"ผมจะนำประสบการณ์ในงานปราบปรามยาเสพติดมาใช้ในการจัดทำเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดรวมถึงบุคคลภายนอกที่มาติดต่อขอเยี่ยม เพื่อนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมต้องสงสัย และปิดช่องทางไม่ให้มีการลักลอบบงการซื้อขายยาเสพติด ส่วนผู้ต้องขังที่ยังมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจะแยกคุมขังไว้ในแดนความมั่นคงสูง"
นั่นเป็นคำพูดของ "ชาติชาย สุทธิกลม" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้ประกาศไว้เมื่อ 2 ปีในวันเข้ารับตำแหน่ง ว่าจะเดินหน้าปราบปราบยาเสพติด โดยจะติดตั้งเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในเรือนจำ เพื่อปิดกั้นขบวนการค้ายานรก
เมื่อวันเวลาผ่านไป กลับมีคำถามที่ยังติดค้างคาใจของหลายคนว่า "นักโทษในคุก ค้ายาเสพติดได้อย่างไร" และ "ทำไมอยู่ในคุกแล้ว ผู้ต้องหายังค้ายาเสพติดได้" และข้อสงสัยในหลายคำถาม ที่ยังต้องการให้หน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะกรมราชทัณฑ์ไขข้อกระจ่าง แต่ในการกวาดล้างเครือข่ายค้ายาในเรือนจำในขณะนี้ "นายชาติชาย สุทธิกลม" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยอมรับว่าเครือข่ายค้ายาเสพติดในเรือนจำเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก แต่กรมราชทัณฑ์ได้จำแนกผู้ต้องขังคดียาเสพติดรายใหญ่ที่ยังมีอิทธิพลและพฤติการณ์สั่งซื้อขายยาเสพติดได้มาควบคุมเป็นพิเศษใน 3 เรือนจำความมั่นคงสูง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง แดน 10 เรือนจำกลางคลองเปรมแดน 2 และเรือนจำกลางบางขวาง แดน 4 ซึ่งยอมรับว่าในเรือนจำกลางคลองเปรมมีปัญหามาก อีกทั้งต้องยอมรับว่าสภาพการค้ายาบ้าและยาไอซ์ต่างจากเครือข่ายการค้าเฮโรอีน ซึ่งยาบ้าและยาไอซ์ไม่จำเป็นต้องมีนายทุนชัดเจน เพราะยาบ้ามีตลาดกว้างผู้ค้ารายย่อยทุกคนสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นรายใหญ่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้เอทีเอ็มช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเครือข่ายยาเสพติด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้ติดตามจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดเครือข่ายเรือนจำ โดยได้กวาดล้างปราบปรามมาอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่หมดไปจากสารบบการค้ายาสั่งตรงผ่านนักโทษในเรือนจำ แม้ว่ากรมราชทัณฑ์จะมีสถิติเจ้าหน้าที่ที่ถูกไล่ออกและถูกให้ออกจากราชการ รวมถึงถูกคาดโทษวินัยร้ายแรงจากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือในเรือนจำ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 52 -30 ก.