“ดีเอสไอ” จับมือกองทัพ-ตำรวจ แถลงโชว์ยึดล็อตใหญ่อาวุธสงครามทั้งอาร์พีจี-เอ็ม 79 -เอ็ม 203 ซุกซ่อนอยู่ในพงหญ้าข้างตึกแถวในตลาดเมืองใหม่ จ.สุรินทร์ แต่ไม่พบตัวผู้กระทำผิด ขณะที่ “ธาริต” เผยแถลงข่าวช้าเกือบ 3 เดือน เพราะต้องการสอบขยายผลจับกุมระดับบิ๊ก เชื่ออาวุธทั้งหมดจะนำมาใช้ก่อเหตุความไม่สงบในประเทศ หรือส่งออกขายนอก แต่ไม่เกี่ยวโยงกับเหตุระเบิด 3 จุดกลางกรุง โวมีเบาะแสข้อมูลหลายอย่างแต่ขออุบ หวั่นกระทบคดีและผู้มีอิทธิพลเบื้องหลัง
วันนี้ (23 ก.พ.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว ผบ.สำนักคดีความมั่นคง ดีเอสไอ พ.ต.อ.วรพัฒน์ บุญมา ผู้แทนกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน และ พ.อ.อดุล บุณธรรมเจริญ ผู้แทนกองทัพบก แถลงการยึดอาวุธสงคราม จำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย กระสุนปืนอาร์พีจี-7 จำนวน 36 นัด ดินส่งอาร์พีจี-7 จำนวน 36 แท่ง ลูกยิงเครื่องยิงลูกระเบิด ปืน ค.ขนาด 60 มม.จำนวน 64 นัด ลูกกระสุนปืน เอ็ม 79 และเอ็ม 203 จำนวน 144 นัด และกระสุนปืนเล็กยาว (ปลย.) ขนาด .88 จำนวน 1,437 นัด
นายธาริตกล่าวว่า การยึดอาวุธสงครามครั้งนี้ สำนักคดีความมั่นคงของดีเอสไอ กองทัพบก และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ดำเนินการสืบสวนพบกลุ่มผู้ค้าอาวุธสงครามตามแนวชายแดน โดยมีสายลับของดีเอสไอแจ้งว่าจะมีการส่งมอบอาวุธสงคราม เป็นจำนวนมากใน ช่วงระหว่างเดือน ธ.ค. 2554 ไปจนถึงช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2554 เวลา 07.00 น. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมทั้ง 3 หน่วยงาน ได้เข้าทำการตรวจค้นบริเวณตลาดเมืองใหม่ พบอาวุธสงครามจำนวนมากดังกล่าวซุกซ่อนอยู่ในพงหญ้าข้างตึกแถวภายในตลาดเมืองใหม่ จังหวัดสุรินทร์ แต่ไม่พบตัวผู้กระทำผิด จึงได้ยึดอาวุธของกลางทั้งหมด
อธิบดีดีเอสไอกล่าวอีกว่า เนื่องจากเมื่อปลายปีที่แล้ว คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้มีมติให้การค้าอาวุธตามบริเวณชายแดนแนวตะเข็บประเทศไทยในเขตภาคอีสาน และภาคตะวันออก เป็นคดีพิเศษ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 หน่วยงานจึงได้ประสานความร่วมมือและพยายามทำงานกดดันทางด้านการข่าวจนนำไปสู่การยึดอาวุธสงครามล็อตใหญ่ ส่วนประเด็นว่าอาวุธสงครามร้ายแรงเหล่านี้มีแหล่งมาจากที่ใด จะใช้ทำอะไรนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนของดีเอสไอ ตำรวจและทหารจึงยังไม่สามารถตอบได้ แต่ยืนยันว่ามีเบาะแสข้อมูลพอสมควร โดยแนวทางการสืบสวนสอบสวน เชื่อว่าจะมีการนำมาใช้ก่อเหตุความไม่สงบภายในประเทศ อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะมีการนำออกไปยังประเทศที่สาม
นายธาริตกล่าวด้วยว่า ส่วนที่มาของอาวุธสงครามตามบริเวณแนวชายแดนเหล่านี้คงต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูล เนื่องจากเกรงจะกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การยึดอาวุธสงครามครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์จับกุมผู้ต้องหาชาวตะวันออกกลาง หรือเหตุระเบิดที่ย่านสุขุมวิท 71 แน่นอน ทั้งนี้ การเว้นระยะเวลาไว้ 3 เดือน ก่อนนำมาแถลงข่าวให้สื่อมวลชนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องการสอบสวนขยายผลการจับกุม ซึ่งทำให้ได้รายละเอียดพอสมควรแต่ยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะจะกระทบต่อคดีและผู้ทรงอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลัง และยืนยันว่าหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้นิ่งนอนใจต่ออาวุธร้ายแรงที่มีการใช้และนำเข้ามาในราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นการป้องปราบกลุ่มนักค้าอาวุธสงครามที่เห็นแก่ผลประโยชน์ แต่อาจนำมาซึ่งความไม่สงบในบ้านเมือง รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน
พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินขาว ผู้บัญชาการสำนักคดีความมั่นคง ดีเอสไอ กล่าวว่า เราได้ติดตามด้านการข่าวในเรื่องนี้มาระดับหนึ่ง จนทราบว่าอาวุธสงครามเหล่านี้ จะผ่านเข้ามาทางด่านชายแดน ล่าสุดสืบทราบว่าจะมีการนำอาวุธร้ายแรงเข้ามาจึงตัดสินใจประสานงานร่วมกับกองทัพและตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ตรวจยึดอาวุธสงครามร้ายแรงได้ในวันที่ 21 ธ.ค. 2554 ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารค่อนข้างชัดเจนกลุ่มผู้ค้าได้ลักลอบนำอาวุธเข้ามาในวันที่ 20 ธ.ค. 2554 ทั้งนี้ สำหรับเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีนั้น ในช่วงที่เกิดเหตุความไม่สงบช่วงปี 2553 คนร้ายเคยใช้ก่อเหตุยิงถังบรรจุน้ำมันใน จ.ปทุมธานี ส่วนระเบิดเอ็ม 79 ก็มีการใช้ก่อเหตุหลายครั้ง และลูกปืนค. 60 สามารถนำไปใช้เป็นระเบิดแสวงเครื่อง ซึ่งการระเบิดจะมีความรุนแรง เนื่องจากมีสะเก็ดระเบิดจำนวนมาก
ด้าน พ.อ.อดุล บุณธรรมเจริญ ผู้แทนกองทัพบก กล่าวว่า นโยบายของกองทัพบกและแม่ทัพภาคที่สอง และกองกำลังสุรนารี ได้เน้นย้ำเรื่องการป้องกันแนวชายแดน และในฐานะที่เป็นหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบชายแดนด้าน จ.สุรินทร์ และจ.บุรีรัมย์ จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้านการข่าวของดีเอสไอและตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 เพื่อปฏิบัติงานทั้งเรื่องอาวุธสงคราม ไม้พะยูง และยาเสพติด
พ.ต.อ.วรพัฒน์ บุญมา รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 21 กล่าวว่า ได้มุ่งเน้นปรามปรามอาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง 5 ประการ ได้แก่ ยาเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า ภาษีศุลกากร การหลบหนีเข้าเมือง อาวุธสงครามและปืนเถื่อน โดยมีการประสานด้านการข่าวกับหน่วยงานความมั่นคงที่ทำงานร่วมกันในพื้นที่
วันนี้ (23 ก.พ.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว ผบ.สำนักคดีความมั่นคง ดีเอสไอ พ.ต.อ.วรพัฒน์ บุญมา ผู้แทนกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน และ พ.อ.อดุล บุณธรรมเจริญ ผู้แทนกองทัพบก แถลงการยึดอาวุธสงคราม จำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย กระสุนปืนอาร์พีจี-7 จำนวน 36 นัด ดินส่งอาร์พีจี-7 จำนวน 36 แท่ง ลูกยิงเครื่องยิงลูกระเบิด ปืน ค.ขนาด 60 มม.จำนวน 64 นัด ลูกกระสุนปืน เอ็ม 79 และเอ็ม 203 จำนวน 144 นัด และกระสุนปืนเล็กยาว (ปลย.) ขนาด .88 จำนวน 1,437 นัด
นายธาริตกล่าวว่า การยึดอาวุธสงครามครั้งนี้ สำนักคดีความมั่นคงของดีเอสไอ กองทัพบก และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ดำเนินการสืบสวนพบกลุ่มผู้ค้าอาวุธสงครามตามแนวชายแดน โดยมีสายลับของดีเอสไอแจ้งว่าจะมีการส่งมอบอาวุธสงคราม เป็นจำนวนมากใน ช่วงระหว่างเดือน ธ.ค. 2554 ไปจนถึงช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2554 เวลา 07.00 น. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมทั้ง 3 หน่วยงาน ได้เข้าทำการตรวจค้นบริเวณตลาดเมืองใหม่ พบอาวุธสงครามจำนวนมากดังกล่าวซุกซ่อนอยู่ในพงหญ้าข้างตึกแถวภายในตลาดเมืองใหม่ จังหวัดสุรินทร์ แต่ไม่พบตัวผู้กระทำผิด จึงได้ยึดอาวุธของกลางทั้งหมด
