โฆษก บช.น.แถลงสรุปผลการดำเนินการตรวจสอบสถานบริการและสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ่อแก้กฎหมายเอาผิดสถานบริการ “ทำผิด” แล้วถูกสั่งปิด! แต่หัวใสเลี่ยงกฎหมายโดยเปลี่ยนตัวผู้จัดการร้านใหม่พร้อมเสียค่าปรับ 1 หมื่นบาทวันต่อมาก็สามารถเปิดร้านใหม่ได้ ทำให้สถานบริการไม่กลัวเกรงกฎหมาย!!!
วันนี้ (7 ธ.ค.) เวลา 13.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ในฐานะโฆษกบช.น. แถลงสรุปผลการดำเนินการตรวจสอบสถานบริการและสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระยะที่ 1 ว่า ชุดปฏิบัติการได้ออกตรวจตราสถานบริการในช่วงที่ผ่านมา โดยระยะที่ 1 เป็นระยะจัดระบบข้อมูลและตรวจสอบสภาพปัญหา ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.2555 มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสอบระบบข้อมูลสถานบริการทั้งหมด , การตรวจสอบและจับกุมสถานบริการในพื้นที่ และการสรุปสภาพปัญหาในส่วนของชุดปฏิบัติงานออกมาเพื่อได้ข้อมูลเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยในการวิเคราะห์สภาพปัญหาต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวอีกว่า ส่วนระยะที่ 2 เป็นระยะวิเคราะห์สภาพปัญหาและจัดโซนนิ่ง ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2556 โดยถือเป็นเรื่องใหม่ของทางบช.น. แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำสภาพปัญหาของชุดปฏิบัติการ ของสน.แต่ละท้องที่ และผู้ประกอบการมาวิเคราะห์ให้ครบถ้วน ขั้นที่ 2 นำผู้ประกอบการมาเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบสภาพปัญหาของสถานบริการทั้งหมดที่มีอยู่ในโซนนิ่งและนอกโซนนิ่ง และขั้นที่ 3 จัดระบบโซนนิ่งใหม่หรือขยายพื้นที่โซนนิ่ง ซึ่งสมัย ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้จัดไว้ 3 โซน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 ได้แก่ 1.โซนพัฒน์พงษ์ 2.โซนเพชรบุรีตัดใหม่ 3.โซนรัชดาภิเษก ทั้งนี้ โซนรัชดาภิเษก-ท่าพระ กับ โซนเกษตร-นวมินทร์ ได้ตกไป แต่ในขณะนี้ความเจริญเติบโตของเมืองหลวงได้ขยายตัวไปมากทำให้ต้องมีการดำเนินการใหม่
“ส่วนระยะที่ 3 ระยะจัดระบบคุณภาพและการพัฒนากฎหมายสถานบริการเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยอยู่ในช่วงระหว่าง มิ.ย.-ก.ย.2556 พร้อมกับแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนปฏิบัติ คือ 1.การจัดระบบมาตรฐาน 2.การจัดระบบความปลอดภัย เพราะทุกวันนี้ไม่มีความปลอดภัยเลยในการท่องเที่ยวสถานบริการ 3.การจัดระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีดาวมอบให้สถานบริการที่มีคุณภาพ 4.การพัฒนาและปรับแก้ไขกฎหมาย”พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าว
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการอยู่ในระยะที่ 1 ซึ่งจากการตรวจสอบรายละเอียดขั้นตอนที่ 1 พบว่า ในโซนนิ่งทั้งพัฒน์พงษ์ เพชรบุรีตัดใหม่และรัชดาภิเษก มีสถานบริการที่ได้รับอนุญาต 298 ราย และไม่ได้รับอนุญาต 16 ราย รวม 314 ราย ส่วนนอกโซนนิ่ง มีสถานบริการที่ได้รับการอนุญาต ก่อนปีพ.ศ.2548 จำนวน 362 ราย และไม่ได้รับอนุญาต 1,382 ราย รวม 1,744 ราย โดยสรุปในกทม.มีสถานบริการรวมทั้งหมด 2,058 ราย
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับระยะที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ได้ออกไปตรวจสอบสถานบริการที่กระทำผิดกฎหมายพร้อมกับจับกุม ตั้งแต่ ก.ย.-พ.ย.ที่ผ่านมา ได้ 208 ราย และขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนที่ 3 คือ ตรวจสอบสภาพปัญหาพบว่าสถานบริการที่ไม่ได้รับอนุญาตดำเนินการจับกุมไปแล้วแต่วันรุ่งขึ้นกลับมาเปิดใหม่ โดยใช้วิธีการเปลี่ยนตัวผู้จัดการร้านและเสียค่าปรับเพียง 10,000 บาท ทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัวกฎหมาย ตำรวจในพื้นที่ก็ทำงานลำบาก ซึ่งอาจมีการแก้ไขกฎหมายในระยะต่อไป
“ในช่วงวันที่ 10-15 ธ.ค.2555 จะได้เชิญ ผกก. , รองผกก.สายป้องกันปราบปราม และรองผกก.สส. ที่แต่งตั้งโยกย้ายใหม่ประชุมหารือเพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาในพื้นที่ของตัวเองว่ามีสถานบริการถูกต้องกี่แห่ง ไม่ถูกต้องกี่แห่ง จากนั้นในวันที่ 20-25 ธ.ค.2555 จะเชิญผู้ประกอบการมาหารือร่วมกันที่สโมสรตำรวจ โดยมีร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธาน เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำข้อมูลสภาพปัญหาต่างๆมาวิเคราะห์ต่อไป ทั้งนี้ ทางบช.น.มุ่งมั่นที่จะพยายามแก้ไขปัญหาสถานบริการให้ครบถ้วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของบ้านเมืองเป็นหลัก”รอง ผบช.น.กล่าวปิดท้าย
