“กองร้อยน้ำหวาน” หรือตำรวจจราจรหญิงในยุคบุกเบิก เป็นกองกำลังหนึ่งของกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในขณะนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการเพิ่มกำลังพลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งปกติประชาชนจะคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชายเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิง หน้าตาหวานใส ยืนอยู่ตามแยกต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจร อาจเป็นภาพที่ใหม่สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งขณะนี้เป็นโครงการนำร่องของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงที่สมัครใจเข้าร่วมกับโครงการนี้ จำนวน 18 นาย (เป็นคำศัพท์ในการใช้เรียกกำลังพล) จากจำนวน 95 คน ที่ไปฝึกอบรมที่สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดี หลังจากนี้อีก 2 เดือนจึงจะมีการประเมินผล 2 ด้าน คือด้านหนึ่งผู้ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากน้อยเพียงใด และอีกด้านคือผลการตอบรับของประชาชน ซึ่งในขณะนี้ถือว่าประชาชนให้การยอมรับและพอใจกับการปฏิบัติงานของกองร้อยน้ำหวานเป็นอย่างยิ่ง
พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น.รับผิดชอบงานจราจร ได้พูดคุยกับผู้สื่อข่าวถึง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองร้อยน้ำหวาน ริเริ่มจากมีแนวความคิดในการเพิ่มกำลังพลในการทำงาน จากเจ้าหน้าที่ตำรวจชายที่มีอยู่ในขณะนี้ ซึ่งยังมีไม่เพียงพอ ก็มาคิดว่าจะทำอย่างไรดี ทีนี้เริ่มหันมามามองดูตำรวจหญิงมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงคิดไปทำการฝึกอบรมเรื่องจราจรให้ความรู้เบื้องต้นกับตำรวจหญิง “กองร้อยน้ำหวาน” ที่กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (อคฝ.) สโมสรตำรวจ มีอยู่จำนวน 95 คน แล้วถามความสมัครใจว่า ใครต้องการเป็นตำรวจจราจราหญิงบ้าง มีผู้อาสาสมัครมา จำนวน 18 คน ในตอนนั้น จึงนำมาฝึกอบรมเรื่องของทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายจราจร และการปฎิบัติเกี่ยวกับหน้าที่จราจรอยู่ 1 เดือน ส่วนเรื่องขับขี่จักรยานยนต์นั้นทุกคนเป็นอยู่แล้วไม่ต้องฝึกอะไรมาก
ถ้าย้อนกลับไปสมัยก่อนยุคของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา เป็นผบช.น. และผมป็นรองฯ มีการระดมตำรวจหญิง อายุไม่เกิน 40 ปี จากทุกสน. มาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนนำมาฝึก มาแต่งชุดวอร์มแล้วทำหน้าที่ตรงนี้ไป เพื่อปฎิบัติในเรื่องของม็อบ พอทำไปได้สักระยะหนึ่งแล้วดี รัฐบาลสมัยนั้นก็อนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้มีกองร้อยหญิงไปฝึกกัน แล้วเปลี่ยนมาใช้รับสมัครแทน จึงมีมาประจำที่ (อคฝ.) ถือว่าเป็นยุคแรกๆ ที่มีตำรวจหญิงรุ่นแรก แต่สำหรับความคิดผมยุคคนี้ไม่ได้เกิดจากมีนายกฯ หญิง คิดเพียงจะเอากำลังตำรวจมาเพิ่ม มองหาในตอนนั้น ตำรวจก็ขาด จราจรก็ขาด สายสืบก็ขาด เพราะเราเคยคุมตรงนั้นมาก่อน ในขณะเดียวกันพอมาดูตำรวจหญิงมันเยอะทำไมไม่เอามาใช้ล่ะ ทาง (อคฝ.) ตอนแรกยังเอามาใช้เลย นั่นแหล่ะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเอากำลังพลผู้หญิงมาใช้ จราจรหญิงเคยมีมารอบนึงแล้วตั้งแต่สมัยก่อนมีเป็นตำรวจหญิงคอยโบกรถประจำหน้าโรงเรียน ช่วยหน้าโรงเรียน ที่ปฎิบัติหน้าที่จริงๆ แบบนี้ไม่มี แต่มีที่จะออกมาโบกรถด้านจราจรจริงๆ เพิ่งเริ่มแรกนี่แหล่ะ 18 นาย
เริ่มแรกผมมารับหน้าที่ 1 ธ.ค.55 ตอนแรกติดน้ำท่วม จึงทำการสอบถามหาอาสาสมัครไปก่อนในเดือนพฤศจิกายนพอได้มา 18 คน ได้อธิบายให้ฟังว่าจราจรทำอะไรบ้าง ในเดือนธันวาคมนำมาทดลองฝึกอบรมเพียงเดือนเดียว ฝึกเรื่องกฎหมายจราจร ฝึกบุคลิก กิริยาท่าทาง งานด้านจราจรมีอะไรบ้าง แล้วมีการเรียนรู้กฎหมายจราจรเบื้องต้นมาก่อนหรือเปล่า ถ้ากรณีเจอผู้ใช้รถที่หัวหมอ เบื้องต้นยังถ่ายทอดความรู้ให้เค้า ทุกวันนี้ก็ยังถ่ายทอดอยู่ และมีการอบรมให้อยู่ หรือวิทยุสอบถามไปยังศูนย์มีให้สอบถามได้ตลอดเวลา เวลาตั้งด่านไปกันเป็นทีมถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายจราจรสามารถสอบถามช่วยเหลือกันได้กับจราจรชาย หลังจากนั้นเดือนมกราคมให้ออกปฎิบัติงานจริง
โดยกองร้อยน้ำหวาน หรือเจ้าหน้าที่จราจรหญิง เริ่มทำงานวันแรกวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา หรือวันตรุษจีน ตั้งแต่เวลา 12.00 น.- 21.00 น. ใช้กำลังทั้งหมด 18 นาย เพื่อปฎิบัติภารกิจดูแลเส้นทางจราจรและความปลอดภัยเพื่อรับเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานเทศกาลตรุษจีนเยาวราช ซึ่งตำรวจจราจรหญิง 18 นายนี้ จะทำหน้าที่ดูแลด้านการจราจรเท่านั้น
ด้านภารกิจของตำรวจจราจรหญิงนั้นไม่แตกต่างจากจราจรชาย เป็นการอำนวยความสะดวกด้านจราจร กวดขันวินัยจราจร คือ การออกตระเวนจับกุม การโบกรถบริการในส่วนของหน้าโรงเรียนช่วงเวลาเร่งด่วน ช่วยเด็กนักเรียนข้ามถนน ตั้งด่านจุดตรวจแอลกอฮอล์เพื่อตรวจวัดความเมา ให้ตั้งจุดตรวจค้น และออกตระเวนจับกุมผู้กระทำความผิด และผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร สามารถออกใบสั่งได้ในกรณีที่พบผู้ขับขี่ผิดกฎจราจร จะทำงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก หมุนเวียนกันไปตามพื้นที่ที่งานเยอะๆ มีตารางการทำงานหมุนเวียนกันอยู่ จะมีการตั้งด่านจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์สำหรับตอนนี้เฉพาะคืนวันศุกร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 24.00-02.00 น. สลับหมุนเวียนสถานที่ไปเรื่อย ส่วนภารกิจเวลากลางวันจะเป็นการโบกรถจราจรตามสี่แยก ตำรวจหญิงจะใช้รถจยย. ของจราจรกลาง (บก.จร.) ยี่ห้อไทเกอร์ สีขาว-ส้ม และสวมหมวกสีขาว-ชมพู แสดงถึงสีที่ให้ความอ่อนหวาน และเย็นตา ซึ่งหน่วยงาน (บก.จร.) เป็นหน่วยกลางที่สามารถปฎิบัติงานได้ทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่าแล้วดีกว่าผู้ชายทำงานไหม - ผมว่ามันได้ในแง่ของความอ่อนหวาน นุ่มนวล โดยเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่กับตำรวจจราจร ถ้ายิ่งเป็นผู้หญิงจะดีต่อการเข้าค้นตัวได้ง่ายไม่ถือว่าเป็นการลวนลามด้วย ซึ่งจะนำมาสู่ความลงตัว หากมีตำรวจหญิงจะสามารถช่วยงานด้านนี้ได้มาก แล้วคิดไหมทำมาแรกๆ ยังใหม่อยู่สดอยู่พอเก่าแล้วจะหย่อนยานในประสิทธิภาพ คิดเหมือนกันแต่ยังไงความแข็งของผู้ชาย กับความแข็งของผู้หญิง