ย. 53 ว่า มีเจ้าหน้าที่ถูกตั้งกรรมสอบสวนความผิดทางวินัยร้ายแรงและถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน จำนวน 9 ราย เป็นเจ้าหน้าที่จากเรือนจำกลางคลองเปรม ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง เรือนจำจังหวัดนนทบุรี เรือนจำจังหวัดภูเก็ต เรือนจำกลางเขาบิน เรือนจำกลางระยอง และเรือนจำพิเศษธนบุรี นอกจากนี้ยังมีคำสั่งไล่ออกและสอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 7 คน โดยเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำโทรศัพท์มือถือเข้าไปในเรือนจำอีก 7 ราย
แม้ว่าที่ผ่านมาทางกรมราชทัณฑ์ จะใช้วิธีจำแนกแยกขังนักโทษ และเน้นกระจายนักโทษไม่ให้อยู่รวมกันจนมีช่องโหว่ทำให้เกิดการโทรศัพท์สั่งซื้อยาในเรือนจำได้ แต่ก็ยังเป็นมาตรการที่ไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะกำหราบ สกัดกั้นขบวนการค้ายาในคุกได้ ซึ่งเรื่องนี้ที่ผ่านมา "พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน" รองผบช.น. เคยเรียกร้องอยากให้ทางกรมราชทัณฑ์ เอาจริงเอาจังและตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในเรือนจำให้หมด พร้อมระบุว่าเท่าที่ทราบพบว่าหลังเวลา 16.00 น. นักโทษสามารถโทรศัพท์ได้ และวันเสาร์-อาทิตย์โทรศัพท์ได้ทั้งวัน พร้อมระบุว่า ตรงนี้ทำให้การจับกุมเป็นไปได้ยาก และตำรวจที่จับก็เป็นเพียงปลายเหตุ การเข้มงวดบังคับใช้กฎหมาย และบังคับใช้แผนปราบปรามนักโทษลักลอบค้ายาเสพติดในเรือนจำ ทางราชทัณฑ์ได้กระตุ้นต่อมสามัญสำนึกของเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้กวดขันกับนักโทษที่จัดอยู่ในส่วนล่อแหลมต่อการค้ายา แต่ก็ยังไม่วายที่จะไม่ทันเล่ห์ของผู้ต้องขังเครือข่ายค้ายา ซึ่งจะมีวิธีการเก็บซ่อนโทรศัพท์แบบพิสดารด้วยการยัดโทรศัพท์เข้าไปในรูทวาร บางรายตรวจค้นล้วงออกมาได้ถึง 3 เครื่อง โดยโทรศัพท์ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารสั่งยาบ้าและยาไอซ์ แม้ในเรือนจำจะใช้เงินสดไม่ได้ นักโทษก็ไม่สนใจ เพราะการรับจ่ายเงินทำกันนอกคุก นักโทษบางรายที่ถูกจับได้ก็ยอมรับว่าทำไปเพื่อหาเงินให้ครอบครัวทางบ้าน ส่วนยาเสพติดที่ถูกสั่งเข้ามาขายในคุกจะมีราคาสูงกว่าการซื้อขายภายนอก
การค้ายาเสพติดในเรือนจำมีผลประโยชน์มหาศาล ทั้งนักโทษและผู้คุมบางคนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากสารพัดวิธีที่นักค้ายาเสพติดสรรหาวิธีการซ่อนยา เพื่อลักลอบให้หลุดรอดสายตาผู้คุมเข้าไปให้ได้ เพราะแรงจูงใจราคาภายในคุกจะสูงขึ้นอีก 4 - 5 เท่าตัว โดยจะมีการพยายามพลิกแพลงวิธีการตลอดเวลา เช่น 1. การผ่าท้องคางคกยัดยาเสพติด
2. "ตกเบ็ดขว้างข้ามกำแพง" โดยคนข้างนอกจะนำยาเสพติดและสิ่งผิดกฏหมายเกี่ยวเบ็ดแล้วฟาดเชือกเบ็ดข้ามกำแพงส่งให้นักโทษในเรือนจำ
3. "ยัดทวารหนัก" วิธีนี้พวกนักโทษที่ถูกนำตัวไปศาลจะนัดหมายกับคนข้างนอกให้นำยาเสพติดไปซุกซ่อนในห้องสุขา นักโทษจะเข้าไปเอายัดทวารหนักหนีบนำเข้าเรือนจำ
