สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย ตั้งฉายาตำรวจที่สังคมสนใจส่งท้ายปี 10 ฉายา “ปทีป-ผบ.แสตนด์บาย” ตีคู่มากับ “จุมพล-จุ๋ม ชิงดำ” ด้านโฆษก ตร.ที่ออกสื่อบ่อยอย่าง “พงศพัศ” ได้ฉายา “ดาราสีกากี” โอ๋สืบ 6 ติดโผ หลังพยายามดิ้นกลับรับราชการฉายา “โอ๋ 9 ชีวิต”
วันนี้ (13 ธ.ค.) เมื่อ เวลา 14.00 น. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย นายไพโรจน์ เทศนิยม นายกสมาคมฯ พร้อมคณะกรรมการบริหาร ร่วมแถลงข่าวฉายาตำรวจแห่งปี 2552 ตามบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วย สื่อมวลชนจากสายข่าวอาชญากรรม และกระบวนการยุติธรรม ได้ก่อตั้งมากว่า 30 ปี มีสมาชิกทั้งหมดกว่า 300 กว่าคน ทุกๆ ปี สื่อมวลมวลชนสายงานข่าวอาชญากรรม ได้ทำงานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรวมทั้งยังได้ติดตามการปฏิบัติงานของตำรวจ เพื่อนำมาเสนอสู่สายตาประชาชนจนเป็นที่ยอมรับของสังคมตลอดมา ซึ่งในปีนี้ทางคณะกรรมการผู้บริหารสมาคมฯ ได้ร่วมกันพิจารณาลงมติให้ฉายาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความโดดเด่น ซึ่งประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ในรอบ 1 ปี มีทั้งหมด 10 ฉายา ดังนี้
1.พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
โดยหน้าที่การงาน พล.ต.อ.ปทีป ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ โดยได้รับการสนับสนุนจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่ว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ (ก.ต.ช.) ได้ล่มถึง 2 ครั้ง ไม่สามารถตกลงกันได้ นายอภิสิทธิ์จึงมีคำสั่งแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในวันที่ 29 กันยายน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 จนทุกวันนี้ ยังไม่มีกำหนดว่าจะมีการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ขึ้นเมื่อไร ดังนั้น สื่อมวลชนจึงได้ให้ฉายาว่า “ผบ.สแตนด์บาย”
2. พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
การประชุมคณะกรรมการ (ก.ต.ช.) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการสรรหา ผบ.ตร.คนใหม่ แทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่เกษียณอายุราชการ หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ต.ช.เสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ แล้วที่ประชุมมีมติ 5 ต่อ 4 คัดค้าน ในที่ประชุมได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.ให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ทำให้ประธานที่ประชุมสั่งปิดประชุมทันที พล.ต.อ.จุมพล จึงมีสิทธิ์เข้าลุ้นตำแหน่ง ผบ.ตร. จึงรับฉายา “จุ๋ม ชิงดำ”
3. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ปรึกษา (สบ 10) เทียบเท่ารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
พล.ต.อ.อดุลย์ เป็นนายตำรวจที่ทุ่มเททำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พยายามทำให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบ และเป็นผู้จัดทำ “แผนกรกฎ 52” ใช้ในการควบคุมฝูงชน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เคยร้องขอเลื่อนตำแหน่งจากผู้บังคับบัญชา จะให้หรือไม่ให้ สุดแต่วาสนา สื่อมวลชนจึงได้ให้ฉายา “สุภาพบุรุษด้ามขวานทอง”
4. พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พล.ต.ท.พงศพัศ ทำหน้าที่โฆษกให้กับองค์กรตำรวจมาหลายสมัยตั้งแต่ยุค พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จน กระทั่ง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ขึ้นมาเป็น ผบ.ตร.ไม่ได้ใช้บริการของ พล.ต.ท.พงศพัศ โดย ผบ.ตร.อ้างว่า โฆษกพงศพัศเดินเร็วจนตนเองตามไม่ทัน หลังจาก พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ขึ้นมาทำหน้าที่รักษาราชการแทน ผบ.ตร. พล.ต.ท.พงศพัศ ก็กลับมาทำหน้าที่โฆษกฯ อีกครั้ง นอกจากจะทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลข่าวสารแถลงข่าวในเรื่องต่างๆ และดูแลบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนโดยส่วนรวม จนเป็นที่รู้จักของประชาชนแม้แต่เด็กตัวเล็กๆ ว่าไปแล้วไม่ต่างไปจาก “ดารา” ประกอบกับหน้าตาที่หล่อเหลาออกทีวีเกือบทุกวัน สื่อมวลชนจึงให้ฉายาว่า “ดาราสีกากี”
5. พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
พล.ต.ท.สัณฐาน เริ่มต้นรับราชการเป็นรองสารวัตร สน.บางซื่อ จากนั้นถูกย้ายออกไปอยู่ภูธรและได้เจริญเติบโตในหน้าที่การงานขึ้นตามลำดับ ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ติดยศ “พลตำรวจตรี” เป็น ผบก.ภ.จว.สงขลา (ที่บ้านเกิด) ก่อนจะขยับขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ก่อน จะมาผงาดเหนือความคาดหมายมาเป็นเจ้าพ่อนครบาลคุมพื้นที่เมืองหลวง โดยมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นายตำรวจหลายคนใฝ่ฝัน สื่อมวลชนได้ให้ฉายาว่า “น.1 เทพประทาน”
6.พล.ต.ต.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ รองผู้บัญชาการสอบสวนกลาง
พล.ต.ต.พงศ์พัฒน์ เป็น นายตำรวจที่มีวิธีการสืบสวนติดตามจับกุมตัวคนร้ายโดยใช้หลัก พฤติกรรมศาสตร์อาชญากรรม และหลักภูมิศาสตร์อาชญากรรม เป็นทฤษฎีและศาสตร์ในเชิงสืบสวนสอบสวน มักค้นคว้าและเขียนตำราขึ้นมาใช้สอนนักสืบรุ่นหลังๆ จนพิชิตคดีดังๆ โดยใช้หลักพฤติกรรมศาสตร์ในการสืบสวนจนประสมผลความเสร็จ เช่น คดี “ส.ต.อ.ฆ่า-ชิงทรัพย์ เสี่ยกรอบรูป” “คดีฆ่าล้างครัว 5 ศพ” ท้องที่ สน.ลาดพร้าว จึงให้ฉายาว่า “นักสืบพฤติกรรมศาสตร์”
7.พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1
เป็นนายตำรวจที่ขยันและมีผลงานในการปราบปรามคนร้ายมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับฉายา มือปราบหูดำ แต่เวลาไปอยู่ที่ไหนมักจะตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว หรือ (จู่โจม) ล่าสุดได้เปิดตัวไปไม่นานกับ “ชุดจู่โจมปะฉะดะ” มีความหมายว่า “ปะ” คือ เมื่อไปเจอเหตุต้องสงสัยต้องเข้าตรวจค้นทันที “ฉะ” ถ้าพบใครทำผิดกฎหมายต้องจับกุมทันที “ดะ” ไม่เกรงกลัวใครทั้งสิ้นไม่ว่าใครหน้าไหนทำผิดต้องได้รับโทษไม่มียกเว้น จึงเป็นชุดจู่โจมที่คนร้ายกลัวที่สุด เพราะชุดนี้จับดะไม่เว้นแม้นกระทั้งผู้หญิงการบริการข้างถนน สื่อมวลชนได้ให้ฉายาว่า “แต้ม..ฉะดะ”
8.พล.ต.ต.ปรีชา ธิมามนตรี ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 2
นายตำรวจรายนี้ถือเป็นนักสืบฝีมือชั้นครู ผ่านการอบรมหลากหลายหลักสูตรจากองค์กรที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น หลักสูตรต่อต้านการก่อการร้ายสากล หลักสูตรเอฟบีไอ รุ่น 219 แต่ต้องผิดหวังในการรับราชการ เพราะก่อนหน้าก่อนหน้าดำรงตำแหน่ง รอง ผบก.หน.ศูนย์สืบสวนสอบสวนนครบาล หวังจะได้เป็น ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนนครบาลเป็นคนแรก เพราะเป็นผู้สร้างมันขึ้นมาเพื่อให้เป็นแบบอย่างกับศูนย์สืบสวนอื่นๆ แต่ชีวิตไม่เป็นอย่างที่คิดได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ไม่ถึง 3 เดือน ถูกเตะไปเป็นผู้บังคับการสันติบาล 2 ที่ต้องสูญเสียนักสืบมือดีไป จึงได้รับฉายา “นักสืบพลัดถิ่น”
9. พ.ต.อ.ฤทรงค์ เทพจันดา หรือ “โอ๋ สืบ 6”
พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เป็นนายตำรวจที่สู้ชีวิต เชื่อว่าความยุติธรรมยังมีอยู่ หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการพิจารณาสั่งลงโทษมีความผิดทางอาญามาตรา 157 มีมติให้ลงโทษไล่ออกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่เป็น พ.ต.อ.ธนาจรัสยุตม์ วุฒิธำรง ไม่ยอมแพ้ โชคชะตาชีวิต ยื่นร้องศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำพิพากษาถอนให้กลับเข้ารับราชการตามเดิม เหมือนกับแมวที่จะตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมา จึงให้ฉายา “โอ๋ 9 ชีวิต”
10.พล.ต.ต.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว ผบก.น.9
เจ้าของโครงการ “จับทันควัน จ่ายทันที 24 ชั่วโมง” ถือเป็นการกระตุ้นการทำงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้เกิดการกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ตั้งใจปราบปรามจับกุมคนร้ายที่กำลังจะก่อเหตุและก่อคดีต่างๆ วิธีดังกล่าวเป็นการสร้างประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฎิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง สื่อมวลชนจึงตั้งฉายา “เจ้าสัวทันควัน”


วันนี้ (13 ธ.ค.) เมื่อ เวลา 14.00 น. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย นายไพโรจน์ เทศนิยม นายกสมาคมฯ พร้อมคณะกรรมการบริหาร ร่วมแถลงข่าวฉายาตำรวจแห่งปี 2552 ตามบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วย สื่อมวลชนจากสายข่าวอาชญากรรม และกระบวนการยุติธรรม ได้ก่อตั้งมากว่า 30 ปี มีสมาชิกทั้งหมดกว่า 300 กว่าคน ทุกๆ ปี สื่อมวลมวลชนสายงานข่าวอาชญากรรม ได้ทำงานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรวมทั้งยังได้ติดตามการปฏิบัติงานของตำรวจ เพื่อนำมาเสนอสู่สายตาประชาชนจนเป็นที่ยอมรับของสังคมตลอดมา ซึ่งในปีนี้ทางคณะกรรมการผู้บริหารสมาคมฯ ได้ร่วมกันพิจารณาลงมติให้ฉายาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความโดดเด่น ซึ่งประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ในรอบ 1 ปี มีทั้งหมด 10 ฉายา ดังนี้
1.พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
โดยหน้าที่การงาน พล.ต.อ.ปทีป ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ โดยได้รับการสนับสนุนจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่ว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ (ก.ต.ช.) ได้ล่มถึง 2 ครั้ง ไม่สามารถตกลงกันได้ นายอภิสิทธิ์จึงมีคำสั่งแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในวันที่ 29 กันยายน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 จนทุกวันนี้ ยังไม่มีกำหนดว่าจะมีการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ขึ้นเมื่อไร ดังนั้น สื่อมวลชนจึงได้ให้ฉายาว่า “ผบ.สแตนด์บาย”
2. พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
การประชุมคณะกรรมการ (ก.ต.ช.) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการสรรหา ผบ.ตร.คนใหม่ แทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่เกษียณอายุราชการ หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ต.ช.เสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ แล้วที่ประชุมมีมติ 5 ต่อ 4 คัดค้าน ในที่ประชุมได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.ให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ทำให้ประธานที่ประชุมสั่งปิดประชุมทันที พล.ต.อ.จุมพล จึงมีสิทธิ์เข้าลุ้นตำแหน่ง ผบ.ตร. จึงรับฉายา “จุ๋ม ชิงดำ”
3. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ปรึกษา (สบ 10) เทียบเท่ารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
พล.ต.อ.อดุลย์ เป็นนายตำรวจที่ทุ่มเททำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พยายามทำให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบ และเป็นผู้จัดทำ “แผนกรกฎ 52” ใช้ในการควบคุมฝูงชน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เคยร้องขอเลื่อนตำแหน่งจากผู้บังคับบัญชา จะให้หรือไม่ให้ สุดแต่วาสนา สื่อมวลชนจึงได้ให้ฉายา “สุภาพบุรุษด้ามขวานทอง”
4. พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พล.ต.ท.พงศพัศ ทำหน้าที่โฆษกให้กับองค์กรตำรวจมาหลายสมัยตั้งแต่ยุค พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จน กระทั่ง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ขึ้นมาเป็น ผบ.ตร.ไม่ได้ใช้บริการของ พล.ต.ท.พงศพัศ โดย ผบ.ตร.อ้างว่า โฆษกพงศพัศเดินเร็วจนตนเองตามไม่ทัน หลังจาก พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ขึ้นมาทำหน้าที่รักษาราชการแทน ผบ.ตร. พล.ต.ท.พงศพัศ ก็กลับมาทำหน้าที่โฆษกฯ อีกครั้ง นอกจากจะทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลข่าวสารแถลงข่าวในเรื่องต่างๆ และดูแลบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนโดยส่วนรวม จนเป็นที่รู้จักของประชาชนแม้แต่เด็กตัวเล็กๆ ว่าไปแล้วไม่ต่างไปจาก “ดารา” ประกอบกับหน้าตาที่หล่อเหลาออกทีวีเกือบทุกวัน สื่อมวลชนจึงให้ฉายาว่า “ดาราสีกากี”
5. พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
พล.ต.ท.สัณฐาน เริ่มต้นรับราชการเป็นรองสารวัตร สน.บางซื่อ จากนั้นถูกย้ายออกไปอยู่ภูธรและได้เจริญเติบโตในหน้าที่การงานขึ้นตามลำดับ ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ติดยศ “พลตำรวจตรี” เป็น ผบก.ภ.จว.สงขลา (ที่บ้านเกิด) ก่อนจะขยับขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ก่อน จะมาผงาดเหนือความคาดหมายมาเป็นเจ้าพ่อนครบาลคุมพื้นที่เมืองหลวง โดยมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นายตำรวจหลายคนใฝ่ฝัน สื่อมวลชนได้ให้ฉายาว่า “น.1 เทพประทาน”
6.พล.ต.ต.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ รองผู้บัญชาการสอบสวนกลาง
