นับเป็นข่าวดังไปทั่วโลก....สำหรับในวันตัดสินคดีประวัติศาสตร์ กระชากหน้ากากเศรษฐีรวยเพราะโกง 21 ตุลาคม 2551 เวลา 14.00 น. เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และภริยา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (สมัยที่ยังไม่หย่าขาดจากกัน) ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาท โดยคณะผู้พิพากษาลงมติ 5 ต่อ 4 "ทักษิณ" ทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช.ให้จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วน "พจมาน" ให้ยกฟ้อง เพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ
เปิดศักราชใหม่ ปีวัวดุ! สตช.ขานรับชงเรื่องการเสนอถอดยศ "น.ช.แม้ว" ในทันที โดยวันที่ 8 ม.ค. พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน ผู้บังคับการกองวินัย (ผบก.วน.) บอกว่าจากการตรวจสอบกฎระเบียบ พบว่ากรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าเงื่อนไของค์ประกอบตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 เนื่องจากถูกศาลพิพากษาจำคุกและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงได้ส่งเรื่องเสนอไปยังกองกำลังพล เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2552 ซึ่งกระบวนการขั้นต่อไปทางกองกำลังพลจะต้องประมวลเรื่องเพื่อเสนอไปยัง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เพื่อพิจารณาดำเนินการถอดยศ
ขณะที่ พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ ผู้บังคับการกองกำลังพล กล่าวว่า ได้รับเรื่องจากกองวินัย เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาตามระเบียบฯ โดยทางกองวินัยได้ชี้มาแล้ว ในส่วนกองกำลังพล ก็จะต้องนำมาพิจารณาว่ากรณีดังกล่าวเข้าระเบียบเกี่ยวกับกำลังพลหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏด้วยพร้อมกับย้ำว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติ กองกำลังพลจะทำไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ยืนยันว่าจะไม่มีการยื้อหรือประวิงเวลา ขอเวลาประมวลเรื่อง1-2 วัน จากนั้นจะเสนอให้ผบ.ตร. ดำเนินการตามขั้นตอน
ทั้งนี้ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจมาตรา11(4) , 28 และ 29 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ดังกล่าวจะเห็นว่า พฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าเหตุในการ "ถอดยศ" ถึง 2 ข้อคือ (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (6) ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
ถัดมาวันที่ 9 ม.ค. "พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ " เลี่ยงตอบคำถามนี้กับสื่อมวลชน โดยบอกเพียงว่ายังไม่เห็นเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องให้ เจ้าหน้าที่ไปพิจารณาทุกแง่ ทุกมุมให้เกิดความชัดเจน ต้องดูเจตนาของระเบียบ รวมถึงพิจารณาว่ารายละเอียดของระเบียบดังกล่าวเขียนไว้ว่าอย่างไร ซึ่งจะต้องให้เจ้าหน้าที่พิจารณาอย่างรอบคอบมากที่สุด แล้วก็เดินหนีเข้าไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติทันที
6 วันต่อมา ในวันที่ 15 ม.ค. "พล.ต.ท.วัชรพล" เจ้าเดิมยังเตะถ่วง ยืนยันว่า เรื่องถอดยศ "แม้ว" ยังมาไม่ถึง ผบ.ตร. แต่ตำรวจก็ดำเนินการอยู่ ทำอย่างเต็มที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ
20 ม.ค. สตช.ยังคงเงียบกริบ ไม่มีความคืบหน้าต่อการดำเนินงานถอดถอนยศ "น.ช.แม้ว" โดยจากการติดต่อสอบถามไปยัง "พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ" ผู้บังคับการกองกำลังพล ก็ไม่สามารถติดต่อได้ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานกองกำลังพลบ่ายเบี่ยงตอบว่านายไม่อยู่ที่สำนักงานไปราชการอื่น
มาถึง 22 ม.ค. ในการเปิดสภา สมัยประชุมสามัญ "สากกระเบือ" หรือ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้สดถามนายกรัฐมนตรี ถึงเรื่องการเสนอถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เป็นผู้ตอบกระทู้แทน ซึ่ง ร.ต.ท.เชาวริน ก็อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยอมรับอาจเป็นชนวนเหตุลุกขึ้นมาประท้วงจะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยได้ พร้อมทั้งย้ำว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการกับตำรวจนายอื่น ๆ ในการถอดยศหรือไม่ โดยยกชื่อ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ มาเป็นข้ออ้างว่าได้รับการละเว้น
กระทู้ดังกล่าว "เทพเทือก" ลุกขึ้นชี้แจงว่า ได้สอบถามไปยัง สตช. แล้วรู้ว่าการถอดยศมีหลักเกณฑ์อย่างไร มี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 โดย พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 28, 29 การถอดยศ มี 7 กรณี 1.ต้องคำพิพากษาให้ถึงที่สุดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ แม้จะมีการรอลงโทษก็ตาม 2. ต้องคำพิพากษาให้ถึงที่สุดจำคุก หรือมีโทษมากกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นคดีลหุโทษ และความประมาท 3. ต้องคำพิพากษาให้ถึงที่สุดในคดีล้มละลายและก่อหนี้สิน 4. ผิดวินัยร้ายแรงและให้ออกจากราชการ 5. ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง 6. ต้องคดีอาญาแล้วหลบหนี และ 7. ถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะขาดคุณสมบัติ
"สุเทพ เทือกสุบรรณ" ยืนยันการดำเนินการตามขั้นตอนถอดยศ "น.ช.แม้ว" เป็นไปตามหน้าที่ตำรวจ ทำตามกฎระเบียบ นายกรัฐมนตรี หรือ ตนเอง ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง และสั่งการซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล แต่สืบเนื่องศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ลงโทษจำคุก 2 ปี ซึ่งแม้ไม่ได้เป็นตามประมวลกฎหมายอาญา แต่โดนลงโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ซึ่งกองวินัยและกองกำลังพล ทำหนังสือถึงศาลตรวจสอบผลคดี และศาลแจ้งว่า ถึงที่สุดแล้ว เพราะไม่มีการอุทธรณ์ ตำรวจก็ปฏิบัติไปตามหน้าที่ จึงไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลไปรู้เห็น และตนเองไม่คิดว่าจะมีการประท้วงอย่างรุนแรงจากประชาชน และขอความเป็นธรรมให้กองวินัย เพราะทำตามหน้าที่
นอกจากนี้ "เทพเทือก" ยังบอกเป็นนัยด้วยว่าใน ปีนี้ไม่ได้ดำเนินการถอดยศ เฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะการดำเนินการถอดยศ ต้องมีการประกาศพระบรมราชโองการ ซึ่งหากทำทีละคน หรือสองคน ก็อาจจะทำให้เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทได้ ดังนั้น กระบวนการถอดยศต้องทำทีละหลายคน หรือเรียกว่า เป็นชุดๆ ซึ่งเฉพาะในปีนี้มีตำรวจที่รอพิจารณาถอดยศจำนวน 15 คน รวมไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย เช่นเดียวกับในส่วนของทหาร ทางกระทรวงกลาโหม ให้ข้อมูลว่าตอนนี้อยู่ในกระบวนการถอดยศนายทหารระดับพันตรีรายหนึ่ง ที่มีความผิดวินัยร้ายแรง ตามความเห็นของ ป.ป.ช.ซึ่งในกรณีนี้ทางกองทัพได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ยศทหาร พ.ศ. 2479 เหมือนกัน
นั่นคือช่วงเวลาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งท่าเอาจริงพิจารณาส่งเรื่อง "น.ช.แม้ว" เข้ากฎเกณฑ์ต้องถูกถอดถอนยศ "พ.ต.ท." คืนแผ่นดิน แต่กระนั้นเรื่องยังคงตกค้างยื้อดึงเกมให้ต้องล่าช้า ประวิงเวลาให้เนิ่นนานอยู่ที่ กองกำลังพล ซึ่งมี "พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ" เป็นผู้บังคับการกองกำลังพล ที่ทุกครั้งเมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังสำนักงาน หรือสอบถามไปยังเจ้าตัวจะไม่เคยได้รับความร่วมมือเพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องการถอดยศ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ว่าเรื่องดำเนินการไปถึงขั้นตอนใดแล้ว แต่ตัวผู้บังคับการกองกำลังพล ได้แต่หลบหน้า หลบฉากที่จะออกมาชี้แจงหรือยืนยันในเรื่องนี้
ได้เวลาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องเร่งสปีดนำเสนอรายละเอียดทั้งหมด ที่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ต้องการกลั่นแกล้ง ไม่ใช่เกมการเมือง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่น่าที่ต้องใช้เวลานานเกินกว่า เดือนในการพิจารณาตามขั้นตอนราชการ เนื่องจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ" ก็ชัดเจนอยู่แล้วทำผิดระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 หรือ สตช.จะรอให้เปลี่ยน ผบ.ตร.คนใหม่จากเหตุที่ ป.ป.ช.ชี้มูล "พัชรวาท" มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สั่งฆ่าประชาชนหน้ารัฐสภา 7 ตุลาคม 2551 เสียก่อนจึงค่อยดำเนินการ หรือกลัวเกรงอิทธิพลใดเข้าครอบงำ หรือค่าของน้ำเงินเป็นจุดเปลี่ยน จึงยังไม่สามารถเดินหน้าในการถอดยศ "น.ช.แม้ว" ได้
เปิดศักราชใหม่ ปีวัวดุ! สตช.ขานรับชงเรื่องการเสนอถอดยศ "น.ช.แม้ว" ในทันที โดยวันที่ 8 ม.ค. พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน ผู้บังคับการกองวินัย (ผบก.วน.) บอกว่าจากการตรวจสอบกฎระเบียบ พบว่ากรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าเงื่อนไของค์ประกอบตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 เนื่องจากถูกศาลพิพากษาจำคุกและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงได้ส่งเรื่องเสนอไปยังกองกำลังพล เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2552 ซึ่งกระบวนการขั้นต่อไปทางกองกำลังพลจะต้องประมวลเรื่องเพื่อเสนอไปยัง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เพื่อพิจารณาดำเนินการถอดยศ
ขณะที่ พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ ผู้บังคับการกองกำลังพล กล่าวว่า ได้รับเรื่องจากกองวินัย เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาตามระเบียบฯ โดยทางกองวินัยได้ชี้มาแล้ว ในส่วนกองกำลังพล ก็จะต้องนำมาพิจารณาว่ากรณีดังกล่าวเข้าระเบียบเกี่ยวกับกำลังพลหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏด้วยพร้อมกับย้ำว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติ กองกำลังพลจะทำไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ยืนยันว่าจะไม่มีการยื้อหรือประวิงเวลา ขอเวลาประมวลเรื่อง1-2 วัน จากนั้นจะเสนอให้ผบ.ตร. ดำเนินการตามขั้นตอน
ทั้งนี้ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจมาตรา11(4) , 28 และ 29 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ดังกล่าวจะเห็นว่า พฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าเหตุในการ "ถอดยศ" ถึง 2 ข้อคือ (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (6) ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
ถัดมาวันที่ 9 ม.ค. "พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ " เลี่ยงตอบคำถามนี้กับสื่อมวลชน โดยบอกเพียงว่ายังไม่เห็นเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องให้ เจ้าหน้าที่ไปพิจารณาทุกแง่ ทุกมุมให้เกิดความชัดเจน ต้องดูเจตนาของระเบียบ รวมถึงพิจารณาว่ารายละเอียดของระเบียบดังกล่าวเขียนไว้ว่าอย่างไร ซึ่งจะต้องให้เจ้าหน้าที่พิจารณาอย่างรอบคอบมากที่สุด แล้วก็เดินหนีเข้าไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติทันที
6 วันต่อมา ในวันที่ 15 ม.ค. "พล.ต.ท.วัชรพล" เจ้าเดิมยังเตะถ่วง ยืนยันว่า เรื่องถอดยศ "แม้ว" ยังมาไม่ถึง ผบ.ตร. แต่ตำรวจก็ดำเนินการอยู่ ทำอย่างเต็มที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ
20 ม.ค. สตช.ยังคงเงียบกริบ ไม่มีความคืบหน้าต่อการดำเนินงานถอดถอนยศ "น.ช.แม้ว" โดยจากการติดต่อสอบถามไปยัง "พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ" ผู้บังคับการกองกำลังพล ก็ไม่สามารถติดต่อได้ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานกองกำลังพลบ่ายเบี่ยงตอบว่านายไม่อยู่ที่สำนักงานไปราชการอื่น
มาถึง 22 ม.ค. ในการเปิดสภา สมัยประชุมสามัญ "สากกระเบือ" หรือ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้สดถามนายกรัฐมนตรี ถึงเรื่องการเสนอถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เป็นผู้ตอบกระทู้แทน ซึ่ง ร.ต.ท.เชาวริน ก็อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยอมรับอาจเป็นชนวนเหตุลุกขึ้นมาประท้วงจะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยได้ พร้อมทั้งย้ำว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการกับตำรวจนายอื่น ๆ ในการถอดยศหรือไม่ โดยยกชื่อ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ มาเป็นข้ออ้างว่าได้รับการละเว้น