4. "ยัดขนมปัง" นักค้ายาจะยัดยาเสพติดเข้าไปในขนมปังแล้วเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง อีกวิธีจะใช้ยาไอซ์โรยแทนน้ำตาล
5. "ยัดเนื้อหรือแกงมัสหมั่น" แกงมัสหมั่น อาหารที่ต้องใช้ชิ้นเนื้อหรือไก่ชิ้นใหญ่ สามารถยัดยาเสพติดไว้ได้
6. "ยัดลูกฟุตบอล ลูกเทนนิส" ขบวนการค้ายาเตะฟุตบอล หรือขว้างลูกเทนนิสข้ามกำแพงเข้าไป
7. "เครื่องบินพารามอเตร์ติดจีพีเอส" บังคับเครื่องบินเล็กผ่านเรือนจำแล้วทิ้งยาเสพติดให้ผู้ต้องขัง โดยติดเครื่องจีพีเอสไว้ด้วยเพื่อตรวจแผนผังเรือนจำ เคยจับผู้ต้องหาได้คนหนึ่ง แต่วิธีนี้ทำยากพอสมควร
8. "ใส่กระป๋องน้ำอัดลม" นำยาเสพติดใส่กระป๋องน้ำอัดลมตบตาเจ้าหน้าที่ แล้วนำเข้าไปเยี่ยมเป็นของฝาก
9. "ผูกคอแมว" เป็นวิธีการส่งยาเสพติดภายในเรือนจำระหว่างนักโทษข้ามแดน อีกฝ่ายมีอาหารล่อให้แมวไปกิน
ทั้งนี้ จากการรายงานการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศพบว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลสามารถจับกุมผู้ต้องหาทุกประเทศได้มากถึง 16,154 ราย ซึ่งการจับกุมยาเสพติดทั้งหมดส่วนใหญ่พบว่าจะลักลอบนำเข้ามาบริเวณแนวชายแดน และมีการสั่งซื้อมาจากเครือข่ายในเรือนจำมากที่สุด
โดยเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ภาค 1 ยึดยาไอซ์ จำนวน 6 กิโลกรัม อุปกรณ์การเสพจำนวนหนึ่ง พร้อมรถ จยย.ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ รุ่น 125 สีเขียว หมายเลขทะเบียน ขยท 393 กทม. ซึ่งเป็นของนายธีระพงษ์พุทธรักษา อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาซึ่งหลบหนีไปได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบประวัติของผู้ต้องหา พบว่าเพิ่งจะพ้นโทษในคดีทำร้ายร่างกายได้ไม่ถึง 1 ปี และยังพบว่าผู้ต้องหารายนี้เป็นเครือข่ายยาเสพติดของเรือนจำบางขวาง
13 ก.พ. ตำรวจสน.จักรวรรด์ จับแก๊งเครือข่ายค้ายาคุกคลองเปรม ได้ผู้ต้องหา 5 ราย พร้อมยาบ้า 1.4 หมื่นเม็ด ยาไอซ์ 2 กรัม เงินสด 1.7 แสน อาวุธปืนจำนวนมาก
8 มี.ค. นครบาล 4 จับกุมนายทวีศักดิ์ หรือเมล์ สุดจิตโต ยาไอซ์ 4 ถุง น้ำหนัก 5.37 กรัม ยาบ้า 19 เม็ด พร้อมขยายผลจับกุม นายฉัตรชัย หรือกอล์ฟ หอละเอียด ของกลางยาไอซ์ 2 ถุง น้ำหนัก 10.74 กรัม และน.ส.นิชานันท์ หรือตูน อยู่ดี ยาบ้า 38 เม็ด ยาไอซ์ 2 ถุง โดยน.ส.นิชานันท์สารภาพว่า นายธีรพงษ์ หรือหมู ธรรมรุ่งรัตน์ แฟนผู้ต้องหา ปัจจุบันต้องโทษภายในเรือนจำคลองเปรม แดน 1 จะสั่งยาบ้าให้ผู้ต้องหาไปรับยาบ้าตามที่นัดหมาย
9 มี.ค. ตำรวจชุดสืบสวนนครบาลลงพื้นที่หาข่าวผู้ค้ายาเสพติด พบพิรุธ 2 คู่หูป้วนเปี้ยนผิดปกติค้นกระเป๋าสะพายเจอซุกยาบ้าเกือบ 2 พันเม็ด ควบคุมตัวดำเนินคดี อีกรายรวบนายอุเทน สอนใจมั่น และน.ส.ช่อเพ็ชร โพธิยา เครือข่ายค้ายาในเรือนจำพื้นที่อยุธยา ยึดของกลาง 2 หมื่นเม็ด