พล.ต.ต.พงศ์พัฒน์ เป็น นายตำรวจที่มีวิธีการสืบสวนติดตามจับกุมตัวคนร้ายโดยใช้หลัก พฤติกรรมศาสตร์อาชญากรรม และหลักภูมิศาสตร์อาชญากรรม เป็นทฤษฎีและศาสตร์ในเชิงสืบสวนสอบสวน มักค้นคว้าและเขียนตำราขึ้นมาใช้สอนนักสืบรุ่นหลังๆ จนพิชิตคดีดังๆ โดยใช้หลักพฤติกรรมศาสตร์ในการสืบสวนจนประสมผลความเสร็จ เช่น คดี “ส.ต.อ.ฆ่า-ชิงทรัพย์ เสี่ยกรอบรูป” “คดีฆ่าล้างครัว 5 ศพ” ท้องที่ สน.ลาดพร้าว จึงให้ฉายาว่า “นักสืบพฤติกรรมศาสตร์”
7.พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1
เป็นนายตำรวจที่ขยันและมีผลงานในการปราบปรามคนร้ายมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับฉายา มือปราบหูดำ แต่เวลาไปอยู่ที่ไหนมักจะตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว หรือ (จู่โจม) ล่าสุดได้เปิดตัวไปไม่นานกับ “ชุดจู่โจมปะฉะดะ” มีความหมายว่า “ปะ” คือ เมื่อไปเจอเหตุต้องสงสัยต้องเข้าตรวจค้นทันที “ฉะ” ถ้าพบใครทำผิดกฎหมายต้องจับกุมทันที “ดะ” ไม่เกรงกลัวใครทั้งสิ้นไม่ว่าใครหน้าไหนทำผิดต้องได้รับโทษไม่มียกเว้น จึงเป็นชุดจู่โจมที่คนร้ายกลัวที่สุด เพราะชุดนี้จับดะไม่เว้นแม้นกระทั้งผู้หญิงการบริการข้างถนน สื่อมวลชนได้ให้ฉายาว่า “แต้ม..ฉะดะ”
8.พล.ต.ต.ปรีชา ธิมามนตรี ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 2
นายตำรวจรายนี้ถือเป็นนักสืบฝีมือชั้นครู ผ่านการอบรมหลากหลายหลักสูตรจากองค์กรที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น หลักสูตรต่อต้านการก่อการร้ายสากล หลักสูตรเอฟบีไอ รุ่น 219 แต่ต้องผิดหวังในการรับราชการ เพราะก่อนหน้าก่อนหน้าดำรงตำแหน่ง รอง ผบก.หน.ศูนย์สืบสวนสอบสวนนครบาล หวังจะได้เป็น ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนนครบาลเป็นคนแรก เพราะเป็นผู้สร้างมันขึ้นมาเพื่อให้เป็นแบบอย่างกับศูนย์สืบสวนอื่นๆ แต่ชีวิตไม่เป็นอย่างที่คิดได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ไม่ถึง 3 เดือน ถูกเตะไปเป็นผู้บังคับการสันติบาล 2 ที่ต้องสูญเสียนักสืบมือดีไป จึงได้รับฉายา “นักสืบพลัดถิ่น”
9. พ.ต.อ.ฤทรงค์ เทพจันดา หรือ “โอ๋ สืบ 6”
พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เป็นนายตำรวจที่สู้ชีวิต เชื่อว่าความยุติธรรมยังมีอยู่ หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการพิจารณาสั่งลงโทษมีความผิดทางอาญามาตรา 157 มีมติให้ลงโทษไล่ออกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่เป็น พ.ต.อ.ธนาจรัสยุตม์ วุฒิธำรง ไม่ยอมแพ้ โชคชะตาชีวิต ยื่นร้องศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำพิพากษาถอนให้กลับเข้ารับราชการตามเดิม เหมือนกับแมวที่จะตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมา จึงให้ฉายา “โอ๋ 9 ชีวิต”
10.พล.ต.ต.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว ผบก.น.9
เจ้าของโครงการ “จับทันควัน จ่ายทันที 24 ชั่วโมง” ถือเป็นการกระตุ้นการทำงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้เกิดการกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ตั้งใจปราบปรามจับกุมคนร้ายที่กำลังจะก่อเหตุและก่อคดีต่างๆ วิธีดังกล่าวเป็นการสร้างประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฎิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง สื่อมวลชนจึงตั้งฉายา “เจ้าสัวทันควัน”