ก.ตร.ไม่อนุมัติตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) ให้ “อัศวิน” มือคุมคดีบอมบ์อึบ้านนายกฯ ส่งกลับให้ “ปทีป” ทบทวน ชี้ ก.ตร.เกินครึ่งระบุ พล.ต.อ.ใน สตช.มีเยอะ มองเป็นการล็อกสเปก อ้าง “มาร์ค” สั่งให้ดำเนินคดีทางปกครอง ก.ตร.ฐานขัดคำสั่ง ป.ป.ช. พร้อมตั้ง “วิเชียร” ประธานย้ายรูปปั้นตำรวจอุ้มเด็ก
วันนี้ (12 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.00 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 2/2553 โดยมีการพิจารณาหลายวาระสำคัญ อาทิ การรับรองมติที่ ก.ตร.รับอุทธรณ์ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และคณะ หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีมติว่ามีความผิดวินัยร้ายแรงและถูกปลดออกจากราชการ วาระการขยายระยะเวลาในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร (สว.) ถึงรองผู้บังคับการ (รอง ผบก.) วาระการกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) โดยมีก.ตร.ร่วมประชุมครบครันขาดเพียงพล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ที่ลากิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม ก.ตร.ครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 13.00 น. และเสร็จสิ้นในเวลา 16.20 น. โดยในช่วงเวลา 15.20 น. มีการพักการประชุมประมาณ 10 นาที ขณะที่มีการพิจารณาวาระเปิดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) ซึ่งเป็นวาระสุดท้าย ก่อนที่จะกลับเข้าประชุมอีกครั้งและยุติการประชุมในที่สุด โดยในระหว่างการประชุม ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ออกจากห้องประชุมไปพักใหญ่ กว่า 30 นาที ก่อนกลับเข้ามาอีกครั้ง ขณะที่ก่อนการประชุมยุติ 1 ชั่วโมง โดยพล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ออกจากห้องประชุมกลับไปก่อน จากนั้น นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ได้ออกตามไป โดยให้เหตุผลว่ามีธุระ
นายสุเทพกล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมผ่านไปด้วยดี ซึ่งที่ประชุมมีการแสดงความคิดเห็นกันกว้างขวางไม่ถึงขั้นต้องลงคะแนน การแต่งตั้ง ข้าราชการตำรวจระดับสว. ถึง รองผบก. ซึ่งได้ดำเนินต่อไปไม่มีปัญหา ส่วนการพิจารณาเปิดตำแหน่ง (สบ 10) ยังไม่ได้ข้อยุติใน ก.ตร.ครั้งนี้ยังเปิดตำแหน่งไม่ได้ โดยมีบางประเด็นที่ ก.ตร.บางคนยังไม่เห็นด้วย จึงได้ให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.กลับไปพิจารณาเพิ่มเติม
ด้าน พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ตนจะกลับไปทบทวนข้อมูลเรื่องการขอเปิดตำแหน่งที่ปรึกษา(สบ10) ใหม่ ขณะที่การแต่งตั้ง สว.-รอง ผบก.นั้นยืนยันว่ามีผลในวันที่ 16 ก.พ.ทั่วประเทศ รวมถึงในบช.ภ. 2 ที่ต้องแก้ไขต้องสร็จทันและมีผลในวันที่ 16 ก.พ. เช่นกัน และครั้งนี้ได้มีการขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้งหลายระดับหลายตำแหน่ง ซึ่งครั้งนี้ยังไม่มีการพิจารณาโยกย้าย พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 แต่เป็นคำสั่งให้มาช่วยราชการที่ สตช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) นั้น คาดว่าจะเปิดให้ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร. ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลการตามจับมือปาอุจจาระบ้านนายกฯ และล่าสุด พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.ส่งไปดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายในบช.ภ.2 แทน พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย ผบช.ภ.2 ที่ถูกเด้งเข้ามาช่วยราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันว่าหาก
พล.ต.ท.อัศวิน ได้ขึ้นเป็นที่ปรึกษา (สบ 10) ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารอง ผบ.ตร. จะมีโอกาสในการได้รับพิจารณาให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.คนต่อไป เพราะที่ผ่านมา พล.ต.ท.อัศวิน ได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้รับผิดชอบคดีสำคัญๆ ขณะเดียวกัน พล.ต.ท.อัศวิน จะเกษียณอายุราชการในปี 2554
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้มีการบรรจุวาระเสนอตำแหน่ง ที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านการสืบสวน ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่า รองผบ.ตร. โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธาน ก.ตร.ได้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุม แต่เมื่อมีการเสนอวาระเข้าไป คณะกรรมการ ก.ตร. จำนวนเกินกว่า กึ่งหนึ่งได้อภิปรายว่า ตำแหน่ง พล.ต.อ. ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีจำนวนมากแล้ว ประกอบกับหน้างานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ 4 หน้าที่งาน คือ บริหาร, ปราบปราม, กฎหมายและสอบสวน และความมั่นคง การกำหนดที่ปรึกษาด้านการสืบสวนซ้ำซ้อนกับงานปราบปราม ไม่ควรกำหนดขึ้นมาใหม่ อีกทั้งในการกำหนดคุณสมบัติของที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านการสืบสวน มีการกำหนดว่า ต้องเป็นหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวนคดีสำคัญๆ มาหลายคดี ซึ่ง ก.ตร.มองว่าเป็นการล็อกสเป็คให้กับ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร.มากเกินไป เป็นการข้ามอาวุโส ในระดับ ผู้ช่วยผบ.ตร.อีก 16 คน จนเกินไป ซึ่งมีการอภิปรายอย่างมากมาย ทำให้ นายสุเทพ สั่งให้พักการประชุมเป็นเวลา 10 นาที ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ถอนเรื่องดังกล่าวออกไปก่อน
ส่วนกรณีการใช้อำนาจตาม ม.56 ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ของผบ.ตร.ในการแต่งตั้งโยกย้ายนั้น คณะกรรมการ ก.ตร.มีมติให้ ผบ.ตร.ดำเนินการได้ ไม่ต้องขออนุมัติเพราะเป็นการแก้ไขปัญหา แต่ต้องดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ โดยมี ผบ.ตร.เป็นประธานในการประชุม รอง.ผบ.ตร. ทุกคนเป็นคณะกรรมการ มี ผบช.สกพ. เป็นเลขานุการในการประชุม โดยจะมีการประชุมแต่งตั้งในวันจันทร์ที่ 15 ก.พ.นี้ และให้คำสั่งมีผล 16 ก.พ.53
ส่วนวาระที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ได้ขอรายงานการประชุมของ ก.ตร.ในการมีมติแย้งความเห็นในการให้ นายตำรวจ 3 นายออกจากราชการนั้น คณะกรรมการ ก.ตร.มีมติยังไม่ขอส่งรายงานการประชุมให้ เนื่องจากที่ประชุมยังรับรองรายงานไม่ครบถ้วน
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือ ที่ นร.0405 (ลน) 1475 ลงวันที่ 4 ก.พ.53 เรื่อง ขอให้ดำเนินการทางปกครองกับคณะกรรมการ ก.ตร. กรณีที่ พล.ต.จำลองศรีเมือง นายพิภพ ธงชัย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการป.ป.ช. ให้ดำเนินคดีอาญากับ คณะกรรมการ ก.ตร. กรณีมีมติให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผบช.น. พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีตผบก.ภ.จ.อุดรธานี เข้ารับราชการ ซึ่งในหนังสือระบุว่า นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีบัญชาให้ส่งเรื่องมาให้ นายสุเทพ ในฐานะประธาน ก.ตร.ดำเนินการทางปกครองตามอำนาจหน้าที่ ลงชื่อ นายภราดร เณรบำรุง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการบริหาร ซึ่งในที่ประชุม ก.ตร.ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างมาก โดยส่วนมากระบุว่า คณะกรรมการ ก.ตร.มีอิสระในการทำงาน ทำงานอย่างตรงไปตรงมา นายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจตามกฎหมายอะไรมาดำเนินการทางปกครอง หรือสั่งการให้คณะกรรมการ ก.ตร.หยุดปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใดซึ่งมีคณะกรรมการ ก.ตร.บางท่านเสนอให้ฟ้องกลับผู้ที่กล่าวหาด้วยแต่คณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
