ลิตร แต่บรรจุได้แค่ 600 ลิตรต่อครั้ง แล้วอีก 400 ลิตรหายไปไหน เพราะซื้อมาในราคาของแก๊สหุงต้ม 18 บาท แต่พออีก 400 ขายในราคาแก๊สรถยนต์ 21 บาท ก็ได้กำไรเกินไป