xs
xsm
sm
md
lg

ดีเอสไอเตรียมยกสำนักคดีอาญาพิเศษสอบโครงการปลูกต้นตะกู

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

ต้นตะกู(แฟ้มภาพ)
ดีเอสไอเตรียมยกสำนักคดีอาญาพิเศษ กระจายลงพื้นที่สอบโครงการปลูกต้นตะกู เหตุมีผู้เสียหายถึง 31 จังหวัด พร้อมประสานขอข้อมูลโครงการจากเกษตรอำเภอทุกจังหวัด

วันนี้ (20 มิ.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีชาวบ้านจังหวัด มหาสารคาม อุดรธานี หนองคาย และ ขอนแก่น ร้องต่อดีเอสไอให้ตรวจสอบบริษัท ยูนิโก้ จำกัดที่หลอกให้ลงทุนปลูกต้นตะกู ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจชนิดใหม่โดยระบุจะซื้อคืนเมื่อโตเต็มที่แล้วในราคาสูง แต่กลับถูกบ่ายเบี่ยงอ้างบริษัทขาดสภาพคล่อง ทำให้มีชาวบ้านหลงเชื่อกว่า 20,000 ราย แต่ละรายต้องสูญเงินลงทุนไปรายละไม่ต่ำกว่า 4-10 ล้านบาท รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท ว่า หลังจากที่รับเรื่องร้องเรียนได้ทําเรื่องเสนอต่อ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอ เพื่อเรียกประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่ในการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากชาวบ้านที่ได้รับความเสียหาย ทั้ง 31 จังหวัด ซึ่งอาจต้องใช้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอทั้งสํานักคดีอาญาพิเศษลงพื้นที่หาข้อมูล เนื่องจากเกิดความเสียหายขึ้นในหลายจังหวัด ส่วนการตรวจสอบข้อมูลโครงการนั้น ทางดีเอสไอจะประสานกับเกษตรอําเภอในแต่ละจังหวัดด้วย เพื่อขอข้อมูลความเป็นมาของโครงการและผู้ดูแลโครงการนี้

พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของบริษัทเอกชนที่เป็นตัวกลางเชิญชวนให้ชาวบ้านมาร่วมปลูกไม้ตะกู เบื้องต้นพบว่าบริษัทดังกล่าวได้เข้ามาเชิญชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกต้นตะกู โดยอ้างว่าเป็นไม้เศรษฐกิจ โตเร็ว รายได้ดี ชาวบ้านจึงหลงเชื่อ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกจํานวนมาก หลังจากเข้าเป็นสมาชิกแล้วชาวบ้านแต่ละรายได้ลงทุนปรับที่ดิน สวน ไร่ นา ไปกว่า 100,000 ไร่ พร้อมกับพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อรองรับการปลูกต้นตะกู โดยเงินลงทุนในการพัฒนาพื้นที่นั้นทางกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนฯได้เป็นผู้จ่ายล่วงหน้าให้กับชาวบ้านไปแล้ว แต่เมื่อครบกำหนดต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับชาวบ้านผู้ลงทุนตามสัญญา บริษัทกลับไม่จ่ายเงินให้กับกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนฯโดยอ้างว่าบริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน

รายงานข่าวระบุว่า จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังของบริษัท ยูนิโก้ จำกัด พบว่ามีการจัดทําโครงการไปแล้ว 3 โครงการ คือ 1.โครงการมายชอป ศูนย์ธุรกิจและร้านค้าชุมชน ประจําตําบล 2.โครงการสวนป่าชุมชนครบวงจร ร่วมกับกรมป่าไม้ ในการจัดสรรที่ดินให้กับสมาชิกที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และ 3.โครงการอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อแปรรูปผลิตผลการเกษตร สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สมาชิก ซึ่งโครงการเหล่านี้ดีเอสไอจะตรวจสอบด้วยว่ามีการดําเนินการไปแล้
กำลังโหลดความคิดเห็น