ผบ.ตร.กำชับกำลังพลควบคุมฝูงชน การชุมนุมทางการเมือง เป็นสิทธิที่กระทำได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อน ที่สำคัญ ต้องไม่มีการยึดสถานที่ราชการ เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะเข้าสู่ที่ประชุม ครม.อีกครั้ง
วันนี้ (28 มิ.ย.) ที่ศูนย์ฝึกอบรมกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองผ บ.ตร. และ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษา (สบ 10) ร่วมเป็นประธานการสัมมนาเตรียมความพร้อมในการรักษาความสงบ โดยมี นายตำรวจระดับ ผบช.-รองผบก. ในหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ทั่วประเทศรวม 300 นาย ร่วมรับฟังและมีการสาธิตการปฏิบัติของกองร้อยควบคุมฝูงชนด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ แถลงด้วยว่า การชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง เป็นสิทธิที่ประชาชนทำได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ต้องเคารพกฎหมาย ไม่สามารถยึดสถานที่ราชการ ทำเนียบรัฐบาล สถานที่คำคัญ สนามบิน อย่างที่ผ่านมาได้ ยอมไม่ได้ เสียชื่อไปทั่วโลก ทำให้ ตร.ต้องเตรียมความพร้อมตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม การควบคุมฝูงชน ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อดุลย์ ได้จัดการฝึกอบรมด้านยุทธวิธีตำรวจ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนี้อย่างเป็นระบบ หลักการคือ ตำรวจมาฝึกเพื่อไปปกป้องประชาชนผู้ที่ไม่รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังการชุมนุมไม่ให้ถูกกระทบสิทธิ ปกป้องประชาชนทุกสี
ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า วันนี้ตำรวจทบทวน 4 ประเด็น คือ 1.บทเรียนการควบคุมฝูงชนที่ผ่านมา 2.กฎการใช้กำลังตามแผนกรกฎ 52 3.ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 4.ทบทวนเรื่องการบริหารสถานการณ์ โดยครั้งนี้สั่งให้ ทุก บช.จัดตั้งกองร้อยมาตรฐานขึ้น เป็นกองร้อยควบคุมฝูงชนที่คัดเลือกผู้นำหน่วยที่ดี ชุดปฏิบัติการที่มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมยุทโธปกรณ์ต่างๆ ผ่านการฝึกอย่างเข้มข้น ให้ บช.สามารถใช้ไปปฏิบัติการดูความปลอดภัย ควบคุมฝูงชนได้ทุกสถานการณ์
“การดำเนินการปรับกำลังกองร้อยควบคุมฝูงชนให้มีความพร้อมทุกด้าน เป็นกองร้อยมาตรฐาน การฝึก 4 ระดับ คือ 1.การฝึกแก้ปัญหา ณ ที่บังคับการ (CPX) เป็นการฝึกระดับผู้บังคับบัญชา และฝ่ายอำนวยการ ในการตั้งสมมติฐานร้ายแรงที่สุด (Worst case) เพื่อนำไปสู่การเตรียมแผน และขั้นตอนการปฏิบัติกับกลุ่มผู้ชุมนุม 2.การฝึกพื้นฐาน เป็นการฝึกทบทวนของกองร้อยควบคุมฝูงชน ตั้งแต่ ผู้ควบคุมกำลัง ผบ.ร้อย ผบ.หมวด และกำลังพล เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยในการสั่งการ และมีความพร้อมในการปฏิบัติ 3.การฝึกหัวหน้าชุด เป็นการฝึกการสื่อสารการบังคับบัญชา และการสั่งการจากศูนย์ปฏิบัติการ ไปยังผู้รับผิดชอบควบคุมกำลัง และ ผบ.ร้อย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การวิเคราะห์ติดตามสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา และสามารถสั่งการให้กำลังพลปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4.การฝึกร่วมภาคสนาม เป็นการฝึกสั่งการ ตั้งแต่ระดับผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอำนวยการ โดยใช้ศูนย์ปฏิบัติการสื่อสาร ไปยังผู้ควบคุมกำลัง ผบ.ร้อย ตลอดจนกำลังพลให้ปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีความพร้อมทุกด้าน สามารถปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีความพร้อมทุกด้าน สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ” พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าว
ขณะที่ พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวถึงการขับเคลื่อนกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม ว่า ก่อนหน้านี้ ตร.เคยเสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ... ว่า ร่างกฎหมายที่แก้ไขโดยกฤษฎีกาที่เคยเสนอผ่านสภาฯไป แต่ตกไปแล้วนั้น เป็นร่างที่ ตร.พอใจ ชอบมาก โดยเฉพาะประเด็นการใช้อำนาจศาลในการพิจารณาหลายๆ เรื่อง ซึ่งเหมาะกับสังคมไทย จากนี้ ตร.ก็จะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาอีกครั้ง หากมีโอกาสเราก็สนับสนุนร่างฉบับนี้
วันนี้ (28 มิ.ย.) ที่ศูนย์ฝึกอบรมกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองผ บ.ตร. และ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษา (สบ 10) ร่วมเป็นประธานการสัมมนาเตรียมความพร้อมในการรักษาความสงบ โดยมี นายตำรวจระดับ ผบช.-รองผบก. ในหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ทั่วประเทศรวม 300 นาย ร่วมรับฟังและมีการสาธิตการปฏิบัติของกองร้อยควบคุมฝูงชนด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ แถลงด้วยว่า การชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง เป็นสิทธิที่ประชาชนทำได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ต้องเคารพกฎหมาย ไม่สามารถยึดสถานที่ราชการ ทำเนียบรัฐบาล สถานที่คำคัญ สนามบิน อย่างที่ผ่านมาได้ ยอมไม่ได้ เสียชื่อไปทั่วโลก ทำให้ ตร.ต้องเตรียมความพร้อมตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม การควบคุมฝูงชน ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อดุลย์ ได้จัดการฝึกอบรมด้านยุทธวิธีตำรวจ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนี้อย่างเป็นระบบ หลักการคือ ตำรวจมาฝึกเพื่อไปปกป้องประชาชนผู้ที่ไม่รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังการชุมนุมไม่ให้ถูกกระทบสิทธิ ปกป้องประชาชนทุกสี
ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า วันนี้ตำรวจทบทวน 4 ประเด็น คือ 1.บทเรียนการควบคุมฝูงชนที่ผ่านมา 2.กฎการใช้กำลังตามแผนกรกฎ 52 3.ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 4.ทบทวนเรื่องการบริหารสถานการณ์ โดยครั้งนี้สั่งให้ ทุก บช.จัดตั้งกองร้อยมาตรฐานขึ้น เป็นกองร้อยควบคุมฝูงชนที่คัดเลือกผู้นำหน่วยที่ดี ชุดปฏิบัติการที่มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมยุทโธปกรณ์ต่างๆ ผ่านการฝึกอย่างเข้มข้น ให้ บช.สามารถใช้ไปปฏิบัติการดูความปลอดภัย ควบคุมฝูงชนได้ทุกสถานการณ์
“การดำเนินการปรับกำลังกองร้อยควบคุมฝูงชนให้มีความพร้อมทุกด้าน เป็นกองร้อยมาตรฐาน การฝึก 4 ระดับ คือ 1.การฝึกแก้ปัญหา ณ ที่บังคับการ (CPX) เป็นการฝึกระดับผู้บังคับบัญชา และฝ่ายอำนวยการ ในการตั้งสมมติฐานร้ายแรงที่สุด (Worst case) เพื่อนำไปสู่การเตรียมแผน และขั้นตอนการปฏิบัติกับกลุ่มผู้ชุมนุม 2.การฝึกพื้นฐาน เป็นการฝึกทบทวนของกองร้อยควบคุมฝูงชน ตั้งแต่ ผู้ควบคุมกำลัง ผบ.ร้อย ผบ.หมวด และกำลังพล เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยในการสั่งการ และมีความพร้อมในการปฏิบัติ 3.การฝึกหัวหน้าชุด เป็นการฝึกการสื่อสารการบังคับบัญชา และการสั่งการจากศูนย์ปฏิบัติการ ไปยังผู้รับผิดชอบควบคุมกำลัง และ ผบ.ร้อย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การวิเคราะห์ติดตามสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา และสามารถสั่งการให้กำลังพลปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4.การฝึกร่วมภาคสนาม เป็นการฝึกสั่งการ ตั้งแต่ระดับผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอำนวยการ โดยใช้ศูนย์ปฏิบัติการสื่อสาร ไปยังผู้ควบคุมกำลัง ผบ.ร้อย ตลอดจนกำลังพลให้ปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีความพร้อมทุกด้าน สามารถปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีความพร้อมทุกด้าน สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ” พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าว
ขณะที่ พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวถึงการขับเคลื่อนกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม ว่า ก่อนหน้านี้ ตร.เคยเสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ... ว่า ร่างกฎหมายที่แก้ไขโดยกฤษฎีกาที่เคยเสนอผ่านสภาฯไป แต่ตกไปแล้วนั้น เป็นร่างที่ ตร.พอใจ ชอบมาก โดยเฉพาะประเด็นการใช้อำนาจศาลในการพิจารณาหลายๆ เรื่อง ซึ่งเหมาะกับสังคมไทย จากนี้ ตร.ก็จะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาอีกครั้ง หากมีโอกาสเราก็สนับสนุนร่างฉบับนี้