ภายหลังจากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ถาโถมเข้าใส่จังหวัดทางภาคเหนือตอนล่าง โดยรัฐนาวา"ยิ่งลักษ์ณ ชินวัตร"ไม่สามารถบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมได้ ส่งผลทำให้การเข้าไปช่วยเหลือประชาชนเป็นไปอย่างทุกลักทุเล "ทหาร"ของกองทัพไทย ทั้ง ทัพบก ทัพเรือ และ อากาศ ต่างถูกเรียกเข้าไปช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะเครื่องไม้ เครื่องมือ และยานพาหนะ ที่สามารถลุยน้ำได้เกือบทุกสถานการณ์
ภาพต่อภาพ เฟสบุ๊คต่อเฟสบุ๊ค เรามักจะพบเห็นภาพทหารเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านอย่างกล้าหาญ ชนิดที่เรียกว่า"เสี่ยง"ถูกส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ พร้อมคำชื่นชมในความเป็น"ทหารของพระราชา" และ "กองทัพเพื่อประชาชน"อาทิ...
"นักการเมือง" แก้น้ำท่วม ด้วย "น้ำลาย"
"ทหารไทย" ยอมพลีกาย ด้วย "น้ำแรง"
"นัก...การเมือง" เอาหน้าให้ "สีแดง"
"ทหารหาญ" ไม่แอบแฝงแยก "สีใด"
"นักการเมือง" ใครล้ำเส้น ต้อง "ขัดขา"
"ทหารกล้า" ช่วยประชา ไม่ "ขัดใคร"
"นักการเมือง" เลือกทางแก้ ที่ "ถูกใจ"
"ทหารไทย" เลือกทางที่ "ถูกครรลอง"
"นักการเมือง" มุ่งกุข่าว "ปฏิวัติ"
"ทหารหาญ" มุ่ง "ปฏิบัติ" ไม่แบ่งสอง
"นักการเมือง" เอื้อของบริจาค เพื่อ "พวกพ้อง"
"ทหารกล้า" รับสนองคุณชาติ เพื่อ "ผองไทย"
"ทหารไทย" หัวใจหล่อมาก
จุดนี้เอง ทำให้ผู้สื่อข่าวนำคำถามไปป้อนใส่ปากเจ้าของฉายา"เป็ดเหลิม"ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในทำนองที่ว่า ทหาร ได้เข้าไปช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มความสามารถ แต่ทำไหม?..."ตำรวจไทย"...หายไปไหนหมด ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องตอบแบบเลี่ยงบาลี ไปในทำนองที่ว่า ตำรวจเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ไม่ได้แต่งเครื่องแบบอย่างทหาร จึงทำให้ชาวบ้านไม่รู้ว่า ตำรวจก็ช่วยเหลือประชาชนอยู่ด้วย
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน ไล่ตั้งแต่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.ลงมาถึง ผบ.หมู่ ต่างสวมใส่เสื้อยืดสีขาว สกรีนคำว่า"ตำรวจ" ออกไปช่วยเหลือประชาชน เท่านั้นยังไม่พอ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.อก.บช.น. นอกจากจะสกรีนคำว่าตำรวจแล้ว ยังสกรีนภาษาอังกฤษ "POLICE" กำกับไว้ด้วย นัยว่า กลัวพวกฝรั่งมั่งค่าจะไม่รู้ว่า ผมเป็นตำรวจ
กรณีเสื้อ"ตำรวจ"ที่เด็ดสุดเห็นจะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตตำรวจผู้หลงยุค นอกจากใส่เสื้อที่เจ้าตัวใส่จะสกรีนคำว่า"ตำรวจ"แล้ว ยังนำภาพสมัยเมื่อครั้งเป็นสารวัตรกองปราบปราม มาสกรีนไว้บริเวณด้านหน้า เรียกว่า เอากันให้ชัดๆ ไปเลย
นอกจากนั้นสารวัตรกองปรามฯผู้นี้ ยังไม่ทิ้งลายกวาดล้างคนร้าย โดยมีไอเดียบรรเจิดจัดสายตรวจทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้เฮลิคอปเตอร์ออกตรวจตราสอดส่องจับกุมขโมย ขโจร นอกจากนี้ ยังจะใช้ชุดเคลื่อนที่เร็วทางเรือ เจ็ตสกี สปีดโบต ออกลาดตระเวนรวบแก๊งแมวน้ำด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ตำรวจจะสวมเสื้อ เพื่อแสดงตนว่าเป็น"ตำรวจ"ที่ออกมาช่วยเหลือประชาชน แต่ประชาชนหรือชาวบ้านเอง อยากให้ตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดก่อน โดยเฉพาะการป้องกันและปราบปรามพวกเหล่ามิจฉาชีพที่คอยซ้ำเติมบรรดาผู้ประสบอุทกภัย ทั้งเข้าไปขโมยของในบ้านที่ถูกน้ำท่วม โจรกรรมรถที่จอดหนีน้ำ น่าจะดีกว่าการที่ตำรวจจะเข้าไปช่วยเหลือเรื่องอื่นๆที่มีหลายหน่วยงานคอยช่วยเหลืออยู่แล้ว
นอกจากนี้ ประชาชนยังต้องการความอุ่นใจให้การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยช่วงภาวะวิกฤตน้ำท่วมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ชาวบ้านไม่ยอมออกมาจากพื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าจะมีกลุ่มมิจฉาชีพจ้องอาละวาด ก่อกวน อีกทั้งชาวบ้านยังคงหวาดกลัวหวั่นกลุ่มมือที่ 3 อาศัยสถานการณ์น้ำท่วม แฝงตัวอ้างจะเข้ามาช่วยเหลือแต่แท้จริงกลับกลายเป็นเข้ามาลักทรัพย์ หรือทำมิดีมิร้ายต่อชาวบ้านอย่างที่มีข่าวลือหนาหูในขณะนี้
มาถึงกรณี"ตำรวจ"ช่วยเหลือน้ำท่วม เราๆท่านๆมักจะเห็นภาพข่าวหน้าจอทีวี อยู่บ่อยๆที่ตำรวจระดับสูงท่านหนึ่งพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เดินทางเข้าไปแจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบภัยในพื้นที่ ก็มักจะเชิญสื่อเดินทางไปทำข่าวในทุกครั้ง ทำให้สื่อหลายสำนักเล่าปากต่อปากว่า นายตำรวจผู้นี้ หากไม่มีกล้องจับภาพขณะทำการแจกสิ่งของ ตำรวจผู้นั้น ก็จะยังไม่แจกสิ่งของ อีกทั้ง หลังออกตรวจพื้นที่แล้ว ได้กำชับผู้สื่อข่าวช่องนั้นๆว่า ขอให้ออกข่าวให้ด้วยนะครับ
จากเรื่องราวตำรวจยุครัฐบาลเสื้อแดง ใส่เสื้อ"ตำรวจ"ช่วยเหลือประชาชน จะทำด้วยใจ หรือ ทำเพื่อเอาหน้า ของเหล่าตำรวจพวกเสนอหน้า หวังเชลียร์นักการเมืองที่คุมตำรวจอย่าง"เฉลิม อยู่บำรุง"หรือไม่?..เพราะหากไปดูสถิติคดีอาชญากรรม ที่เกิดขึ้นในช่วยน้ำท่วม พบว่า ในแต่ละพื้นที่มีสูงทีเดียว อีกทั้ง ตำรวจก็ไม่ใส่ใจที่จะออกติดตามจับกุม แต่เลือกที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนด้วยการใส่เสื้อ"ตำรวจ"แจกสิ่งของออกข่าว ไม่สมกับเป็นผู้ พิทักษ์สันติราษฎร์ ที่มีความหมายคือ...เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย
ดังนั้น ในเวลานี้ สิ่งที่ควรเร่งทำมากที่สุดนอกเหนือจากใส่เสื้อแสดงตนว่าเป็น "ตำรวจ" แล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี น่าจะแสดงฝีมือซับน้ำตาให้ผู้ประสบภัย โดยการขจัดความเดือดร้อนของชาวบ้านในการปราบปรามโจรลักเล็ก ขโมยน้อยให้หมดไป และสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านก่อน ซึ่งแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะสวมใส่เสื้อที่การันตีความเป็น "ตำรวจ" ต่อกี่รูปแบบก็ตาม หากชาวบ้านยังหวาดผวาอาจเกิดเหตุร้ายอยู่เช่นนี้ การฝากบ้านไว้กับตำรวจ และแรงศรัทธาในความเชื่อมั่น ความสบายใจคงเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าการทำงานกวาดล้างอาชญกรรมยังคงย้ำอยู่กับที่!!!
