แกรมมี่แจ้งความดำเนินคดี 2 หนุ่ม เลียนแบบศิลปิน ทั้งการแต่งตัว แถมนำเพลงลิขสิทธิ์ ในค่ายของ “ไผ่ พงศธร-ไหมไทย-พี สะเดิด” รับงานแสดงออกทัวร์คอนเสิร์ต หลอกประชาชนใน กทม.และต่างจังหวัด ด้านตำรวจเตรียมออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา ขู่ไม่มาเจอหมายจับแน่ พร้อมฝากถึงศิลปินที่เป็นไอดอลของประชาชน ให้ประพฤติตัวดี เพื่อเป็นแบบอย่างเยาวชน
วันนี้ (24 พ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) นายอนุชิต ธาตุเสียว ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย บริษัท จี-พาเทนท์ จำกัด และนายพนม บัวชอุ่ม ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (มหาชน) จำกัด พร้อมคณะ เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปอศ.และ พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผบก.ปอศ.เพื่อให้ดำเนินคดีกับกลุ่มศิลปินที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม ประกอบด้วย นายอาคม ศรีเทพ และ นายชวภณ แสนเลิงเรื่อง ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อการค้า ด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมทั้งนำเอกสารหลักฐานและภาพถ่ายของศิลปินที่ถูกลอกเลียบแบบมามอบให้เป็นหลักฐาน
นายอนุชิต เปิดเผยว่า ตนมีหน้าที่ดูแลด้านลิขสิทธิ์ของแกรมมี่ ซึ่งในวันนี้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท แกรมมี่ ให้เข้าร้องทุกข์ที่ บก.ปอศ.เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ทราบว่ามีกลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นศิลปินของแกรมมี่ โดยมีการปลอมตัวเลียนแบบ ทั้งรูปร่างหน้าตา การแต่งตัว และร้องเพลงศิลปินในค่ายแกรมมี่ โดยมีการจัดการแสดงพร้อมทั้งนำผลงานเพลงของบริษัทไปแผยแพร่ โดยรับงานการแสดงทั้งใน กทม.และปริมณฑล รวมทั้งในต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง ซึ่งทำมานานเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว โดยมีการแต่งตัวและร้องเพลงเลียนแบบศิลปินตัวจริง เช่น พีสะเดิด ไผ่ พงศธร และ ไหมไทย ซึ่งเป็นงานเพลงที่มีลิขสิทธิ์ของบริษัท ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อ ซึ่งเป็นการทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง อีกทั้งมีบางคนทำตัวไม่เหมาะสมจนนำความเสื่อมเสียมาสู่ศิลปินตัวจริงอีกด้วย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า นายอาคม ได้แอบอ้างเป็นพีสะเดิด ส่วน นายชวภณ ได้แอบอ้างเป็น ไผ่ พงศธร ทางบริษัทจึงได้เก็บภาพบุคคลดังกล่าวขณะกระทำผิด พร้อมเอกสารและซีดีบันทึกการแสดงมามอบไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าว
นายอนุชิต กล่าวอีกว่า ปกติแล้วหากศิลปินจะนำเพลงลิขสิทธิ์ของบริษัทไปร้องต่อที่สาธารณะจะต้องขออนุญาตจากทางบริษัทก่อน เช่น อย่างกรณีของรายการตีสิบช่วงดันดารา ก็ยังต้องขออนุญาตก่อนเช่นกันถึงจะนำเพลงไปร้องได้ จึงขอฝากไปยังกลุ่มศิลปินต่างๆ ว่า การนำเพลงลิขสิทธิ์ของบริษัทไปร้อง หรือเผยแพร่ ถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย และหากพบว่ามีการลอกเลียนแบบศิลปินตัวจริงก็จะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ดี หากเป็นงานแสดงที่เป็นการกุศล หรืองานกาชาด และงานที่ไม่ได้ทำเพื่อการค้าเราก็ยกเว้น เพราะถือว่าไม่ได้เป็นการทำให้บริษัทเสียหาย
ด้าน พ.ต.อ.ชัยณรงค์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้ให้พนักงานสอบสวนรับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว ซึ่งคดีนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน โดยหลังจากนี้จะสืบสวนสอบสวน เพื่อทำการออกหมายเรียกบุคคลทั้ง 2 มารับทราบข้อกล่าวหา แต่หากยังไม่มาจะดำเนินการออกหมายจับ เพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป พร้อมยืนยันจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด นอกจากนี้ ขอฝากไปยังศิลปินต่างๆ ซึ่งเป็นไอดอลของประชาชน ซึ่งหากมีการประพฤติตนไม่เหมาะสมก็จะทำให้เยาวชนลอกเลียบแบบได้ ซึ่งประชาชนควรจะต้องใช้พิจารณาแยกแยะด้วย
