ศาลอาญาสั่งจำคุก 250 ปี ขบวนการแชร์ลูกโซ่ลวงเหยื่อร่วมลงทุนซื้อขายเงินตราต่างประเทศ สั่งยกฟ้องสาวร้อยเอ็ดเหตุดีเอสไอจับผิดตัวทำให้สูญเสียอิสรภาพ 1 ปี 3 เดือน ญาติติดใจเล็งฟ้องอาญา 157 ทนายยื่นหนังสือ จี้ รมว.ยุติธรรม-ธาริต ตรวจสอบ
วันนี้ (10 ก.พ.) นายณฐพร โตประยูร ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินและทนายความ เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจาก นางสุจิตรา อามาตย์มนตรี จำเลยที่ 5 ในคดีฉ้อโกงประชาชน (แชร์ลูกโซ่) กรณีที่มีการจับกุมผิดตัวและถูกนำมาดำเนินคดีจนถูกยื่นฟ้องคดีต่อศาล
กระทั่งวันนี้ ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.3013/2552, อ.3758/2552 และ อ.1998/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายอัยยรัช แก้วจินดา นางนลทิพย์ เลิศฤกษ์ชัย นายกฤษดา ระเบียบนาวีนุรักษ์ นายสุภิวัฒน์ เทวสิงห์ และนางสุจิตรา เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.-6 ส.ค.52 พวกจำเลยได้ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหาย 50 คน ด้วยการโฆษณาหรือประกาศต่อสาธารณชนทั่วไปตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ให้มาเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท ซิกโก้ คอเปอร์เรชั่น จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำกิจการบ่อนกาสิโนในต่างประเทศ ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจน้ำมันและต้องการระดมเงินทุนเพิ่มเติม ซึ่งการกระทำของพวกจำเลยที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงที่ควรบอกแจ้ง เป็นเหตุให้พวกจำเลยได้เงินจากผู้เสียหายทั้ง 50 คนไป
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐาน แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1-4 มีความผิดจริงตามฟ้องให้จำคุกคนละ 50 กระทงๆ ละ 5 ปี รวมจำคุกคนละ 250 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 วรรค 2 ให้จำคุกได้สูงสุดคนละ 20 ปี จึงให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 ไว้คนละ 20 ปี ส่วนนางสุจิตรา จำเลยที่ 5 ศาลเห็นว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นพยานเบิกความว่าจำเลยที่ 5 ไม่ใช่คนเดียวกับคนที่ชื่อนางสุ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทฯ ที่พวกจำเลยนำมาหลอกลวงเพื่อกระทำผิด พยานโจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ พิพากษาให้ยกฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 5
นายณฐพร กล่าวอีกว่า นางสุจิตรา มาร้องเรียนขอให้ช่วยเหลือทางกฎหมายเนื่องจากยืนยันว่าตนเองไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับ นางสุ หรือ นางสุรีย์รัตน์ นุชเวช เจ้าหน้าที่การเงินของบริษัท ซิโก้ และไม่เคยเข้าไปในบริษัท แต่ นางสุจิตรา เป็นชาว จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งในบัญชีธนาคารก็ไม่มีกระแสการเงินเคลื่อนไหวที่ทำให้เป็นข้อพิรุธว่าเป็นการกระทำผิด อีกทั้งนางสุจิตรากลับเป็นหนี้ธนาคาร แต่ถูกนำตัวมาดำเนินคดี และเมื่อเข้ามาตรวจสอบเพื่อช่วยเหลือนางสุจิตราก็พบว่าแผนผังของดีเอสไอก็ไม่ปรากฏชื่อของ นางสุจิตรา นอกจากนี้ ในการชี้ตัวผู้เสียหายทุกคนยืนยันว่านางสุจิตราไม่ใช่ผู้กระทำผิด ขณะที่คดีนี้ นางสุจิตรา ก็ไม่ได้รับการประกันตัวเลยตั้งแต่ถูกดำเนินคดีมาเวลา 1 ปี 3 เดือน ซึ่งหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องแล้ว ตนได้ทำหนังสือถึง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม และ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อให้มีการพิจารณาตรวจสอบเรื่องการทำงานของเจ้าหน้าที่ หากมีการจับผู้ต้องหามาผิดตัวก็จะเกิดปัญหา เพราะเขาจะต้องสูญเสียอิสรภาพ และไม่ได้รับการประกันตัวจนกว่าคดีจะมีคำพิพากษา เพราะก่อนหน้านี้ได้หารือกับญาติตัวความก็ยังติดใจกับการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และอาจจะให้มีการฟ้องเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในความผิดคดีอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย อย่างไรก็ดี ระหว่างที่มีการดำเนินคดีและต่อสู้คดีในชั้นศาล ตนในฐานะทนายความของ นางสุจิตรา ก็ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อทุกหน่วยงาน ทั้งประธานศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เลขาธิการศาลยุติธรรม รวมทั้งอธิบดีดีเอสไอ
