มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และประชาชนผู้เสียหายจากปลากระป๋องเนา ฟ้องแพ่ง “รมว.พัฒนาสังคมฯ-ปลัดกระทรวง-บริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย” ฐานละเมิดจัดหาสินค้าที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานบริจาคให้ประชาชน เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท
วันนี้ (4 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นายสำเริง สุดสวาท ผู้ประสานงานโครงการชีวิตสาธารณะ จ.พัทลุง, น.ส.จุฑา สังขชาติ เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนผู้บริโภค จ.พัทลุง ที่ได้รับมอบปลากระป๋องช่วยเหลือภัยน้ำท่วม เดินทางมายื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.), ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, บริษัท ทองกิ่งแก้ว ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิต, บริษัท ไทย เอ ดี ฟู๊ดส์ ผู้จำหน่าย, กรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัททั้งสองเป็นจำเลย คดีผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เรื่องละเมิดจัดหาสินค้าที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานและไม่มีความปลอดภัย บริจาคให้กับประชาชน เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท กรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้แจกถุงยังชีพ และปลากระป๋องบริจาค ยี่ห้อชาวดอย ให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม จ.พัทลุง ที่ภายหลังพบว่าเป็นปลากระป๋องเน่า
โดยโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษา 1.ให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดชอบ ชดใช้ความเสียหายให้กับผู้บริโภคจำนวน 1 ล้านบาท 2.ขอให้ศาลเรียกกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้จัดจำหน่ายมาเป็นจำเลยร่วมเนื่องจาก อาจจะมีการยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สินที่ได้จากการขายปลากระป๋องไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรืออาจมีการฮั้วกับราชการ 3.ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินห้ามจำหน่ายสินค้า และให้เรียกเก็บ ทำลายสินค้าที่เหลือรวมทั้งยึดเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ก่อนที่จะมีการทำลายหรือปลอมแปลงเอกสาร เช่นบัญชีธนาคารของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และ 4.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเกิดจากการกระทำโดยเจตนา เอาเปรียบผู้บริโภค ทั้งนี้ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป
น.ส.สารี กล่าวว่า การยื่นฟ้อง รมว.พัฒนาสังคมฯ เป็นการยื่นฟ้องโดยตำแหน่งเนื่องจากต้องดูว่าใครมีหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างนายวิฑูรย์ นามบุตร ที่ลาออกไปแล้วหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงพัฒนาสังคมฯคนใหม่ ส่วนโจทก์ที่ฟ้อง มี 4 กลุ่มประกอบด้วยประชาชนผู้ที่ได้รับมอบปลากระป๋อง เป็นโจทก์ที่ 1, นายสำเริง ผู้ประสานงานโครงการชีวิตสาธารณะ จ.พัทลุง เป็นโจทก์ที่ 2, น.ส.จุฑา เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ เป็นโจทก็ที่ 3 และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะตัวแทนผู้เสียหายที่ได้รับบริจาคปลากระป๋องทั้งหมด เป็นโจทก์ที่ 4
น.ส.สารี กล่าวย้ำว่า การฟ้องครั้งนี้ไม่ได้หวังเรียกค่าเสียหาย แต่เป็นการฟ้องให้เป็นบรรทัดฐานให้หน่ายงานราชการที่มีหน้าที่จัดซื้อ จัดหาและจัดจ้าง ควรจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างดี เลือกของที่มีคุณภาพมีความปลอดภัย ซึ่งแม้ว่าสิ่งของบางอย่างจะเป็นการบริจาคหรือแจกให้ก็ตาม โดยการฟ้องครั้งนี้ก็เชื่อว่าผู้บริโภคมีสิทธิ์ฟ้องได้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เพราะตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 ซึ่งได้บัญญัตินิยามความหมาย “ผู้บริโภค” ไว้ว่า นอกจากผู้ซื้อสินค้าแล้วยังรวมถึงผู้ใช้บริการและผู้ใช้สินค้า
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า นอกจากการฟ้องแพ่งกับรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง บริษัทผู้ผลิต-จัดจำหน่าย กรรมการ และผู้ถือหุ้นแล้ว ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ผลิต 3 ข้อหา คือ ทำการผลิตอาหารปลอมและมีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิด ตามมาตรา 27 (4), ผลิตอาหารผิดมาตรฐาน มาตรา 28 และผลิตอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา 14 ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522