ยังไงมันก็ต้องมีดีกรีต่างกันอยู่ หลังจากนี้รอการประเมิน คือ ต้องให้เค้าทำงานมากๆ เพื่อจะดูผลกระทบ ถ้าทำงานมากไป หรือเหนื่อยมากไป ผลออกมาแล้วประเมินอีกทีว่าจะทำอย่างไรต่อไป หวั่นใจไหมกับเรื่องรับส่วย ผมว่าโดยธรรมชาติผู้หญิง สังคมความกล้าได้กล้าเสีย จะมีมากกว่าผู้ชาย ขนบธรรมเนียมบ้านเรายังสอนให้ผู้หญิงเหนียมอาย ไม่ค่อยกล้าพูด คนเราจะมองเอาเพอร์เฟคอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเน้นมองปัจจุบันก่อน จราจรหญิง ประจำกองบังคับการตำรวจจราจรกลาง (บก.จร.) ชุดนี้จะให้ทดลองทำงานไปก่อน ทำดีแล้วค่อยขอแต่งตั้งรอดูผลอีก 2 เดือน เพราะตอนนี้กำลังพลขาดแคลนอีกมากยังต้องการเพิ่ม เราใช้เป็น 100 คน
“ผมคาดหวังว่าอยากตั้งใจทำให้มันดี แต่ถ้าจะให้ดี 100 เปอร์เซนต์ มันก็ไม่แน่ แต่ถ้าดีกว่า 60 เปอร์เซนต์ ก็โอเคแล้ว ก้อดีกว่าดี 40 เปอร์เซนต์ เพราะงานบางอย่างผู้หญิงก็ทำดีกว่าผู้ชายนะ ละเอียดอ่อนกว่า นุ่มนวล ไม่แข็งกร้าว ความละเอียดจึงมีมากกว่า สำหรับข้อติชมอะไรก็ยินดีรับฟังแสดงความคิดเห็นมาได้ที่เบอร์ 1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) และเป็นกำลังใจให้ด้วย” พล.ต.ต.วรศักดิ์ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยรอยยิ้ม
ด้าน ส.ต.ท.วรรณศิริ สุขอ่อน อายุ 24 ปี หนึ่งใน 18 ตำรวจหญิงกองร้อยน้ำหวาน กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของกองร้อยน้ำหวานก็เหมือนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรชายทุกอย่าง ในเรื่องของการขับขี่รถจักรยานยนต์ก็ไม่มีปัญหา เพราะแต่ละคนสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว อาจมีปัญหาบ้างคือการที่ผู้หญิงจะต้องออกตากแดดที่ร้อนจัดตลอดทั้งวันในการทำงาน แต่อาจมีการทาครีมกันแดดเพิ่มมากหน่อยเท่านั้น ซึ่งการทำงานเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงจะใช้ความนิ่มนวล อ่อนโยนมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจชาย เจรจาอ่อนหวานกว่า ทำให้ประชาชนทั่วไปมองเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในแง่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาใดๆในการทำงาน การทำงานบนถนนแม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างในช่วงแรกๆ แต่หลังจากทำงานมาจนชินแล้วจะระมัดระวังตัวเอง หากมีคนขับรถยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรหรือฝ่าด่าน ก็จะไม่ขวาง แต่จะใช้วิทยุสื่อสารไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่แยกต่อไปแทน ซึ่งสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้แน่นอน
ส่วน ส.ต.ท.บุษกร ปันคะปวง อายุ 26 ปี ตำรวจจราจรหญิงกองร้อยน้ำหวานอีก 1 นาย เล่าว่า การมาเป็นกองร้อยน้ำหวานเริ่มจากความสมัครใจ มีความรู้สึกชอบ ท้าทายและสนุกดีพอได้ทำงานจริง เข้ามาฝึกอบรมภาคปฏิบัติด้วยท่าทางการโบกรถ การใช้อาวุธปืน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชาย การเป็นกองร้อยน้ำหวานเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งคาดว่าประชาชนจะพึงพอใจ แต่อย่างไรก็ตาม ส.ต.ท.บุษกร ปันคะปวง กล่าวอย่างติดตลกว่า ตนเองไม่อยากให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ชายตั้งใจทำผิดกฎจราจรเพียงเพื่อต้องการได้ใกล้ชิดหรือพูดคุยกับเจ้าหน้าที่หญิงกองร้อยน้ำหวาน หากชอบใจหรือพอใจแค่ยิ้มให้ก็พอแล้ว ยังยอมรับอีกว่าทีแรกกลัวรถนะเพราะเราเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ กลัวรถวิ่งไป-มา ด้วยความเร็วและจะมองไม่เห็นเรา พอทำไปสักระยะเริ่มชินแล้วก็ไม่รู้สึกกลัวอะไร ส่วนปัญหาที่เคยเจอมีรถจยย.เคยขับฝ่าด่านตรวจไป ตรงจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์หน้าโลตัส บางเขน ซึ่งเราบอกให้จอดแต่มีรถตามหลังมา จยย.คันดังกล่าวคิดว่าส่งสัญญานให้ไป จึงขับออกไปเลย คงเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดไปหน่อย ทีนี้จะนำมาปรับแก้ไข และอยากฝากถึงประชาชนผู้ขับขี่ใช้รถบนท้องถนน ขอให้ปฎิบัติตามกฎจราจรกัน แล้วเวลาเจอกันตามสี่แยกบนท้องถนนให้ยิ้มทักทายกันได้ค่ะ
ด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าว และการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักในแต่ละวันของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ การปฏิบัติงานของกองร้อยน้ำหวาน เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรหญิง ที่มีความอ่อนโยน สุภาพ นิ่มนวล คงจะทำให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนผ่อนคลายความตึงเครียดลงได้มาก ซึ่งต่อไปหากมีกองร้อยน้ำหวานเพิ่มมากขึ้นอาจทำให้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรลดลงได้บ้าง อย่างน้อยก็ทำให้คนใจเย็นลงและเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในปัจจุบัน ซึ่งต่อไปอาจมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรหญิงหรือกองร้อยน้ำหวานประจำอยู่ทุกแยกบนถนนในกรุงเทพมหานครก็เป็นได้
เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิง หน้าตาหวานใส ยืนอยู่ตามแยกต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจร อาจเป็นภาพที่ใหม่สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งขณะนี้เป็นโครงการนำร่องของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงที่สมัครใจเข้าร่วมกับโครงการนี้ จำนวน 18 นาย (เป็นคำศัพท์ในการใช้เรียกกำลังพล) จากจำนวน 95 คน ที่ไปฝึกอบรมที่สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดี หลังจากนี้อีก 2 เดือนจึงจะมีการประเมินผล 2 ด้าน คือด้านหนึ่งผู้ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากน้อยเพียงใด และอีกด้านคือผลการตอบรับของประชาชน ซึ่งในขณะนี้ถือว่าประชาชนให้การยอมรับและพอใจกับการปฏิบัติงานของกองร้อยน้ำหวานเป็นอย่างยิ่ง
พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น.รับผิดชอบงานจราจร ได้พูดคุยกับผู้สื่อข่าวถึง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองร้อยน้ำหวาน ริเริ่มจากมีแนวความคิดในการเพิ่มกำลังพลในการทำงาน จากเจ้าหน้าที่ตำรวจชายที่มีอยู่ในขณะนี้ ซึ่งยังมีไม่เพียงพอ ก็มาคิดว่าจะทำอย่างไรดี ทีนี้เริ่มหันมามามองดูตำรวจหญิงมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงคิดไปทำการฝึกอบรมเรื่องจราจรให้ความรู้เบื้องต้นกับตำรวจหญิง “กองร้อยน้ำหวาน” ที่กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (อคฝ.) สโมสรตำรวจ มีอยู่จำนวน 95 คน แล้วถามความสมัครใจว่า ใครต้องการเป็นตำรวจจราจราหญิงบ้าง มีผู้อาสาสมัครมา จำนวน 18 คน ในตอนนั้น จึงนำมาฝึกอบรมเรื่องของทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายจราจร และการปฎิบัติเกี่ยวกับหน้าที่จราจรอยู่ 1 เดือน ส่วนเรื่องขับขี่จักรยานยนต์นั้นทุกคนเป็นอยู่แล้วไม่ต้องฝึกอะไรมาก
