การแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับรองผบช.-ผบก. ประจำปี 2554 เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยการประชุมของก.ตร. เรียกว่าข้ามวันข้ามคืน เป็นประวัติศาสตร์ของการประชุมถึง 15 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากทุกตำแหน่งผ่านการเห็นชอบของก.ตร.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องรอโปรดเกล้าฯกันอีกครั้ง เนื่องจากนายตำรวจระดับดังกล่าวเป็นถึงระดับ"นายพล" แต่เพื่อความคล่องตัว และการปฏิบัติหน้าที่ จึงมีคำสั่งจากตร.ให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว ไปรักษาราชการแทนทันที
หนึ่งในจำนวนนายตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งที่น่าสนใจ หากแต่ผู้คนอาจลืมเลือน หรือยังไม่รู้จักหน้าค่าตา แต่เขาจะมาดำรงตำแหน่ง ซึ่งดูแลโรงพักชั้นใน กรุงเทพฯชั้นใน รวมทั้งพระบรมมหาราชวัง ก็คือ "พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์" ซึ่งจะขึ้นนั่งดำรงตำแหน่งผบก.น.1
ทำไมจึงต้องไปรู้จัก พ.ต.อ.พชร. เพราะพ.ต.อ.พชร เพิ่งให้สัมภาษณ์หลังเข้าทำงานวันแรกว่า "จะสานต่อนโยบายที่ทาง ผบก.น.1 คนเก่า(พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ) ที่ทำได้อย่างดีต่อไป เนื่องจากพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของ บช.น. ทั้งเรื่องความมั่นคง และเส้นทางเสด็จ จึงต้องทำงานหนักมากขึ้น ส่วนในโครงการที่ พล.ต.ต.วิชัย ทำเอาไว้ อาทิ หน่วยปะฉะดะ ก็จะยังสานต่อไป เพราะเป็นโครงการที่ดีมาก ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองในปี 2555 ที่คาดการณ์ว่า อาจจะมีกลุ่มมวลชนรวมตัวกันมากขึ้นในพื้นที่เชิงสัญลักษณ์นั้น ไม่หนักใจ เพราะ เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหนก็ตาม!
"ว่าที่พล.ต.ต.พชร บุญญสิทธิ์" เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 32 (นรต.32) รุ่นเดียวกับ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผบช.น. พล.ต.ท.ปัญญา มาเม่น ผบช.ภ.2 และนายตำรวจในรุ่นชื่อดังอีกหลายนาย เดิมไม่ได้ชื่อ"พชร" แต่ชื่อ"สิทธิโชค" เกิดเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2499 เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆหลายตำแหน่ง ตั้งแต่ระดับผกก. ทั้งสภ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นผกก.คนแรกของโรงพัก ที่ยกฐานะให้หัวหน้าสถานีต้องเป็นผกก. เคยดำรงตำแหน่งผกก.สส.ภาค 2 สมัยที่พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ อดีตรองผบ.ตร. เป็นผบช.ภาค 2 เมื่อกลับเข้าสู่เมืองหลวง สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ก็มาดำรงตำแหน่งเป็นรองผบก.น.4
ความจริงพ.ต.อ.พชร ก็ยังคงเป็นที่คุ้นเคยกับสื่อมวลชนสายอาชญากรรมเรื่อยมา แต่เจ้าตัวเริ่มมีชื่อเสียง ก็จากการที่ถูกผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำร้ายร่างกายที่ทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2550 จนต้องเข้าไปนอนหยอดน้ำข้าวต้มยังโรงพยาบาลตำรวจเสียหลายวัน
ครั้งนั้น พ.ต.อ.พชรเล่าไว้ว่า "ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนกำลังของ บก.น.4 จากรัฐสภา ไปยังทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว เพื่อช่วยเสริมกำลังของ บก.น.2 โดยช่วงที่เกิดเหตุได้เดินไปพร้อมกับลูกน้อง 2 คน ผ่านกลุ่มพันธมิตรฯ สักพักมีคนตะโกน ตำรวจฆ่าประชาชน จากนั้นมีคนถ่มน้ำลายใส่ ขว้างขวดน้ำถูกศีรษะ จนรู้สึกเจ็บ มึน แล้วก็มีกลุ่มพันธมิตรฯ กรูเข้ามา มีคนกระโดดถีบจนกระเด็นไปชนแผงเหล็กกั้นล้มลง แขนกระแทกแผงเหล็กแล้วถูกรุมกระทืบกระหน่ำใส่ ผู้หญิงก็พยายามข่วนหน้า รอยแผลข่วนยังมีที่คอ"
เหตุการณ์ครั้งนั้น รู้สึกยังไม่ค่อยมีใครรู้จักพ.ต.อ.พชรมากนัก แต่อีก 2 ปีกว่าถัดมา ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ชื่อของพ.ต.อ.พชร ยังเป็นที่จดจำของสื่อมวลชนเกือบทั่วประเทศ ชื่อของเขาถูกนำเสนอไปตามสำนักข่าวต่างประเทศทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก คงต้องไปทบทวนเหตุการณ์ดังกล่าวกันเสียหน่อย
วันที่ 16 เม.ย. 2553 กำลังคอมมานโด ภายใต้การนำของพล.ต.ต.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ รองผบช.น. นำกำลังกว่า 500 นาย ไปล้อมจับผู้ก่อการร้าย ประกอบด้วย นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ และนายเจ๋ง ดอกจิก ที่โรงแรมเอสซีปาร์ค ย่านทาวน์อินทาวน์ แต่ปรากฏว่า การเข้าล้อมจับในครั้งนั้น ได้ปรากฏการณ์"...ตะกายตึก"ขึ้น โดยนายอริสมันต์ ใช้เชือกโรยตัวหนีการจับกุมลงมาทางหน้าต่างได้
ที่สำคัญ ตำรวจที่เข้าไปจับกุมในครั้งนั้นถูกนายอริสมันต์ กับกลุ่มคนเสื้อแดงจับไปเป็นตัวประกันถึง 2 คน เพื่อนำกลับไปยังบริเวณเวทีสี่แยกราชประสงค์ และนายตำรวจที่ถูกจับไปเป็นตัวประกันหนึ่งในสองก็คือ พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์ รองผบก.น.4 นั่นเอง แม้ภายหลังเจ้าตัวจะออกมาแก้เกี้ยวว่า "ไปเป็นเพื่อนแกนนำที่กลัวอันตราย" ทว่า ภาพในทีวีที่ออกมาสู่สายตาประชาชนนั้น ถูกการ์ดคนเสื้อแดงหิ้วปีกไปชัดๆ !
ดูท่าแล้ว จากสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหมือนพ.ต.อ.พชร จะไม่ค่อยมีดวงสมประสงค์กับเรื่องม็อบเท่าไหร่ นี่ต้องมาคุมพื้นที่บก.น.1 อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของบรรดาม็อบทั้งหลายทั้งปวงด้วยแล้ว น่าเป็นห่วงเหลือเกิน
หวังว่าจากนี้ไป คงมีคนรู้จัก "ว่าที่พล.ต.ต.พชร บุญญสิทธิ์" ในฐานะผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) มากขึ้น!
หนึ่งในจำนวนนายตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งที่น่าสนใจ หากแต่ผู้คนอาจลืมเลือน หรือยังไม่รู้จักหน้าค่าตา แต่เขาจะมาดำรงตำแหน่ง ซึ่งดูแลโรงพักชั้นใน กรุงเทพฯชั้นใน รวมทั้งพระบรมมหาราชวัง ก็คือ "พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์" ซึ่งจะขึ้นนั่งดำรงตำแหน่งผบก.น.1
ทำไมจึงต้องไปรู้จัก พ.ต.อ.พชร. เพราะพ.ต.อ.พชร เพิ่งให้สัมภาษณ์หลังเข้าทำงานวันแรกว่า "จะสานต่อนโยบายที่ทาง ผบก.น.1 คนเก่า(พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ) ที่ทำได้อย่างดีต่อไป เนื่องจากพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของ บช.น. ทั้งเรื่องความมั่นคง และเส้นทางเสด็จ จึงต้องทำงานหนักมากขึ้น ส่วนในโครงการที่ พล.ต.ต.วิชัย ทำเอาไว้ อาทิ หน่วยปะฉะดะ ก็จะยังสานต่อไป เพราะเป็นโครงการที่ดีมาก ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองในปี 2555 ที่คาดการณ์ว่า อาจจะมีกลุ่มมวลชนรวมตัวกันมากขึ้นในพื้นที่เชิงสัญลักษณ์นั้น ไม่หนักใจ เพราะ เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหนก็ตาม!
