เหตุความรุนแรงเกิดกับสื่อ “เอเอสทีวี-ผู้จัดการ” มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากการประมวลเหตุทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (บ้านพระอาทิตย์) ถูกคนร้ายวางระเบิด ปาอุจจาระ และวางพวงหรีดมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งคนร้ายลอบหย่อนระเบิดใส่ริมรั้วสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ จนได้รับความเสียหายเล็กน้อย แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ จนต้องนำตาข่ายมากั้นโดยรอบเพราะเกรงว่าจะมีผู้ไม่หวังดีปาระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัยเข้าใส่อีก
ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2548 ช่วงกลางดึก ชายฉกรรจ์ประมาณ 3 คน ได้นำอุจจาระใส่ถุงเข้ามาปาใส่สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการหลังเก่า โดยหนึ่งในนั้นได้เข้าล็อกคอเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบังคับให้อยู่เฉยๆ ก่อนที่อีกคนจะเข้าไปบรรจงละเลงอุจจาระใส่ทั้งกระจกสำนักงานและปาลงพื้นจนส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว
29 มกราคม 2549 ชายฉกรรจ์ ประมาณ 5 คน นำพวงหรีดจำนวน 2 พวงมาวางไว้ที่ด้านหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเดิม (ฝั่งฝ่ายบุคคล)
30 พฤษภาคม 2551 คนร้ายไม่ทราบจำนวนนั่งรถแท็กซี่ ใช้หนังสติ๊กยิงลูกแก้วใส่ป้อมยามสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเดิม ลูกแก้วเฉี่ยวใบหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพียงนิดเดียว โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
4 มิถุนายน 2551 คนร้ายนำกระเป๋าบรรจุนาฬิกาปลุกพันด้วยเทปพันสายไฟ และถ่านไฟฉาย วางไว้ด้านข้างสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เพื่อข่มขู่
15 มิถุนายน 2550 เวลา 22.15 น. มี 2 มือมืดลอบกัดควบฟีโน่ สีฟ้า ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน คนขี่รูปร่างเล็ก คนซ้อนท้ายรูปร่างอ้วน ทั้งคู่สวมหมวกนิรภัยแบบเต็มใบ ขว้างระเบิดปิงปองใส่สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว นักท่องเที่ยวใกล้เคียงแตกตื่น ตำรวจรุดตรวจสอบ พร้อมเก็บหลักฐานและภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดหารูปพรรณสัณฐานคนร้ายมาดำเนินคดี ขณะที่ พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐ์ผล ผกก.สน.ชนะสงคราม เชื่อแค่สร้างสถานการณ์
20 พฤศจิกายน 2551 คนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเข้าไปกลางกลุ่มผู้ชุมนุม อาศัยช่วงกลุ่มผู้ชุมนุมส่วนใหญ่นอนหลับ ระเบิดห่างเวทีปราศรัยเพียง 15 เมตร ทำให้เต็นท์มีรูกว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ซม. สะเก็ดระเบิดถูกบริเวณลำคอ นายเจนกิจ กลัดสาคร เสียชีวิต 1 ราย สาหัส 2 ราย บาดเจ็บทันทีอีก 21 ราย โดยมีช่างภาพของ ASTV นายนพพร สุขราม อายุ 25 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บที่บริเวณไหล่ด้วย คาดว่าเป็นระเบิดชนิดเอ็ม 79 ซึ่งแรงระเบิดทำให้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว สะเก็ดระเบิดกระจายเป็นวงกว้าง
