xs
xsm
sm
md
lg

ผู้เชี่ยวชาญชี้กระจกหน้าแบงก์บัวหลวงตึกมาลีนนท์ แตกเองไม่เกี่ยวถูกยิง

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

ผู้เชี่ยวชาญระบุกระจกหน้าแบงก์กรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์ แตกเองไม่ได้ถูกยิง แต่เกิดจากปฏิกิริยาความตึงตัวสะสมของขอบกระจก 4 ด้าน ประกอบกับความแตกต่างกันระหว่างอุณหภูมิภายในกับภายนอกตัวอาคาร ผนวกกับกระแสลม เมื่อถึงจุดบิดตัวระดับสูงมาก กระจกสามารถแตกเองได้

วันนี้ (2 มี.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. พ.ต.อ.สำเริง สวนทอง ผกก.สน.ทองหล่อ ได้ประสานไปยังสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ เพื่อมาตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงกรณีเมื่อเวลา 04.00 น.ที่ผ่านมา กระจกหน้าธนาคารกรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์ ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 แตกเสียหาย แต่ไม่พบร่องรอยการถูกยิง หรือมีรอยทะลุ โดยมี พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ยาคุ้มภัย สว.กลุ่มงานอาวุธปืน สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ โดยตำรวจนำเครื่องมือและน้ำยาเคมีมาตรวจสอบ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ เปิดเผยว่า จากการตรวจที่เกิดเหตุด้วยน้ำยาเคมีที่จุดเริ่มต้นของการแตกร้าว ซึ่งแตกตรงบริเวณกึ่งกลางพอดีนั้น ไม่พบว่าเกิดจากหัวกระสุนปืน และไม่มีร่องรอยการถูกยิงด้วยอาวุธอื่นๆ ซึ่งลักษณะการแตกที่จุดกึ่งกลางอธิบายได้ว่าเกิดจากปฏิกริยาความตึงของกระจกที่ขอบทั้ง 4 ด้าน ถูกตึงด้วยสกูล แล้วเมื่อเกิดความตึงตัวสะสม ประกอบกับความแตกต่างกันระหว่างอุณหภูมิภายในกับภายนอกตัวอาคาร ผนวกกับกระแสลม ซึ่งเมื่อถึงจุดการบิดตัวในระดับที่สูงมากๆ กระจกก็สามารถแตกเองได้ เพราะก่อนหน้านี้บานที่อยู่ถัดขึ้นไปด้านบนเคยแตกมาแล้วในลักษณะเดียวกัน

ทั้งนี้ ได้แนะนำให้เจ้าของอาคารปรึกษากับผู้ติดตั้งในการผ่อนเกรียวสกรูตัวยึด กระจกบานอื่นๆ เพราะมีโอกาส ที่จะแตกอีกต่อไป

ด้าน พ.ต.อ.สำเริง กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ผู้บังคับบัญชาให้ความสนใจมาก ซึ่งเมื่อผู้เชี่ยวชาญสรุปให้ฟังว่าเกิดจากการแตกด้วยตัวเอง ไม่ได้ถูกยิงหรือจากการกระทำอื่นๆ ก็จะแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตนได้กำชับสายตรวจให้เข้มข้นตลอด 24 ชม.โดยเฉพาะจุดเสี่ยงต่างๆ และธนาคารกรุงเทพในพื้นที่ที่มี 8 สาขาด้วยกัน

ตร.เร่งสอบกระจกตึกช่อง 3 ติดแบงก์กรุงเทพ ร้าวปริศนา
ผู้เชี่ยวชาญ ระบุ กระจกแบก์กรุงเทพตึกมาลีนนท์ แตกเพราะเกิดจากปฏิกริยาความตึงเครียดของกระจก ที่ขอบทั้ง 4 ด้าน ถูกตึงด้วยสกูล แล้วเมื่อเกิดความตึงเครียดสะสม ประกอบกับความแตกต่างกันระหว่างอุณหภูมิภายในกับภายนอกตัวอาคาร ผนวกกับกระแสลม ซึ่งเมื่อถึงจุดการบิดตัวในระดับที่สูงมาก ๆ กระจกก็สามารถแตกเองได้ เพราะก่อนหน้านี้บานที่อยู่ถัดขึ้นไปด้านบนเคยแตกมาแล้วในลักษณะเดียวกัน

กำลังโหลดความคิดเห็น