ถ้าย้อนกลับไปสมัยก่อนยุคของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา เป็นผบช.น. และผมป็นรองฯ มีการระดมตำรวจหญิง อายุไม่เกิน 40 ปี จากทุกสน. มาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนนำมาฝึก มาแต่งชุดวอร์มแล้วทำหน้าที่ตรงนี้ไป เพื่อปฎิบัติในเรื่องของม็อบ พอทำไปได้สักระยะหนึ่งแล้วดี รัฐบาลสมัยนั้นก็อนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้มีกองร้อยหญิงไปฝึกกัน แล้วเปลี่ยนมาใช้รับสมัครแทน จึงมีมาประจำที่ (อคฝ.) ถือว่าเป็นยุคแรกๆ ที่มีตำรวจหญิงรุ่นแรก แต่สำหรับความคิดผมยุคคนี้ไม่ได้เกิดจากมีนายกฯ หญิง คิดเพียงจะเอากำลังตำรวจมาเพิ่ม มองหาในตอนนั้น ตำรวจก็ขาด จราจรก็ขาด สายสืบก็ขาด เพราะเราเคยคุมตรงนั้นมาก่อน ในขณะเดียวกันพอมาดูตำรวจหญิงมันเยอะทำไมไม่เอามาใช้ล่ะ ทาง (อคฝ.) ตอนแรกยังเอามาใช้เลย นั่นแหล่ะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเอากำลังพลผู้หญิงมาใช้ จราจรหญิงเคยมีมารอบนึงแล้วตั้งแต่สมัยก่อนมีเป็นตำรวจหญิงคอยโบกรถประจำหน้าโรงเรียน ช่วยหน้าโรงเรียน ที่ปฎิบัติหน้าที่จริงๆ แบบนี้ไม่มี แต่มีที่จะออกมาโบกรถด้านจราจรจริงๆ เพิ่งเริ่มแรกนี่แหล่ะ 18 นาย
เริ่มแรกผมมารับหน้าที่ 1 ธ.ค.55 ตอนแรกติดน้ำท่วม จึงทำการสอบถามหาอาสาสมัครไปก่อนในเดือนพฤศจิกายนพอได้มา 18 คน ได้อธิบายให้ฟังว่าจราจรทำอะไรบ้าง ในเดือนธันวาคมนำมาทดลองฝึกอบรมเพียงเดือนเดียว ฝึกเรื่องกฎหมายจราจร ฝึกบุคลิก กิริยาท่าทาง งานด้านจราจรมีอะไรบ้าง แล้วมีการเรียนรู้กฎหมายจราจรเบื้องต้นมาก่อนหรือเปล่า ถ้ากรณีเจอผู้ใช้รถที่หัวหมอ เบื้องต้นยังถ่ายทอดความรู้ให้เค้า ทุกวันนี้ก็ยังถ่ายทอดอยู่ และมีการอบรมให้อยู่ หรือวิทยุสอบถามไปยังศูนย์มีให้สอบถามได้ตลอดเวลา เวลาตั้งด่านไปกันเป็นทีมถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายจราจรสามารถสอบถามช่วยเหลือกันได้กับจราจรชาย หลังจากนั้นเดือนมกราคมให้ออกปฎิบัติงานจริง
โดยกองร้อยน้ำหวาน หรือเจ้าหน้าที่จราจรหญิง เริ่มทำงานวันแรกวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา หรือวันตรุษจีน ตั้งแต่เวลา 12.00 น.- 21.00 น. ใช้กำลังทั้งหมด 18 นาย เพื่อปฎิบัติภารกิจดูแลเส้นทางจราจรและความปลอดภัยเพื่อรับเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานเทศกาลตรุษจีนเยาวราช ซึ่งตำรวจจราจรหญิง 18 นายนี้ จะทำหน้าที่ดูแลด้านการจราจรเท่านั้น