24 พฤศจิกายน 2551 เวลา 03.40 น. เกิดเหตุระเบิดที่ป้อมตำรวจจราจรสี่แยกบางลำพู ถนนจักรพงษ์ ตัดถนนพระสุเมรุ และบริเวณสวนหย่อมถนนสิบสามห้าง แขวงตลาดยอด เขตพระนคร ดังสนั่นหวั่นไหว ก่อนลอบยิงระเบิดใส่ “เอเอสทีวี” สองลูกซ้อน คาด “เศษมนุษย์” คาดว่า คนร้ายคงกะระยะพลาด ระเบิดจึงไม่เข้าเป้า เนื่องจากจุดที่เกิดระเบิดอยู่ใกล้กับสำนักงานเอเอสทีวี ประมาณ 30 เมตร ส่วนระเบิดที่คนร้ายยิงเข้าใส่สำนักงานเอเอสทีวีจากทางแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 2 ลูก แต่ระเบิดถูกตาข่ายกั้นจึงตกลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจาก “เรือผู้จัดการ” เพียง 2-3 เมตร ทำให้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ-เสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหายแต่อย่างใด หลังจากนั้นได้มีการยิงปืนและประทัดยักษ์ก่อกวนมาเรื่อยๆ
28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 02.00 น. คนร้ายยิงระเบิดและใช้ปืนอาก้ากราดยิงเข้าใส่อาคารสำนักงานเอเอสทีวีได้รับความเสียหาย จนกระจกด้านหลังสำนักงาน และบริเวณกระจกภายในอาคารตั้งแต่ชั้น 1-4 ได้รับความเสียหาย กระสุนทะลุห้องสตูดิโอจัดรายการ แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยสำนักงานเอเอสทีวีได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น โดยได้ติดตั้งสปอตไลต์ส่องสว่างบนดาดฟ้า จำนวน 2 ดวง ติดตั้งตาข่ายให้แน่นหนามากขึ้น นอกจากนี้ยังเตรียมนำแผ่นเหล็กและอะลูมิเนียมหนากว่า 3 นิ้ว มาติดตั้งบริเวณด้านหลังสำนักงานเอเอสทีวีเพื่อรักษาความปลอดภัยด้วย
28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 01.50 น. คนร้ายไม่ทราบจำนวน ยิงระเบิดเอ็ม 79 พร้อมปืนกลมือใส่ตึกบ้านเจ้าพระยา สำนักงานเอเอสทีวี ทำให้กระจกสตูดิโอแตกยับ ผู้ประกาศหลบกระสุน รอดหวุดหวิด คาดคนร้ายมาทางเรือ เป้าระเบิดอยู่ที่จานดาวเทียมบนหลังคาตึก แต่ถูกตาข่ายดักที่ชั้น 4 จึงระเบิดขึ้นก่อน กระจกห้องทำงานชั้น 4 แตกเล็กน้อย
28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 14.00 น. พ.ต.อ.ขิง แขวงวิเศษชัยชาญ ผกก.สน.ชนะสงคราม ระบุคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้ปืนอาก้า 47 ลอบยิงเอเอสทีวีจากกลางลำน้ำเจ้าพระยา ทะลุห้องสตูดิโอ คาดคนร้ายเพื่อข่มขู่ไม่หวังเอาชีวิต บอกไม่หนักใจกับเหตุระเบิดรายวัน แต่ยอมรับไม่ใช่เรื่องง่ายในการหาตัวคนร้าย เพราะกล้องวงจรปิดไม่สามารถจับภาพได้
29 พฤศจิกายน 2551 เวลา 00.15 น. คนร้ายได้ยิงระเบิดเข้าใส่สำนักงานเอเสทีวี ที่บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ จำนวน 2 ลูก พร้อมกับยิงอาวุธสงครามคาดว่าเป็นปืนอาก้าเข้าใส่จากทางแม่น้ำเจ้าพระยาหลายนัด จากการสอบถามคนในพื้นที่ซึ่งทำหน้าที่อยู่บริเวณที่เกิดเหตุกล่าวว่า คนร้ายที่ลอบก่อเหตุนั่งเรือมากัน 2 ลำ โดยอาศัยอำพรางกับความมืดล่องเรือทางริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณด้านหลังสำนักงานเอเอสทีวี ก่อนที่จะยิงระเบิดใส่สำนักงานเอเสทีวี ก่อนบึ่งเรือหลบหนีไปในความมืด
จนมาถึง 17 เมษายน 2552 เวลา 05.45 น. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งเอเอสทีวีผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกคนร้ายกราดยิงเกือบ 100 นัด ที่บริเวณปั๊มคาลเท็กซ์ หน้าวัดเอี่ยมวรนุช สี่แยกบางขุนพรหม ถนนสามเสน แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร ส่งผลให้ นายสนธิ ได้ถูกกระสุนฝั่งลึกในขมับด้านขวาครึ่ง ซม.จำนวน 4 ชิ้น ได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณใบหน้าด้านขวายาว 3 ซม. บาดแผลฉีกขาดเล็กน้อยทั่วไปบริเวณข้อมือขวา และบาดแผลถลอกเล็กน้อยทั่วไปบริเวณลำตัวด้านข้างแถบขวา
