“จากคำว่าผู้ต้องหา เป็นผู้บริสุทธิ์” จนกว่ามีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงเป็นพันธกิจที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอซึ่งเป็นหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมจะต้องตระหนัก ปฎิบัติต่อผู้ต้องหาอย่างให้เกียรติ และเคารพต่อสิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องหาเสมือนยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ดีเอสไอจึงสร้างห้องขังติดแอร์ ไม่มีลูกกรงเหล็ก จึงมีความพิเศษ แตกต่างจากห้องขังตามโรงพักนครบาลต่างๆ โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ที่นอน หมอน ผ้าห่ม และห้องน้ำอย่างเพียงพอ
ห้องขังดีเอสไอ อยู่บริเวณชั้น 6 อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถ.แจ้งวัฒนะ มีทั้งหมด 17 ห้อง แบ่งเป็นห้องขังเล็ก 16 ห้อง ขนาดความกว้าง 3 เมตร คูณ ความยาว 5 เมตร ใช้สำหรับควบคุมผู้ต้องหา1-2 คน นอกจากนี้มีห้องใหญ่อีก 1 ห้อง สามารถควบคุมผู้ต้องหาได้ประมาณ 20 คน ลักษณะห้องขังไม่มีลูกกรงเหล็ก ประตูเปิด-ปิดเป็นกระจกใส มีความหนา และสามารถกันกระสุนปืนได้ ส่วนด้านซ้าย ขวาและด้านหลังเป็นผนังปูนซีเมนต์มีความแข็งแรง ลักษณะห้องสีขาวโปร่ง ติดแอร์ ปูพื้นด้วยกระเบื้องเคลือบ มีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ คือเบาะที่นอน หมอน ผ้าห่ม และส่วนกั้นเป็นห้องน้ำ มีโถส้วม อนาคตเจ้าหน้าที่จะปรับปรุงเป็นแบบนั่งชักโครก เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ต้องหาที่เป็นหญิงมีครรภ์ หรือวัยชรา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กำลังปรับปรุงสำหรับห้องพบทนายความเพิ่มอีก 1 ห้อง
บริเวณดังกล่าวมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีกล้องวงจรปิดกว่า 10 ตัว สามารถมองเห็นทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร เมื่อขึ้นลิฟท์ไปบริเวณชั้น 6 เลี้ยวขวา จะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ( รปภ.) และเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ประจำอยู่หน้าห้องขัง ทำหน้าที่ตรวจเช็คภาพถ่าย ชื่อ ที่อยู่ ประวัติผู้ต้องหา ระบุเวลาเข้าและเวลาออก ของผู้ต้องหาและญาติหรือทนายความ ใช้ระบบบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงก็อปปี้ปริ้นออกมาไว้เป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันการโต้แย้งจากผู้ต้องหา ญาติหรือทนายความ รวมทั้งป้องกันการปล่อยผู้ต้องหาผิดตัว จึงเป็นการนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ของหน่วยงานดีเอสไอ โดยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่จะเปิดประตูห้องขังได้ จะต้องเป้นเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่วนควบคุมเท่านั้น ซึ่งต้องมีคีย์การ์ดและต้องผ่านเครื่องสแกนม่านตาที่ติดอยู่บริเวณประตูทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง สามารถยืนยันความถูกต้องของบุคคลได้แม่นยำกว่าระบบสแกนลายนิ้วมือ ที่อาจถูกลอกแบบไปใช้งานได้
ห้องขังดีเอสไอ ใช้สำหรับควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีพิเศษ และที่ไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นสอบสวน แต่ส่วนใหญ่ผู้ต้องหาจะถูกควบคุมตัวไว้ไม่นาน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องพาตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง เพื่อส่งไปควบคุมยังเรือนจำแทน หรือผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว แต่จะไม่มีการรับตัวผู้ต้องหากลับมาควบคุมที่ดีเอสไออีก ทั้งนี้ห้องขังดีเอสไอเปิดใช้งานพร้อมกับตึกใหม่ เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยหน่วยงานดีเอสไอเพิ่งย้ายมาจากอาคารสุขประพฤติ ถ.ประชาชื่น โดยมีผู้ต้องหามาควบคุมตัวในห้องขังดีเอสไอแล้วประมาณ 70 กว่าราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงแชร์ลูกโซ่ และคดีบุกรุกที่ดิน รวมทั้ง นายสุวิชา ท่าค้อ อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาคดีโพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง
“ ห้องขังดีเอสไอปัจจุบัน ดีกว่าห้องขังที่ตึกเก่า ถนนประชาชื่น เนื่องจากตึกนั้นเป็นอาคารเช่า เป็นห้องขังชั่วคราว ความมั่นคงแข็งแรง และความสะดวกสบายสู้ไม่ได้” เจ้าหน้าที่ดีเอสไอส่วนควบคุมผู้ต้องหากล่าว
นอกจากห้องขังใหม่ ติดแอร์มีความสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ดีเอสไอยังมีระเบียบขั้นตอน ที่อำนวยความสะดวกให้ญาติเข้าเยี่ยมได้ วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละไม่เกิน 15 นาที แต่ทนายความสามารถเยี่ยมได้มากกว่านั้น คือช่วงเวลา 07.30 น.-09.30 น.เวลา 10.30 น.-13.30 น.และเวลา 16.30 น.-18.30 น. ส่วนผู้ต้องหาที่เจ็บป่วยทางดีเอสไอก็ส่งประสานไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียง เช่นโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น โรงพยาบาลภูมิพล เป็นต้น
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า หน่วยงานดีเอสไอคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา เสมือนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ จึงพยายามปรับปรุงห้องของกรมดีเอสไอให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเหมาะสมกับผู้ต้องหา และดีเอสไอเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหาที่ระบุไว้ในกฎหมาย คือ ผู้ต้องหามีสิทธิ 3 อย่าง 1.มีสิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมจากญาติ 2.มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย 3.มีสิทธิได้รับการปรึกษาจากทนายความอย่างเต็มที่
สำหรับห้องขังติดแอร์ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่สถานีตำรวจนครบาลและสถานีตำรวจภูธร ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถศึกษาและนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงห้องขังที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับญาติและผู้ต้องหาได้ตามความเหมาะสม
ห้องขังดีเอสไอ อยู่บริเวณชั้น 6 อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถ.แจ้งวัฒนะ มีทั้งหมด 17 ห้อง แบ่งเป็นห้องขังเล็ก 16 ห้อง ขนาดความกว้าง 3 เมตร คูณ ความยาว 5 เมตร ใช้สำหรับควบคุมผู้ต้องหา1-2 คน นอกจากนี้มีห้องใหญ่อีก 1 ห้อง สามารถควบคุมผู้ต้องหาได้ประมาณ 20 คน ลักษณะห้องขังไม่มีลูกกรงเหล็ก ประตูเปิด-ปิดเป็นกระจกใส มีความหนา และสามารถกันกระสุนปืนได้ ส่วนด้านซ้าย ขวาและด้านหลังเป็นผนังปูนซีเมนต์มีความแข็งแรง ลักษณะห้องสีขาวโปร่ง ติดแอร์ ปูพื้นด้วยกระเบื้องเคลือบ มีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ คือเบาะที่นอน หมอน ผ้าห่ม และส่วนกั้นเป็นห้องน้ำ มีโถส้วม อนาคตเจ้าหน้าที่จะปรับปรุงเป็นแบบนั่งชักโครก เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ต้องหาที่เป็นหญิงมีครรภ์ หรือวัยชรา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กำลังปรับปรุงสำหรับห้องพบทนายความเพิ่มอีก 1 ห้อง
