“ปิยะวัฒก์”นำทีมดีเอสไอบุกค้น 4 จุด ตรวจสอบธุรกิจ “ปูแดง ไคโตซาน” ขายตรงปุ๋ยผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หลังถูก สคบ.เพิกถอนการประกอบธุรกิจ พบหลอกลวงขายผงชูรสอินทรีย์ปูแดง มีเจตนาระดมทุนมากกว่าขายสินค้า ขณะเข้าตรวจสอบสมาชิกถึงกับไม่พอใจโห่ร้องเจ้าหน้าที่ อ้างบริษัททำถูกกฎหมาย พบมีสมาชิกร่วมหมื่นราย ออกหมายจับประธานบริษัทกับพวกแล้ว รวบตัวได้ 1 ราย
วันนี้ (19 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ นำกำลังเจ้าหน้าที่ดีเอสไอและตัวแทน สคบ. กว่า 50 นาย เข้าตรวจค้นบริษัท เบสท์ 59 จำกัด สำนักงานใหญ่ เลขที่ 34/6 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และโรงงานผลิตในพื้นที่จ.ปทุมธานี รวม 4 จุด เพื่อตรวจสอบการทำธุรกิจ ขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ยี่ห้อปูแดงไคโตซาน ภายหลังได้รับร้องเรียนจากประชาชนว่าการดำเนินธุรกิจอาจเข้าข่ายความผิดฉ้อโกงประชาชนและบริษัทถูก สคบ.ยกเลิกใบอนุญาตประกอบธุรกิจขายตรง เมื่อปีพ.ศ.2552
พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้ขอออกหมายจับ ผู้ต้องหาจำนวน 4 คน คือ 1.นายสมปอง แซ่ตั้ง อายุ 51 ปี ประธานบริษัทฯ อยู่บ้านเลขที่ 49 /149 ม.8 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 2.นายวิชาญ จำปาขาว อายุ 41 ปี อยู่บ้านเลขที่ 106/5 ม.4 ต.งิ้วภพ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 3. นายเนตินันท์ ประดิษฐ์ชัย อายุ 28 ปี บ้านเลขที่ 57/100-101 ม.หรรษา แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม.และนายธนาพัทธ์ กิจใบ อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 75/90 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กทม. พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิด ฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา ,ร่วมกันกระทำความผิดตามพรก.กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ขณะอยู่ในบ้านพักจำนวน 1 รายคือ นายเนตินันท์ จึงนำตัวมาสอบปากคำที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือยังอยู่ระหว่างหลบหนี
ทั้งนี้ขณะเจ้าหน้าที่ดีเอสไอเข้าไปตรวจค้นภายในสำนักงานใหญ่ ได้มีสมาชิกของบริษัทหลายสิบคนมารวมตัวกันตะโกนโห่ร้องด้วยความไม่พอใจ พร้อมอ้างว่าบริษัทดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย และขอให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอชี้แจงทำความเข้าใจ
โดยพ.อ.ปิยะวัฒก์กล่าวว่า บริษัทฯดังกล่าวขออนุญาตประกอบธุรกิจขายตรง จากสคบ.เมื่อปี พ.ศ.2546 และดำเนินธุรกิจขายตรงเรื่อยมา จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.2551 ก็มีการเพิ่มสินค้าเป็น 45 รายการ จากที่เดิมขออนุญาตไว้ เพียง 2 รายการ จากนั้นสคบ.จึงเข้าไปตรวจสอบก็พบหลักฐานที่เชื่อว่ามีการทำธุรกิจไม่ตรงตามแผนธุรกิจขายตรง จึงมีการเชิญเจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้ามาให้ข้อมูลและหลักฐาน จนกระทั่งในที่สุดสคบ.ก็ได้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อวันที่22 ธ.ค.2552 ต่อมาดีเอสไอจึงเข้าไปตรวจสอบก็พบว่ามีการประกอบธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน จึงได้เข้าไปตรวจสอบพร้อมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นกรมวิชาการเกษตร ที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ปุ๋ยพบว่าสินค้าอาจไม่มีสารที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย
“พบว่ามีการเชิญชวนประชาชนทั้งทางสื่อและทีวี เป็นการชวนเชิญประชาชนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปให้เอาเงินมาลงทุน โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้ในอัตราที่สูงเกินกว่าอันตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินพึงจ่ายได้คือร้อยละ 4-6 ต่อปี แต่จากแผนการตลาดของบริษัทดังกล่าวมีการจ่ายผลตอบแทนสูงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้จากการตรวจสอบพบว่าบริษัทมีสมาชิก 10,000 กว่าคน โดยแต่ละคนซื้อสินค้าครั้งละ 3,500 บาท และสามารถซื้อซ้ำได้หลายครั้ง แต่จะต้องเสียค่าสมาชิกทุกครั้งๆ ละ 300 บาทซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ขออำนาจศาลเข้าไปตรวจสอบว่าบริษัทสามารถผลิตสินค้าและส่งให้ตัวแทนจำหน่ายจริง ตามจำนวนที่สั่งซื้อหรือไม่ และบริษัทดังกล่าวแจ้งว่าผลประกอบการเดือนละ 100 ล้านบาท ซึ่งจะได้ตรวจสอบมูลค่าความเสียหายต่อไป”
พ.อ.ปิยะวัฒก์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้ตรวจค้นบริษัทดังกล่าวพร้อมกัน 4 จุด และซึ่งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจะได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนำมาตรวจสอบต่อไป โดยขณะเข้าตรวจค้นบริเวณสำนักงานใหญ่มีสามาชิกจำนวนหนึ่งไม่เข้าใจ คิดว่าเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปกลั่นแกล้งจึงได้อธิบายให้เข้าใจว่าดีเอสไอและสคบ.ที่เป็นหน่วยงานของรัฐได้เข้ามาตรวจสอบเพื่อคุ้มครองประชาชนไม่ให้ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงเงิน พร้อมให้บริษัทดังกล่าวส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปให้ดีเอสไอตรวจสอบ