ส่วน นายอดุลย์ แดงประดับ คนขับรถอาการสาหัส ถูกยิงเข้าที่ทรวงอกด้านขวา และต้นแขนขวาและศีรษะ ทางคณะแพทย์โรงพยาบาลมิชชั่นได้รักษาด้วยการผ่าตัดสมอง ทรวงอก และกระดูกต้นแขนขวาโดยแพทย์ได้ผ่าเศษกระสุนทั้ง 3 จุด คือ ที่บริเวณสมอง บริเวณท้ายทอย เนื้อสมองบางส่วนได้รับความเสียหาย จึงต้องรอดูอาการอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบเศษกระสุนที่ทรวงอกขวาและแขนขวา ก็ได้ผ่าออกมาทั้งหมดแล้ว
ด้าน นายวายุพักตร์ มัตทะสิน ผู้ติดตามได้รับบาดเจ็บกระสุนถากที่ไหล่ซ้าย บาดเจ็บเล็กน้อย อาการปลอดภัยแล้ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจุดเกิดเหตุ พบปลอกกระสุนปืนอาก้าจำนวน 64 นัด กระสุนเอสเค 17 นัด เอ็ม 16 จำนวน 3 นัด นอกจากนี้ยังพบรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 53 ที่วิ่งอยู่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุถูกกระสุนปืนได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ และรถร่วมบริการฯ สาย 30 ถูกกระสุนปืนเอ็ม 79 จำนวน 1 นัด แต่ไม่ระเบิด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 พ.ต.ท.สุเมธ จิตต์พานิชย์ รองผกก.สส.สน.ชนะสงคราม เปิดเผยถึงความคืบหน้าของแต่ละคดีที่เอเอสทีวีถูกลอบทำร้าย ไม่ว่าจะเป็นการปาระเบิดปิงปอง กระหน่ำยิงเอเอสทีวีผู้จัดการจนได้รับความเสียหาย สำนักงานหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการถูปาอึ และเหตุระเบิดป้อมยาม ว่า ในส่วนของระเบิดป้อมยาม ได้งดการสอบสวนไว้ก่อน เนื่องจากหลังเกิดเหตุ 3 เดือน หากยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุได้ หรือจากการสอบสวนพยานแวดล้อม และการรวบรวมหลักฐานไม่พบอะไร ก็เห็นควรในงดไว้ก่อน แต่ถ้าเวลาผ่านไปเมื่อมีหลักฐานเพิ่มเติมก็สามารถเปิดคดีมาสอบสวนต่อไปได้ แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรคืบหน้า
ส่วนในคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการลอบทำร้ายเอเอสทีวีผู้จัดการ ทางพนักงานสอบสวนก็ได้พยายามสืบหาเบาะแสคนร้ายอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ซึ่งบางเรื่องก็ยอมรับเป็นยากที่จะหาตัวคนร้ายมาดำเนินคดีได้ เนื่องจากขาดพยานหลักฐานที่จะชี้ชัดได้
“เรื่องของเอเอสทีวีเราก็ทำอยู่แต่มันบางคดี บางเรื่องบางอย่างไม่มีพยานที่เห็นคนทำผิดมาให้ปากคำได้ ส่วนเรื่องยิงระเบิด ยิงอาก้า ใส่เอเอสทีวีฝั่งบ้านเจ้าพระที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยานั้น พื้นที่ที่ระเบิดตกมันเป็นเขตน้ำ ซึ่งทางสน.บวรมงคลเป็นคนติดตามเรื่องนี้อยู่ แต่ก็ไม่ได้เฉยที่จะไม่ทำคดี ทางเราก็ให้ความสำคัญกับแต่ละคดีที่เกิดกับเอเอสทีวีอยู่แล้ว ไม่รู้สึกหนักใจ แต่ให้ทำไงล่ะบางเรื่องมันเกิดสร้างความวุ่นวาย เสียหาย แต่หลักฐานมันไม่ชัด ส่วนใหญ่ก็ยังคาดพวกก่อกวนมันสร้างสถานการณ์หรือเปล่า ก็ยังดูกันไปว่ากันไป” พ.ต.ท.สุเมธ กล่าว