ด้านภารกิจของตำรวจจราจรหญิงนั้นไม่แตกต่างจากจราจรชาย เป็นการอำนวยความสะดวกด้านจราจร กวดขันวินัยจราจร คือ การออกตระเวนจับกุม การโบกรถบริการในส่วนของหน้าโรงเรียนช่วงเวลาเร่งด่วน ช่วยเด็กนักเรียนข้ามถนน ตั้งด่านจุดตรวจแอลกอฮอล์เพื่อตรวจวัดความเมา ให้ตั้งจุดตรวจค้น และออกตระเวนจับกุมผู้กระทำความผิด และผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร สามารถออกใบสั่งได้ในกรณีที่พบผู้ขับขี่ผิดกฎจราจร จะทำงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก หมุนเวียนกันไปตามพื้นที่ที่งานเยอะๆ มีตารางการทำงานหมุนเวียนกันอยู่ จะมีการตั้งด่านจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์สำหรับตอนนี้เฉพาะคืนวันศุกร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 24.00-02.00 น. สลับหมุนเวียนสถานที่ไปเรื่อย ส่วนภารกิจเวลากลางวันจะเป็นการโบกรถจราจรตามสี่แยก ตำรวจหญิงจะใช้รถจยย. ของจราจรกลาง (บก.จร.) ยี่ห้อไทเกอร์ สีขาว-ส้ม และสวมหมวกสีขาว-ชมพู แสดงถึงสีที่ให้ความอ่อนหวาน และเย็นตา ซึ่งหน่วยงาน (บก.จร.) เป็นหน่วยกลางที่สามารถปฎิบัติงานได้ทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่าแล้วดีกว่าผู้ชายทำงานไหม - ผมว่ามันได้ในแง่ของความอ่อนหวาน นุ่มนวล โดยเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่กับตำรวจจราจร ถ้ายิ่งเป็นผู้หญิงจะดีต่อการเข้าค้นตัวได้ง่ายไม่ถือว่าเป็นการลวนลามด้วย ซึ่งจะนำมาสู่ความลงตัว หากมีตำรวจหญิงจะสามารถช่วยงานด้านนี้ได้มาก แล้วคิดไหมทำมาแรกๆ ยังใหม่อยู่สดอยู่พอเก่าแล้วจะหย่อนยานในประสิทธิภาพ คิดเหมือนกันแต่ยังไงความแข็งของผู้ชาย กับความแข็งของผู้หญิง ยังไงมันก็ต้องมีดีกรีต่างกันอยู่ หลังจากนี้รอการประเมิน คือ ต้องให้เค้าทำงานมากๆ เพื่อจะดูผลกระทบ ถ้าทำงานมากไป หรือเหนื่อยมากไป ผลออกมาแล้วประเมินอีกทีว่าจะทำอย่างไรต่อไป หวั่นใจไหมกับเรื่องรับส่วย ผมว่าโดยธรรมชาติผู้หญิง สังคมความกล้าได้กล้าเสีย จะมีมากกว่าผู้ชาย ขนบธรรมเนียมบ้านเรายังสอนให้ผู้หญิงเหนียมอาย ไม่ค่อยกล้าพูด คนเราจะมองเอาเพอร์เฟคอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเน้นมองปัจจุบันก่อน จราจรหญิง ประจำกองบังคับการตำรวจจราจรกลาง (บก.จร.) ชุดนี้จะให้ทดลองทำงานไปก่อน ทำดีแล้วค่อยขอแต่งตั้งรอดูผลอีก 2 เดือน เพราะตอนนี้กำลังพลขาดแคลนอีกมากยังต้องการเพิ่ม เราใช้เป็น 100 คน
“ผมคาดหวังว่าอยากตั้งใจทำให้มันดี แต่ถ้าจะให้ดี 100 เปอร์เซนต์ มันก็ไม่แน่ แต่ถ้าดีกว่า 60 เปอร์เซนต์ ก็โอเคแล้ว ก้อดีกว่าดี 40 เปอร์เซนต์ เพราะงานบางอย่างผู้หญิงก็ทำดีกว่าผู้ชายนะ ละเอียดอ่อนกว่า นุ่มนวล ไม่แข็งกร้าว ความละเอียดจึงมีมากกว่า สำหรับข้อติชมอะไรก็ยินดีรับฟังแสดงความคิดเห็นมาได้ที่เบอร์ 1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) และเป็นกำลังใจให้ด้วย” พล.ต.ต.วรศักดิ์ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยรอยยิ้ม
ด้าน ส.ต.ท.วรรณศิริ สุขอ่อน อายุ 24 ปี หนึ่งใน 18 ตำรวจหญิงกองร้อยน้ำหวาน กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของกองร้อยน้ำหวานก็เหมือนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรชายทุกอย่าง ในเรื่องของการขับขี่รถจักรยานยนต์ก็ไม่มีปัญหา เพราะแต่ละคนสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว อาจมีปัญหาบ้างคือการที่ผู้หญิงจะต้องออกตากแดดที่ร้อนจัดตลอดทั้งวันในการทำงาน แต่อาจมีการทาครีมกันแดดเพิ่มมากหน่อยเท่านั้น