วันนี้ (19 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ นำกำลังเจ้าหน้าที่ดีเอสไอและตัวแทน สคบ. กว่า 50 นาย เข้าตรวจค้นบริษัท เบสท์ 59 จำกัด สำนักงานใหญ่ เลขที่ 34/6 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และโรงงานผลิตในพื้นที่จ.ปทุมธานี รวม 4 จุด เพื่อตรวจสอบการทำธุรกิจ ขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ยี่ห้อปูแดงไคโตซาน ภายหลังได้รับร้องเรียนจากประชาชนว่าการดำเนินธุรกิจอาจเข้าข่ายความผิดฉ้อโกงประชาชนและบริษัทถูก สคบ.ยกเลิกใบอนุญาตประกอบธุรกิจขายตรง เมื่อปีพ.ศ.2552
พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้ขอออกหมายจับ ผู้ต้องหาจำนวน 4 คน คือ 1.นายสมปอง แซ่ตั้ง อายุ 51 ปี ประธานบริษัทฯ อยู่บ้านเลขที่ 49 /149 ม.8 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 2.นายวิชาญ จำปาขาว อายุ 41 ปี อยู่บ้านเลขที่ 106/5 ม.4 ต.งิ้วภพ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 3. นายเนตินันท์ ประดิษฐ์ชัย อายุ 28 ปี บ้านเลขที่ 57/100-101 ม.หรรษา แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม.และนายธนาพัทธ์ กิจใบ อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 75/90 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กทม. พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิด ฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา ,ร่วมกันกระทำความผิดตามพรก.กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ขณะอยู่ในบ้านพักจำนวน 1 รายคือ นายเนตินันท์ จึงนำตัวมาสอบปากคำที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือยังอยู่ระหว่างหลบหนี
ทั้งนี้ขณะเจ้าหน้าที่ดีเอสไอเข้าไปตรวจค้นภายในสำนักงานใหญ่ ได้มีสมาชิกของบริษัทหลายสิบคนมารวมตัวกันตะโกนโห่ร้องด้วยความไม่พอใจ พร้อมอ้างว่าบริษัทดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย และขอให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอชี้แจงทำความเข้าใจ
โดยพ.อ.ปิยะวัฒก์กล่าวว่า บริษัทฯดังกล่าวขออนุญาตประกอบธุรกิจขายตรง จากสคบ.เมื่อปี พ.ศ.2546 และดำเนินธุรกิจขายตรงเรื่อยมา จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.2551 ก็มีการเพิ่มสินค้าเป็น 45 รายการ จากที่เดิมขออนุญาตไว้ เพียง 2 รายการ จากนั้นสคบ.จึงเข้าไปตรวจสอบก็พบหลักฐานที่เชื่อว่ามีการทำธุรกิจไม่ตรงตามแผนธุรกิจขายตรง จึงมีการเชิญเจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้ามาให้ข้อมูลและหลักฐาน จนกระทั่งในที่สุดสคบ.ก็ได้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อวันที่22 ธ.ค.2552 ต่อมาดีเอสไอจึงเข้าไปตรวจสอบก็พบว่ามีการประกอบธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน จึงได้เข้าไปตรวจสอบพร้อมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นกรมวิชาการเกษตร ที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ปุ๋ยพบว่าสินค้าอาจไม่มีสารที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย
“พบว่ามีการเชิญชวนประชาชนทั้งทางสื่อและทีวี เป็นการชวนเชิญประชาชนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปให้เอาเงินมาลงทุน โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้ในอัตราที่สูงเกินกว่าอันตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินพึงจ่ายได้คือร้อยละ 4-6 ต่อปี แต่จากแผนการตลาดของบริษัทดังกล่าวมีการจ่ายผลตอบแทนสูงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้จากการตรวจสอบพบว่าบริษัทมีสมาชิก 10,000 กว่าคน โดยแต่ละคนซื้อสินค้าครั้งละ 3,500 บาท และสามารถซื้อซ้ำได้หลายครั้ง แต่จะต้องเสียค่าสมาชิกทุกครั้งๆ ละ 300 บาทซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ขออำนาจศาลเข้าไปตรวจสอบว่าบริษัทสามารถผลิตสินค้าและส่งให้ตัวแทนจำหน่ายจริง ตามจำนวนที่สั่งซื้อหรือไม่ และบริษัทดังกล่าวแจ้งว่าผลประกอบการเดือนละ 100 ล้านบาท ซึ่งจะได้ตรวจสอบมูลค่าความเสียหายต่อไป”
พ.อ.ปิยะวัฒก์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้ตรวจค้นบริษัทดังกล่าวพร้อมกัน 4 จุด และซึ่งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจะได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนำมาตรวจสอบต่อไป โดยขณะเข้าตรวจค้นบริเวณสำนักงานใหญ่มีสามาชิกจำนวนหนึ่งไม่เข้าใจ คิดว่าเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปกลั่นแกล้งจึงได้อธิบายให้เข้าใจว่าดีเอสไอและสคบ.ที่เป็นหน่วยงานของรัฐได้เข้ามาตรวจสอบเพื่อคุ้มครองประชาชนไม่ให้ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงเงิน พร้อมให้บริษัทดังกล่าวส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปให้ดีเอสไอตรวจสอบ