บริเวณดังกล่าวมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีกล้องวงจรปิดกว่า 10 ตัว สามารถมองเห็นทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร เมื่อขึ้นลิฟท์ไปบริเวณชั้น 6 เลี้ยวขวา จะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ( รปภ.) และเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ประจำอยู่หน้าห้องขัง ทำหน้าที่ตรวจเช็คภาพถ่าย ชื่อ ที่อยู่ ประวัติผู้ต้องหา ระบุเวลาเข้าและเวลาออก ของผู้ต้องหาและญาติหรือทนายความ ใช้ระบบบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงก็อปปี้ปริ้นออกมาไว้เป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันการโต้แย้งจากผู้ต้องหา ญาติหรือทนายความ รวมทั้งป้องกันการปล่อยผู้ต้องหาผิดตัว จึงเป็นการนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ของหน่วยงานดีเอสไอ โดยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่จะเปิดประตูห้องขังได้ จะต้องเป้นเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่วนควบคุมเท่านั้น ซึ่งต้องมีคีย์การ์ดและต้องผ่านเครื่องสแกนม่านตาที่ติดอยู่บริเวณประตูทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง สามารถยืนยันความถูกต้องของบุคคลได้แม่นยำกว่าระบบสแกนลายนิ้วมือ ที่อาจถูกลอกแบบไปใช้งานได้
ห้องขังดีเอสไอ ใช้สำหรับควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีพิเศษ และที่ไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นสอบสวน แต่ส่วนใหญ่ผู้ต้องหาจะถูกควบคุมตัวไว้ไม่นาน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องพาตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง เพื่อส่งไปควบคุมยังเรือนจำแทน หรือผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว แต่จะไม่มีการรับตัวผู้ต้องหากลับมาควบคุมที่ดีเอสไออีก ทั้งนี้ห้องขังดีเอสไอเปิดใช้งานพร้อมกับตึกใหม่ เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยหน่วยงานดีเอสไอเพิ่งย้ายมาจากอาคารสุขประพฤติ ถ.ประชาชื่น โดยมีผู้ต้องหามาควบคุมตัวในห้องขังดีเอสไอแล้วประมาณ 70 กว่าราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงแชร์ลูกโซ่ และคดีบุกรุกที่ดิน รวมทั้ง นายสุวิชา ท่าค้อ อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาคดีโพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง
“ ห้องขังดีเอสไอปัจจุบัน ดีกว่าห้องขังที่ตึกเก่า ถนนประชาชื่น เนื่องจากตึกนั้นเป็นอาคารเช่า เป็นห้องขังชั่วคราว ความมั่นคงแข็งแรง และความสะดวกสบายสู้ไม่ได้” เจ้าหน้าที่ดีเอสไอส่วนควบคุมผู้ต้องหากล่าว
นอกจากห้องขังใหม่ ติดแอร์มีความสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ดีเอสไอยังมีระเบียบขั้นตอน ที่อำนวยความสะดวกให้ญาติเข้าเยี่ยมได้ วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละไม่เกิน 15 นาที แต่ทนายความสามารถเยี่ยมได้มากกว่านั้น คือช่วงเวลา 07.30 น.-09.30 น.เวลา 10.30 น.-13.30 น.และเวลา 16.30 น.-18.30 น. ส่วนผู้ต้องหาที่เจ็บป่วยทางดีเอสไอก็ส่งประสานไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียง เช่นโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น โรงพยาบาลภูมิพล เป็นต้น
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า หน่วยงานดีเอสไอคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา เสมือนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ จึงพยายามปรับปรุงห้องของกรมดีเอสไอให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเหมาะสมกับผู้ต้องหา และดีเอสไอเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหาที่ระบุไว้ในกฎหมาย คือ ผู้ต้องหามีสิทธิ 3 อย่าง 1.มีสิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมจากญาติ 2.มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย 3.มีสิทธิได้รับการปรึกษาจากทนายความอย่างเต็มที่
สำหรับห้องขังติดแอร์ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่สถานีตำรวจนครบาลและสถานีตำรวจภูธร ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถศึกษาและนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงห้องขังที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับญาติและผู้ต้องหาได้ตามความเหมาะสม