วันนี้ (4 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นายสำเริง สุดสวาท ผู้ประสานงานโครงการชีวิตสาธารณะ จ.พัทลุง, น.ส.จุฑา สังขชาติ เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนผู้บริโภค จ.พัทลุง ที่ได้รับมอบปลากระป๋องช่วยเหลือภัยน้ำท่วม เดินทางมายื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.), ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, บริษัท ทองกิ่งแก้ว ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิต, บริษัท ไทย เอ ดี ฟู๊ดส์ ผู้จำหน่าย, กรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัททั้งสองเป็นจำเลย คดีผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เรื่องละเมิดจัดหาสินค้าที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานและไม่มีความปลอดภัย บริจาคให้กับประชาชน เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท กรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้แจกถุงยังชีพ และปลากระป๋องบริจาค ยี่ห้อชาวดอย ให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม จ.พัทลุง ที่ภายหลังพบว่าเป็นปลากระป๋องเน่า
โดยโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษา 1.ให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดชอบ ชดใช้ความเสียหายให้กับผู้บริโภคจำนวน 1 ล้านบาท 2.ขอให้ศาลเรียกกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้จัดจำหน่ายมาเป็นจำเลยร่วมเนื่องจาก อาจจะมีการยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สินที่ได้จากการขายปลากระป๋องไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรืออาจมีการฮั้วกับราชการ 3.ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินห้ามจำหน่ายสินค้า และให้เรียกเก็บ ทำลายสินค้าที่เหลือรวมทั้งยึดเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ก่อนที่จะมีการทำลายหรือปลอมแปลงเอกสาร เช่นบัญชีธนาคารของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และ 4.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเกิดจากการกระทำโดยเจตนา เอาเปรียบผู้บริโภค ทั้งนี้ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป
น.ส.สารี กล่าวว่า การยื่นฟ้อง รมว.พัฒนาสังคมฯ เป็นการยื่นฟ้องโดยตำแหน่งเนื่องจากต้องดูว่าใครมีหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างนายวิฑูรย์ นามบุตร ที่ลาออกไปแล้วหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงพัฒนาสังคมฯคนใหม่ ส่วนโจทก์ที่ฟ้อง มี 4 กลุ่มประกอบด้วยประชาชนผู้ที่ได้รับมอบปลากระป๋อง เป็นโจทก์ที่ 1, นายสำเริง ผู้ประสานงานโครงการชีวิตสาธารณะ จ.พัทลุง เป็นโจทก์ที่ 2, น.ส.จุฑา เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ เป็นโจทก็ที่ 3 และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะตัวแทนผู้เสียหายที่ได้รับบริจาคปลากระป๋องทั้งหมด เป็นโจทก์ที่ 4
น.ส.สารี กล่าวย้ำว่า การฟ้องครั้งนี้ไม่ได้หวังเรียกค่าเสียหาย แต่เป็นการฟ้องให้เป็นบรรทัดฐานให้หน่ายงานราชการที่มีหน้าที่จัดซื้อ จัดหาและจัดจ้าง ควรจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างดี เลือกของที่มีคุณภาพมีความปลอดภัย ซึ่งแม้ว่าสิ่งของบางอย่างจะเป็นการบริจาคหรือแจกให้ก็ตาม โดยการฟ้องครั้งนี้ก็เชื่อว่าผู้บริโภคมีสิทธิ์ฟ้องได้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เพราะตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 ซึ่งได้บัญญัตินิยามความหมาย “ผู้บริโภค” ไว้ว่า นอกจากผู้ซื้อสินค้าแล้วยังรวมถึงผู้ใช้บริการและผู้ใช้สินค้า
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า นอกจากการฟ้องแพ่งกับรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง บริษัทผู้ผลิต-จัดจำหน่าย กรรมการ และผู้ถือหุ้นแล้ว ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ผลิต 3 ข้อหา คือ ทำการผลิตอาหารปลอมและมีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิด ตามมาตรา 27 (4), ผลิตอาหารผิดมาตรฐาน มาตรา 28 และผลิตอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา 14 ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522