ส่วนคดีของนายสนธิ ถูกยิงเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 เมื่อเวลา 10.00 น. พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร.ระบุว่า คนร้ายที่ใช้อาวุธสงครามถล่มยิง “สนธิ ลิ้มทองกุล” มีถึง 5 คน แต่ยังบอกไม่ได้เป็นคนมีสีหรือไม่ แต่มุ่งปม 2 ประเด็นหลัก การเมือง เรื่องส่วนตัว พร้อมเร่งตรวจสอบปลอกกระสุนเอชเคมาจากไหน ยันไม่หนักใจเข้าคุมคดี แม้ที่ผ่านมาเคยระหองระแหงกับพันธมิตรฯ
ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2548 ช่วงกลางดึก ชายฉกรรจ์ประมาณ 3 คน ได้นำอุจจาระใส่ถุงเข้ามาปาใส่สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการหลังเก่า โดยหนึ่งในนั้นได้เข้าล็อกคอเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบังคับให้อยู่เฉยๆ ก่อนที่อีกคนจะเข้าไปบรรจงละเลงอุจจาระใส่ทั้งกระจกสำนักงานและปาลงพื้นจนส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว
29 มกราคม 2549 ชายฉกรรจ์ ประมาณ 5 คน นำพวงหรีดจำนวน 2 พวงมาวางไว้ที่ด้านหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเดิม (ฝั่งฝ่ายบุคคล)
30 พฤษภาคม 2551 คนร้ายไม่ทราบจำนวนนั่งรถแท็กซี่ ใช้หนังสติ๊กยิงลูกแก้วใส่ป้อมยามสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเดิม ลูกแก้วเฉี่ยวใบหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพียงนิดเดียว โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
4 มิถุนายน 2551 คนร้ายนำกระเป๋าบรรจุนาฬิกาปลุกพันด้วยเทปพันสายไฟ และถ่านไฟฉาย วางไว้ด้านข้างสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เพื่อข่มขู่
15 มิถุนายน 2550 เวลา 22.15 น. มี 2 มือมืดลอบกัดควบฟีโน่ สีฟ้า ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน คนขี่รูปร่างเล็ก คนซ้อนท้ายรูปร่างอ้วน ทั้งคู่สวมหมวกนิรภัยแบบเต็มใบ ขว้างระเบิดปิงปองใส่สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว นักท่องเที่ยวใกล้เคียงแตกตื่น ตำรวจรุดตรวจสอบ พร้อมเก็บหลักฐานและภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดหารูปพรรณสัณฐานคนร้ายมาดำเนินคดี ขณะที่ พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐ์ผล ผกก.สน.ชนะสงคราม เชื่อแค่สร้างสถานการณ์
20 พฤศจิกายน 2551 คนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเข้าไปกลางกลุ่มผู้ชุมนุม อาศัยช่วงกลุ่มผู้ชุมนุมส่วนใหญ่นอนหลับ ระเบิดห่างเวทีปราศรัยเพียง 15 เมตร ทำให้เต็นท์มีรูกว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ซม. สะเก็ดระเบิดถูกบริเวณลำคอ นายเจนกิจ กลัดสาคร เสียชีวิต 1 ราย สาหัส 2 ราย บาดเจ็บทันทีอีก 21 ราย โดยมีช่างภาพของ ASTV นายนพพร สุขราม อายุ 25 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บที่บริเวณไหล่ด้วย คาดว่าเป็นระเบิดชนิดเอ็ม 79 ซึ่งแรงระเบิดทำให้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว สะเก็ดระเบิดกระจายเป็นวงกว้าง
24 พฤศจิกายน 2551 เวลา 03.40 น. เกิดเหตุระเบิดที่ป้อมตำรวจจราจรสี่แยกบางลำพู ถนนจักรพงษ์ ตัดถนนพระสุเมรุ และบริเวณสวนหย่อมถนนสิบสามห้าง แขวงตลาดยอด เขตพระนคร ดังสนั่นหวั่นไหว ก่อนลอบยิงระเบิดใส่ “เอเอสทีวี” สองลูกซ้อน คาด “เศษมนุษย์” คาดว่า คนร้ายคงกะระยะพลาด ระเบิดจึงไม่เข้าเป้า เนื่องจากจุดที่เกิดระเบิดอยู่ใกล้กับสำนักงานเอเอสทีวี ประมาณ 30 เมตร ส่วนระเบิดที่คนร้ายยิงเข้าใส่สำนักงานเอเอสทีวีจากทางแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 2 ลูก แต่ระเบิดถูกตาข่ายกั้นจึงตกลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจาก “เรือผู้จัดการ” เพียง 2-3 เมตร ทำให้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ-เสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหายแต่อย่างใด หลังจากนั้นได้มีการยิงปืนและประทัดยักษ์ก่อกวนมาเรื่อยๆ