"ว่าที่พล.ต.ต.พชร บุญญสิทธิ์" เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 32 (นรต.32) รุ่นเดียวกับ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผบช.น. พล.ต.ท.ปัญญา มาเม่น ผบช.ภ.2 และนายตำรวจในรุ่นชื่อดังอีกหลายนาย เดิมไม่ได้ชื่อ"พชร" แต่ชื่อ"สิทธิโชค" เกิดเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2499 เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆหลายตำแหน่ง ตั้งแต่ระดับผกก. ทั้งสภ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นผกก.คนแรกของโรงพัก ที่ยกฐานะให้หัวหน้าสถานีต้องเป็นผกก. เคยดำรงตำแหน่งผกก.สส.ภาค 2 สมัยที่พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ อดีตรองผบ.ตร. เป็นผบช.ภาค 2 เมื่อกลับเข้าสู่เมืองหลวง สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ก็มาดำรงตำแหน่งเป็นรองผบก.น.4
ความจริงพ.ต.อ.พชร ก็ยังคงเป็นที่คุ้นเคยกับสื่อมวลชนสายอาชญากรรมเรื่อยมา แต่เจ้าตัวเริ่มมีชื่อเสียง ก็จากการที่ถูกผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำร้ายร่างกายที่ทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2550 จนต้องเข้าไปนอนหยอดน้ำข้าวต้มยังโรงพยาบาลตำรวจเสียหลายวัน
ครั้งนั้น พ.ต.อ.พชรเล่าไว้ว่า "ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนกำลังของ บก.น.4 จากรัฐสภา ไปยังทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว เพื่อช่วยเสริมกำลังของ บก.น.2 โดยช่วงที่เกิดเหตุได้เดินไปพร้อมกับลูกน้อง 2 คน ผ่านกลุ่มพันธมิตรฯ สักพักมีคนตะโกน ตำรวจฆ่าประชาชน จากนั้นมีคนถ่มน้ำลายใส่ ขว้างขวดน้ำถูกศีรษะ จนรู้สึกเจ็บ มึน แล้วก็มีกลุ่มพันธมิตรฯ กรูเข้ามา มีคนกระโดดถีบจนกระเด็นไปชนแผงเหล็กกั้นล้มลง แขนกระแทกแผงเหล็กแล้วถูกรุมกระทืบกระหน่ำใส่ ผู้หญิงก็พยายามข่วนหน้า รอยแผลข่วนยังมีที่คอ"
เหตุการณ์ครั้งนั้น รู้สึกยังไม่ค่อยมีใครรู้จักพ.ต.อ.พชรมากนัก แต่อีก 2 ปีกว่าถัดมา ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ชื่อของพ.ต.อ.พชร ยังเป็นที่จดจำของสื่อมวลชนเกือบทั่วประเทศ ชื่อของเขาถูกนำเสนอไปตามสำนักข่าวต่างประเทศทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก คงต้องไปทบทวนเหตุการณ์ดังกล่าวกันเสียหน่อย
วันที่ 16 เม.ย. 2553 กำลังคอมมานโด ภายใต้การนำของพล.ต.ต.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ รองผบช.น. นำกำลังกว่า 500 นาย ไปล้อมจับผู้ก่อการร้าย ประกอบด้วย นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ และนายเจ๋ง ดอกจิก ที่โรงแรมเอสซีปาร์ค ย่านทาวน์อินทาวน์ แต่ปรากฏว่า การเข้าล้อมจับในครั้งนั้น ได้ปรากฏการณ์"...ตะกายตึก"ขึ้น โดยนายอริสมันต์ ใช้เชือกโรยตัวหนีการจับกุมลงมาทางหน้าต่างได้
ที่สำคัญ ตำรวจที่เข้าไปจับกุมในครั้งนั้นถูกนายอริสมันต์ กับกลุ่มคนเสื้อแดงจับไปเป็นตัวประกันถึง 2 คน เพื่อนำกลับไปยังบริเวณเวทีสี่แยกราชประสงค์ และนายตำรวจที่ถูกจับไปเป็นตัวประกันหนึ่งในสองก็คือ พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์ รองผบก.น.4 นั่นเอง แม้ภายหลังเจ้าตัวจะออกมาแก้เกี้ยวว่า "ไปเป็นเพื่อนแกนนำที่กลัวอันตราย" ทว่า ภาพในทีวีที่ออกมาสู่สายตาประชาชนนั้น ถูกการ์ดคนเสื้อแดงหิ้วปีกไปชัดๆ !
ดูท่าแล้ว จากสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหมือนพ.ต.อ.พชร จะไม่ค่อยมีดวงสมประสงค์กับเรื่องม็อบเท่าไหร่ นี่ต้องมาคุมพื้นที่บก.น.1 อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของบรรดาม็อบทั้งหลายทั้งปวงด้วยแล้ว น่าเป็นห่วงเหลือเกิน
หวังว่าจากนี้ไป คงมีคนรู้จัก "ว่าที่พล.ต.ต.พชร บุญญสิทธิ์" ในฐานะผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) มากขึ้น!