เรือนจำกลางบางขวาง ฉีดยาประหารชีวิตนักโทษคดีค้ายาเสพติด 2 รายซ้อน พร้อมยึดทรัพย์สินกว่า 41 ล้านบาท ถือเป็นการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาเป็นครั้งที่ 2 ของประเทศ ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากยิงเป้ามาฉีดยา เผยขั้นตอนฉีดแค่ 3 เข็ม ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาหยุดการเต้นของหัวใจ
วันนี้ (24 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือนจำกลางบางขวาง ได้ทำการประหารชีวิตนักโทษคดียาเสพติดรายสำคัญ 2 ราย มี นช.บัณฑิต เจริญวานิช อายุ 45 ปี และ นช.จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ อายุ 52 ปี นักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งถูกจับกุมพร้อมของกลางยาบ้า 100,000 เม็ด โดยประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษในแดนประหาร และถือเป็นการฉีดยาพิษประหารเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 มาตรา 19 เปลี่ยนการประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาเป็นฉีดยา หรือสารพิษให้ตาย
ทั้งนี้ ขั้นตอนก่อนประหารชีวิตดังกล่าว หลังฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษตกมายังกรมราชทัณฑ์ เรือนจำจะปกปิดเป็นความลับ จนกว่าจะเก็บนักโทษทั้งหมดเข้าเรือนนอนในเวลา 15.30 น.จากนั้นเรือนจำจะเบิกตัวนักโทษที่ต้องรับโทษประหารชีวิตออกมา และแจ้งให้ทราบถึงผลฎีกา เพื่อให้เขียนพินัยกรรมสั่งเสีย หรือให้โทรศัพท์สั่งเสียกับญาติพี่น้องก่อนการประหารชีวิต 1 ชั่วโมง จากนั้นเรือนจำจะจัดอาหารมื้อสุดท้ายให้แก่นักโทษ และนิมนต์พระสงฆ์วัดบางแพรกใต้ เข้ามาแสดงธรรม เมื่อถึงเวลาจะนำนักโทษประหารขึ้นรถ และนำตัวเข้าสู่แดนประหาร ซึ่งก่อนเข้าสู่แดนประหาร ผู้คุมจะนำนักโทษเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อเจตตคุปต์และกราบไหว้ต้นโพธิ์ 3 ต้น หน้าแดนประหาร จากนั้นจะนำตัวนักโทษเข้าสู่ห้องฉีดสารพิษ และปิดตานักโทษด้วยผ้าดำ รวมทั้งให้นักโทษถือดอกไม้ธูปเทียนและหันหน้าไปทางวัดบางแพรกใต้ ที่อยู่ติดกับแดนประหาร
ส่วนขั้นตอนในแดนประหาร เรือนจำจะยังคงล่ามโซ่ตรวนไว้ และให้นักโทษนอนบนเตียงประหารชีวิต ซึ่งมีผ้าขาวสำหรับห่อศพวางรองอยู่ และทำการขึงแขนนักโทษให้ติดกับเตียงทั้ง 2 ข้างในท่ากางแขน และนำเข็มฉีดยาปักไปที่ข้อมือทั้ง 2 ข้าง ทำการฉีดยาจำนวน 3 เข็ม เข็มที่ 1 คือ ยานอนหลับ เข็มที่ 2 เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ และเข็มที่ 3 คือ ยาหยุดการเต้นของหัวใจ โดยขั้นตอนการฉีดยาประหารชีวิตจะใช้เวลาประมาณ 25 นาที จากนั้นแพทย์และคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทนอัยการจังหวัด ผู้กำกับการสถานีตำรวจ ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ จะตรวจสอบว่า นักโทษประหารเสียชีวิตตามคำพิพากษา จากนั้นนำศพนักโทษบรรจุในโลงเย็น ซึ่งมีความเย็น -18 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนจะให้แพทย์ตรวจเป็นครั้งสุดท้าย และให้ญาติรับไปบำเพ็ญกุศลในวันรุ่งขึ้น
สำหรับ นายบัณฑิต เจริญวานิช และ นายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ กับพวกอีก 3 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) จับกุมได้เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2544 พร้อมของกลางยาบ้า 114,219 เม็ด ต่อมาศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต นายบัณฑิต และ นายจิรวัฒน์ อีกทั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มีมติให้ยึดอายัดทรัพย์สินของนายบัณฑิต และนายจิรวัฒน์ จำนวน 73 รายการ รวมมูลค่าประมาณ 41,666,289 บาท
ก่อนหน้านี้ ราวเดือน ม.ค.2548 กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการประหารชีวิตแบบใหม่ด้วยการฉีดยา ให้กับนักโทษรวม 4 ราย คือ 1.นช.บุญลือ นาคประสิทธิ 2.นช.พันพงษ์ สินธุสังข์ 3.นช.วิบูลย์ ปานะสุทธะ ซึ่งนักโทษทั้ง 3 คน ต้องโทษคดียาเสพติด โดยเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้ง 3 คน ฐานร่วมกันผลิตเมตแอมเฟตามีน หรือยาบ้า จากการตรวจค้นพบอุปกรณ์การผลิต พร้อมกับยาบ้า จำนวน 115,800 เม็ด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิต จำเลยทั้ง 3 อุทธรณ์ขอให้ลดโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้ง 3 คน ฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน
ส่วนนักโทษคนที่ 4 คือ นช.พนม ทองช่างเหล็ก พฤติกรรมความผิด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2542 จำเลยใช้อาวุธปืนยิง! นายแสงชัย ทองเชื้อ ผู้ตายจำนวน 4 นัด ขณะนั่งรับประทานอาหารร่วมกับพวก ที่ตำบลวิชัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่ได้จับกุมและแจ้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้การประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษายืน
วันนี้ (24 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือนจำกลางบางขวาง ได้ทำการประหารชีวิตนักโทษคดียาเสพติดรายสำคัญ 2 ราย มี นช.บัณฑิต เจริญวานิช อายุ 45 ปี และ นช.จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ อายุ 52 ปี นักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งถูกจับกุมพร้อมของกลางยาบ้า 100,000 เม็ด โดยประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษในแดนประหาร และถือเป็นการฉีดยาพิษประหารเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 มาตรา 19 เปลี่ยนการประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาเป็นฉีดยา หรือสารพิษให้ตาย
ทั้งนี้ ขั้นตอนก่อนประหารชีวิตดังกล่าว หลังฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษตกมายังกรมราชทัณฑ์ เรือนจำจะปกปิดเป็นความลับ จนกว่าจะเก็บนักโทษทั้งหมดเข้าเรือนนอนในเวลา 15.30 น.จากนั้นเรือนจำจะเบิกตัวนักโทษที่ต้องรับโทษประหารชีวิตออกมา และแจ้งให้ทราบถึงผลฎีกา เพื่อให้เขียนพินัยกรรมสั่งเสีย หรือให้โทรศัพท์สั่งเสียกับญาติพี่น้องก่อนการประหารชีวิต 1 ชั่วโมง จากนั้นเรือนจำจะจัดอาหารมื้อสุดท้ายให้แก่นักโทษ และนิมนต์พระสงฆ์วัดบางแพรกใต้ เข้ามาแสดงธรรม เมื่อถึงเวลาจะนำนักโทษประหารขึ้นรถ และนำตัวเข้าสู่แดนประหาร ซึ่งก่อนเข้าสู่แดนประหาร ผู้คุมจะนำนักโทษเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อเจตตคุปต์และกราบไหว้ต้นโพธิ์ 3 ต้น หน้าแดนประหาร จากนั้นจะนำตัวนักโทษเข้าสู่ห้องฉีดสารพิษ และปิดตานักโทษด้วยผ้าดำ รวมทั้งให้นักโทษถือดอกไม้ธูปเทียนและหันหน้าไปทางวัดบางแพรกใต้ ที่อยู่ติดกับแดนประหาร
ส่วนขั้นตอนในแดนประหาร เรือนจำจะยังคงล่ามโซ่ตรวนไว้ และให้นักโทษนอนบนเตียงประหารชีวิต ซึ่งมีผ้าขาวสำหรับห่อศพวางรองอยู่ และทำการขึงแขนนักโทษให้ติดกับเตียงทั้ง 2 ข้างในท่ากางแขน และนำเข็มฉีดยาปักไปที่ข้อมือทั้ง 2 ข้าง ทำการฉีดยาจำนวน 3 เข็ม เข็มที่ 1 คือ ยานอนหลับ เข็มที่ 2 เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ และเข็มที่ 3 คือ ยาหยุดการเต้นของหัวใจ โดยขั้นตอนการฉีดยาประหารชีวิตจะใช้เวลาประมาณ 25 นาที จากนั้นแพทย์และคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทนอัยการจังหวัด ผู้กำกับการสถานีตำรวจ ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ จะตรวจสอบว่า นักโทษประหารเสียชีวิตตามคำพิพากษา จากนั้นนำศพนักโทษบรรจุในโลงเย็น ซึ่งมีความเย็น -18 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนจะให้แพทย์ตรวจเป็นครั้งสุดท้าย และให้ญาติรับไปบำเพ็ญกุศลในวันรุ่งขึ้น
สำหรับ นายบัณฑิต เจริญวานิช และ นายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ กับพวกอีก 3 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) จับกุมได้เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2544 พร้อมของกลางยาบ้า 114,219 เม็ด ต่อมาศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต นายบัณฑิต และ นายจิรวัฒน์ อีกทั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มีมติให้ยึดอายัดทรัพย์สินของนายบัณฑิต และนายจิรวัฒน์ จำนวน 73 รายการ รวมมูลค่าประมาณ 41,666,289 บาท
ก่อนหน้านี้ ราวเดือน ม.ค.2548 กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการประหารชีวิตแบบใหม่ด้วยการฉีดยา ให้กับนักโทษรวม 4 ราย คือ 1.นช.บุญลือ นาคประสิทธิ 2.นช.พันพงษ์ สินธุสังข์ 3.นช.วิบูลย์ ปานะสุทธะ ซึ่งนักโทษทั้ง 3 คน ต้องโทษคดียาเสพติด โดยเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้ง 3 คน ฐานร่วมกันผลิตเมตแอมเฟตามีน หรือยาบ้า จากการตรวจค้นพบอุปกรณ์การผลิต พร้อมกับยาบ้า จำนวน 115,800 เม็ด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิต จำเลยทั้ง 3 อุทธรณ์ขอให้ลดโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้ง 3 คน ฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน
ส่วนนักโทษคนที่ 4 คือ นช.พนม ทองช่างเหล็ก พฤติกรรมความผิด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2542 จำเลยใช้อาวุธปืนยิง! นายแสงชัย ทองเชื้อ ผู้ตายจำนวน 4 นัด ขณะนั่งรับประทานอาหารร่วมกับพวก ที่ตำบลวิชัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่ได้จับกุมและแจ้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้การประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษายืน