ศาลนัดตรวจหลักฐานและสอบคำให้การคดี “พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม” ฟ้อง “พล.ต.ต.มณเฑียร ประทีปวณิช” ฐานแจ้งความเท็จกรณีไปร้องกองปราบฯ หาว่าพูดยุยงให้ปฏิวัติ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ปากแรก 28 ก.ค.นี้
วันนี้ (3 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดตรวจหลักฐานและสอบคำให้การจำเลยคดีที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ต.มณเฑียร ประทีปวณิช อดีต ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นจำเลยฐานแจ้งความเท็จในคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวน
โดยวันนี้ พ.อ.รังสรรค์ ตันติเวชกุล อดีตนายทหารพระธรรมนูญประจำ สนง.เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เดินทางมาพร้อมทนาย ขณะที่ฝ่ายจำเลย พล.ต.ต.มณเฑียร เดินทางมาด้วยตนเอง
ศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การปฏิเสธ จากนั้นโจทก์แถลงยื่นบัญชีพยานที่จะนำสืบ จำนวน 6 ปาก เป็นเวลา 3 นัด และจำเลยยื่นบัญชีพยานที่จะนำสืบ จำนวน 4 ปาก เป็นเวลา 2 นัด ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตพร้อมนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกวันที่ 28 ก.ค.เวลา 09.00 น.
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ค.51 เวลากลางวัน จำเลยได้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.สมยศ ร่มสน พนักงานสอบสวน (สบ 3) กองปราบปราม โดยจำเลยอ้างข้อความจากหนังสือพิมพ์ทำนองว่าโจทก์พูดยุยงให้ทหารปฏิวัติ และอ้างต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์แสดงความคิดเห็นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบ้านเมือง มิใช่ติชมด้วยความเป็นกลางหรือสุจริตชนอันเป็นความผิดอาญา การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวนโดยจำเลยมีเจตนาแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษทางอาญา ต่อมากองบังคับการปราบปรามได้โอนคดีไปยัง สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้รับผิดชอบคดีแทน ส่วนคดีที่แจ้งไว้ที่ สน.ปทุมวัน โจทก์จะดำเนินคดีอีกคดีหนึ่งตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ การแสดงความเห็นของโจทก์เป็นการแสดงความเห็นในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาชนคนหนึ่ง ที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และต้องการให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุข ได้คนดี ซื่อสัตย์สุจริตเข้ามาบริหารบ้านเมืองซึ่งมีสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
นอกจากนี้ โจทก์มิได้แสดงความคิดเห็นเป็นการเรียกร้องชักจูงเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินตามที่จำเลยไปแจ้งความไว้ และจำเลยเป็นถึงนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าพนักงานผู้รักษากฎหมาย ย่อมมีวิจารณญาณเหนือกว่าวิญญูชนโดยทั่วไป ย่อมทราบดีกว่าการกระทำแค่ไหนจึงจะเข้าข่ายความผิดกฎหมายอาญา ขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา ม.72 174 และ 181 ต่อมาศาลไต่สวนมูลฟ้อง แล้วประทับรับฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.51
วันนี้ (3 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดตรวจหลักฐานและสอบคำให้การจำเลยคดีที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ต.มณเฑียร ประทีปวณิช อดีต ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นจำเลยฐานแจ้งความเท็จในคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวน
โดยวันนี้ พ.อ.รังสรรค์ ตันติเวชกุล อดีตนายทหารพระธรรมนูญประจำ สนง.เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เดินทางมาพร้อมทนาย ขณะที่ฝ่ายจำเลย พล.ต.ต.มณเฑียร เดินทางมาด้วยตนเอง
ศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การปฏิเสธ จากนั้นโจทก์แถลงยื่นบัญชีพยานที่จะนำสืบ จำนวน 6 ปาก เป็นเวลา 3 นัด และจำเลยยื่นบัญชีพยานที่จะนำสืบ จำนวน 4 ปาก เป็นเวลา 2 นัด ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตพร้อมนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกวันที่ 28 ก.ค.เวลา 09.00 น.
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ค.51 เวลากลางวัน จำเลยได้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.สมยศ ร่มสน พนักงานสอบสวน (สบ 3) กองปราบปราม โดยจำเลยอ้างข้อความจากหนังสือพิมพ์ทำนองว่าโจทก์พูดยุยงให้ทหารปฏิวัติ และอ้างต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์แสดงความคิดเห็นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบ้านเมือง มิใช่ติชมด้วยความเป็นกลางหรือสุจริตชนอันเป็นความผิดอาญา การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวนโดยจำเลยมีเจตนาแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษทางอาญา ต่อมากองบังคับการปราบปรามได้โอนคดีไปยัง สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้รับผิดชอบคดีแทน ส่วนคดีที่แจ้งไว้ที่ สน.ปทุมวัน โจทก์จะดำเนินคดีอีกคดีหนึ่งตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ การแสดงความเห็นของโจทก์เป็นการแสดงความเห็นในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาชนคนหนึ่ง ที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และต้องการให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุข ได้คนดี ซื่อสัตย์สุจริตเข้ามาบริหารบ้านเมืองซึ่งมีสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
นอกจากนี้ โจทก์มิได้แสดงความคิดเห็นเป็นการเรียกร้องชักจูงเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินตามที่จำเลยไปแจ้งความไว้ และจำเลยเป็นถึงนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าพนักงานผู้รักษากฎหมาย ย่อมมีวิจารณญาณเหนือกว่าวิญญูชนโดยทั่วไป ย่อมทราบดีกว่าการกระทำแค่ไหนจึงจะเข้าข่ายความผิดกฎหมายอาญา ขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา ม.72 174 และ 181 ต่อมาศาลไต่สวนมูลฟ้อง แล้วประทับรับฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.51