อัยการ ชี้ คดีชันสูตร 16 ศพเสื้อแดง ไม่ใช่เรื่องพิเศษ แค่พิสูจน์สาเหตุการตาย ต่อเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นเป็นความผิดอาญาค่อยมาดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด
วันนี้ (24 พ.ย.) นายขวัญชัย ถวิลลาภ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ กล่าวถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ส่งสำนวนคดีชันสูตร 16 ศพ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมชุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ให้อัยการพิจารณา ว่า พนักงานสอบสวนน่าจะนำสำนวนคดีไปให้อัยการฝ่ายที่รับผิดชอบท้องที่ สน.นั้นๆพิจารณา ซึ่งทางอัยการไม่ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะคดีชันสูตรศพเป็นการสอบหาสาเหตุการตายที่ผิดธรรมชาติ ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยศาลจะทำหน้าที่ไต่สวนเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ตายเป็นใคร เสียชีวิตเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้ทำให้เสียชีวิต โดยเปิดโอกาสให้บิดา มารดา ญาติ หรือผู้ที่มีข้อมูลการเสียชีวิตเข้าเบิกความช่วยศาลในการหาข้อเท็จจริงถึง และหลังจากศาลมีคำสั่งแล้วจะต้องมาพิจารณาต่อว่า มีการกระทำผิดคดีอาญาหรือไม่ ใครเป็นผู้ต้องหาที่กระทำผิดที่จะต้องถูกฟ้อง จากนั้นจึงเสนอให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณายื่นฟ้องเป็นคดีอาญา
“เรื่องการไต่สวนชันสูตรศพเป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องพิเศษ อัยการมีหน้าที่นำข้อมูลที่พนักงานสอบสวนรวบรวมมาเสนอให้ศาลทราบเพื่อพิสูจน์สาเหตุการตายที่ผิดธรรมชาติ ยังไม่ใช่เรื่องที่จะมีใครถูกใครผิด ต่อเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าการเสียชีวิตเกิดจากการกระทำผิดทางอาญาจึงจะมาเดินหน้าดำเนินคดีกันต่อไป” อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ กล่าว
ด้าน ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา กล่าวว่า พนักงานสอบสวน บช.น.ยังไม่ได้ส่งสำนวนคดีชันสูตร 16 ศพ มาให้อัยการพิจารณา มีเพียงการทำหนังสือขอความร่วมมือให้ส่งพนักงานอัยการเข้าไปร่วมการสอบสวน ซึ่งได้มอบให้อัยการฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบในท้องที่เกิดเหตุนั้นๆ เข้าไปร่วมสอบสวนแล้ว
วันนี้ (24 พ.ย.) นายขวัญชัย ถวิลลาภ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ กล่าวถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ส่งสำนวนคดีชันสูตร 16 ศพ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมชุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ให้อัยการพิจารณา ว่า พนักงานสอบสวนน่าจะนำสำนวนคดีไปให้อัยการฝ่ายที่รับผิดชอบท้องที่ สน.นั้นๆพิจารณา ซึ่งทางอัยการไม่ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะคดีชันสูตรศพเป็นการสอบหาสาเหตุการตายที่ผิดธรรมชาติ ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยศาลจะทำหน้าที่ไต่สวนเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ตายเป็นใคร เสียชีวิตเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้ทำให้เสียชีวิต โดยเปิดโอกาสให้บิดา มารดา ญาติ หรือผู้ที่มีข้อมูลการเสียชีวิตเข้าเบิกความช่วยศาลในการหาข้อเท็จจริงถึง และหลังจากศาลมีคำสั่งแล้วจะต้องมาพิจารณาต่อว่า มีการกระทำผิดคดีอาญาหรือไม่ ใครเป็นผู้ต้องหาที่กระทำผิดที่จะต้องถูกฟ้อง จากนั้นจึงเสนอให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณายื่นฟ้องเป็นคดีอาญา
“เรื่องการไต่สวนชันสูตรศพเป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องพิเศษ อัยการมีหน้าที่นำข้อมูลที่พนักงานสอบสวนรวบรวมมาเสนอให้ศาลทราบเพื่อพิสูจน์สาเหตุการตายที่ผิดธรรมชาติ ยังไม่ใช่เรื่องที่จะมีใครถูกใครผิด ต่อเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าการเสียชีวิตเกิดจากการกระทำผิดทางอาญาจึงจะมาเดินหน้าดำเนินคดีกันต่อไป” อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ กล่าว
ด้าน ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา กล่าวว่า พนักงานสอบสวน บช.น.ยังไม่ได้ส่งสำนวนคดีชันสูตร 16 ศพ มาให้อัยการพิจารณา มีเพียงการทำหนังสือขอความร่วมมือให้ส่งพนักงานอัยการเข้าไปร่วมการสอบสวน ซึ่งได้มอบให้อัยการฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบในท้องที่เกิดเหตุนั้นๆ เข้าไปร่วมสอบสวนแล้ว