กระทู้ดังกล่าว "เทพเทือก" ลุกขึ้นชี้แจงว่า ได้สอบถามไปยัง สตช. แล้วรู้ว่าการถอดยศมีหลักเกณฑ์อย่างไร มี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 โดย พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 28, 29 การถอดยศ มี 7 กรณี 1.ต้องคำพิพากษาให้ถึงที่สุดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ แม้จะมีการรอลงโทษก็ตาม 2. ต้องคำพิพากษาให้ถึงที่สุดจำคุก หรือมีโทษมากกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นคดีลหุโทษ และความประมาท 3. ต้องคำพิพากษาให้ถึงที่สุดในคดีล้มละลายและก่อหนี้สิน 4. ผิดวินัยร้ายแรงและให้ออกจากราชการ 5. ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง 6. ต้องคดีอาญาแล้วหลบหนี และ 7. ถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะขาดคุณสมบัติ
"สุเทพ เทือกสุบรรณ" ยืนยันการดำเนินการตามขั้นตอนถอดยศ "น.ช.แม้ว" เป็นไปตามหน้าที่ตำรวจ ทำตามกฎระเบียบ นายกรัฐมนตรี หรือ ตนเอง ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง และสั่งการซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล แต่สืบเนื่องศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ลงโทษจำคุก 2 ปี ซึ่งแม้ไม่ได้เป็นตามประมวลกฎหมายอาญา แต่โดนลงโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ซึ่งกองวินัยและกองกำลังพล ทำหนังสือถึงศาลตรวจสอบผลคดี และศาลแจ้งว่า ถึงที่สุดแล้ว เพราะไม่มีการอุทธรณ์ ตำรวจก็ปฏิบัติไปตามหน้าที่ จึงไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลไปรู้เห็น และตนเองไม่คิดว่าจะมีการประท้วงอย่างรุนแรงจากประชาชน และขอความเป็นธรรมให้กองวินัย เพราะทำตามหน้าที่
นอกจากนี้ "เทพเทือก" ยังบอกเป็นนัยด้วยว่าใน ปีนี้ไม่ได้ดำเนินการถอดยศ เฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะการดำเนินการถอดยศ ต้องมีการประกาศพระบรมราชโองการ ซึ่งหากทำทีละคน หรือสองคน ก็อาจจะทำให้เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทได้ ดังนั้น กระบวนการถอดยศต้องทำทีละหลายคน หรือเรียกว่า เป็นชุดๆ ซึ่งเฉพาะในปีนี้มีตำรวจที่รอพิจารณาถอดยศจำนวน 15 คน รวมไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย เช่นเดียวกับในส่วนของทหาร ทางกระทรวงกลาโหม ให้ข้อมูลว่าตอนนี้อยู่ในกระบวนการถอดยศนายทหารระดับพันตรีรายหนึ่ง ที่มีความผิดวินัยร้ายแรง ตามความเห็นของ ป.ป.ช.ซึ่งในกรณีนี้ทางกองทัพได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ยศทหาร พ.ศ. 2479 เหมือนกัน
นั่นคือช่วงเวลาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งท่าเอาจริงพิจารณาส่งเรื่อง "น.ช.แม้ว" เข้ากฎเกณฑ์ต้องถูกถอดถอนยศ "พ.ต.ท." คืนแผ่นดิน แต่กระนั้นเรื่องยังคงตกค้างยื้อดึงเกมให้ต้องล่าช้า ประวิงเวลาให้เนิ่นนานอยู่ที่ กองกำลังพล ซึ่งมี "พล.ต.ต.ชนาภัทร เชยสมบัติ" เป็นผู้บังคับการกองกำลังพล ที่ทุกครั้งเมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังสำนักงาน หรือสอบถามไปยังเจ้าตัวจะไม่เคยได้รับความร่วมมือเพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องการถอดยศ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ว่าเรื่องดำเนินการไปถึงขั้นตอนใดแล้ว แต่ตัวผู้บังคับการกองกำลังพล ได้แต่หลบหน้า หลบฉากที่จะออกมาชี้แจงหรือยืนยันในเรื่องนี้
ได้เวลาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องเร่งสปีดนำเสนอรายละเอียดทั้งหมด ที่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ต้องการกลั่นแกล้ง ไม่ใช่เกมการเมือง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่น่าที่ต้องใช้เวลานานเกินกว่า เดือนในการพิจารณาตามขั้นตอนราชการ เนื่องจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ" ก็ชัดเจนอยู่แล้วทำผิดระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 หรือ สตช.จะรอให้เปลี่ยน ผบ.ตร.คนใหม่จากเหตุที่ ป.ป.ช.ชี้มูล "พัชรวาท" มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สั่งฆ่าประชาชนหน้ารัฐสภา 7 ตุลาคม 2551 เสียก่อนจึงค่อยดำเนินการ หรือกลัวเกรงอิทธิพลใดเข้าครอบงำ หรือค่าของน้ำเงินเป็นจุดเปลี่ยน จึงยังไม่สามารถเดินหน้าในการถอดยศ "น.ช.แม้ว" ได้