28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 02.00 น. คนร้ายยิงระเบิดและใช้ปืนอาก้ากราดยิงเข้าใส่อาคารสำนักงานเอเอสทีวีได้รับความเสียหาย จนกระจกด้านหลังสำนักงาน และบริเวณกระจกภายในอาคารตั้งแต่ชั้น 1-4 ได้รับความเสียหาย กระสุนทะลุห้องสตูดิโอจัดรายการ แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยสำนักงานเอเอสทีวีได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น โดยได้ติดตั้งสปอตไลต์ส่องสว่างบนดาดฟ้า จำนวน 2 ดวง ติดตั้งตาข่ายให้แน่นหนามากขึ้น นอกจากนี้ยังเตรียมนำแผ่นเหล็กและอะลูมิเนียมหนากว่า 3 นิ้ว มาติดตั้งบริเวณด้านหลังสำนักงานเอเอสทีวีเพื่อรักษาความปลอดภัยด้วย
28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 01.50 น. คนร้ายไม่ทราบจำนวน ยิงระเบิดเอ็ม 79 พร้อมปืนกลมือใส่ตึกบ้านเจ้าพระยา สำนักงานเอเอสทีวี ทำให้กระจกสตูดิโอแตกยับ ผู้ประกาศหลบกระสุน รอดหวุดหวิด คาดคนร้ายมาทางเรือ เป้าระเบิดอยู่ที่จานดาวเทียมบนหลังคาตึก แต่ถูกตาข่ายดักที่ชั้น 4 จึงระเบิดขึ้นก่อน กระจกห้องทำงานชั้น 4 แตกเล็กน้อย
28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 14.00 น. พ.ต.อ.ขิง แขวงวิเศษชัยชาญ ผกก.สน.ชนะสงคราม ระบุคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้ปืนอาก้า 47 ลอบยิงเอเอสทีวีจากกลางลำน้ำเจ้าพระยา ทะลุห้องสตูดิโอ คาดคนร้ายเพื่อข่มขู่ไม่หวังเอาชีวิต บอกไม่หนักใจกับเหตุระเบิดรายวัน แต่ยอมรับไม่ใช่เรื่องง่ายในการหาตัวคนร้าย เพราะกล้องวงจรปิดไม่สามารถจับภาพได้
29 พฤศจิกายน 2551 เวลา 00.15 น. คนร้ายได้ยิงระเบิดเข้าใส่สำนักงานเอเสทีวี ที่บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ จำนวน 2 ลูก พร้อมกับยิงอาวุธสงครามคาดว่าเป็นปืนอาก้าเข้าใส่จากทางแม่น้ำเจ้าพระยาหลายนัด จากการสอบถามคนในพื้นที่ซึ่งทำหน้าที่อยู่บริเวณที่เกิดเหตุกล่าวว่า คนร้ายที่ลอบก่อเหตุนั่งเรือมากัน 2 ลำ โดยอาศัยอำพรางกับความมืดล่องเรือทางริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณด้านหลังสำนักงานเอเอสทีวี ก่อนที่จะยิงระเบิดใส่สำนักงานเอเสทีวี ก่อนบึ่งเรือหลบหนีไปในความมืด
จนมาถึง 17 เมษายน 2552 เวลา 05.45 น. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งเอเอสทีวีผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกคนร้ายกราดยิงเกือบ 100 นัด ที่บริเวณปั๊มคาลเท็กซ์ หน้าวัดเอี่ยมวรนุช สี่แยกบางขุนพรหม ถนนสามเสน แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร ส่งผลให้ นายสนธิ ได้ถูกกระสุนฝั่งลึกในขมับด้านขวาครึ่ง ซม.จำนวน 4 ชิ้น ได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณใบหน้าด้านขวายาว 3 ซม. บาดแผลฉีกขาดเล็กน้อยทั่วไปบริเวณข้อมือขวา และบาดแผลถลอกเล็กน้อยทั่วไปบริเวณลำตัวด้านข้างแถบขวา
