ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ยกฟ้อง “ผู้จัดกวน” เขียนการ์ตูนล้อเลียน “พล.ต.อ.สันต์” บิ๊กขี้หลีแทะโลมนักข่าวสาว ศาลชี้คำเบิกความผู้เสียหายมีน้ำหนัก ประกอบกับสื่อฯ มีหน้าที่ติชมด้วยความเป็นธรรม สะท้อนข้อเท็จจริงให้สังคม โดยการนำเสนอการ์ตูนดังกล่าวไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง จึงไม่เข้าข่ายความผิด
วันนี้ (8 เม.ย.) ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 และพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร. เป็นโจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องนายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.การพิมพ์ กรณี นสพ.ผู้จัดกวน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ นสพ.ผู้จัดการรายวัน เสนอภาพการ์ตูนในเชิงล้อเลียน โดยมีการตัดต่อภาพ และพาดหัวข่าวด้วยข้อความว่า “ สันต์จับแล้ว บิ๊กสีกากีลวนลามนักข่าว” และ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นี่สิลูกผู้ชายตัวจริง สันต์แกร่งสุดกร้าวจับกับมือตัวเอง”, “บิ๊กตำรวจ” ลวนลามนักข่าว ตีพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.46
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะเกิดเหตุตามฟ้องโจทก์มีการเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับนายตำรวจยศพลตำรวจเอก ซึ่งมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมกับผู้สื่อข่าวหญิง และผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาลได้มีหนังสือถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อให้มีหนังสือเตือนนักข่าวหญิงในสังกัดถึงพฤติการณ์ในเชิงชู้สาวของนายตำรวจยศพลเอก ซึ่งเกิดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต และจ.อุบลราชธานี ดังนั้นการที่พวกจำเลยเขียนบทความ รวมทั้งการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ตามฟ้องโจทก์นั้นถือว่าเป็นการเสนอข่าวไปตามเหตุการณ์ที่เชื่อโดยสุจริตว่ามีเหตุจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการชี้แนะตักเตือนนักข่าวผู้หญิงให้ระมัดระวังต่อการปฏิบัติหน้าที่ และยังเป็นการทักท้วงการปฏิบัติตัวของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งโจทก์ร่วมก็อยู่ในฐานะ ผบ.ตร.ที่ถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ประชาชนและสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ได้หากเห็นว่า ผบ.ตร.ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เมื่อฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งอยู่ในวิสัยที่ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถกระทำได้แล้ว พิพากษายกฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ภาพและข้อความรวมทั้งภาพตามฟ้องโจทก์แม้บางส่วนอาจไม่เหมาะสมแต่ยังไม่เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทให้โจทก์ต้องเสียหาย นอกจากนี้ข้อความและภาพยังอยู่ในคอลัมน์แนวล้อเลียนบุคคลต่างๆ อีกทั้งโจทก์ร่วมก็ไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่นายตำรวจยศพลเอกที่ปรากฏในข่าวดังกล่าว เพียงแต่แถลงข่าวแต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่านายตำรวจและผู้สื่อข่าวหญิงที่เป็นข่าวคือผู้ใด ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นวิญญูชนทั่วไปเมื่อพิจารณาข้อความและภาพตามฟ้องแล้วย่อมไม่อาจเชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นนายตำรวจที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังที่เป็นข่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษานั้นชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นฟ้องด้วย พิพากษายืน
วันนี้ (8 เม.ย.) ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 และพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร. เป็นโจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องนายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.การพิมพ์ กรณี นสพ.ผู้จัดกวน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ นสพ.ผู้จัดการรายวัน เสนอภาพการ์ตูนในเชิงล้อเลียน โดยมีการตัดต่อภาพ และพาดหัวข่าวด้วยข้อความว่า “ สันต์จับแล้ว บิ๊กสีกากีลวนลามนักข่าว” และ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นี่สิลูกผู้ชายตัวจริง สันต์แกร่งสุดกร้าวจับกับมือตัวเอง”, “บิ๊กตำรวจ” ลวนลามนักข่าว ตีพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.46
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะเกิดเหตุตามฟ้องโจทก์มีการเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับนายตำรวจยศพลตำรวจเอก ซึ่งมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมกับผู้สื่อข่าวหญิง และผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาลได้มีหนังสือถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อให้มีหนังสือเตือนนักข่าวหญิงในสังกัดถึงพฤติการณ์ในเชิงชู้สาวของนายตำรวจยศพลเอก ซึ่งเกิดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต และจ.อุบลราชธานี ดังนั้นการที่พวกจำเลยเขียนบทความ รวมทั้งการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ตามฟ้องโจทก์นั้นถือว่าเป็นการเสนอข่าวไปตามเหตุการณ์ที่เชื่อโดยสุจริตว่ามีเหตุจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการชี้แนะตักเตือนนักข่าวผู้หญิงให้ระมัดระวังต่อการปฏิบัติหน้าที่ และยังเป็นการทักท้วงการปฏิบัติตัวของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งโจทก์ร่วมก็อยู่ในฐานะ ผบ.ตร.ที่ถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ประชาชนและสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ได้หากเห็นว่า ผบ.ตร.ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เมื่อฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งอยู่ในวิสัยที่ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถกระทำได้แล้ว พิพากษายกฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ภาพและข้อความรวมทั้งภาพตามฟ้องโจทก์แม้บางส่วนอาจไม่เหมาะสมแต่ยังไม่เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทให้โจทก์ต้องเสียหาย นอกจากนี้ข้อความและภาพยังอยู่ในคอลัมน์แนวล้อเลียนบุคคลต่างๆ อีกทั้งโจทก์ร่วมก็ไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่นายตำรวจยศพลเอกที่ปรากฏในข่าวดังกล่าว เพียงแต่แถลงข่าวแต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่านายตำรวจและผู้สื่อข่าวหญิงที่เป็นข่าวคือผู้ใด ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นวิญญูชนทั่วไปเมื่อพิจารณาข้อความและภาพตามฟ้องแล้วย่อมไม่อาจเชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นนายตำรวจที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังที่เป็นข่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษานั้นชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นฟ้องด้วย พิพากษายืน