วันนี้ (24 พ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) นายอนุชิต ธาตุเสียว ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย บริษัท จี-พาเทนท์ จำกัด และนายพนม บัวชอุ่ม ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (มหาชน) จำกัด พร้อมคณะ เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปอศ.และ พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผบก.ปอศ.เพื่อให้ดำเนินคดีกับกลุ่มศิลปินที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม ประกอบด้วย นายอาคม ศรีเทพ และ นายชวภณ แสนเลิงเรื่อง ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อการค้า ด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมทั้งนำเอกสารหลักฐานและภาพถ่ายของศิลปินที่ถูกลอกเลียบแบบมามอบให้เป็นหลักฐาน
นายอนุชิต เปิดเผยว่า ตนมีหน้าที่ดูแลด้านลิขสิทธิ์ของแกรมมี่ ซึ่งในวันนี้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท แกรมมี่ ให้เข้าร้องทุกข์ที่ บก.ปอศ.เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ทราบว่ามีกลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นศิลปินของแกรมมี่ โดยมีการปลอมตัวเลียนแบบ ทั้งรูปร่างหน้าตา การแต่งตัว และร้องเพลงศิลปินในค่ายแกรมมี่ โดยมีการจัดการแสดงพร้อมทั้งนำผลงานเพลงของบริษัทไปแผยแพร่ โดยรับงานการแสดงทั้งใน กทม.และปริมณฑล รวมทั้งในต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง ซึ่งทำมานานเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว โดยมีการแต่งตัวและร้องเพลงเลียนแบบศิลปินตัวจริง เช่น พีสะเดิด ไผ่ พงศธร และ ไหมไทย ซึ่งเป็นงานเพลงที่มีลิขสิทธิ์ของบริษัท ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อ ซึ่งเป็นการทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง อีกทั้งมีบางคนทำตัวไม่เหมาะสมจนนำความเสื่อมเสียมาสู่ศิลปินตัวจริงอีกด้วย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า นายอาคม ได้แอบอ้างเป็นพีสะเดิด ส่วน นายชวภณ ได้แอบอ้างเป็น ไผ่ พงศธร ทางบริษัทจึงได้เก็บภาพบุคคลดังกล่าวขณะกระทำผิด พร้อมเอกสารและซีดีบันทึกการแสดงมามอบไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าว
นายอนุชิต กล่าวอีกว่า ปกติแล้วหากศิลปินจะนำเพลงลิขสิทธิ์ของบริษัทไปร้องต่อที่สาธารณะจะต้องขออนุญาตจากทางบริษัทก่อน เช่น อย่างกรณีของรายการตีสิบช่วงดันดารา ก็ยังต้องขออนุญาตก่อนเช่นกันถึงจะนำเพลงไปร้องได้ จึงขอฝากไปยังกลุ่มศิลปินต่างๆ ว่า การนำเพลงลิขสิทธิ์ของบริษัทไปร้อง หรือเผยแพร่ ถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย และหากพบว่ามีการลอกเลียนแบบศิลปินตัวจริงก็จะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ดี หากเป็นงานแสดงที่เป็นการกุศล หรืองานกาชาด และงานที่ไม่ได้ทำเพื่อการค้าเราก็ยกเว้น เพราะถือว่าไม่ได้เป็นการทำให้บริษัทเสียหาย
ด้าน พ.ต.อ.ชัยณรงค์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้ให้พนักงานสอบสวนรับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว ซึ่งคดีนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน โดยหลังจากนี้จะสืบสวนสอบสวน เพื่อทำการออกหมายเรียกบุคคลทั้ง 2 มารับทราบข้อกล่าวหา แต่หากยังไม่มาจะดำเนินการออกหมายจับ เพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป พร้อมยืนยันจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด นอกจากนี้ ขอฝากไปยังศิลปินต่างๆ ซึ่งเป็นไอดอลของประชาชน ซึ่งหากมีการประพฤติตนไม่เหมาะสมก็จะทำให้เยาวชนลอกเลียบแบบได้ ซึ่งประชาชนควรจะต้องใช้พิจารณาแยกแยะด้วย