ส่วน นายอดุลย์ แดงประดับ คนขับรถอาการสาหัส ถูกยิงเข้าที่ทรวงอกด้านขวา และต้นแขนขวาและศีรษะ ทางคณะแพทย์โรงพยาบาลมิชชั่นได้รักษาด้วยการผ่าตัดสมอง ทรวงอก และกระดูกต้นแขนขวาโดยแพทย์ได้ผ่าเศษกระสุนทั้ง 3 จุด คือ ที่บริเวณสมอง บริเวณท้ายทอย เนื้อสมองบางส่วนได้รับความเสียหาย จึงต้องรอดูอาการอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบเศษกระสุนที่ทรวงอกขวาและแขนขวา ก็ได้ผ่าออกมาทั้งหมดแล้ว
ด้าน นายวายุพักตร์ มัตทะสิน ผู้ติดตามได้รับบาดเจ็บกระสุนถากที่ไหล่ซ้าย บาดเจ็บเล็กน้อย อาการปลอดภัยแล้ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจุดเกิดเหตุ พบปลอกกระสุนปืนอาก้าจำนวน 64 นัด กระสุนเอสเค 17 นัด เอ็ม 16 จำนวน 3 นัด นอกจากนี้ยังพบรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 53 ที่วิ่งอยู่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุถูกกระสุนปืนได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ และรถร่วมบริการฯ สาย 30 ถูกกระสุนปืนเอ็ม 79 จำนวน 1 นัด แต่ไม่ระเบิด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 พ.ต.ท.สุเมธ จิตต์พานิชย์ รองผกก.สส.สน.ชนะสงคราม เปิดเผยถึงความคืบหน้าของแต่ละคดีที่เอเอสทีวีถูกลอบทำร้าย ไม่ว่าจะเป็นการปาระเบิดปิงปอง กระหน่ำยิงเอเอสทีวีผู้จัดการจนได้รับความเสียหาย สำนักงานหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการถูปาอึ และเหตุระเบิดป้อมยาม ว่า ในส่วนของระเบิดป้อมยาม ได้งดการสอบสวนไว้ก่อน เนื่องจากหลังเกิดเหตุ 3 เดือน หากยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุได้ หรือจากการสอบสวนพยานแวดล้อม และการรวบรวมหลักฐานไม่พบอะไร ก็เห็นควรในงดไว้ก่อน แต่ถ้าเวลาผ่านไปเมื่อมีหลักฐานเพิ่มเติมก็สามารถเปิดคดีมาสอบสวนต่อไปได้ แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรคืบหน้า
ส่วนในคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการลอบทำร้ายเอเอสทีวีผู้จัดการ ทางพนักงานสอบสวนก็ได้พยายามสืบหาเบาะแสคนร้ายอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ซึ่งบางเรื่องก็ยอมรับเป็นยากที่จะหาตัวคนร้ายมาดำเนินคดีได้ เนื่องจากขาดพยานหลักฐานที่จะชี้ชัดได้
“เรื่องของเอเอสทีวีเราก็ทำอยู่แต่มันบางคดี บางเรื่องบางอย่างไม่มีพยานที่เห็นคนทำผิดมาให้ปากคำได้ ส่วนเรื่องยิงระเบิด ยิงอาก้า ใส่เอเอสทีวีฝั่งบ้านเจ้าพระที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยานั้น พื้นที่ที่ระเบิดตกมันเป็นเขตน้ำ ซึ่งทางสน.บวรมงคลเป็นคนติดตามเรื่องนี้อยู่ แต่ก็ไม่ได้เฉยที่จะไม่ทำคดี ทางเราก็ให้ความสำคัญกับแต่ละคดีที่เกิดกับเอเอสทีวีอยู่แล้ว ไม่รู้สึกหนักใจ แต่ให้ทำไงล่ะบางเรื่องมันเกิดสร้างความวุ่นวาย เสียหาย แต่หลักฐานมันไม่ชัด ส่วนใหญ่ก็ยังคาดพวกก่อกวนมันสร้างสถานการณ์หรือเปล่า ก็ยังดูกันไปว่ากันไป” พ.ต.ท.สุเมธ กล่าว
ส่วนคดีของนายสนธิ ถูกยิงเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 เมื่อเวลา 10.00 น. พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร.ระบุว่า คนร้ายที่ใช้อาวุธสงครามถล่มยิง “สนธิ ลิ้มทองกุล” มีถึง 5 คน แต่ยังบอกไม่ได้เป็นคนมีสีหรือไม่ แต่มุ่งปม 2 ประเด็นหลัก การเมือง เรื่องส่วนตัว พร้อมเร่งตรวจสอบปลอกกระสุนเอชเคมาจากไหน ยันไม่หนักใจเข้าคุมคดี แม้ที่ผ่านมาเคยระหองระแหงกับพันธมิตรฯ