ภาพต่อภาพ เฟสบุ๊คต่อเฟสบุ๊ค เรามักจะพบเห็นภาพทหารเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านอย่างกล้าหาญ ชนิดที่เรียกว่า"เสี่ยง"ถูกส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ พร้อมคำชื่นชมในความเป็น"ทหารของพระราชา" และ "กองทัพเพื่อประชาชน"อาทิ...
"นักการเมือง" แก้น้ำท่วม ด้วย "น้ำลาย"
"ทหารไทย" ยอมพลีกาย ด้วย "น้ำแรง"
"นัก...การเมือง" เอาหน้าให้ "สีแดง"
"ทหารหาญ" ไม่แอบแฝงแยก "สีใด"
"นักการเมือง" ใครล้ำเส้น ต้อง "ขัดขา"
"ทหารกล้า" ช่วยประชา ไม่ "ขัดใคร"
"นักการเมือง" เลือกทางแก้ ที่ "ถูกใจ"
"ทหารไทย" เลือกทางที่ "ถูกครรลอง"
"นักการเมือง" มุ่งกุข่าว "ปฏิวัติ"
"ทหารหาญ" มุ่ง "ปฏิบัติ" ไม่แบ่งสอง
"นักการเมือง" เอื้อของบริจาค เพื่อ "พวกพ้อง"
"ทหารกล้า" รับสนองคุณชาติ เพื่อ "ผองไทย"
"ทหารไทย" หัวใจหล่อมาก
จุดนี้เอง ทำให้ผู้สื่อข่าวนำคำถามไปป้อนใส่ปากเจ้าของฉายา"เป็ดเหลิม"ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในทำนองที่ว่า ทหาร ได้เข้าไปช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มความสามารถ แต่ทำไหม?..."ตำรวจไทย"...หายไปไหนหมด ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องตอบแบบเลี่ยงบาลี ไปในทำนองที่ว่า ตำรวจเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ไม่ได้แต่งเครื่องแบบอย่างทหาร จึงทำให้ชาวบ้านไม่รู้ว่า ตำรวจก็ช่วยเหลือประชาชนอยู่ด้วย
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน ไล่ตั้งแต่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.ลงมาถึง ผบ.หมู่ ต่างสวมใส่เสื้อยืดสีขาว สกรีนคำว่า"ตำรวจ" ออกไปช่วยเหลือประชาชน เท่านั้นยังไม่พอ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.อก.บช.น. นอกจากจะสกรีนคำว่าตำรวจแล้ว ยังสกรีนภาษาอังกฤษ "POLICE" กำกับไว้ด้วย นัยว่า กลัวพวกฝรั่งมั่งค่าจะไม่รู้ว่า ผมเป็นตำรวจ
กรณีเสื้อ"ตำรวจ"ที่เด็ดสุดเห็นจะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตตำรวจผู้หลงยุค นอกจากใส่เสื้อที่เจ้าตัวใส่จะสกรีนคำว่า"ตำรวจ"แล้ว ยังนำภาพสมัยเมื่อครั้งเป็นสารวัตรกองปราบปราม มาสกรีนไว้บริเวณด้านหน้า เรียกว่า เอากันให้ชัดๆ ไปเลย
นอกจากนั้นสารวัตรกองปรามฯผู้นี้ ยังไม่ทิ้งลายกวาดล้างคนร้าย โดยมีไอเดียบรรเจิดจัดสายตรวจทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้เฮลิคอปเตอร์ออกตรวจตราสอดส่องจับกุมขโมย ขโจร นอกจากนี้ ยังจะใช้ชุดเคลื่อนที่เร็วทางเรือ เจ็ตสกี สปีดโบต ออกลาดตระเวนรวบแก๊งแมวน้ำด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ตำรวจจะสวมเสื้อ เพื่อแสดงตนว่าเป็น"ตำรวจ"ที่ออกมาช่วยเหลือประชาชน แต่ประชาชนหรือชาวบ้านเอง อยากให้ตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดก่อน โดยเฉพาะการป้องกันและปราบปรามพวกเหล่ามิจฉาชีพที่คอยซ้ำเติมบรรดาผู้ประสบอุทกภัย ทั้งเข้าไปขโมยของในบ้านที่ถูกน้ำท่วม โจรกรรมรถที่จอดหนีน้ำ น่าจะดีกว่าการที่ตำรวจจะเข้าไปช่วยเหลือเรื่องอื่นๆที่มีหลายหน่วยงานคอยช่วยเหลืออยู่แล้ว
นอกจากนี้ ประชาชนยังต้องการความอุ่นใจให้การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยช่วงภาวะวิกฤตน้ำท่วมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ชาวบ้านไม่ยอมออกมาจากพื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าจะมีกลุ่มมิจฉาชีพจ้องอาละวาด ก่อกวน อีกทั้งชาวบ้านยังคงหวาดกลัวหวั่นกลุ่มมือที่ 3 อาศัยสถานการณ์น้ำท่วม แฝงตัวอ้างจะเข้ามาช่วยเหลือแต่แท้จริงกลับกลายเป็นเข้ามาลักทรัพย์ หรือทำมิดีมิร้ายต่อชาวบ้านอย่างที่มีข่าวลือหนาหูในขณะนี้
มาถึงกรณี"ตำรวจ"ช่วยเหลือน้ำท่วม เราๆท่านๆมักจะเห็นภาพข่าวหน้าจอทีวี อยู่บ่อยๆที่ตำรวจระดับสูงท่านหนึ่งพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เดินทางเข้าไปแจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบภัยในพื้นที่ ก็มักจะเชิญสื่อเดินทางไปทำข่าวในทุกครั้ง ทำให้สื่อหลายสำนักเล่าปากต่อปากว่า นายตำรวจผู้นี้ หากไม่มีกล้องจับภาพขณะทำการแจกสิ่งของ ตำรวจผู้นั้น ก็จะยังไม่แจกสิ่งของ อีกทั้ง หลังออกตรวจพื้นที่แล้ว ได้กำชับผู้สื่อข่าวช่องนั้นๆว่า ขอให้ออกข่าวให้ด้วยนะครับ
จากเรื่องราวตำรวจยุครัฐบาลเสื้อแดง ใส่เสื้อ"ตำรวจ"ช่วยเหลือประชาชน จะทำด้วยใจ หรือ ทำเพื่อเอาหน้า ของเหล่าตำรวจพวกเสนอหน้า หวังเชลียร์นักการเมืองที่คุมตำรวจอย่าง"เฉลิม อยู่บำรุง"หรือไม่?..เพราะหากไปดูสถิติคดีอาชญากรรม ที่เกิดขึ้นในช่วยน้ำท่วม พบว่า ในแต่ละพื้นที่มีสูงทีเดียว อีกทั้ง ตำรวจก็ไม่ใส่ใจที่จะออกติดตามจับกุม แต่เลือกที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนด้วยการใส่เสื้อ"ตำรวจ"แจกสิ่งของออกข่าว ไม่สมกับเป็นผู้ พิทักษ์สันติราษฎร์ ที่มีความหมายคือ...เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย
ดังนั้น ในเวลานี้ สิ่งที่ควรเร่งทำมากที่สุดนอกเหนือจากใส่เสื้อแสดงตนว่าเป็น "ตำรวจ" แล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี น่าจะแสดงฝีมือซับน้ำตาให้ผู้ประสบภัย โดยการขจัดความเดือดร้อนของชาวบ้านในการปราบปรามโจรลักเล็ก ขโมยน้อยให้หมดไป และสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านก่อน ซึ่งแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะสวมใส่เสื้อที่การันตีความเป็น "ตำรวจ" ต่อกี่รูปแบบก็ตาม หากชาวบ้านยังหวาดผวาอาจเกิดเหตุร้ายอยู่เช่นนี้ การฝากบ้านไว้กับตำรวจ และแรงศรัทธาในความเชื่อมั่น ความสบายใจคงเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าการทำงานกวาดล้างอาชญกรรมยังคงย้ำอยู่กับที่!!!