วันนี้ (7 ธ.ค.) เวลา 13.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ในฐานะโฆษกบช.น. แถลงสรุปผลการดำเนินการตรวจสอบสถานบริการและสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระยะที่ 1 ว่า ชุดปฏิบัติการได้ออกตรวจตราสถานบริการในช่วงที่ผ่านมา โดยระยะที่ 1 เป็นระยะจัดระบบข้อมูลและตรวจสอบสภาพปัญหา ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.2555 มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสอบระบบข้อมูลสถานบริการทั้งหมด , การตรวจสอบและจับกุมสถานบริการในพื้นที่ และการสรุปสภาพปัญหาในส่วนของชุดปฏิบัติงานออกมาเพื่อได้ข้อมูลเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยในการวิเคราะห์สภาพปัญหาต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวอีกว่า ส่วนระยะที่ 2 เป็นระยะวิเคราะห์สภาพปัญหาและจัดโซนนิ่ง ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2556 โดยถือเป็นเรื่องใหม่ของทางบช.น. แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำสภาพปัญหาของชุดปฏิบัติการ ของสน.แต่ละท้องที่ และผู้ประกอบการมาวิเคราะห์ให้ครบถ้วน ขั้นที่ 2 นำผู้ประกอบการมาเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบสภาพปัญหาของสถานบริการทั้งหมดที่มีอยู่ในโซนนิ่งและนอกโซนนิ่ง และขั้นที่ 3 จัดระบบโซนนิ่งใหม่หรือขยายพื้นที่โซนนิ่ง ซึ่งสมัย ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้จัดไว้ 3 โซน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 ได้แก่ 1.โซนพัฒน์พงษ์ 2.โซนเพชรบุรีตัดใหม่ 3.โซนรัชดาภิเษก ทั้งนี้ โซนรัชดาภิเษก-ท่าพระ กับ โซนเกษตร-นวมินทร์ ได้ตกไป แต่ในขณะนี้ความเจริญเติบโตของเมืองหลวงได้ขยายตัวไปมากทำให้ต้องมีการดำเนินการใหม่
“ส่วนระยะที่ 3 ระยะจัดระบบคุณภาพและการพัฒนากฎหมายสถานบริการเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยอยู่ในช่วงระหว่าง มิ.ย.-ก.ย.2556 พร้อมกับแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนปฏิบัติ คือ 1.การจัดระบบมาตรฐาน 2.การจัดระบบความปลอดภัย เพราะทุกวันนี้ไม่มีความปลอดภัยเลยในการท่องเที่ยวสถานบริการ 3.การจัดระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีดาวมอบให้สถานบริการที่มีคุณภาพ 4.การพัฒนาและปรับแก้ไขกฎหมาย”พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าว
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการอยู่ในระยะที่ 1 ซึ่งจากการตรวจสอบรายละเอียดขั้นตอนที่ 1 พบว่า ในโซนนิ่งทั้งพัฒน์พงษ์ เพชรบุรีตัดใหม่และรัชดาภิเษก มีสถานบริการที่ได้รับอนุญาต 298 ราย และไม่ได้รับอนุญาต 16 ราย รวม 314 ราย ส่วนนอกโซนนิ่ง มีสถานบริการที่ได้รับการอนุญาต ก่อนปีพ.ศ.2548 จำนวน 362 ราย และไม่ได้รับอนุญาต 1,382 ราย รวม 1,744 ราย โดยสรุปในกทม.มีสถานบริการรวมทั้งหมด 2,058 ราย
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับระยะที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ได้ออกไปตรวจสอบสถานบริการที่กระทำผิดกฎหมายพร้อมกับจับกุม ตั้งแต่ ก.ย.-พ.ย.ที่ผ่านมา ได้ 208 ราย และขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนที่ 3 คือ ตรวจสอบสภาพปัญหาพบว่าสถานบริการที่ไม่ได้รับอนุญาตดำเนินการจับกุมไปแล้วแต่วันรุ่งขึ้นกลับมาเปิดใหม่ โดยใช้วิธีการเปลี่ยนตัวผู้จัดการร้านและเสียค่าปรับเพียง 10,000 บาท ทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัวกฎหมาย ตำรวจในพื้นที่ก็ทำงานลำบาก ซึ่งอาจมีการแก้ไขกฎหมายในระยะต่อไป
“ในช่วงวันที่ 10-15 ธ.ค.2555 จะได้เชิญ ผกก. , รองผกก.สายป้องกันปราบปราม และรองผกก.สส. ที่แต่งตั้งโยกย้ายใหม่ประชุมหารือเพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาในพื้นที่ของตัวเองว่ามีสถานบริการถูกต้องกี่แห่ง ไม่ถูกต้องกี่แห่ง จากนั้นในวันที่ 20-25 ธ.ค.2555 จะเชิญผู้ประกอบการมาหารือร่วมกันที่สโมสรตำรวจ โดยมีร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธาน เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำข้อมูลสภาพปัญหาต่างๆมาวิเคราะห์ต่อไป ทั้งนี้ ทางบช.น.มุ่งมั่นที่จะพยายามแก้ไขปัญหาสถานบริการให้ครบถ้วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของบ้านเมืองเป็นหลัก”รอง ผบช.น.กล่าวปิดท้าย