xs
xsm
sm
md
lg

“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 6-จบ)

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


โดยทีมงาน “Breaking News” ASTVผู้จัดการออนไลน์

ต่อมาบริษัทไทยคมแจ้งว่าจะได้รับเงินสินไหมทดแทนจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะต้องลงนามในหนังสือรีลีส แอนด์ ดิสชาร์จ เพื่อปลดภาระผูกพันให้แก่บริษัทประกันภัย และเปิดบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ กับธนาคารที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ข้างต้น

นายสุรพงษ์ ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคอมร้องขอ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ปรากฏตามหนังสือที่ อช 423/2546 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 บริษัทไทยคมได้นำหลักฐานการสร้างดาวเทียมดวงใหม่มาเบิกใช้จากบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ เพื่อนำไปสร้าวดาวเทียมไทยคม 5 หรือ 3อาร์ จนกระทั่งส่งขึ้นสู่วงจรเมื่อเดือนพฤาภาคม 2549 ซึ่งค่าสร้างมากกว่าค่าสินไหมทดแทนจำนวน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น บริษัทไทยคมได้นำหลักฐานไปเบิกใช้เงินดังกล่าว แต่ยังไม่หมด โดยในปัจจุบันยังมียอดเงินคงเหลือค้างในบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ ที่ประเทศสิงคโปร์ ประมาณ 1,800,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

เห็นว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ นั้น ตามสัญญาสัมปทาน เอกสาร หมาย ร449 ข้อ 37 ได้กำหนดให้บริษัทผู้รับสัมปทาน รีบซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย หรือจัดการหาทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่สูญหายโดยทันที เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงผู้ให้สัมปทานก็จะมอบเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยให้ และถ้าค่าซ่อมแซมหรือราคาทรัพย์สินที่จัดหามีราคาสูงกว่าเงินค่าสินไหมทดแทน บริษัทผู้รับสัมปทานตกลงเป็นผู้รับผิดชอบ จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงข้อสัญญาสัมปทานข้อ 37 ดังกล่าว กรณีที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ซึ่งกรณีนี้ก็คือดาวเทียมไทยคม 3 ถ้าเกิดความเสียหายบางส่วน บริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องดำเนินการซ่อมแซมแล้วจึงมารับค่าสินไหมทดแทนจากทางกระทรวงผู้ให้สัมปทาน แต่ถ้าเกิดความเสียหายทั้งดวงจนไม่สามารถที่จะใช้งาน หรือดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นทดแทน แล้วจึงรับเงินค่าสินไหมทดแทนจากทางกระทรวงผู้ให้สัมปทาน

ทั้งนี้ หากค่าซ่อมแซมหรือราคาดาวเทียมดวงใหม่มีราคาสูงกว่าจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน ทางบริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องรับผิดชอบในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ตามข้อสัญญาดังกล่าว การที่มีการอนุมัติให้บริษัทผู้รับสัมปทาน นำวงเงินบางส่วนจำนว 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนช่องสัญญาณเดิม และใช้เป็นสำรอง จึงขัดต่อสัญญาสัมปทาน เนื่องจากบริษัทไทยคมทำผิดสัญญา ไม่มีดาวเทียมสำรองไทยคม 3 มาโดยตลอด และบริษัทไทยคมผู้รับสัมปทานจะต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินการให้มีดาวเทียมใช้ได้อย่างพอเพียง และโดยต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องนำเงินค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับไปสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาสัมปทาน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแล ควบคุมตรวจสอบ ของผู้ถูกกล่าวหา ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคม ผู้รับสัมปทานร้องขอ การอนุมัติให้นำเงินบางส่วนที่ได้รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เกิดความเสียหายดังกล่าวไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนและใช้สำรอง จึงเป็นการอนุมัติที่ไม่ชอบ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม และบริษัทชินคอร์ป เพราะในช่วงเวลานั้นบริษัทไทยคมไม่ต้องใช้เงินทุนของตนเอง หรือไม่ต้องระดมทุน โดยกู้ยืมเงินหรือดำเนินการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินการซ่อมแซมดาวเทียมไทยคม 3 หรือจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ ตามสัญญาสัมปทาน และยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงผู้ให้สัมปทาน