11 มี.ค. นครบาลแถลงโชว์จับแก๊งค้ากัญชาอัดแท่ง เครือข่ายคุกบางขวาง นายธเนศ หรือ บี พันธ์ทอง , น.ส.อรอุมา หรือ อร วงศ์ขันทอง ยึดของกลาง 196 กิโลกรัม ซึ่งถ้าของกลางดังกล่าวหลุดรอดสามารถส่งขายต่างประเทศได้จะมีมูลค่ามหาศาลถึง 30 ล้านบาท
11 มี.ค. ตำรวจนครบาล 7 ล่อซื้อจับกุมเครือข่ายค้ายาบ้าเรือนจำหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย นายไพรวัลย์ หรือเปิ้ล หรือวัน จอบุญ , นายอรรคเดช หรือหน่อง ทวีศรี , นายอรรถพล หรือติ่ง เจริญวัฒนวิญญู และนายสมบูรณ์ หรือต๊อก คู่นา พร้อมยาบ้า 10,000 เม็ด อาวุธปืนรีวอลเวอร์ ขนาด .38 จำนวน 1 กระบอก กระสุน 26 นัด อาวุธปืนขนาด 9 ม.ม. ยี่ห้อเมาเซอร์ กระสุน 5 นัด
1 เม.ย. ตำรวจสน.พหลโยธิน ได้จับกุมนายอาคิว หรือนายวรพชร เทพปัญญา อายุ 36 ปี หนุ่มพม่าค้ายาไอซ์ จำนวน 2,820 กรัม มูลค่า 8 ล้านบาท โดยผู้ต้องหารับสารภาพว่าได้มีการติดต่อสั่งยาไอซ์กับเครือข่ายในเรือนจำบางขวางแล้วส่งขายให้ชาวสิงคโปร์
กับความซ้ำซากของปัญหาการค้ายาเสพติดของเครือข่ายเรือนจำที่ปราบไม่หมด ยิ่งปราบ ยิ่งผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด แม้จะงัดมาตรการอันแยบยลมาบังคับใช้ แต่ยังไม่สามารถสกัด หรือตัดเส้นเลือดใหญ่ของขบวนการค้ายาเสพติดในเรือนจำได้ หากความหย่อนยาน เพิกเฉย ของการไม่เอาจริงเอาจัง ย่ำอยู่กับที่ ของเจ้าหน้าที่ที่ยังไม่เข้าไปตีกรอบ กดดันเริ่มรุกเร้าบรรดาขาใหญ่ในคุก และปฏิบัติงานสนองกับนโยบาย และสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัดแล้ว เชื่อแน่ว่าปัญหาการค้ายาเสพติดผ่านเครือข่ายคุกยังคงลอยนวลต่อไป
นั่นเป็นคำพูดของ "ชาติชาย สุทธิกลม" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้ประกาศไว้เมื่อ 2 ปีในวันเข้ารับตำแหน่ง ว่าจะเดินหน้าปราบปราบยาเสพติด โดยจะติดตั้งเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในเรือนจำ เพื่อปิดกั้นขบวนการค้ายานรก
เมื่อวันเวลาผ่านไป กลับมีคำถามที่ยังติดค้างคาใจของหลายคนว่า "นักโทษในคุก ค้ายาเสพติดได้อย่างไร" และ "ทำไมอยู่ในคุกแล้ว ผู้ต้องหายังค้ายาเสพติดได้" และข้อสงสัยในหลายคำถาม ที่ยังต้องการให้หน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะกรมราชทัณฑ์ไขข้อกระจ่าง แต่ในการกวาดล้างเครือข่ายค้ายาในเรือนจำในขณะนี้ "นายชาติชาย สุทธิกลม" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยอมรับว่าเครือข่ายค้ายาเสพติดในเรือนจำเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก แต่กรมราชทัณฑ์ได้จำแนกผู้ต้องขังคดียาเสพติดรายใหญ่ที่ยังมีอิทธิพลและพฤติการณ์สั่งซื้อขายยาเสพติดได้มาควบคุมเป็นพิเศษใน 3 เรือนจำความมั่นคงสูง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง แดน 10 เรือนจำกลางคลองเปรมแดน 2 และเรือนจำกลางบางขวาง แดน 4 ซึ่งยอมรับว่าในเรือนจำกลางคลองเปรมมีปัญหามาก อีกทั้งต้องยอมรับว่าสภาพการค้ายาบ้าและยาไอซ์ต่างจากเครือข่ายการค้าเฮโรอีน ซึ่งยาบ้าและยาไอซ์ไม่จำเป็นต้องมีนายทุนชัดเจน เพราะยาบ้ามีตลาดกว้างผู้ค้ารายย่อยทุกคนสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นรายใหญ่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้เอทีเอ็มช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเครือข่ายยาเสพติด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้ติดตามจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดเครือข่ายเรือนจำ โดยได้กวาดล้างปราบปรามมาอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่หมดไปจากสารบบการค้ายาสั่งตรงผ่านนักโทษในเรือนจำ แม้ว่ากรมราชทัณฑ์จะมีสถิติเจ้าหน้าที่ที่ถูกไล่ออกและถูกให้ออกจากราชการ รวมถึงถูกคาดโทษวินัยร้ายแรงจากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือในเรือนจำ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 52 -30 ก.ย. 53 ว่า มีเจ้าหน้าที่ถูกตั้งกรรมสอบสวนความผิดทางวินัยร้ายแรงและถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน จำนวน 9 ราย เป็นเจ้าหน้าที่จากเรือนจำกลางคลองเปรม ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง เรือนจำจังหวัดนนทบุรี เรือนจำจังหวัดภูเก็ต เรือนจำกลางเขาบิน เรือนจำกลางระยอง และเรือนจำพิเศษธนบุรี นอกจากนี้ยังมีคำสั่งไล่ออกและสอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 7 คน โดยเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำโทรศัพท์มือถือเข้าไปในเรือนจำอีก 7 ราย
แม้ว่าที่ผ่านมาทางกรมราชทัณฑ์ จะใช้วิธีจำแนกแยกขังนักโทษ และเน้นกระจายนักโทษไม่ให้อยู่รวมกันจนมีช่องโหว่ทำให้เกิดการโทรศัพท์สั่งซื้อยาในเรือนจำได้ แต่ก็ยังเป็นมาตรการที่ไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะกำหราบ สกัดกั้นขบวนการค้ายาในคุกได้ ซึ่งเรื่องนี้ที่ผ่านมา "พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน" รองผบช.น. เคยเรียกร้องอยากให้ทางกรมราชทัณฑ์ เอาจริงเอาจังและตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในเรือนจำให้หมด พร้อมระบุว่าเท่าที่ทราบพบว่าหลังเวลา 16.00 น. นักโทษสามารถโทรศัพท์ได้ และวันเสาร์-อาทิตย์โทรศัพท์ได้ทั้งวัน พร้อมระบุว่า ตรงนี้ทำให้การจับกุมเป็นไปได้ยาก และตำรวจที่จับก็เป็นเพียงปลายเหตุ การเข้มงวดบังคับใช้กฎหมาย และบังคับใช้แผนปราบปรามนักโทษลักลอบค้ายาเสพติดในเรือนจำ ทางราชทัณฑ์ได้กระตุ้นต่อมสามัญสำนึกของเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้กวดขันกับนักโทษที่จัดอยู่ในส่วนล่อแหลมต่อการค้ายา แต่ก็ยังไม่วายที่จะไม่ทันเล่ห์ของผู้ต้องขังเครือข่ายค้ายา ซึ่งจะมีวิธีการเก็บซ่อนโทรศัพท์แบบพิสดารด้วยการยัดโทรศัพท์เข้าไปในรูทวาร บางรายตรวจค้นล้วงออกมาได้ถึง 3 เครื่อง โดยโทรศัพท์ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารสั่งยาบ้าและยาไอซ์ แม้ในเรือนจำจะใช้เงินสดไม่ได้ นักโทษก็ไม่สนใจ เพราะการรับจ่ายเงินทำกันนอกคุก นักโทษบางรายที่ถูกจับได้ก็ยอมรับว่าทำไปเพื่อหาเงินให้ครอบครัวทางบ้าน ส่วนยาเสพติดที่ถูกสั่งเข้ามาขายในคุกจะมีราคาสูงกว่าการซื้อขายภายนอก
การค้ายาเสพติดในเรือนจำมีผลประโยชน์มหาศาล ทั้งนักโทษและผู้คุมบางคนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากสารพัดวิธีที่นักค้ายาเสพติดสรรหาวิธีการซ่อนยา เพื่อลักลอบให้หลุดรอดสายตาผู้คุมเข้าไปให้ได้ เพราะแรงจูงใจราคาภายในคุกจะสูงขึ้นอีก 4 - 5 เท่าตัว โดยจะมีการพยายามพลิกแพลงวิธีการตลอดเวลา เช่น 1. การผ่าท้องคางคกยัดยาเสพติด
2. "ตกเบ็ดขว้างข้ามกำแพง" โดยคนข้างนอกจะนำยาเสพติดและสิ่งผิดกฏหมายเกี่ยวเบ็ดแล้วฟาดเชือกเบ็ดข้ามกำแพงส่งให้นักโทษในเรือนจำ
3. "ยัดทวารหนัก" วิธีนี้พวกนักโทษที่ถูกนำตัวไปศาลจะนัดหมายกับคนข้างนอกให้นำยาเสพติดไปซุกซ่อนในห้องสุขา นักโทษจะเข้าไปเอายัดทวารหนักหนีบนำเข้าเรือนจำ
4. "ยัดขนมปัง" นักค้ายาจะยัดยาเสพติดเข้าไปในขนมปังแล้วเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง อีกวิธีจะใช้ยาไอซ์โรยแทนน้ำตาล
5. "ยัดเนื้อหรือแกงมัสหมั่น" แกงมัสหมั่น อาหารที่ต้องใช้ชิ้นเนื้อหรือไก่ชิ้นใหญ่ สามารถยัดยาเสพติดไว้ได้
6. "ยัดลูกฟุตบอล ลูกเทนนิส" ขบวนการค้ายาเตะฟุตบอล หรือขว้างลูกเทนนิสข้ามกำแพงเข้าไป
7. "เครื่องบินพารามอเตร์ติดจีพีเอส" บังคับเครื่องบินเล็กผ่านเรือนจำแล้วทิ้งยาเสพติดให้ผู้ต้องขัง โดยติดเครื่องจีพีเอสไว้ด้วยเพื่อตรวจแผนผังเรือนจำ เคยจับผู้ต้องหาได้คนหนึ่ง แต่วิธีนี้ทำยากพอสมควร
8. "ใส่กระป๋องน้ำอัดลม" นำยาเสพติดใส่กระป๋องน้ำอัดลมตบตาเจ้าหน้าที่ แล้วนำเข้าไปเยี่ยมเป็นของฝาก
9. "ผูกคอแมว" เป็นวิธีการส่งยาเสพติดภายในเรือนจำระหว่างนักโทษข้ามแดน อีกฝ่ายมีอาหารล่อให้แมวไปกิน
ทั้งนี้ จากการรายงานการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศพบว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลสามารถจับกุมผู้ต้องหาทุกประเทศได้มากถึง 16,154 ราย ซึ่งการจับกุมยาเสพติดทั้งหมดส่วนใหญ่พบว่าจะลักลอบนำเข้ามาบริเวณแนวชายแดน และมีการสั่งซื้อมาจากเครือข่ายในเรือนจำมากที่สุด
โดยเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ภาค 1 ยึดยาไอซ์ จำนวน 6 กิโลกรัม อุปกรณ์การเสพจำนวนหนึ่ง พร้อมรถ จยย.ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ รุ่น 125 สีเขียว หมายเลขทะเบียน ขยท 393 กทม. ซึ่งเป็นของนายธีระพงษ์พุทธรักษา อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาซึ่งหลบหนีไปได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบประวัติของผู้ต้องหา พบว่าเพิ่งจะพ้นโทษในคดีทำร้ายร่างกายได้ไม่ถึง 1 ปี และยังพบว่าผู้ต้องหารายนี้เป็นเครือข่ายยาเสพติดของเรือนจำบางขวาง
13 ก.พ. ตำรวจสน.จักรวรรด์ จับแก๊งเครือข่ายค้ายาคุกคลองเปรม ได้ผู้ต้องหา 5 ราย พร้อมยาบ้า 1.4 หมื่นเม็ด ยาไอซ์ 2 กรัม เงินสด 1.7 แสน อาวุธปืนจำนวนมาก
8 มี.ค. นครบาล 4 จับกุมนายทวีศักดิ์ หรือเมล์ สุดจิตโต ยาไอซ์ 4 ถุง น้ำหนัก 5.37 กรัม ยาบ้า 19 เม็ด พร้อมขยายผลจับกุม นายฉัตรชัย หรือกอล์ฟ หอละเอียด ของกลางยาไอซ์ 2 ถุง น้ำหนัก 10.74 กรัม และน.ส.นิชานันท์ หรือตูน อยู่ดี ยาบ้า 38 เม็ด ยาไอซ์ 2 ถุง โดยน.ส.นิชานันท์สารภาพว่า นายธีรพงษ์ หรือหมู ธรรมรุ่งรัตน์ แฟนผู้ต้องหา ปัจจุบันต้องโทษภายในเรือนจำคลองเปรม แดน 1 จะสั่งยาบ้าให้ผู้ต้องหาไปรับยาบ้าตามที่นัดหมาย
9 มี.ค. ตำรวจชุดสืบสวนนครบาลลงพื้นที่หาข่าวผู้ค้ายาเสพติด พบพิรุธ 2 คู่หูป้วนเปี้ยนผิดปกติค้นกระเป๋าสะพายเจอซุกยาบ้าเกือบ 2 พันเม็ด ควบคุมตัวดำเนินคดี อีกรายรวบนายอุเทน สอนใจมั่น และน.ส.ช่อเพ็ชร โพธิยา เครือข่ายค้ายาในเรือนจำพื้นที่อยุธยา ยึดของกลาง 2 หมื่นเม็ด
11 มี.ค. นครบาลแถลงโชว์จับแก๊งค้ากัญชาอัดแท่ง เครือข่ายคุกบางขวาง นายธเนศ หรือ บี พันธ์ทอง , น.ส.อรอุมา หรือ อร วงศ์ขันทอง ยึดของกลาง 196 กิโลกรัม ซึ่งถ้าของกลางดังกล่าวหลุดรอดสามารถส่งขายต่างประเทศได้จะมีมูลค่ามหาศาลถึง 30 ล้านบาท
11 มี.ค. ตำรวจนครบาล 7 ล่อซื้อจับกุมเครือข่ายค้ายาบ้าเรือนจำหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย นายไพรวัลย์ หรือเปิ้ล หรือวัน จอบุญ , นายอรรคเดช หรือหน่อง ทวีศรี , นายอรรถพล หรือติ่ง เจริญวัฒนวิญญู และนายสมบูรณ์ หรือต๊อก คู่นา พร้อมยาบ้า 10,000 เม็ด อาวุธปืนรีวอลเวอร์ ขนาด .38 จำนวน 1 กระบอก กระสุน 26 นัด อาวุธปืนขนาด 9 ม.ม. ยี่ห้อเมาเซอร์ กระสุน 5 นัด
1 เม.ย. ตำรวจสน.พหลโยธิน ได้จับกุมนายอาคิว หรือนายวรพชร เทพปัญญา อายุ 36 ปี หนุ่มพม่าค้ายาไอซ์ จำนวน 2,820 กรัม มูลค่า 8 ล้านบาท โดยผู้ต้องหารับสารภาพว่าได้มีการติดต่อสั่งยาไอซ์กับเครือข่ายในเรือนจำบางขวางแล้วส่งขายให้ชาวสิงคโปร์
กับความซ้ำซากของปัญหาการค้ายาเสพติดของเครือข่ายเรือนจำที่ปราบไม่หมด ยิ่งปราบ ยิ่งผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด แม้จะงัดมาตรการอันแยบยลมาบังคับใช้ แต่ยังไม่สามารถสกัด หรือตัดเส้นเลือดใหญ่ของขบวนการค้ายาเสพติดในเรือนจำได้ หากความหย่อนยาน เพิกเฉย ของการไม่เอาจริงเอาจัง ย่ำอยู่กับที่ ของเจ้าหน้าที่ที่ยังไม่เข้าไปตีกรอบ กดดันเริ่มรุกเร้าบรรดาขาใหญ่ในคุก และปฏิบัติงานสนองกับนโยบาย และสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัดแล้ว เชื่อแน่ว่าปัญหาการค้ายาเสพติดผ่านเครือข่ายคุกยังคงลอยนวลต่อไป