สตม.พบบัญชีพระสงฆ์ต่างชาติที่เข้ามาจำวัดตะล่อม มีรายรับต่อเดือนกว่าแสนบาท ขณะที่ “พระครูสถิตบุญวัฒน์” ชี้ขอตรวจสอบไม่เกิน 60 วัน รู้เรื่อง เชื่อ น่ามีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ย้ำ หากพบเจ้าอาวาสวัดตะล่อม บกพร่อง ถึงขั้นพักตำแหน่งเจ้าอาวาส ด้านเจ้าอาวาสวัดตะล่อม ยันพระทุกรูปมีการอบรมดูแลใกล้ชิด รับอาจมีเกเรบ้าง ขณะที่ชาวบ้าน แฉเห็นขวดเหล้าวางเกลื่อนข้างเต็นท์พระ แถมขณะสื่อเข้าทำข่าวพระต่างชาติได้ยืนรอซื้อข้าวจากรถเข็น และนุ่งห่มจีวรไม่สำรวมมารับข้าวกล่องอย่างไม่กลัวกล้อง
วันนี้ (17 มี.ค.) พ.ต.อ.ชาติชาย เอี่ยมแสง รองผบก.สส.สตม.กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีมีพระสงฆ์ต่างชาติจากประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จำนวน 315 รูป อยู่ในวัดตะล่อม ย่านภาษีเจริญ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม นั่งแท็กซี่ตระเวนบิณฑบาตเรี่ยไรเงิน ว่า การเข้าปิดล้อมตรวจค้นภายในวัดดังกล่าวนั้น สืบเนื่องจากได้รับร้องเรียนจากชาวบ้าน ว่า กลุ่มพระสงฆ์ต่างชาติจำนวนมาก ที่มาอาศัยจำวัดที่วัดตะล่อม มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยช่วงเวลา 03.00 น.ของทุกวัน พระสงฆ์กลุ่มนี้จะนั่งรถแท็กซี่ตระเวนไปบิณฑบาตไปทั่ว กทม.และปริมณฑล ซึ่งจะเน้นไปที่บริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก และจะบิณฑบาตเฉพาะปัจจัยเท่านั้น ซึ่งบางครั้งก็ไปเคาะประตูเรี่ยไรเงินด้วย
พ.ต.อ.ชาติชาย กล่าวต่อไปว่า จากการสอบสวนพระกลุ่มนี้ มีบางส่วนอ้างว่าเดินทางมาศึกษาต่อในประเทศไทย แต่มีการใช้พาสปอร์ตลักษณะนักท่องเที่ยว ซึ่งจะอยู่ในไทยได้ 3 เดือน ก่อนจะเดินทางกลับประเทศ โดยจากการตรวจสอบบัญชีของพระบางรูป พบว่า มีรายรับเฉลี่ยต่อวันถึงวันละหลายหมื่นบาท ได้เงินกว่าแสนบาทต่อเดือน และมีการทำการลักษณะนี้มานานกว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งหลังจากเข้ามาตรวจสอบภายในวัด พบว่า มีพระจากประเทศพม่าจำนวน 8 รูป ที่ไม่มีใบสุทธิ จึงให้ลาสิกขา และนำตัวไปสอบสวน ก่อนจะดำเนินการผลักดันกลับประเทศต่อไป ส่วนพระที่เหลืออยู่ได้ให้ดำเนินการตามขั้นตอนของพระสงฆ์ต่อไป
ด้าน พระครูสถิตบุญวัฒน์ พระวินยาธิการส่วนกลาง คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร พระวัดด่านพระราม 3 กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา จึงทำให้มีพระจากต่างประเทศต้องการเดินทางเข้ามาแสวงหาความรู้ ซึ่งบางส่วนใช้พาสปอร์ตเดินทางเข้ามา ก่อนจะใช้หลักฐานการบรรพชา เช่น ใบสุทธิ เพื่อขอจำวัด ซึ่งการจำวัดที่วัดตะล่อมต้องได้รับการรับรองจากเจ้าอาวาสวัดตะล่อมก่อน โดยตามปกติกิจของสงฆ์จะออกบิณฑบาตในเวลาประมาณ 05.00 น.และกลับเข้าวัดประมาณ 07.00-08.00 น.แต่ที่มีการร้องเรียนเข้ามาว่า มีพระบางรูปกลับเข้ามาถึงวัดเกือบเที่ยง ซึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนของพระนั้นมีมาก จึงทำให้ควบคุมได้ลำบาก ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
พระครูสถิตบุญวัฒน์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนจากนี้ต้องตรวจสอบกันไปเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากรักษาการเจ้าคณะแขวงบางแวก ส่งเรื่องไปยังเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ก่อนจะมีการนัดประชุมสงฆ์ภายใน 7 วัน ซึ่งอาจใช้เวลาในการตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เกิน 60 วัน ก่อนจะมีการลงมติ หากพบว่าเจ้าอาวาสบกพร่องจะมีบทลงโทษอย่างหนัก คือ ต้องพักตำแหน่งเจ้าอาวาส ส่วนกรณีของพระต่างชาตินั้นการจะไปจำกัดเรื่องการบิณฑบาตคงทำไม่ได้ เนื่องจากเป็นกิจของสงฆ์ เพียงแต่ต้องมีการกำหนดเรื่องเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม
ขณะที่ พระมหาบุญถึงชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดตะล่อม กล่าวว่า อาตมาเป็นพระครูอยู่มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น ได้รับการประสานมาว่าให้ช่วยดูแลพระต่างชาติที่จะเดินทางมาร่ำเรียนพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยยืนยันว่า พระทุกรูปมีการอบรมและดูแลอย่างใกล้ชิด แต่อาจมีบ้างที่ออกนอกลู่นอกทาง ซึ่งจะมีการลงโทษ แต่คิดว่าที่ผ่านมาชาวบ้านไม่เข้าใจจึงทำให้ต่อไปต้องจัดการดูแลให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น
ส่วน นางบุญเรือน บริสุทธิ์ อายุ 41 ปี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถววัดตะล่อม กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริเวณลานกางเต็นท์ของพระต่างชาตินั้นเป็นกุฏิพระสงฆ์ไทย แต่เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไป ก่อนจะมีการนำเต็นท์สนามมากางเพื่อให้พระต่างชาติได้จำวัด โดยช่วงเวลา 03.00 น.ก่อนเวลาพระออกบิณฑบาตทุกเช้า ตนสังเกตเห็นว่า บริเวณริมกำแพงวัด ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ 13 จะมีแท็กซี่มาจอดรถต่อแถวกันยาวเหยียด เพื่อรอรับพระต่างชาติ โดยหลังจากขึ้นรถแท็กซี่ไปแล้ว กว่าจะกลับเข้าวัดก็เป็นเวลาประมาณ 12.00 น. นอกจากนี้ พระต่างชาติพวกนี้จะไม่ค่อยสำรวม เน้นรับเฉพาะปัจจัย ซึ่งบางครั้งได้นำข้าวของใส่บาตรที่ชาวบ้านทำบุญให้ออกมาขาย หรือบางครั้งตนเข้ามาที่วัดในช่วงเย็นจะเห็นขวดเหล้าวางอยู่บริเวณเต็นท์ที่พระต่างชาติจำวัดอยู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่มีการสอบสวนถึงเรื่องราวข้อเท็จจริงอยู่นั้น บรรดาพระภิกษุต่างชาติทั้งหมดได้ลุกออกมาจากเต็นท์ที่พัก ในสภาพที่นุ่งห่มจีวรไม่สำรวม ก่อนจะมารับข้าวกล่องที่ได้ว่าจ้างให้ไปซื้อมา ขณะบางส่วนก็ไปยืนซื้ออาหารกับรถเข็นที่เข้ามาขายในวัดอย่างไม่สำรวม โดยไม่สนใจผู้สื่อข่าว-ช่างภาพ ที่เข้าไปจะบันทึกภาพ ท่ามกลางบรรดาชาวบ้านที่จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก
วันนี้ (17 มี.ค.) พ.ต.อ.ชาติชาย เอี่ยมแสง รองผบก.สส.สตม.กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีมีพระสงฆ์ต่างชาติจากประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จำนวน 315 รูป อยู่ในวัดตะล่อม ย่านภาษีเจริญ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม นั่งแท็กซี่ตระเวนบิณฑบาตเรี่ยไรเงิน ว่า การเข้าปิดล้อมตรวจค้นภายในวัดดังกล่าวนั้น สืบเนื่องจากได้รับร้องเรียนจากชาวบ้าน ว่า กลุ่มพระสงฆ์ต่างชาติจำนวนมาก ที่มาอาศัยจำวัดที่วัดตะล่อม มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยช่วงเวลา 03.00 น.ของทุกวัน พระสงฆ์กลุ่มนี้จะนั่งรถแท็กซี่ตระเวนไปบิณฑบาตไปทั่ว กทม.และปริมณฑล ซึ่งจะเน้นไปที่บริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก และจะบิณฑบาตเฉพาะปัจจัยเท่านั้น ซึ่งบางครั้งก็ไปเคาะประตูเรี่ยไรเงินด้วย
พ.ต.อ.ชาติชาย กล่าวต่อไปว่า จากการสอบสวนพระกลุ่มนี้ มีบางส่วนอ้างว่าเดินทางมาศึกษาต่อในประเทศไทย แต่มีการใช้พาสปอร์ตลักษณะนักท่องเที่ยว ซึ่งจะอยู่ในไทยได้ 3 เดือน ก่อนจะเดินทางกลับประเทศ โดยจากการตรวจสอบบัญชีของพระบางรูป พบว่า มีรายรับเฉลี่ยต่อวันถึงวันละหลายหมื่นบาท ได้เงินกว่าแสนบาทต่อเดือน และมีการทำการลักษณะนี้มานานกว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งหลังจากเข้ามาตรวจสอบภายในวัด พบว่า มีพระจากประเทศพม่าจำนวน 8 รูป ที่ไม่มีใบสุทธิ จึงให้ลาสิกขา และนำตัวไปสอบสวน ก่อนจะดำเนินการผลักดันกลับประเทศต่อไป ส่วนพระที่เหลืออยู่ได้ให้ดำเนินการตามขั้นตอนของพระสงฆ์ต่อไป
ด้าน พระครูสถิตบุญวัฒน์ พระวินยาธิการส่วนกลาง คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร พระวัดด่านพระราม 3 กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา จึงทำให้มีพระจากต่างประเทศต้องการเดินทางเข้ามาแสวงหาความรู้ ซึ่งบางส่วนใช้พาสปอร์ตเดินทางเข้ามา ก่อนจะใช้หลักฐานการบรรพชา เช่น ใบสุทธิ เพื่อขอจำวัด ซึ่งการจำวัดที่วัดตะล่อมต้องได้รับการรับรองจากเจ้าอาวาสวัดตะล่อมก่อน โดยตามปกติกิจของสงฆ์จะออกบิณฑบาตในเวลาประมาณ 05.00 น.และกลับเข้าวัดประมาณ 07.00-08.00 น.แต่ที่มีการร้องเรียนเข้ามาว่า มีพระบางรูปกลับเข้ามาถึงวัดเกือบเที่ยง ซึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนของพระนั้นมีมาก จึงทำให้ควบคุมได้ลำบาก ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
พระครูสถิตบุญวัฒน์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนจากนี้ต้องตรวจสอบกันไปเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากรักษาการเจ้าคณะแขวงบางแวก ส่งเรื่องไปยังเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ก่อนจะมีการนัดประชุมสงฆ์ภายใน 7 วัน ซึ่งอาจใช้เวลาในการตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เกิน 60 วัน ก่อนจะมีการลงมติ หากพบว่าเจ้าอาวาสบกพร่องจะมีบทลงโทษอย่างหนัก คือ ต้องพักตำแหน่งเจ้าอาวาส ส่วนกรณีของพระต่างชาตินั้นการจะไปจำกัดเรื่องการบิณฑบาตคงทำไม่ได้ เนื่องจากเป็นกิจของสงฆ์ เพียงแต่ต้องมีการกำหนดเรื่องเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม
ขณะที่ พระมหาบุญถึงชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดตะล่อม กล่าวว่า อาตมาเป็นพระครูอยู่มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น ได้รับการประสานมาว่าให้ช่วยดูแลพระต่างชาติที่จะเดินทางมาร่ำเรียนพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยยืนยันว่า พระทุกรูปมีการอบรมและดูแลอย่างใกล้ชิด แต่อาจมีบ้างที่ออกนอกลู่นอกทาง ซึ่งจะมีการลงโทษ แต่คิดว่าที่ผ่านมาชาวบ้านไม่เข้าใจจึงทำให้ต่อไปต้องจัดการดูแลให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น
ส่วน นางบุญเรือน บริสุทธิ์ อายุ 41 ปี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถววัดตะล่อม กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริเวณลานกางเต็นท์ของพระต่างชาตินั้นเป็นกุฏิพระสงฆ์ไทย แต่เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไป ก่อนจะมีการนำเต็นท์สนามมากางเพื่อให้พระต่างชาติได้จำวัด โดยช่วงเวลา 03.00 น.ก่อนเวลาพระออกบิณฑบาตทุกเช้า ตนสังเกตเห็นว่า บริเวณริมกำแพงวัด ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ 13 จะมีแท็กซี่มาจอดรถต่อแถวกันยาวเหยียด เพื่อรอรับพระต่างชาติ โดยหลังจากขึ้นรถแท็กซี่ไปแล้ว กว่าจะกลับเข้าวัดก็เป็นเวลาประมาณ 12.00 น. นอกจากนี้ พระต่างชาติพวกนี้จะไม่ค่อยสำรวม เน้นรับเฉพาะปัจจัย ซึ่งบางครั้งได้นำข้าวของใส่บาตรที่ชาวบ้านทำบุญให้ออกมาขาย หรือบางครั้งตนเข้ามาที่วัดในช่วงเย็นจะเห็นขวดเหล้าวางอยู่บริเวณเต็นท์ที่พระต่างชาติจำวัดอยู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่มีการสอบสวนถึงเรื่องราวข้อเท็จจริงอยู่นั้น บรรดาพระภิกษุต่างชาติทั้งหมดได้ลุกออกมาจากเต็นท์ที่พัก ในสภาพที่นุ่งห่มจีวรไม่สำรวม ก่อนจะมารับข้าวกล่องที่ได้ว่าจ้างให้ไปซื้อมา ขณะบางส่วนก็ไปยืนซื้ออาหารกับรถเข็นที่เข้ามาขายในวัดอย่างไม่สำรวม โดยไม่สนใจผู้สื่อข่าว-ช่างภาพ ที่เข้าไปจะบันทึกภาพ ท่ามกลางบรรดาชาวบ้านที่จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก