บช.น.ประชุมวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ให้เวลาแต่ละบก.น.10 วัน จัดตั้ง ศปก.บก.เพื่อเตรียมการช่วยเหลือประชาชนหากเกิดอุทกภัยซ้ำ
วันนี้ (18 ก.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ พล.ต.ต.วรัญวัส การุณยธัช พล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช., ผบก.น.1-9 และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา หากเกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ
พล.ต.ท.คำรณวิทย์กล่าวภายหลังการประชุมว่า เรื่องน้ำท่วมต้องมีการเตรียมพร้อม เพราะประสบการณ์โดยตรงเมื่อปีที่แล้ว ขณะตนอยู่ที่ บช.ภ.1 ได้เกิดน้ำท่วมขึ้นทั้งภาค ซึ่งปีที่แล้วถ้าไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้ก่อนอาจทำให้ประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก และตนไม่ทราบว่าปีที่แล้วในเขตนครบาลน้ำท่วมแค่ไหน แล้วปีนี้จะท่วมแค่ไหน แต่ตนจะเตรียมการแล้วประเมินว่าน้ำท่วมไว้ก่อน ไม่ใช่ว่าประเมินให้พี่น้องประชาชนตื่นตระหนกตกใจ แต่ตนประเมินในสถานการณ์ของตำรวจ
พล.ต.ท.คำรณวิทย์กล่าวอีกว่า หากสมมุติว่าเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ขึ้นมา เจ้าหน้าที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมไว้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนใน กทม.อย่างไร ไม่ใช่ว่าน้ำท่วมแล้วค่อยมาตั้ง ศปก. โดยตนให้ระยะเวลาแต่ละ บก.เป็นเวลา 10 วัน ว่า ศปก.บก.แต่ละหน่วยมีความพร้อมอะไรบ้าง ถ้าสมมติว่าแต่ละหน่วยมีความพร้อมแล้วแต่ไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกไปช่วยเหลือที่ต่างจังหวัดด้วย เพราะถือว่าเป็นประชาชนคนไทยทั้งนั้น ถึงแม้ว่าพื้นที่ของตนเองไม่มีน้ำท่วมแต่ก็ต้องไปช่วยในพื้นที่น้ำท่วม
พล.ต.ท.คำรณวิทย์กล่าวต่อว่า ถ้าแต่ละ ศปก.บก.มีความขาดตกบกพร่องอะไรก็สามารถแจ้งมาได้ แต่ทั้งนี้ถ้ารอให้แต่งตั้ง ศปก.บก. และรอรับของบริจาคอย่างเดียวก็ไม่ได้ผล ซึ่งมีพี่น้องประชาชนต้องการช่วยเหลืออยู่เป็นจำนวนมากแต่อาจเดินทางมาที่ศูนย์ฯลำบาก อาจมีการตั้งรับของบริจาคที่ศูนย์การค้าอีกทางหนึ่ง แต่สิ่งของที่ได้รับบริจาคต้องลงไปถึงมือประชาชนให้เร็วที่สุด รวมทั้งเชิญผู้บริจาคลงไปช่วยเหลือด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวทางป้องกันเหตุอุทกภัย แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ก่อนเกิดอุทกภัย โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศปก.น.), บก.น. 1-9 จัดตั้ง ศปก.บก. และรายงานผลให้ บช.น. ทราบภายในวันที่ 24 ก.ย.นี้, สำรวจยานพาหนะ ทั้งเรือและรถยนต์ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์, ประชุมระดมความเห็นร่วมกับชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และจัดทำแผนการปฏิบัติในภาพรวมและแผนการปฏิบัติในแต่ละด้าน โดยให้ปรากฏรายละเอียดการปฏิบัติทั้งก่อน ระหว่างและหลังประสบอุทกถัย
ช่วงประสบอุทกภัย โดยกำชับการปฏิบัติในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและช่วยเหลือผู้ประสบภัย, ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมสถานที่อพยพ, ประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมในการอพยพ อย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง, เน้นการขนย้ายบุคคลออกจากจุดวิกฤต โดยเฉพาะเด็ก คนชรา ผู้หญิง, จัดและควบคุมสายตรวจ ออกตรวจตราบ้านเรือนที่ประสบภัย และตรวจตราป้องกันเหตุ ณ ศูนย์อพยพ ในแต่ละพื้นที่, เฝ้าระวังกลุ่มมิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ฉกฉวยโอกาสก่อเหตุซ้ำเติมผู้ประสบภัย, ทุก บก.พิจารณาจัดโรงประกอบเลี้ยง เพื่อแจกจ่ายข้าราชการตำรวจที่ออกไปช่วยเหลือประชาชน และแจกจ่ายประชาชนผู้ประสบภัย, การอำนวยความสะดวกการจราจร ให้ รอง ผบก.ที่รับผิดชอบด้านจราจร ประสานหน่วยที่เกี่ยวข้อง สำรวจเส้นทางสำรองพร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกยังเส้นทางที่ใช้การได้ โดยให้จัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางการสื่อสาร และสื่อต่างๆ, ให้ทุก บก.จัดชุดเคลื่อนที่เร็วเพื่อตรวจตราแนวคันกั้นน้ำ รวมถึง เข้าระงับเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจก่อนเกิดความขัดแย้ง และร่วมเข้าคลี่คลายสถานการณ์เมื่อเกิดความขัดแย้งโดยเร็ว และดำเนินการรักษาความปลอดภัยและอำนวยการจราจรเมื่อมีบุคคลสำคัญเข้าพื้นที่
และช่วงหลังน้ำลด ร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดแจกจ่าย, ร่วมบูรณะและทำความสะอาดสาธารณะสถานกับชุมชนในท้องที่ และประสานหน่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันอาชีวศึกษา ราชทัณฑ์ ในการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์ รวมถึงซ่อมแซมบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพปกติ
วันนี้ (18 ก.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ พล.ต.ต.วรัญวัส การุณยธัช พล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช., ผบก.น.1-9 และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา หากเกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ
พล.ต.ท.คำรณวิทย์กล่าวภายหลังการประชุมว่า เรื่องน้ำท่วมต้องมีการเตรียมพร้อม เพราะประสบการณ์โดยตรงเมื่อปีที่แล้ว ขณะตนอยู่ที่ บช.ภ.1 ได้เกิดน้ำท่วมขึ้นทั้งภาค ซึ่งปีที่แล้วถ้าไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้ก่อนอาจทำให้ประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก และตนไม่ทราบว่าปีที่แล้วในเขตนครบาลน้ำท่วมแค่ไหน แล้วปีนี้จะท่วมแค่ไหน แต่ตนจะเตรียมการแล้วประเมินว่าน้ำท่วมไว้ก่อน ไม่ใช่ว่าประเมินให้พี่น้องประชาชนตื่นตระหนกตกใจ แต่ตนประเมินในสถานการณ์ของตำรวจ
พล.ต.ท.คำรณวิทย์กล่าวอีกว่า หากสมมุติว่าเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ขึ้นมา เจ้าหน้าที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมไว้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนใน กทม.อย่างไร ไม่ใช่ว่าน้ำท่วมแล้วค่อยมาตั้ง ศปก. โดยตนให้ระยะเวลาแต่ละ บก.เป็นเวลา 10 วัน ว่า ศปก.บก.แต่ละหน่วยมีความพร้อมอะไรบ้าง ถ้าสมมติว่าแต่ละหน่วยมีความพร้อมแล้วแต่ไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกไปช่วยเหลือที่ต่างจังหวัดด้วย เพราะถือว่าเป็นประชาชนคนไทยทั้งนั้น ถึงแม้ว่าพื้นที่ของตนเองไม่มีน้ำท่วมแต่ก็ต้องไปช่วยในพื้นที่น้ำท่วม
พล.ต.ท.คำรณวิทย์กล่าวต่อว่า ถ้าแต่ละ ศปก.บก.มีความขาดตกบกพร่องอะไรก็สามารถแจ้งมาได้ แต่ทั้งนี้ถ้ารอให้แต่งตั้ง ศปก.บก. และรอรับของบริจาคอย่างเดียวก็ไม่ได้ผล ซึ่งมีพี่น้องประชาชนต้องการช่วยเหลืออยู่เป็นจำนวนมากแต่อาจเดินทางมาที่ศูนย์ฯลำบาก อาจมีการตั้งรับของบริจาคที่ศูนย์การค้าอีกทางหนึ่ง แต่สิ่งของที่ได้รับบริจาคต้องลงไปถึงมือประชาชนให้เร็วที่สุด รวมทั้งเชิญผู้บริจาคลงไปช่วยเหลือด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวทางป้องกันเหตุอุทกภัย แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ก่อนเกิดอุทกภัย โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศปก.น.), บก.น. 1-9 จัดตั้ง ศปก.บก. และรายงานผลให้ บช.น. ทราบภายในวันที่ 24 ก.ย.นี้, สำรวจยานพาหนะ ทั้งเรือและรถยนต์ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์, ประชุมระดมความเห็นร่วมกับชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และจัดทำแผนการปฏิบัติในภาพรวมและแผนการปฏิบัติในแต่ละด้าน โดยให้ปรากฏรายละเอียดการปฏิบัติทั้งก่อน ระหว่างและหลังประสบอุทกถัย
ช่วงประสบอุทกภัย โดยกำชับการปฏิบัติในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและช่วยเหลือผู้ประสบภัย, ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมสถานที่อพยพ, ประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมในการอพยพ อย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง, เน้นการขนย้ายบุคคลออกจากจุดวิกฤต โดยเฉพาะเด็ก คนชรา ผู้หญิง, จัดและควบคุมสายตรวจ ออกตรวจตราบ้านเรือนที่ประสบภัย และตรวจตราป้องกันเหตุ ณ ศูนย์อพยพ ในแต่ละพื้นที่, เฝ้าระวังกลุ่มมิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ฉกฉวยโอกาสก่อเหตุซ้ำเติมผู้ประสบภัย, ทุก บก.พิจารณาจัดโรงประกอบเลี้ยง เพื่อแจกจ่ายข้าราชการตำรวจที่ออกไปช่วยเหลือประชาชน และแจกจ่ายประชาชนผู้ประสบภัย, การอำนวยความสะดวกการจราจร ให้ รอง ผบก.ที่รับผิดชอบด้านจราจร ประสานหน่วยที่เกี่ยวข้อง สำรวจเส้นทางสำรองพร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกยังเส้นทางที่ใช้การได้ โดยให้จัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางการสื่อสาร และสื่อต่างๆ, ให้ทุก บก.จัดชุดเคลื่อนที่เร็วเพื่อตรวจตราแนวคันกั้นน้ำ รวมถึง เข้าระงับเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจก่อนเกิดความขัดแย้ง และร่วมเข้าคลี่คลายสถานการณ์เมื่อเกิดความขัดแย้งโดยเร็ว และดำเนินการรักษาความปลอดภัยและอำนวยการจราจรเมื่อมีบุคคลสำคัญเข้าพื้นที่
และช่วงหลังน้ำลด ร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดแจกจ่าย, ร่วมบูรณะและทำความสะอาดสาธารณะสถานกับชุมชนในท้องที่ และประสานหน่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันอาชีวศึกษา ราชทัณฑ์ ในการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์ รวมถึงซ่อมแซมบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพปกติ