เจ้าของโรงพิมพ์ “สลาตันการพิมพ์” แจ้งจับลูกชายจุฬาราชมนตรี แอบอ้างอำนาจพ่อสั่งพิมพ์คำภีร์อัลกุรอาน 3 ภาษา กว่า 300 ล้าน พบพิรุธยืดเวลาส่งของให้ครบจึงจะได้เงิน แถมเมื่อสอบถามไปที่รองจุฬาราชมนตรีกลับไม่รู้เรื่องนี้ จึงเข้าแจ้งความดำเนินคดีแต่เอาเอกสารมาไม่ครบ ได้แค่ลงบันทึกประจำวันไว้
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 11.00 น. นายวาสรี บูเก๊ะเจ๊ะลี อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 114/2 หมู่ 1 ต.เคียนซา อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับมอบอำนาจจากนายรอมลี บือโต อายุ 46 ปี เจ้าของโรงพิมพ์ “สลาตันการพิมพ์” ตั้งอยู่เลขที่ 773 ถนนสิโรรส ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา เข้าแจ้งความต่อ พ.ต.ท.ภัชร์ชาพล ภูริโภไคย พงส.(สบ 2) กก.1 บก.ป. เพื่อให้ดำเนินคดีต่อ นายดิเรก สุมาลยศักดิ์ ในข้อหาปลอมแปลงเอกสารและฉ้อโกง
จากการสอบสวนนายวาสรีให้การว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ปี 52 นายดิเรกซึ่งเป็นลูกชายของ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี อ้างเป็นผู้ช่วยเลขานุการจุฬาราชมนตรี ได้รับมอบอำนาจจากจุฬาราชมนตรี สำนักจุฬาราชมนตรี มาติดต่อว่าจ้างให้พิมพ์คำภีร์อัลกุรอาน ฉบับแปลเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทย อาหรับ และมลายู ตามโครงการของสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อศาสนาอิสลาม โดยจำนวนที่พิมพ์ทั้งหมด 1.5 แสนเล่ม เป็นเงินค่าใช้จ่าย 300 ล้านบาท ตกลงเซ็นสัญญากำหนดระยะเวลาทำงาน 3 เดือน นอกจากนี้ตนยังต้องจ่ายค่าทำสัญญาค้ำประกันไปอีก 3 ล้านบาทด้วย
นายวาสรีให้การต่อว่า เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว ตนเตรียมติดต่อโรงพิมพ์ สั่งซื้อกระดาษ เครื่องจักร แท่นพิมพ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพิมพ์ ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าทั้งหมด 27 ล้านบาท หลังจากดำเนินการไปได้ 15 เปอร์เซ็นต์ ก็ขอยืดเวลาการส่งคัมภีร์อัลกุรอานไปเป็น 8 เดือน นายดิเรกก็ยินยอม แต่ขอก่อนให้นำส่งก่อนจำนวน 1 หมื่นเล่ม
นายวาสรีกล่าวต่อว่า เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2552 ตนเห็นผิดสังเกตจึงเดินทางไปสอบถามกับ อิหม่ามการีม อับดุลเลาะห์ รองจุฬาฯ แต่ไม่มีใครรู้เรื่อง โดยการพิมพ์คัมภีร์ 1 หมื่นเล่ม ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพิมพ์อีก 14 ล้านบาท จึงขอเบิกเงินบางส่วน แต่นายดิเรกบอกมาว่าต้องรอส่งมอบให้ครบก่อน จึงจะสามารถเบิกเงินได้ จึงไปตรวจสอบประวัติของนายดิเรก จึงทราบว่าไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ ในสำนักจุฬาราชมนตรี และเอกสารการมอบอำนาจก็อาจทำขึ้นมาเอง จึงเข้ามาแจ้งความดังกล่าว
“ตอนแรกผมไม่เอะใจอะไรเลย เพราะไม่คิดว่าจะมีใครกล้ามาหากินกับอัลกุรอานเพราะถือเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคน ยึดถือนำมาปฏิบัติ ซึ่งอยากให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีเพื่อไม่ได้ไปแอบอ้างกับคนอื่นอีก” นายวาสรี กล่าว
เบื้องต้นผู้เสียหายมีเอกสารบางส่วนมายังไม่ครบ เจ้าหน้าที่จึงได้ให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ก่อนเข้าแจ้งความอีกครั้งในวันหลัง
ต่อมา ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยังสำนักจุฬาราชมนตรีเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงเป็นผู้รับสายซึ่งแจ้งว่า ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว ต้องสอบถามจากผู้ใหญ่ แต่เมื่อถามไปว่าจะสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ใหญ่คนไหนและจะติดต่อได้ทางใดบ้างก็ได้รับคำตอบว่า ไม่มีใครอยู่สำนักงานขอให้ติดต่อมาใหม่อีกครั้ง
ด้านนายดิเรก กล่าวว่า ตนเป็นบุตรชายของสวาสดิ์ และมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการจุฬาราชมนตรี ส่วนกรณีที่ถูกกล่าวหานั้น ตนได้รับมอบอำนาจจากสำนักจุฬาราชมนตรีเพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการเผยแพร่คัมภีร์อัลกุรอานดังกล่าวจริง โดยเสนอโครงการไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินการมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ซึ่งเรื่องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ระหว่างนั้นทางโรงพิมพ์แห่งนี้ก็เป็นผู้เข้ามาติดต่อตนเพื่อขอโอกาสในการพิมพ์ซึ่งตนก็ปฏิเสธไปเพราะการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ อีกทั้งต้นฉบับก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากจุฬาราชมนตรี
"ผมขอยืนยันว่าดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องทุกอย่าง จึงเชื่อว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิด และกำลังปรึกษาทนายความเพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับคู่กรณีต่อไป" นายดิเรก กล่าว
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 11.00 น. นายวาสรี บูเก๊ะเจ๊ะลี อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 114/2 หมู่ 1 ต.เคียนซา อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับมอบอำนาจจากนายรอมลี บือโต อายุ 46 ปี เจ้าของโรงพิมพ์ “สลาตันการพิมพ์” ตั้งอยู่เลขที่ 773 ถนนสิโรรส ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา เข้าแจ้งความต่อ พ.ต.ท.ภัชร์ชาพล ภูริโภไคย พงส.(สบ 2) กก.1 บก.ป. เพื่อให้ดำเนินคดีต่อ นายดิเรก สุมาลยศักดิ์ ในข้อหาปลอมแปลงเอกสารและฉ้อโกง
จากการสอบสวนนายวาสรีให้การว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ปี 52 นายดิเรกซึ่งเป็นลูกชายของ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี อ้างเป็นผู้ช่วยเลขานุการจุฬาราชมนตรี ได้รับมอบอำนาจจากจุฬาราชมนตรี สำนักจุฬาราชมนตรี มาติดต่อว่าจ้างให้พิมพ์คำภีร์อัลกุรอาน ฉบับแปลเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทย อาหรับ และมลายู ตามโครงการของสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อศาสนาอิสลาม โดยจำนวนที่พิมพ์ทั้งหมด 1.5 แสนเล่ม เป็นเงินค่าใช้จ่าย 300 ล้านบาท ตกลงเซ็นสัญญากำหนดระยะเวลาทำงาน 3 เดือน นอกจากนี้ตนยังต้องจ่ายค่าทำสัญญาค้ำประกันไปอีก 3 ล้านบาทด้วย
นายวาสรีให้การต่อว่า เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว ตนเตรียมติดต่อโรงพิมพ์ สั่งซื้อกระดาษ เครื่องจักร แท่นพิมพ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพิมพ์ ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าทั้งหมด 27 ล้านบาท หลังจากดำเนินการไปได้ 15 เปอร์เซ็นต์ ก็ขอยืดเวลาการส่งคัมภีร์อัลกุรอานไปเป็น 8 เดือน นายดิเรกก็ยินยอม แต่ขอก่อนให้นำส่งก่อนจำนวน 1 หมื่นเล่ม
นายวาสรีกล่าวต่อว่า เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2552 ตนเห็นผิดสังเกตจึงเดินทางไปสอบถามกับ อิหม่ามการีม อับดุลเลาะห์ รองจุฬาฯ แต่ไม่มีใครรู้เรื่อง โดยการพิมพ์คัมภีร์ 1 หมื่นเล่ม ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพิมพ์อีก 14 ล้านบาท จึงขอเบิกเงินบางส่วน แต่นายดิเรกบอกมาว่าต้องรอส่งมอบให้ครบก่อน จึงจะสามารถเบิกเงินได้ จึงไปตรวจสอบประวัติของนายดิเรก จึงทราบว่าไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ ในสำนักจุฬาราชมนตรี และเอกสารการมอบอำนาจก็อาจทำขึ้นมาเอง จึงเข้ามาแจ้งความดังกล่าว
“ตอนแรกผมไม่เอะใจอะไรเลย เพราะไม่คิดว่าจะมีใครกล้ามาหากินกับอัลกุรอานเพราะถือเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคน ยึดถือนำมาปฏิบัติ ซึ่งอยากให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีเพื่อไม่ได้ไปแอบอ้างกับคนอื่นอีก” นายวาสรี กล่าว
เบื้องต้นผู้เสียหายมีเอกสารบางส่วนมายังไม่ครบ เจ้าหน้าที่จึงได้ให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ก่อนเข้าแจ้งความอีกครั้งในวันหลัง
ต่อมา ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยังสำนักจุฬาราชมนตรีเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงเป็นผู้รับสายซึ่งแจ้งว่า ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว ต้องสอบถามจากผู้ใหญ่ แต่เมื่อถามไปว่าจะสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ใหญ่คนไหนและจะติดต่อได้ทางใดบ้างก็ได้รับคำตอบว่า ไม่มีใครอยู่สำนักงานขอให้ติดต่อมาใหม่อีกครั้ง
ด้านนายดิเรก กล่าวว่า ตนเป็นบุตรชายของสวาสดิ์ และมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการจุฬาราชมนตรี ส่วนกรณีที่ถูกกล่าวหานั้น ตนได้รับมอบอำนาจจากสำนักจุฬาราชมนตรีเพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการเผยแพร่คัมภีร์อัลกุรอานดังกล่าวจริง โดยเสนอโครงการไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินการมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ซึ่งเรื่องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ระหว่างนั้นทางโรงพิมพ์แห่งนี้ก็เป็นผู้เข้ามาติดต่อตนเพื่อขอโอกาสในการพิมพ์ซึ่งตนก็ปฏิเสธไปเพราะการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ อีกทั้งต้นฉบับก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากจุฬาราชมนตรี
"ผมขอยืนยันว่าดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องทุกอย่าง จึงเชื่อว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิด และกำลังปรึกษาทนายความเพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับคู่กรณีต่อไป" นายดิเรก กล่าว