ในทางกลับกัน ยังทำให้เกิดความเสียหายแก่ภาครัฐ เนื่องจากทรัพย์สินที่ทำประกันภัยเป็นของรัฐ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรัฐจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลและคงไว้เป็นหลักประกันความมั่นคง หากเกิดกรณีไม่สามารถซ่อมแซมหรือจัดหาทรัพย์สินทดแทนเพื่อใช้ดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนตามสัญญาให้แล้วเร็จก่อน การที่บริษัทไทยคมซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานโดยตรง ได้ประโยชน์จากการที่ไม่ต้องใช้เงินทุนหรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในโครงการดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรอง ไทยคม 3 มูลค่า 4,000 ล้านบาท จากการไม่ต้องดำเนินการ กระบวนการรับสัมปทานใหม่จากโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่า 16,459,000,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 จากการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรเป็นเวลา 8 ปี มูลค่าไม่เกิน 16,459,000,000 ล้านบาท จากการไม่ตจ้องจัดสรรสร้างดาวเทียมสำรองดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง จากการไม่ต้องใช้เงินทุน หรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงิน มาเพื่อรักษาสัดส่วนที่บริษัทชินคอร์ปจะต้องถือไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทไทยคม โดยการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 ให้คงเหลือสัดส่วนที่จะต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และจากการไม่ต้องซ่อมแซมหรือจัดหาดาวเทียมมาทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย ซึ่งเมื่อซ่อมแซมและจัดหามรดกแทนแล้ว จะต้องตกเป็นทรัพย์สินของรัฐ ตามสัญญาสัมปทาน แต่ได้นำเงินค่าสินไหมทดแทนที่กระทรวงคมนาคมได้รับจากบริษัทประกันภัย ไปใช้ในการเช่าดาวเทียมต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย จำนวน 268 ล้านบาท ซึ่งบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ผู้ได้รับสัญญาดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจากรัฐโดยตรง และมีภาระต้องรับผิดร่วมกันและแทนกัน

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยกรณีสุดท้ายในเรื่องของการอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ ซึ่งในเรื่องนี้มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าการดำเนินการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้กู้ยืมเงินแก่สหภาพพม่าดังกล่าวนี้เป็นไปโดยชอบ และเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคมหรือไม่

ข้อนี้ปรากฏข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการที่ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรีได้บริหารราชการในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งผู้บริหารประเทศจะต้องดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปิพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี จะต้องไม่ดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของสว่นตนด้วย แต่ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนพยานหลักฐาน กลับปรากฏถึงพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นลำดับมา ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2546 เอกอัครราชทูตสหภาพพม่าประจำประะเทศไทย ได้นำส่งหนังสือจากนายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่า ถึงนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น เพื่อขอให้ประเทศไทยพิจารณาให้สินเชื่อจำนวน 3,000 ล้านบาท แก่รัฐบาลสหภาพพม่า เพื่อการก่อสร้างโครงการ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน แต่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ สหภาพพม่า ได้มีหนังสือลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย แจ้งว่า กระทรวงสื่อสารไปรษณีย์ และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า มีโครงการจะพัฒนาการให้บริการระบบโทรคมนคม ในเขตชนบทและพื้นที่ห่างไกล โดยการใช้บรอดแบนด์ แซทเทลไลท์ เทอร์มินัล และระบบไฟเบอร์ออพติก เคเบิ้ล

จึงขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในลักษณะเงินกู้แบบผ่อนปรน มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และแบบให้เปล่า มูลค่า 1,050,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมากระทรวงการคลังได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 เห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้ในการซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศแก่รัฐบาลสหภาพพม่า ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากนั้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ตจึงมีการทำสัญญาเงินกู้ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กับธนาคารการค้าต่างประเทศ แห่งสหภาพพม่า โดยกระทรวงการคลัง และรัษฎากร แห่งสหภาพพม่า เป็นผู้ค้ำประกัน

ในการรับเงินตามสัญญากู้เงินดังกล่าว กำหนดให้ผู้กู้ส่งคำขอรับการให้สินเชื่อ พร้อมสัญญาจัดซื้จัดจ้างสินค้าทุน หรือบริการให้ผู้ให้กู้พิจารณาอนุมัติก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า ก็ได้ส่งคำขอรับการให้สินเชื่อ พร้อมสัญาจัดซื้อจัดจ้าง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ระหว่างกระทรวงสื่อสารไปรษณีย์และโทรเลขแห่งสหภาพพม่า กับบริษัทไทยคม ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ บางส่วนจำนวน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้อนุมัติคำขอดังกล่าว และได้แจ้งให้ธนาคารการค้าของต่างประเทศสหภาพพม่าทราบ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 ต่อมาธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า มีหนังสือลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 แจ้งการโอนสิทธิรับเงินของบริษัทไทยคม ให้แก่บริษัทฮาตาริ ไวร์เลสจำกัด และธนาคารเพื่อการส่งอกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้จ่ายเงินสินเชื่อให้แก่ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า โดยจ่ายตรง ให้แก่บริษัทไทยคม จำนวน 9.702,733.03 ดอลลารดอลลาร์สหรัฐฯ และให้แก่บริษัทฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด จำนวน 5,577,266.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ

เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลในสมัยแรก ที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสพบและหารือข้อราชการกับผู้นำของสหพพม่าหลายครั้ง โดยในระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2544 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภพพม่าอย่างเป็นการทางการ ตามคำเชิญของ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.ท.ขิ่น ยุ้ต์ เลขาธิการสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ต่อมาระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภาพพม่าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย และ พล.ท.ขุ่น ยุ้นต์ ว่าทั้งสองฝ่ายได้หารือและเสนอความร่วมมือกันในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนสหภาพพม่า เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การตลาด และความร่วมมือทางวิชาการ ต่อมาวันที่ 6-8 ตุลาคม 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้พบและหารือกับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่เมืองบาหลี ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หลังจากการประชุมดังกล่าวแล้ว นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่า ได้มีหนังสือถึง นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอวงเงินสินเชื่อ จำนวน 3,000 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องจักรกล การก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ ชินโนวรรณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาคำขอของรัฐบาลสหภาพพม่า ในระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ได้จัดให้มีการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง และที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า ปรากฏผลการประชุมได้มีการทำปฏิญาพุกามว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย กัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยทั้ง 4 ประเทศจะให้ความร่วมมือกันในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในการให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพพม่า ตลอดจนการให้ความร่วมมือในระหว่างประเทศ ทั้ง 4 ด้านดังกล่าวนั้น มิได้ระบุถึงการพัฒนาระบบโทรคมนาคม โดยที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อจากรัฐบาลไทยในครั้งแรก ก็ด้วยความประสงค์ที่จะใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการคมนาคม ซึ่งอยู่ในกรอบความร่วมมือที่ประเทศไทยเคยเสนอในชั้นที่ผู้ถูกกล่าวหาเดินทางไปเยือนสหภาพพม่าใน 2 ครั้งแรก และข้อตกลงร่วมกันตามปฏิญญาพุกาม ว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น นายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 569-576 ได้ความทำนองเดียวกันว่า เมื่อรัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม กรมเอเชียตะวันออกได้พิจารณาและเสนอรายงานพร้อมข้อคิดเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียไว้ ซึ่งปรากฏในข้อเสียว่า เป็นเรื่องที่อาจจะมีข้อครหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ และเมื่อระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีการพบปะหารือข้อราชการแบบทวิภาคีในการประชุมรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต นายสุรเกียรติ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ยังได้แจ้งเรื่องที่อาจมีข้อครหาว่าผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ ให้นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่าทราบ และขอให้โครงการดังกล่าวอยู่ในวงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท ครั้นเมื่อนายสุรเกียรติ์นำเรื่องเสนอต่อผู้ถูกกล่าวหาแล้ว กลับมีการสั่งด้วยวาจาให้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีก เป็น 4,000 ล้านบาท

แม้จะปรากฏในหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงานภายในของประเทศไทยเอง และที่มีไปยังหน่วยงานของรัฐบาลสหภาพพม่า รวมทั้งที่ปรากฏในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการให้วงเงินกู้สินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่าว่า เป็นการให้วงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้เป็นกรณีสืบเนื่องมาจาก การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมตามที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอ และติดตามสอบถามความคืบหน้าเป็นระยะตลอดมา การระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินสินเชื่อว่า เพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศมีลักษณะเป็นทำนองหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า เพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม อันอาจทำให้เกิดข้อครหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่กรมเอเชียตะวันออก เสนอรายงานไว้ดังกล่าว ดังนั้นการพิจารณาและอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าในครั้งนี้นั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามกรอบความร่วมมือของทุกเรื่องดังกล่าวแล้ว

ข้อเท็จจริงยังปรากฏต่อไปอีกว่า เป็นการดำเนินการที่มีผลประโยชน์การประกอบธุรกิจของบริษัทไทยคม ซึ่งได้ความจาก นายณัฐพงษ์ เต็มศิริพงศ์ และนายเผด็จ ว่องพยาบาล พนักงานของบริษัทไทยคม เบิกความต่อศาลว่า บริษัทไทยคมได้ไปประกอบกิจการด้านโทรคมนาคมในสหภาพพม่า ตั้งแต่ปี 2541 และในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม เจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม และบริษัทเอไอเอส ยังได้ไปสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ จีเอสเอ็ม ผ่านดาวเทียม แข่งกับบริษัทต่างชาติ แล้วได้รับคำชมเชยจากกระทรวงสื่อสารไปรษณีย์ และโทรเลขแห่งสหภาพพม่า จนกระทั่งได้มีการทำสัญญาโรมมิ่งอะกรีเมนท์ กับกระทรวงสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า และบริษัทไทยคม เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากสหภาพพม่าในการขยายการให้บริการโทรศัพท์ มาตั้งแต่ปลายปี 2546 แล้ว และยังปรากฏต่อมาจากเอกสารหมาย ร 565- ร 568 ว่า หลังจากมีการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม แล้ว รัฐบาลสหภาพพม่า โดยกรมความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ได้มีหนังสือขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และหลังจากมีการเจรจาหารือกันแล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่า ได้แจ้งโครงการที่จำเป็นต่อการปรับปรุงคุณภาพการบริการโทรคมนาคม ได้แก่ แผนการพัฒนาโทรคมนาคมสหภาพพม่า ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยสัญญาณดาวเทียม โครงการการส่งสัญญาณทั่วประเทศของสหภาพพม่า โดยเป็นระบบใยแก้วนำแสง 1,500 กิโลเมตร และโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสหภาพพม่า ซึ่งมีบริษัทไทยคม เป็นผู้จัดหา ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกในทุกโครงการ โดยเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์บรอดแบรนด์เซทเทิลไลท์ และอุปกรณ์เพิ่มเติม เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม และด้านเทคนิค กับช่วยเหลือในการติดตั้งในโครงการแรก กับเป็นผู้บริหารจัดการ และที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและเทคนิคใน 2 โครงการหลัง อันแสดงให้เห็นว่า บริษัทไทยคม ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว

ส่วนข้อที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า บริษัทไทยคมขายสินค้าให้กับรัฐบาลสหภาพพม่าตามพันธสัญญาที่มีต่อกันมาแต่เดิม และเป็นการซื้อขายกันตามปกติ ไม่ว่าจะได้รับเงินสินเชื่อหรือไม่ รัฐบาลสหภาพพม่าจำเป็นต้องซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นประจำอยู่แล้วนั้น เห็นว่า ในการประชุมระดับผู้นำ ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติให้ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ร่วมเดินทางเป็นคณะ อย่างเป็นทางการไปด้วย ระหว่างการประชุมยังมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม จำนวน 8 คน และบริษัท เอไอเอส จำนวน 2 คน เข้าร่วมทำการสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนทีจีเอสเอ็มผ่านดาวเทียม ต่อมาทางการสหภาพพม่าได้มีหนังสือ ลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย เสนอโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในเขตชนบท และพื้นที่ห่างไกลของกระทรวงสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า และขอรับความช่วยเหลือจากไทย มูลค่า 24.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งสหภาพพม่ายังได้มีหนังสือลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 ขอเพิ่มวงเงินกู้สินเชื่อ จาก 3,000 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท และมีหนังสือ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ติดตามผล รวมทั้งการขอลดดอกเบี้ย ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา ได้สั่งการต่อนายสุรเกียรติ์ ให้แจ้งไปว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการว่า ให้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท โดยจะให้การอุดหนุนชดเชยในส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยด้วย และภายหลังที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ในวันที่ 15 มีนาคม 2547 ได้มีการประชุมระหว่าง นายสุรเกียรติ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อ 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า โดยลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 5.75 เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติวงเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า ตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่ต่อมาสหภาพพม่าได้ขอให้ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น เป็น 5 ปี ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาเห็นชอบ คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องมีมติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นระยะเวลากู้ 12 ปี โดย 5 ปีแรกชำระเฉพาะดอกเบี้ย สำหรับ 7 ปีที่เหลือชำระเงินต้น และดอกเบี้ย โดยการที่อนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อมูลค่า 4,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขดังกล่าว เป็นการให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคาร ตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 การให้กู้เงินดังกล่าวจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องขอคุ้มครองความเสียหายตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว

ผู้ถูกกล่าวหายังสั่งการให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท หากได้รับความเสียหาย ก็ให้กระทรวงการคลังจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ชดเชยแก่ธนาคารตามจำนวนที่เสียหาย และให้ชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยที่ได้รับจากรัฐบาลสหภาพพม่า กับต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคาร และกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายที่จะต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีชดเชยความเสียหายแก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2549 และปีงบประมาณ 2550 รวมเป็นเงินจำนวน 140,349,600 บาท

การขอวงเงินกู้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมระดับผู้นำ ว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม และบริษัทเอไอเอส ได้ไปสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จีเอสเอ็มผ่านดาวเทียม ในการประชุมด้วยดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทไทยคมนั่นเอง

ส่วนที่ได้ความว่า มีการใช้เงินที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อไปซื้อสินค้าต่างๆ จากผู้ประกอบกิจการอื่นในประเทศไทยอีกหลายรายการ ก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อที่ว่า บริษัทไทยคมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการในกรณีนี้ได้ และที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้างต่อไปว่า การจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ที่การพิจารณาและดุลพินิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยนั้น เห็นว่า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 และอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ในการพิจารณาและอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าครั้งนี้ ได้ความจาก นายปกรณ์ และนายสถาพร ชินจิตร อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ว่า เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐบาล และโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย จึงต้องขอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศ โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิได้รับชดเชยในส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของธนาคารอีกด้วย

ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า การดำเนินการกรณีนี้พิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และการดำเนินการเป็นผลให้บริษัท ปตท.สผ.จำกัด(มหาชน) ได้รับสัมปทานบ่อแก๊สธรรมชาติ ที่สหภาพพม่านั้น เป็นการนำเอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันมากล่าวอ้าง ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 คู่สมรส ยังคงถือหุ้นรายใหญ่อยู่อย่างแท้จริงในบริษัทไทยคม และบริษัทชินคอร์ป จึงเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทไทยคม โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 51 ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 599 กรณีย่อมเป็นการไม่สมควรที่จะอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า

ดังนี้ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การดำเนินการในกรณีนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม และบริษัท ชินคอร์ป

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า การดำเนินการทั้ง 5 กรณีดังกล่าวมาข้างต้น เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่

เห็นว่าในช่วงเวลาที่มีการดำเนินการตั้ง 5 กรณีตามคำร้องนั้น ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับรัฐมนตรีอื่น ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา และจะต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 201 และ 202 ในการบริหารราชการแผ่นดินมี พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น โดยความในมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กำหนดให้ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมีอำนาจกำกับโดยทั่วไป ซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกรณีที่จำเป็น จะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติคณะรัฐมนตรีก็ได้ มีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในการปฏิบัติตามนโยบาย

ส่วนการจัดระเบียบราชการในกระทรวงต่างๆ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ แต่มีข้อจำกัดว่า อำนาจดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 11 กล่าวคือ ต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้ง หรือลดทอนอำนาจที่มีอยู่ของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้บทบัญญัติมาตรา 217 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ในการให้รัฐมนตรีพ้นจากการเป็นรัฐมนตรี แสดงให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินว่า มีขอบเขตกว้างขวางมาก โดยมีอำนาจเหนือข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งในทุกกระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทบวงต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการ กำกับดูแลกระทรวง ทบวง และรัฐวิสาหกิจนั้นๆ

โดยนายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลตามลำดับชั้นผ่านรัฐมนตรี หรือเข้าไปเป็นประธานกรรมการ ในบรรดาคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐนั้น ในส่วนของ กสท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ปรากฏตามประกาศบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน ) เรื่องโครงสร้างองค์กรสายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อ ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 อนุมัติให้แปลงสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยยังคงมีอำนาจและสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และปรากฏตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องแต่งตั้งกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทนี้ และกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่า ความเห็นของกระทรวงการคลังในเรื่องดังกล่าวเป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 23 ดังกล่าว สำหรับในส่วนของ กสท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้วเช่นกันนั้น เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) โดยการแปลงสภาพจาก กสท.ตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และได้รับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของ กสท. ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมทั้งหมด เพื่อให้กิจการดำเนินไปโดยต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้บริษัทยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจสังกักกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน และยังปรากฏตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ว่า อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาตรา 22 และ 23 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนทุนเป็นหุ้นตามกฎหมายดังกล่าว ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลังทั้งหมด และระหว่างที่กระทรวงการคลังยังไม่ได้โอนหุ้นที่ถือให้แก่บุคคลอื่น มิให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดในส่วนที่ว่าด้วยผู้ถือหุ้นและจำนวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนพึงถือไว้ได้ มาใช้บังคับ และให้ถือว่าความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับบริษัทนั้น เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ประกอบกับข้อบังคับของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน ) ข้อ 27 กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่ตั้งบุคคลเพื่อเป็นกรรมการบริษัท และข้อ 25 กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อน ถึงคราวออกตามวาระได้

วรรค 2 กระทรวงการคลังเห็นว่า เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นไปด้วยความเหมาะสม จึงเห็นควรให้คณะกรรมการบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ใหม่ ดังนั้น วรรค 3 โดยให้ถือความเห็นของกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามนัย มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 สำหรับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 โดยมาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ มาตรา 7 ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาประเทศโดยการให้สินเชื่อค้ำประกัน รับประกันความเสี่ยง ให้บริการที่จำเป็นตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมเศรษฐกิจ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มอบหมายและผู้จัดการเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน อย่างน้อย 3 คน วรรค 2 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามวรรค 1 คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การให้ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่งด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา 15 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 14 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ(3) รัฐมนตรีให้ออกด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี มาตรา 19 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริหารได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด ดังนั้นเมื่อได้พิจารณาถึงที่มาการแต่งตั้ง และการให้คุณให้โทษ ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนทำให้เห็นได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายกรัฐมนตรี มีความเกี่ยวข้องอยู่ด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลโดยตรงตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ยังมีอำนาจกำกับดูแลโดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น รวมทั้งผ่านคณะกรรมการคณะต่างๆ ที่รับผิดชอบกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐนั้นๆ อยู่ด้วย

ใน 5 กรณีที่ถูกกล่าวหานั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้อง สั่งการที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีโดยชัดแจ้ง อยู่ 2 กรณี คือ กรณีการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต และให้นำค่าภาษีสรรพสามิตไปหักออกจากค่าสัมปทาน เพื่อจะต้องแบ่งส่วน แบ่งรายได้ให้แก่หน่วยงานภาครัฐผู้ให้สัมปทาน โดยเป็นการสั่งการและมอบนโยบายให้ปฏิบัติเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้าราชการ และคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้

อีกกรณีหนึ่งคือ กรณีอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้วงเงินสินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่า โดยผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการและมอบนโยบายผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ข้าราชการและคณะกรรมการของธนาคารดังกล่าว

ส่วนอีก 3 กรณีคือ กรณีการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วมและให้นำค่าใช้เครือข่ายร่วมหักออกจากส่วนแบ่งค่าสัมปทานก่อนจะนำส่งหน่วยงานภาครัฐผู้ให้สัมปทาน และกรณีการละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม และสนับสนุนธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ


ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาล้วนแต่เป็นผู้กำกับดูแลในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นลำดับชั้นลงไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ทั้งผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ด้วย สำหรับคณะกรรมการประสานงานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ สัญญาสัมปทานข้อ 39 ระบุให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นข้าราชการประจำ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม รวม 4 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ร 449 ส่วน ทศท. และ กสท. แม้จะได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดย ทศท.เป็นบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) กสท. เป็นบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) แต่ทั้ง 2 หน่วยงานนี้ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ทั้งหมด การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัททั้ง 2 เป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 เพียงแต่ ทศท. และกสท. อยู่ในสังกัดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำกับดูแลเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ในช่วงแรก ต่อมาได้โอนงานส่วนนี้ให้กระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ดูแลรับผิดชอบ ตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดังกล่าว ต่างเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับ 3 กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เริ่มต้นมาจากการร้องขอของบริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือที่มีไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรณีการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า และกรณีอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และอนุมัติให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท.ได้นั้น

ตามคำให้การและคำเบิกความของ นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้จัดการผลประโยชน์ นายพิชัย อยู่คง ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการคณะกรรมการ ทศท. นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลประโยชน์ และนางพจนีย์ ไทยจินดา ผู้อำนวยการกองผลประโยชน์ที่ 1 ฝ่ายผลประโยชน์ ได้ความในทำนองเดียวกันว่า คณะกรรมการกลั่นกรองได้มีการพิจารณาหลักการที่บริษัท เอไอเอส เสนอต่อ ทศท. เพื่อพิจารณารวม 2 ครั้ง ในวันที่ 21 และ 28 สิงหาคม โดยวาระเพื่อพิจารณาเป็นวาระจรทั้ง 2 ครั้ง มีนายสุธรรม มะลิลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท. เป็นผู้ที่นำเรื่องเข้าที่ประชุม ในการประชุมครั้งแรก ซึ่งไม่ได้เสนอโดยฝ่ายบริหารผลประโยชน์ดังที่เคยปฏิบัติมา และการนำเสนอปัญหาทางด้านเทคนิค เกี่ยวกับการที่บริษัท เอไอเอส ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่พอ และ ทศท.ควรรับผิดในช่วงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้เครือข่ายร่วม เกิดขึ้นจากการหารือกันระหว่างนายสุธรรมกับนายวรุฒ ซึ่งเป็นข้อเสนอต่อ ทศท.ว่า ควรอนุมัติให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท.ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ทศท.ได้อนุมัติเรื่องนี้แล้ว การดำเนินการต่อจากนั้นไม่เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติ โดยมีพฤติการณ์ของฝ่ายผู้บริหาร ทศท.ที่จะสนองตอบการร้องของบริษัท เอไอเอส อย่างรวดเร็ว ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการ ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า และกรณีอนุมัติให้ใช้เครือข่ายร่วม และหักค่าใช้จ่ายเครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท. กรณีโครงการดาวเทียมสื่อสารในประเทศที่บริษัท ชินคอร์ป ขออนุมัติให้บริษัท ไทยคม ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ก็มีพฤติการณ์ทำนองเดียวกัน โดยปรากฏว่าได้มีการเสนอรายงานและมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอนุมัติไปก่อนที่คณะกรรมการประสานงานจะได้รับรองรายงานการประชุม ทั้งไม่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยแม้จะมีการเสนอเรื่องเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วก็ตาม แต่ปรากฏจากบันทึกถ้อยคำของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ให้ถ้อยคำต่ออนุกรรมการไต่สวนว่า ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เนื่องจากสัญญาสัมปทานเรื่องดังกล่าว มีผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ จึงให้ถอนเรื่องกลับคืนไป นอกจากนี้ นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลบประโยชน์ในขณะนั้น เบิกความว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้น่าจะมีการส่งสัญญาณมาจากภายนอก เนื่องจากบริษัท เอไอเอส มีข้ออ้างในเรื่องที่จะให้บริการแก่ประชาชนในราคาที่ถูกลง แต่ต่อมากลับมีการให้เหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของบริษัท เอไอเอส และประชาชน เพื่อให้สามารถดำเนินการอนุมัติให้ตามคำร้องขอของบริษัท เอไอเอสได้ นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ผู้อำนวยการส่วนวางแผนการเงิน เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 231 ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ค่อนข้างรวดเร็ว และมีความพยายามที่จะเสนอเรื่องให้ทันในวันที่ 12 เมษายน 2544 ที่มีการประชุมคณะกรรมการ ทศท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำอันไม่สมเหตุสมผล และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหา ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตลอด ดังที่ได้วินิจฉัยไปข้างต้น

ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การดำเนินการทั้ง 5 กรณีดังกล่าวเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผู้ถูกกล่าวหาใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของบริษัท ชินคอร์ป ตามคำร้อง

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้น และเงินปันผล ตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ เพียงใด เห็นว่าเมื่อผลของการดำเนินการทั้งหมดเป็นการเอื้อประโยชน์โดยตรงแก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส กลับบริษัท ไทยคม ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ย่อมทำให้บริษัท ชินคอร์ป ได้รับประโยชน์ในรูปผลกำไรจากการประกอบการของตนเอง และเงินปันผลกำไรตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม นอกจากนี้ยังเป็นการให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไป ถึงความมั่นคงของกิจการอันก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้สนใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเงินปันผลค่าหุ้นและเงินค่าขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ที่รับไว้ในนามผู้คัดค้านที่ 2-5 จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ.ศ.2542

แต่โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินดังกล่าวระหว่างสมรสกันตามกฎหมาย จึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่า ศาลจะสั่งให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้หรือไม่ เห็นว่า การจะได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินไม่ว่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น อันเนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน หรือเป็นสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่จะสามารถยกขึ้นยันต่อบุคคลอื่นได้นั้น ได้ความว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาโดยชอบและในทางที่สมควร

คดีนี้ได้ความจากการไต่สวนว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ชินคอร์ป ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด มาตั้งแต่ปี 2546 หุ้นที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถืออยู่รวมกันมีจำนวนมากและเป็นสัดส่วนที่สูง ทั้งยังร่วมดำเนินกิจการด้วยกันและมีผลประโยชน์ร่วมกันตลอดมา ดังได้ความจากผู้คัดค้านที่ 3 ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนักบริหาร ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 ดูแลจัดการด้านการเงินและทรัพย์สิน ในช่วงเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาก่อตั้งบริษัทแอมเพิลริช แล้วขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในส่วนของผู้ถูกกล่าวหาให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ได้ความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ออกเงินจ่ายค่าซื้อหุ้นให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาแทนบริษัท แอมเพิลริช ไปก่อน จากนั้นผู้ถูกกล่าวหาจึงนำเงินที่ได้รับดังกล่าวคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในภายหลัง

นอกจากผู้คัดค้านที่ 1 ยังมีส่วนร่วมในการหลีกเลี่ยงข้อห้ามการเป็นผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยการโอนหุ้นในส่วนของตนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แสวงหาประโยชน์ร่วมกันตลอดมา เมื่อฟังว่าเงินปันผลค่าหุ้น และเงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาอันเป็นการได้มาโดยมิชอบเสียแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่อาจอ้างว่า เงินดังกล่าวเป็นสินสมรส หรือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันเพื่อรับการคุ้มครองสิทธิในส่วนของตนได้

ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้ด้วย

ส่วนเงินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของแผ่นดินเพียงใดนั้น
เห็นว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินไว้ 2 กรณี ได้แก่คำว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือหนี้สินลดลงผิดปกติ และคำว่า ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความหมายของคำดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า มูลคดีของการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน อาจแยกได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่ง กับที่ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว พบว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติกรณีนึง กับการที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อีกกรณีหนึ่ง ที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 คัดค้านในทำนองว่า ก่อนผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระแรก ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีทรัพย์สินตามรายการที่ระบุในบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ผู้ถูกกล่าวหายื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมูลค่ารวมท 15,124 ล้านบาท จึงไม่อาจให้ทรัพย์สินในส่วนนี้ตกเป็นของแผ่นดินได้นั้น เห็นว่า คดีนี้ คตส.ดำเนินการไต่สวน และผู้ร้องยื่นคำร้องกล่าวถึงการที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของบริษัท ชินคอร์ป โดยเป็นผู้ถือหุ้น แล้วปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีกระทำการต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือ และทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้อง ก็มุ่งเฉพาะเงินปันผล และเงินที่ได้จากการขายหุ้นเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีอยู่ในกรณีหลัง อีกทั้งทางไต่สวนของ คตส. และคำร้องของผู้ร้อง ไม่มีคำขอบังคับไปถึงทรัพย์สินอื่น จึงไม่มีข้อต้องพิจารณาตามคำคัดค้านดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1

แต่อย่างไรก็ดี ยังมีข้อต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า เงินปันผล และเงินที่ได้จากการขายหุ้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควรทั้งจำนวนหรือไม่ ในข้อนี้หากพิจารณาความหมายของคำว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และร่ำรวยผิดปกติ แล้ว เห็นว่า ไม่ว่ามูลคดีจะเป็นกรณีใดกรณีดังที่กล่าวมา ทรัพย์สินอันจะนำมาพิจารณาว่าเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ย่อมต้องเป็นทรัพย์สินนอกเหนือจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอยู่แล้ว อันอยู่ในความหมายธรรมดาของการร่ำรวยผิดปกตินั่นเอง สำหรับเงินปันผลค่าหุ้นที่ได้จากบริษัท ชินคอร์ป เป็นส่วนของกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท ชินคอร์ป บางส่วนและที่ได้จากเงินปันผลตามจำนวนที่ถืออยู่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม บางส่วน ถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว และต้องตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวน ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้น เป็นเงินที่มีมูลค่าเดิมของหุ้นรวมอยู่ด้วย ทรัพย์สินที่ได้มานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว คือ ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น การจะให้ค่าขายหุ้นตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวน ย่อมเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 และเมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่ตนปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัญญาสัมปทานจากรัฐ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 ประกอบพฤติการณ์กับผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 หาทางหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามกฎหมาย ด้วยการให้ผู้คัดค้านที่ 2-5 เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ไว้แทน รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี กระทำการต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมไม่เป็นการสมควรที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้รับประโยชน์ที่มีผลมาจากการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงถือว่า ประโยชน์จากราคาหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ส่วนที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่วันก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวาระแรก คือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา

เมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ศ 7 แล้วปรากฏว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นวันที่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีราคาซื้อขายเฉลี่ยหุ้นละ 213.09 บาท เมื่อคำนวณมูลค่าหุ้นหลังเปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาทแล้ว เท่ากับราคาซื้อขายในวันดังกล่าวมีราคาหุ้นละ 21.309 บาท ครั้นคำนวณจากหุ้นจำนวน 1,419,490,150 หุ้น ที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 30,247,915,606.35 บาท อันถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มีอยู่แต่เดิม และไม่อาจให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้องของผู้ร้องได้

องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินคงมีเฉพาะเงินปันผลค่าหุ้น จำนวน 6,898,722,129 บาท และเงินที่ได้จากการขายหุ้นหลังหักราคาหุ้นที่มีอยู่เดิมแล้ว จำนวน 39,474,965,325.70 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,373,687,454.74 บาท พร้อมดอกผลของเงินจำนวนดังกล่าว

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า มีเหตุที่ศาลต้องเพิกถอนคำสั่งอายัดของ คตส.ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้ง 22 หรือไม่ เพียงใด

เห็นว่าสำหรับผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 ได้ความว่า การยื่นคำร้องขอพิสูจน์ต่อ คตส. และคตส.มีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดทรัพย์สินแล้ว ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.036/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ที่ คตส.037/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 และที่ คตส.014/2551 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 จึงไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ์ และศาลไม่จำต้องพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 ต่อไป

ส่วนผู้คัดค้านอื่นนั้น เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้วินิจฉัยแล้วว่า เงินปันผลและเงินที่ได้จากการขายหุ้นจำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อพิจารณารายการทรัพย์สินที่ คตส.มีคำสั่งอายัดไว้ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส และผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นแทนดังที่วินิจฉัยมา ปรากฏว่ามีจำนวนเพียงพอกับจำนวนที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยคำคัดค้านของผู้คัดค้านอื่นที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ของ คตส.อีกต่อไป

ศาลพิพากษาว่า ให้เงินที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล เฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝาก นับตั้งแต่วันฝากเงินจนถึงวันที่ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โดยบังคับเอาจากทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบ อันได้แก่ บัญชีเงินฝากและหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้

คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.016/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้แก่ บัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ บัญชีเลขที่ 127-2-37287-9 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-2-31081-2 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลบ บัญชีเลขที่ 001-0-55188-2 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-414524-4 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12631-3 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12222-0 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-1-11300-9 ชื่อบัญชี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-2-41335-5 ชื่อบัญชี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-78188-1 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-11188-9 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-13095-6 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-27722-2 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ บัญชีเลขที่ 127-2-37342-2 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ 127-2-37343-0 ชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม บัญชีเลขที่ 001-1-55232-5 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาย่อยเซ็นจูรี บัญชีเลขที่ 208-1-00022-9 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-31008-8 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-13092-2 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12632-1 ชื่อบัญชี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

หน่วยลงทุน น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทขพาณิชย์สะสมทรัพข์ตราสารหนี้ เลขทะเบียนที่ 111-8-0226591-6 จำนวน 13215,843.1522หน่วย หน่วยลงทุนของพานทองแท้ ชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทยสะสมทัพย์ ตราสารหนี้ เลขที่บัญชี 001-8-0283005-7 จำนวน 70,815,404.7729 หน่วย

ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.017/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้แก่ บัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-0-63930-3 ชื่อบัญชี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม บัญชีเลขที่ 001-1-1-55021-8 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-03165-7 ชื่อบัญชีคุณหญิพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-04128-8 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-04129-6 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาซอยอารีย์สัมพันธ์ บัญชีเลขที่ 056-2-00065-1 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) สาขาถนนสุขสวัสดิ์ บัญชีเลขที่ 164-2-28388-9 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-0-44839-0 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย บัญชีเลขที่ 013-2-08229-9 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารทหาไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเพนนินซูลา บัญชีเลขที่ 202-3-00330-0 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารนครหลวงจำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย บัญชีเลขที่ 108-3-09761-3 ชื่อบัญชีนางพจมาน ชินวัตร

ตามคำสั่งคณะรรมการตรวจสอบที่ คตส.029/2550 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2550 บัญชีเงินฝากธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน 8 บัญชีเลขที่ 084-3-02118-9 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ฝากธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน 8 บัญชีเลขที่ 084-3-02187-4 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์

ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.028/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 หน่วยลงทุนของคุณหญิงพจมานชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ เลขที่ทะเบียน 001-8-266016-6 จำนวน 57,799,458.9970 หน่วย

การบังคับเอาจากทรัพย์สินดังกล่าว หากไม่พอให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ คตส.ได้มีคำสั่งอายัดไว้ หากได้เงินครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว ก็ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินอื่น ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 และให้ยกคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 กับเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านรายอื่น คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

ศาลบันทึกรายงานกระบวนการพิจารณาไว้ว่า นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ ผู้ร้อง ผู้รับมอบอำนาจของผู้ถูกกล่าวหา ทนายผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้าน และทนายผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 21 มาศาล ส่วนผู้คัดค้านที่ 22 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มากศาลให้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความที่มาศาลฟังในวันนี้แล้ว โดยถือว่าผู้คัดค้านที่ 22 ทราบคำพิพากษาของศาลในวันนี้ด้วยแล้ว


“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน1)

“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 2)

“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 3)

“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 4)

“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 5)

“คำต่อคำ” พิพากษายึดทรัพย์เงินปล้นชาติ 46,373 ล้าน! (ตอน 6-จบ)


ทักษิณ ชินวัตร
กำลังโหลดความคิดเห็น