ตำรวจ ปคบ.บุกตรวจค้นโรงงานผลิตอาหารเจที่ผสมเนื้อสัตว์ ทั้งเต้าหู้สามเหลี่ยม ปูอัดเจ ไส้กรอก ทอดมันเจ มีปลาหมึก กุ้ง ไก่ เจือปน โดยอาหารทั้งหมดไม่ผ่านการรับรองจาก อย.ด้วย
วันนี้ (26 ก.ย.) เมื่อเวลา 12.00 น. พ.ต.ท.สัญญา เนียมประดิษฐ์ พ.ต.ท.สายชล พิมพ์ศิลป์ รองผกก.4 บก.ปคบ. พ.ต.ท.อานันท์ วิชเศรษฐสมิต สว.กก.4 บก.ปคบ.พร้อมด้วย นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นศาลอาญาธนบุรี ที่ 618/2554 ลงวันที่ 26 ก.ย.54 เข้าตรวจค้นภายใน บจก.โง้วเจงง้วน ภายในซอยสุขสวัสดิ์ 2 แยก 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กทม.ซึ่งเป็นบริษัทผลิตฟองเต้าหู้ เต้าหู้ยี้ และอาหารเจ แห้ง-สด ทุกชนิด หลังตรวจสอบพบว่าเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารเจที่มีเนื้อสัตว์เจือปน
ที่เกิดเหตุเป็นโรงงานขนาดใหญ่ประกอบกิจการผลิตฟองเต้าหู้ เต้าหู้ยี้ และอาหารเจ แห้ง-สด ทุกชนิด โดยภายในห้องเย็นเก็บอาหารด้านหลังโรงงานพบอาหารเจชนิดต่างๆ ประกอบด้วย ทอดมันเจ เต้าหู้สามเหลี่มเจ ปูอัดเจ ไส้กรอก และลูกชิ้นผักเจ เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้พบดีเอ็นเอของปลา ปลาหมึก กุ้งและไก่ เจือปนอยู่ เจ้าหน้าที่ อย.จึงยึดเอาไว้เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างละเอียด
พ.ต.ท.สายชล เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนไปยัง อย.ว่า มีอาหารเจที่ผสมเนื้อสัตว์อยู่ ทาง อย.จึงได้สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัย ก่อนจะประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ.ช่วยตรวจสอบ
เบื้องต้นพบข้อมูลว่า โรงงานดังกล่าวอยู่ย่านสุขสวัสดิ์ จึงนำกำลังเข้าตรวจค้นทันที จากการตรวจสอบพบว่า มีดีเอ็นเอเนื้อสัตว์ปนเปื้อนอยู่ 8 รายการ จากการสอบถามเจ้าของโรงงานเบื้องต้น ทราบว่า เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายไม่ใช่ผู้ผลิต รับอาหารเจมาขายในช่วงเทศกาลกินเจได้ประมาณ 2 ปีแล้ว โดยรับมาจากย่านหัวกระบือ มีรถมาส่งถึงโรงงาน แต่ไม่รู้ว่าเป็นอาหารเจที่มีเนื้อสัตว์เจือปนอยู่ หลังจากนี้ จะต้องเชิญตัวเจ้าของโรงงานไปสอบปากคำก่อนแจ้งข้อหาผลิตและจำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท ก่อนขยายผลไปถึงผู้ผลิตเพื่อจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป
ด้าน นพ.นรังสันต์ กล่าวว่า ประชาชนที่มีจิตกุศล ต้องการกินอาหารเจงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ อาหารเจที่ปลอมปนเนื้อสัตว์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกาย แต่เมื่อผู้ที่กินเจซื้อไปบริโภคก็เท่ากับว่าไม่ได้กินเจตามที่ตั้งใจ อยากให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอาหารเจทุกราย มีจริยธรรมในการประกอบกิจการ
ส่วนสาเหตุที่ต้องปลอมปนก็น่าจะมาจากต้องการให้ผู้บริโภคเสมือนได้กินเนื้อสัตว์จริงๆ และลดต้นทุนต่างๆ สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตอาหารเจปลอมได้จากฉลากที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ จะต้องมี อย.มีฉลากที่เป็นภาษาไทย และมีข้อมูลของบริษัทที่ผลิตครบถ้วน หากพบอาหารเจที่น่าสงสัยว่าจะมีเนื้อสัตว์ปลอมปน สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือร้องเรียนไปที่ บก.ปคบ.ได้
วันนี้ (26 ก.ย.) เมื่อเวลา 12.00 น. พ.ต.ท.สัญญา เนียมประดิษฐ์ พ.ต.ท.สายชล พิมพ์ศิลป์ รองผกก.4 บก.ปคบ. พ.ต.ท.อานันท์ วิชเศรษฐสมิต สว.กก.4 บก.ปคบ.พร้อมด้วย นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นศาลอาญาธนบุรี ที่ 618/2554 ลงวันที่ 26 ก.ย.54 เข้าตรวจค้นภายใน บจก.โง้วเจงง้วน ภายในซอยสุขสวัสดิ์ 2 แยก 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กทม.ซึ่งเป็นบริษัทผลิตฟองเต้าหู้ เต้าหู้ยี้ และอาหารเจ แห้ง-สด ทุกชนิด หลังตรวจสอบพบว่าเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารเจที่มีเนื้อสัตว์เจือปน
ที่เกิดเหตุเป็นโรงงานขนาดใหญ่ประกอบกิจการผลิตฟองเต้าหู้ เต้าหู้ยี้ และอาหารเจ แห้ง-สด ทุกชนิด โดยภายในห้องเย็นเก็บอาหารด้านหลังโรงงานพบอาหารเจชนิดต่างๆ ประกอบด้วย ทอดมันเจ เต้าหู้สามเหลี่มเจ ปูอัดเจ ไส้กรอก และลูกชิ้นผักเจ เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้พบดีเอ็นเอของปลา ปลาหมึก กุ้งและไก่ เจือปนอยู่ เจ้าหน้าที่ อย.จึงยึดเอาไว้เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างละเอียด
พ.ต.ท.สายชล เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนไปยัง อย.ว่า มีอาหารเจที่ผสมเนื้อสัตว์อยู่ ทาง อย.จึงได้สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัย ก่อนจะประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ.ช่วยตรวจสอบ
เบื้องต้นพบข้อมูลว่า โรงงานดังกล่าวอยู่ย่านสุขสวัสดิ์ จึงนำกำลังเข้าตรวจค้นทันที จากการตรวจสอบพบว่า มีดีเอ็นเอเนื้อสัตว์ปนเปื้อนอยู่ 8 รายการ จากการสอบถามเจ้าของโรงงานเบื้องต้น ทราบว่า เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายไม่ใช่ผู้ผลิต รับอาหารเจมาขายในช่วงเทศกาลกินเจได้ประมาณ 2 ปีแล้ว โดยรับมาจากย่านหัวกระบือ มีรถมาส่งถึงโรงงาน แต่ไม่รู้ว่าเป็นอาหารเจที่มีเนื้อสัตว์เจือปนอยู่ หลังจากนี้ จะต้องเชิญตัวเจ้าของโรงงานไปสอบปากคำก่อนแจ้งข้อหาผลิตและจำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท ก่อนขยายผลไปถึงผู้ผลิตเพื่อจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป
ด้าน นพ.นรังสันต์ กล่าวว่า ประชาชนที่มีจิตกุศล ต้องการกินอาหารเจงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ อาหารเจที่ปลอมปนเนื้อสัตว์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกาย แต่เมื่อผู้ที่กินเจซื้อไปบริโภคก็เท่ากับว่าไม่ได้กินเจตามที่ตั้งใจ อยากให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอาหารเจทุกราย มีจริยธรรมในการประกอบกิจการ
ส่วนสาเหตุที่ต้องปลอมปนก็น่าจะมาจากต้องการให้ผู้บริโภคเสมือนได้กินเนื้อสัตว์จริงๆ และลดต้นทุนต่างๆ สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตอาหารเจปลอมได้จากฉลากที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ จะต้องมี อย.มีฉลากที่เป็นภาษาไทย และมีข้อมูลของบริษัทที่ผลิตครบถ้วน หากพบอาหารเจที่น่าสงสัยว่าจะมีเนื้อสัตว์ปลอมปน สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือร้องเรียนไปที่ บก.ปคบ.ได้