โฆษกตำรวจแถลงสถิติการป้องกันและปราบปรามการแข่งจักรยานยนต์บนทางสาธารณะ โดยผลการดำเนินการที่ผ่านมาสามารถจับกุมได้ทั้งหมด 64,416 คดี แบ่งเป็นการดำเนินการกับผู้ขับขี่และผู้สนับสนุนตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2552 จำนวน 41,920 คดี ดำเนินการกับร้านแก้ไขดัดแปลงตกแต่ง 387 คดี และความผิดอื่นตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 จำนวน 12,107 คดี ยึดของกลางรถจักรยานยนต์ 1,312 คัน ยึดท่อไอเสีย 104 ท่อ ซึ่งพื้นที่ที่จับกุมได้มากที่สุดคือ บช.น. รองลงมาคือ ภาค 7 และภาค 9 ตามลำดับ
วันนี้ (6 ธ.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงสถิติการป้องกันและปราบปรามการแข่งจักรยานยนต์บนทางสาธารณะว่า ช่วงระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือน ต.ค.-พ.ย.ที่ผ่านมา ตร.ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการแข่งรถจักรยานยนต์อย่างเคร่งครัด และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลการดำเนินการที่ผ่านมาสามารถจับกุมได้ทั้งหมด 64,416 คดี แบ่งเป็นการดำเนินการกับผู้ขับขี่และผู้สนับสนุนตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2552 จำนวน 41,920 คดี ดำเนินการกับร้านแก้ไขดัดแปลงตกแต่ง 387 คดี และความผิดอื่นตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 จำนวน 12,107 คดี ยึดของกลางรถจักรยานยนต์ 1,312 คัน ยึดท่อไอเสีย 104 ท่อ ซึ่งพื้นที่ที่จับกุมได้มากที่สุดคือ บช.น. รองลงมาคือ ภาค 7 และภาค 9 ตามลำดับ โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ กลุ่มนักแข่งจะจัดแข่งรถที่ถนนสายหลัก ส่วนในต่างจังหวัดจะจัดแข่งที่ถนนสายรองที่เป็นเส้นตรง
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวอีกว่า สำหรับผู้กระทำผิดเป็นเด็ก 163 คน เยาวชน 2,660 คน โดยมีการเปรียบเทียบปรับและส่งฟ้องศาล โดยคดีที่ผู้ต้องหารับสารภาพในข้อหาขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ศาลได้สั่งลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท รอลงอาญา 1 ปี และให้ทำงานบริการสังคม คุมประพฤติ พักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน ส่วนข้อหามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่รู้ว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมฯ ศาลพิพากษาจำคุก 15 วัน ปรับ 5 พันบาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี และข้อหาแข่งรถในทาง มีทั้งจำคุก 15 วัน และได้เชิญผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนมาพบเพื่อตักเตือนด้วย
โฆษก ตร.กล่าวด้วยว่า จากการประเมินผลพบว่ามีสถิติการจับกุมที่สูงขึ้น และมีสถิติการร้องเรียนที่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ อีกทั้งเป็นมาตรการที่บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. จึงได้กำชับให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้มงวดในการปฏิบัติ เน้นเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น และให้หน่วยปฏิบัติระดับกองบังคับการออกปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจและให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนด้วย
วันนี้ (6 ธ.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงสถิติการป้องกันและปราบปรามการแข่งจักรยานยนต์บนทางสาธารณะว่า ช่วงระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือน ต.ค.-พ.ย.ที่ผ่านมา ตร.ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการแข่งรถจักรยานยนต์อย่างเคร่งครัด และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลการดำเนินการที่ผ่านมาสามารถจับกุมได้ทั้งหมด 64,416 คดี แบ่งเป็นการดำเนินการกับผู้ขับขี่และผู้สนับสนุนตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2552 จำนวน 41,920 คดี ดำเนินการกับร้านแก้ไขดัดแปลงตกแต่ง 387 คดี และความผิดอื่นตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 จำนวน 12,107 คดี ยึดของกลางรถจักรยานยนต์ 1,312 คัน ยึดท่อไอเสีย 104 ท่อ ซึ่งพื้นที่ที่จับกุมได้มากที่สุดคือ บช.น. รองลงมาคือ ภาค 7 และภาค 9 ตามลำดับ โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ กลุ่มนักแข่งจะจัดแข่งรถที่ถนนสายหลัก ส่วนในต่างจังหวัดจะจัดแข่งที่ถนนสายรองที่เป็นเส้นตรง
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวอีกว่า สำหรับผู้กระทำผิดเป็นเด็ก 163 คน เยาวชน 2,660 คน โดยมีการเปรียบเทียบปรับและส่งฟ้องศาล โดยคดีที่ผู้ต้องหารับสารภาพในข้อหาขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ศาลได้สั่งลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท รอลงอาญา 1 ปี และให้ทำงานบริการสังคม คุมประพฤติ พักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน ส่วนข้อหามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่รู้ว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมฯ ศาลพิพากษาจำคุก 15 วัน ปรับ 5 พันบาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี และข้อหาแข่งรถในทาง มีทั้งจำคุก 15 วัน และได้เชิญผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนมาพบเพื่อตักเตือนด้วย
โฆษก ตร.กล่าวด้วยว่า จากการประเมินผลพบว่ามีสถิติการจับกุมที่สูงขึ้น และมีสถิติการร้องเรียนที่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ อีกทั้งเป็นมาตรการที่บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. จึงได้กำชับให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้มงวดในการปฏิบัติ เน้นเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น และให้หน่วยปฏิบัติระดับกองบังคับการออกปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจและให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนด้วย