อธิบดีดีเอสไอกล่าวอีกว่า เนื่องจากเมื่อปลายปีที่แล้ว คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้มีมติให้การค้าอาวุธตามบริเวณชายแดนแนวตะเข็บประเทศไทยในเขตภาคอีสาน และภาคตะวันออก เป็นคดีพิเศษ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 หน่วยงานจึงได้ประสานความร่วมมือและพยายามทำงานกดดันทางด้านการข่าวจนนำไปสู่การยึดอาวุธสงครามล็อตใหญ่ ส่วนประเด็นว่าอาวุธสงครามร้ายแรงเหล่านี้มีแหล่งมาจากที่ใด จะใช้ทำอะไรนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนของดีเอสไอ ตำรวจและทหารจึงยังไม่สามารถตอบได้ แต่ยืนยันว่ามีเบาะแสข้อมูลพอสมควร โดยแนวทางการสืบสวนสอบสวน เชื่อว่าจะมีการนำมาใช้ก่อเหตุความไม่สงบภายในประเทศ อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะมีการนำออกไปยังประเทศที่สาม
นายธาริตกล่าวด้วยว่า ส่วนที่มาของอาวุธสงครามตามบริเวณแนวชายแดนเหล่านี้คงต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูล เนื่องจากเกรงจะกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การยึดอาวุธสงครามครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์จับกุมผู้ต้องหาชาวตะวันออกกลาง หรือเหตุระเบิดที่ย่านสุขุมวิท 71 แน่นอน ทั้งนี้ การเว้นระยะเวลาไว้ 3 เดือน ก่อนนำมาแถลงข่าวให้สื่อมวลชนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องการสอบสวนขยายผลการจับกุม ซึ่งทำให้ได้รายละเอียดพอสมควรแต่ยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะจะกระทบต่อคดีและผู้ทรงอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลัง และยืนยันว่าหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้นิ่งนอนใจต่ออาวุธร้ายแรงที่มีการใช้และนำเข้ามาในราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นการป้องปราบกลุ่มนักค้าอาวุธสงครามที่เห็นแก่ผลประโยชน์ แต่อาจนำมาซึ่งความไม่สงบในบ้านเมือง รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน
พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินขาว ผู้บัญชาการสำนักคดีความมั่นคง ดีเอสไอ กล่าวว่า เราได้ติดตามด้านการข่าวในเรื่องนี้มาระดับหนึ่ง จนทราบว่าอาวุธสงครามเหล่านี้ จะผ่านเข้ามาทางด่านชายแดน ล่าสุดสืบทราบว่าจะมีการนำอาวุธร้ายแรงเข้ามาจึงตัดสินใจประสานงานร่วมกับกองทัพและตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ตรวจยึดอาวุธสงครามร้ายแรงได้ในวันที่ 21 ธ.ค. 2554 ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารค่อนข้างชัดเจนกลุ่มผู้ค้าได้ลักลอบนำอาวุธเข้ามาในวันที่ 20 ธ.ค. 2554 ทั้งนี้ สำหรับเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีนั้น ในช่วงที่เกิดเหตุความไม่สงบช่วงปี 2553 คนร้ายเคยใช้ก่อเหตุยิงถังบรรจุน้ำมันใน จ.ปทุมธานี ส่วนระเบิดเอ็ม 79 ก็มีการใช้ก่อเหตุหลายครั้ง และลูกปืนค. 60 สามารถนำไปใช้เป็นระเบิดแสวงเครื่อง ซึ่งการระเบิดจะมีความรุนแรง เนื่องจากมีสะเก็ดระเบิดจำนวนมาก
ด้าน พ.อ.อดุล บุณธรรมเจริญ ผู้แทนกองทัพบก กล่าวว่า นโยบายของกองทัพบกและแม่ทัพภาคที่สอง และกองกำลังสุรนารี ได้เน้นย้ำเรื่องการป้องกันแนวชายแดน และในฐานะที่เป็นหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบชายแดนด้าน จ.สุรินทร์ และจ.บุรีรัมย์ จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้านการข่าวของดีเอสไอและตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 เพื่อปฏิบัติงานทั้งเรื่องอาวุธสงคราม ไม้พะยูง และยาเสพติด
พ.ต.อ.วรพัฒน์ บุญมา รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 21 กล่าวว่า ได้มุ่งเน้นปรามปรามอาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง 5 ประการ ได้แก่ ยาเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า ภาษีศุลกากร การหลบหนีเข้าเมือง อาวุธสงครามและปืนเถื่อน โดยมีการประสานด้านการข่าวกับหน่วยงานความมั่นคงที่ทำงานร่วมกันในพื้นที่