วันนี้ (10 ก.พ.) นายณฐพร โตประยูร ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินและทนายความ เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจาก นางสุจิตรา อามาตย์มนตรี จำเลยที่ 5 ในคดีฉ้อโกงประชาชน (แชร์ลูกโซ่) กรณีที่มีการจับกุมผิดตัวและถูกนำมาดำเนินคดีจนถูกยื่นฟ้องคดีต่อศาล
กระทั่งวันนี้ ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.3013/2552, อ.3758/2552 และ อ.1998/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายอัยยรัช แก้วจินดา นางนลทิพย์ เลิศฤกษ์ชัย นายกฤษดา ระเบียบนาวีนุรักษ์ นายสุภิวัฒน์ เทวสิงห์ และนางสุจิตรา เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.-6 ส.ค.52 พวกจำเลยได้ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหาย 50 คน ด้วยการโฆษณาหรือประกาศต่อสาธารณชนทั่วไปตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ให้มาเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท ซิกโก้ คอเปอร์เรชั่น จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำกิจการบ่อนกาสิโนในต่างประเทศ ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจน้ำมันและต้องการระดมเงินทุนเพิ่มเติม ซึ่งการกระทำของพวกจำเลยที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงที่ควรบอกแจ้ง เป็นเหตุให้พวกจำเลยได้เงินจากผู้เสียหายทั้ง 50 คนไป
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐาน แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1-4 มีความผิดจริงตามฟ้องให้จำคุกคนละ 50 กระทงๆ ละ 5 ปี รวมจำคุกคนละ 250 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 วรรค 2 ให้จำคุกได้สูงสุดคนละ 20 ปี จึงให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 ไว้คนละ 20 ปี ส่วนนางสุจิตรา จำเลยที่ 5 ศาลเห็นว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นพยานเบิกความว่าจำเลยที่ 5 ไม่ใช่คนเดียวกับคนที่ชื่อนางสุ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทฯ ที่พวกจำเลยนำมาหลอกลวงเพื่อกระทำผิด พยานโจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ พิพากษาให้ยกฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 5
นายณฐพร กล่าวอีกว่า นางสุจิตรา มาร้องเรียนขอให้ช่วยเหลือทางกฎหมายเนื่องจากยืนยันว่าตนเองไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับ นางสุ หรือ นางสุรีย์รัตน์ นุชเวช เจ้าหน้าที่การเงินของบริษัท ซิโก้ และไม่เคยเข้าไปในบริษัท แต่ นางสุจิตรา เป็นชาว จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งในบัญชีธนาคารก็ไม่มีกระแสการเงินเคลื่อนไหวที่ทำให้เป็นข้อพิรุธว่าเป็นการกระทำผิด อีกทั้งนางสุจิตรากลับเป็นหนี้ธนาคาร แต่ถูกนำตัวมาดำเนินคดี และเมื่อเข้ามาตรวจสอบเพื่อช่วยเหลือนางสุจิตราก็พบว่าแผนผังของดีเอสไอก็ไม่ปรากฏชื่อของ นางสุจิตรา นอกจากนี้ ในการชี้ตัวผู้เสียหายทุกคนยืนยันว่านางสุจิตราไม่ใช่ผู้กระทำผิด ขณะที่คดีนี้ นางสุจิตรา ก็ไม่ได้รับการประกันตัวเลยตั้งแต่ถูกดำเนินคดีมาเวลา 1 ปี 3 เดือน ซึ่งหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องแล้ว ตนได้ทำหนังสือถึง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม และ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อให้มีการพิจารณาตรวจสอบเรื่องการทำงานของเจ้าหน้าที่ หากมีการจับผู้ต้องหามาผิดตัวก็จะเกิดปัญหา เพราะเขาจะต้องสูญเสียอิสรภาพ และไม่ได้รับการประกันตัวจนกว่าคดีจะมีคำพิพากษา เพราะก่อนหน้านี้ได้หารือกับญาติตัวความก็ยังติดใจกับการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และอาจจะให้มีการฟ้องเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในความผิดคดีอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย อย่างไรก็ดี ระหว่างที่มีการดำเนินคดีและต่อสู้คดีในชั้นศาล ตนในฐานะทนายความของ นางสุจิตรา ก็ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อทุกหน่วยงาน ทั้งประธานศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เลขาธิการศาลยุติธรรม รวมทั้งอธิบดีดีเอสไอ