รายงานกล่าวอีกว่า สำหรับวาระการจัดลำดับการนั่งเก้าอี้ของ รองผบ.ตร. ที่ต้องเรียงลำดับอาวุโส พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร.ได้กล่าวโทษ พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ ผบช.ก.ตร. ในฐานะ เลขา ก.ตร.ว่า จัดลำดับเก้าอี้ผิด โดยให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รองผบ.ตร.บร.1 นั่งเหนือกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ซึ่ง พล.ต.ท.อาจิณ ได้ขอชี้แจงในที่ประชุมว่า จากการตรวจสอบจากสำนักกำลังพลระบุว่า พล.ต.อ.วิเชียร มีอาวุโสสูงกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เนื่องจากดำรงตำแหน่ง พลตำรวจเอกเมื่อปี 2545 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่งพลตำรวจเอกเมื่อปี 2547 และการดำรงตำแหน่งประจำของ พล.ต.อ.วิเชียร มีคำสั่งให้ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะรอง ผบ.ตร.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ นายสุเทพได้สั่งการให้ทำเป็นเอกสารเข้ามาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ตร.ยังมีมติอนุมัติให้แต่งตั้งนายตำรวจยกเว้นคุณสมบัติไม่ครบหนึ่งปี และไม่เรียงลำดับอาวุโส 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 33 ราย ประกอบไปด้วย พ.ต.อ.กฤดิกร ฉิมม่วง ช่างเครื่องบิน สบ 4 เป็นช่างเครื่อง สบ 4 บ.ตร. พ.ต.ท.ไพฑูรย์ มะลิวัลย์ ช่างสื่อสาร บ.ตร.เป็นช่างสื่อสาร (สบ 3) บ.ตร. พ.ต.ท.เฉลิมพนธ์ มะลิวัลย์ ต้นเรือ เป็น วิศวกรไฟฟ้า สบ 3 พ.ต.ท.ญ.เจษฎา รื่นรมย์ สว.งป.4 เป็นรอง.ผกก.กฝ.ตส.3 พ.ต.อ.ญ.จินตนา การุณยธร ผกก.ฝอ.แผนงาน เป็น รอง.ผบก.ตส.2 พ.ต.ท.ญ.ขนิษฐา เรืองศรี รอง.ผกก.1กง. เป็น ผกก.ตส.3 พ.ต.ท.สมชาย วงศ์พันธ์ลักษณ์ สว.งป.2 รอง.ผกก.ตส.3 พ.ต.ท.ดนัย วิปละ เคาร์พันธ์ สว.3กง เป็น รอง.ผกก.ตส.3 พ.ต.ท.ญ.ศศิพันธ์ รุ่งสัมพันธ์ สว.2ก. เป็น รอง.ผกก.ตส.2 พ.ต.ท.ญ.รุ่งรัตน์ ศรีสารุ่งเรือง สว.สยศ.ตร. เป็น สว.ตส.1 พ.ต.ต.สมพิศ ประเสริฐสถิต สว.งป.1 เป็นสว.ตรวจสอบ 1 ตส.3 พ.ต.ท.ญ.สมศรี วิจารกูล สว.ฝอ.ภ.จว.ภูเก็ต เป็น สว.ตรวจสอบ 3 ตส 2
ร.ต.อ.ญ.วรรณวนัส ทรงเจริญ รอง.สว.ฝอ.บ.ตร.เป็น สว.ตส.2 พ.ต.ท.สุรพันธ์ กอบเงินทอง สวญ.ดงละคร จ.นครนายก เป็น ผกก.ฝ่ายสรรพาวุธ 3 สพ. พ.ตอ.พันธ์พง์ สุขศรีมัช ผกก.ฝสสน.3 บช.ตชด. เป็น รอง.ผบก.อก.ปภ.นรป. พ.ต.ท.ญ.ปิยเนตร ไชยหาญ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 2) เป็น รอง ผกก.สพฐ.ตร. และมีการยกเว้นหลักเกณฑ์ เลื่อนตำแหน่ง ระดับรองสารวัตรเป็นสารวัตรข้ามกองบัญชาการจำนวน 295 นาย
ขณะเดียวกัน ที่ประชุม ก.ตร.ได้อนุมัติให้เพิ่มตำแหน่ง หน.นรป.(สบ 8) เทียบเท่า ผู้บัญชาการจำนวน 1ตำแหน่ง กำหนดตำแหน่ง นรป.สบ.6 (เทียบเท่า ผบก.)จำนวน 2 ตำแหน่ง
ส่วนวาระสุดท้าย ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.วิเชียร เป็นประธานคณะทำงานในการย้ายอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน (ตำรวจอุ้มเด็ก) ที่ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณสวนหย่อมหน้าสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต ให้ไปตั้งในจุดที่มีความสง่างามมากขึ้น เนื่องจากจุดที่ตั้งเดิมไม่มีความเหมาะสม ทำให้จิตวิญญาณของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ตกต่ำลง
วันนี้ (12 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.00 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 2/2553 โดยมีการพิจารณาหลายวาระสำคัญ อาทิ การรับรองมติที่ ก.ตร.รับอุทธรณ์ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และคณะ หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีมติว่ามีความผิดวินัยร้ายแรงและถูกปลดออกจากราชการ วาระการขยายระยะเวลาในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร (สว.) ถึงรองผู้บังคับการ (รอง ผบก.) วาระการกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) โดยมีก.ตร.ร่วมประชุมครบครันขาดเพียงพล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ที่ลากิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม ก.ตร.ครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 13.00 น. และเสร็จสิ้นในเวลา 16.20 น. โดยในช่วงเวลา 15.20 น. มีการพักการประชุมประมาณ 10 นาที ขณะที่มีการพิจารณาวาระเปิดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) ซึ่งเป็นวาระสุดท้าย ก่อนที่จะกลับเข้าประชุมอีกครั้งและยุติการประชุมในที่สุด โดยในระหว่างการประชุม ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ออกจากห้องประชุมไปพักใหญ่ กว่า 30 นาที ก่อนกลับเข้ามาอีกครั้ง ขณะที่ก่อนการประชุมยุติ 1 ชั่วโมง โดยพล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ออกจากห้องประชุมกลับไปก่อน จากนั้น นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ได้ออกตามไป โดยให้เหตุผลว่ามีธุระ
นายสุเทพกล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมผ่านไปด้วยดี ซึ่งที่ประชุมมีการแสดงความคิดเห็นกันกว้างขวางไม่ถึงขั้นต้องลงคะแนน การแต่งตั้ง ข้าราชการตำรวจระดับสว. ถึง รองผบก. ซึ่งได้ดำเนินต่อไปไม่มีปัญหา ส่วนการพิจารณาเปิดตำแหน่ง (สบ 10) ยังไม่ได้ข้อยุติใน ก.ตร.ครั้งนี้ยังเปิดตำแหน่งไม่ได้ โดยมีบางประเด็นที่ ก.ตร.บางคนยังไม่เห็นด้วย จึงได้ให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.กลับไปพิจารณาเพิ่มเติม
ด้าน พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ตนจะกลับไปทบทวนข้อมูลเรื่องการขอเปิดตำแหน่งที่ปรึกษา(สบ10) ใหม่ ขณะที่การแต่งตั้ง สว.-รอง ผบก.นั้นยืนยันว่ามีผลในวันที่ 16 ก.พ.ทั่วประเทศ รวมถึงในบช.ภ. 2 ที่ต้องแก้ไขต้องสร็จทันและมีผลในวันที่ 16 ก.พ. เช่นกัน และครั้งนี้ได้มีการขอยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้งหลายระดับหลายตำแหน่ง ซึ่งครั้งนี้ยังไม่มีการพิจารณาโยกย้าย พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 แต่เป็นคำสั่งให้มาช่วยราชการที่ สตช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) นั้น คาดว่าจะเปิดให้ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร. ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลการตามจับมือปาอุจจาระบ้านนายกฯ และล่าสุด พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.ส่งไปดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายในบช.ภ.2 แทน พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย ผบช.ภ.2 ที่ถูกเด้งเข้ามาช่วยราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันว่าหาก
พล.ต.ท.อัศวิน ได้ขึ้นเป็นที่ปรึกษา (สบ 10) ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารอง ผบ.ตร. จะมีโอกาสในการได้รับพิจารณาให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.คนต่อไป เพราะที่ผ่านมา พล.ต.ท.อัศวิน ได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้รับผิดชอบคดีสำคัญๆ ขณะเดียวกัน พล.ต.ท.อัศวิน จะเกษียณอายุราชการในปี 2554
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้มีการบรรจุวาระเสนอตำแหน่ง ที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านการสืบสวน ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่า รองผบ.ตร. โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธาน ก.ตร.ได้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุม แต่เมื่อมีการเสนอวาระเข้าไป คณะกรรมการ ก.ตร. จำนวนเกินกว่า กึ่งหนึ่งได้อภิปรายว่า ตำแหน่ง พล.ต.อ. ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีจำนวนมากแล้ว ประกอบกับหน้างานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ 4 หน้าที่งาน คือ บริหาร, ปราบปราม, กฎหมายและสอบสวน และความมั่นคง การกำหนดที่ปรึกษาด้านการสืบสวนซ้ำซ้อนกับงานปราบปราม ไม่ควรกำหนดขึ้นมาใหม่ อีกทั้งในการกำหนดคุณสมบัติของที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านการสืบสวน มีการกำหนดว่า ต้องเป็นหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวนคดีสำคัญๆ มาหลายคดี ซึ่ง ก.ตร.มองว่าเป็นการล็อกสเป็คให้กับ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร.มากเกินไป เป็นการข้ามอาวุโส ในระดับ ผู้ช่วยผบ.ตร.อีก 16 คน จนเกินไป ซึ่งมีการอภิปรายอย่างมากมาย ทำให้ นายสุเทพ สั่งให้พักการประชุมเป็นเวลา 10 นาที ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ถอนเรื่องดังกล่าวออกไปก่อน
ส่วนกรณีการใช้อำนาจตาม ม.56 ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ของผบ.ตร.ในการแต่งตั้งโยกย้ายนั้น คณะกรรมการ ก.ตร.มีมติให้ ผบ.ตร.ดำเนินการได้ ไม่ต้องขออนุมัติเพราะเป็นการแก้ไขปัญหา แต่ต้องดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ โดยมี ผบ.ตร.เป็นประธานในการประชุม รอง.ผบ.ตร. ทุกคนเป็นคณะกรรมการ มี ผบช.สกพ. เป็นเลขานุการในการประชุม โดยจะมีการประชุมแต่งตั้งในวันจันทร์ที่ 15 ก.พ.นี้ และให้คำสั่งมีผล 16 ก.พ.53
ส่วนวาระที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ได้ขอรายงานการประชุมของ ก.ตร.ในการมีมติแย้งความเห็นในการให้ นายตำรวจ 3 นายออกจากราชการนั้น คณะกรรมการ ก.ตร.มีมติยังไม่ขอส่งรายงานการประชุมให้ เนื่องจากที่ประชุมยังรับรองรายงานไม่ครบถ้วน
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือ ที่ นร.0405 (ลน) 1475 ลงวันที่ 4 ก.พ.53 เรื่อง ขอให้ดำเนินการทางปกครองกับคณะกรรมการ ก.ตร. กรณีที่ พล.ต.จำลองศรีเมือง นายพิภพ ธงชัย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการป.ป.ช. ให้ดำเนินคดีอาญากับ คณะกรรมการ ก.ตร. กรณีมีมติให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผบช.น. พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีตผบก.ภ.จ.อุดรธานี เข้ารับราชการ ซึ่งในหนังสือระบุว่า นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีบัญชาให้ส่งเรื่องมาให้ นายสุเทพ ในฐานะประธาน ก.ตร.ดำเนินการทางปกครองตามอำนาจหน้าที่ ลงชื่อ นายภราดร เณรบำรุง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการบริหาร ซึ่งในที่ประชุม ก.ตร.ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างมาก โดยส่วนมากระบุว่า คณะกรรมการ ก.ตร.มีอิสระในการทำงาน ทำงานอย่างตรงไปตรงมา นายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจตามกฎหมายอะไรมาดำเนินการทางปกครอง หรือสั่งการให้คณะกรรมการ ก.ตร.หยุดปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใดซึ่งมีคณะกรรมการ ก.ตร.บางท่านเสนอให้ฟ้องกลับผู้ที่กล่าวหาด้วยแต่คณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
รายงานกล่าวอีกว่า สำหรับวาระการจัดลำดับการนั่งเก้าอี้ของ รองผบ.ตร. ที่ต้องเรียงลำดับอาวุโส พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร.ได้กล่าวโทษ พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ ผบช.ก.ตร. ในฐานะ เลขา ก.ตร.ว่า จัดลำดับเก้าอี้ผิด โดยให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รองผบ.ตร.บร.1 นั่งเหนือกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ซึ่ง พล.ต.ท.อาจิณ ได้ขอชี้แจงในที่ประชุมว่า จากการตรวจสอบจากสำนักกำลังพลระบุว่า พล.ต.อ.วิเชียร มีอาวุโสสูงกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เนื่องจากดำรงตำแหน่ง พลตำรวจเอกเมื่อปี 2545 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่งพลตำรวจเอกเมื่อปี 2547 และการดำรงตำแหน่งประจำของ พล.ต.อ.วิเชียร มีคำสั่งให้ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะรอง ผบ.ตร.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ นายสุเทพได้สั่งการให้ทำเป็นเอกสารเข้ามาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ตร.ยังมีมติอนุมัติให้แต่งตั้งนายตำรวจยกเว้นคุณสมบัติไม่ครบหนึ่งปี และไม่เรียงลำดับอาวุโส 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 33 ราย ประกอบไปด้วย พ.ต.อ.กฤดิกร ฉิมม่วง ช่างเครื่องบิน สบ 4 เป็นช่างเครื่อง สบ 4 บ.ตร. พ.ต.ท.ไพฑูรย์ มะลิวัลย์ ช่างสื่อสาร บ.ตร.เป็นช่างสื่อสาร (สบ 3) บ.ตร. พ.ต.ท.เฉลิมพนธ์ มะลิวัลย์ ต้นเรือ เป็น วิศวกรไฟฟ้า สบ 3 พ.ต.ท.ญ.เจษฎา รื่นรมย์ สว.งป.4 เป็นรอง.ผกก.กฝ.ตส.3 พ.ต.อ.ญ.จินตนา การุณยธร ผกก.ฝอ.แผนงาน เป็น รอง.ผบก.ตส.2 พ.ต.ท.ญ.ขนิษฐา เรืองศรี รอง.ผกก.1กง. เป็น ผกก.ตส.3 พ.ต.ท.สมชาย วงศ์พันธ์ลักษณ์ สว.งป.2 รอง.ผกก.ตส.3 พ.ต.ท.ดนัย วิปละ เคาร์พันธ์ สว.3กง เป็น รอง.ผกก.ตส.3 พ.ต.ท.ญ.ศศิพันธ์ รุ่งสัมพันธ์ สว.2ก. เป็น รอง.ผกก.ตส.2 พ.ต.ท.ญ.รุ่งรัตน์ ศรีสารุ่งเรือง สว.สยศ.ตร. เป็น สว.ตส.1 พ.ต.ต.สมพิศ ประเสริฐสถิต สว.งป.1 เป็นสว.ตรวจสอบ 1 ตส.3 พ.ต.ท.ญ.สมศรี วิจารกูล สว.ฝอ.ภ.จว.ภูเก็ต เป็น สว.ตรวจสอบ 3 ตส 2
ร.ต.อ.ญ.วรรณวนัส ทรงเจริญ รอง.สว.ฝอ.บ.ตร.เป็น สว.ตส.2 พ.ต.ท.สุรพันธ์ กอบเงินทอง สวญ.ดงละคร จ.นครนายก เป็น ผกก.ฝ่ายสรรพาวุธ 3 สพ. พ.ตอ.พันธ์พง์ สุขศรีมัช ผกก.ฝสสน.3 บช.ตชด. เป็น รอง.ผบก.อก.ปภ.นรป. พ.ต.ท.ญ.ปิยเนตร ไชยหาญ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 2) เป็น รอง ผกก.สพฐ.ตร. และมีการยกเว้นหลักเกณฑ์ เลื่อนตำแหน่ง ระดับรองสารวัตรเป็นสารวัตรข้ามกองบัญชาการจำนวน 295 นาย
ขณะเดียวกัน ที่ประชุม ก.ตร.ได้อนุมัติให้เพิ่มตำแหน่ง หน.นรป.(สบ 8) เทียบเท่า ผู้บัญชาการจำนวน 1ตำแหน่ง กำหนดตำแหน่ง นรป.สบ.6 (เทียบเท่า ผบก.)จำนวน 2 ตำแหน่ง
ส่วนวาระสุดท้าย ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.วิเชียร เป็นประธานคณะทำงานในการย้ายอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน (ตำรวจอุ้มเด็ก) ที่ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณสวนหย่อมหน้าสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต ให้ไปตั้งในจุดที่มีความสง่างามมากขึ้น เนื่องจากจุดที่ตั้งเดิมไม่มีความเหมาะสม ทำให้จิตวิญญาณของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ตกต่ำลง