ซึ่งการทำงานเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงจะใช้ความนิ่มนวล อ่อนโยนมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจชาย เจรจาอ่อนหวานกว่า ทำให้ประชาชนทั่วไปมองเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในแง่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาใดๆในการทำงาน การทำงานบนถนนแม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างในช่วงแรกๆ แต่หลังจากทำงานมาจนชินแล้วจะระมัดระวังตัวเอง หากมีคนขับรถยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรหรือฝ่าด่าน ก็จะไม่ขวาง แต่จะใช้วิทยุสื่อสารไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่แยกต่อไปแทน ซึ่งสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้แน่นอน
ส่วน ส.ต.ท.บุษกร ปันคะปวง อายุ 26 ปี ตำรวจจราจรหญิงกองร้อยน้ำหวานอีก 1 นาย เล่าว่า การมาเป็นกองร้อยน้ำหวานเริ่มจากความสมัครใจ มีความรู้สึกชอบ ท้าทายและสนุกดีพอได้ทำงานจริง เข้ามาฝึกอบรมภาคปฏิบัติด้วยท่าทางการโบกรถ การใช้อาวุธปืน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชาย การเป็นกองร้อยน้ำหวานเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งคาดว่าประชาชนจะพึงพอใจ แต่อย่างไรก็ตาม ส.ต.ท.บุษกร ปันคะปวง กล่าวอย่างติดตลกว่า ตนเองไม่อยากให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ชายตั้งใจทำผิดกฎจราจรเพียงเพื่อต้องการได้ใกล้ชิดหรือพูดคุยกับเจ้าหน้าที่หญิงกองร้อยน้ำหวาน หากชอบใจหรือพอใจแค่ยิ้มให้ก็พอแล้ว ยังยอมรับอีกว่าทีแรกกลัวรถนะเพราะเราเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ กลัวรถวิ่งไป-มา ด้วยความเร็วและจะมองไม่เห็นเรา พอทำไปสักระยะเริ่มชินแล้วก็ไม่รู้สึกกลัวอะไร ส่วนปัญหาที่เคยเจอมีรถจยย.เคยขับฝ่าด่านตรวจไป ตรงจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์หน้าโลตัส บางเขน ซึ่งเราบอกให้จอดแต่มีรถตามหลังมา จยย.คันดังกล่าวคิดว่าส่งสัญญานให้ไป จึงขับออกไปเลย คงเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดไปหน่อย ทีนี้จะนำมาปรับแก้ไข และอยากฝากถึงประชาชนผู้ขับขี่ใช้รถบนท้องถนน ขอให้ปฎิบัติตามกฎจราจรกัน แล้วเวลาเจอกันตามสี่แยกบนท้องถนนให้ยิ้มทักทายกันได้ค่ะ
ด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าว และการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักในแต่ละวันของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ การปฏิบัติงานของกองร้อยน้ำหวาน เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรหญิง ที่มีความอ่อนโยน สุภาพ นิ่มนวล คงจะทำให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนผ่อนคลายความตึงเครียดลงได้มาก ซึ่งต่อไปหากมีกองร้อยน้ำหวานเพิ่มมากขึ้นอาจทำให้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรลดลงได้บ้าง อย่างน้อยก็ทำให้คนใจเย็นลงและเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในปัจจุบัน ซึ่งต่อไปอาจมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรหญิงหรือกองร้อยน้ำหวานประจำอยู่ทุกแยกบนถนนในกรุงเทพมหานครก็เป็นได้