หลายคนคงจำประโยคคำพูดนี้ได้ดีว่า "คนไทยเป็นคนลืมง่าย" แต่ในรอบปีหนูที่ผ่านมาให้จะให้ลืมเรื่องที่สะเทือนวงการสถาบันศาลที่คนไทยใช้เป็นที่พึ่งก็คงไม่ได้ และหลายๆคนก็คงไม่มีวันลืมกับ "ถุงขนม 2 ล้าน" ที่พฤติการณ์ “สุดอุกอาจ” ของทนายความนักการเมืองดัง ที่หิ้วกล่องขนมยัดไส้เงินสด 2 ล้านบาท หาญกล้าหวังติดสินบนผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ ถึงใน “อาคารศาลฎีกา”เมื่อเช้าวันที่ 10 มิ.ย.2551 ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งวงการตุลาการ หลังคดีสินบนตุลาการภาคแรก กรณีคดียุบพรรคไทยรักไทยเพิ่งจบลงไปโดยที่จับมือใครดมไม่ได้
ย้อนไปดูเหตุการณ์วันที่ 10 มิ.ย. 51 เวลาประมาณ 12.30 น.ได้มีอดีตทนายความของนักการเมืองคนหนึ่ง มายื่นคำร้องและยื่นถุงขนมให้เจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้าหน้าที่เปิดดู ก็พบเงินสดจึงสอบถามว่ามีความประสงค์อย่างไร อดีตทนายความตอบว่า “เอาไปแบ่งๆ กัน” เจ้าหน้าที่จึงรายงานผู้บังคับบัญชาและผู้พิพากษาทราบ ขณะนั้นมีผู้พิพากษาคนหนึ่งเดินผ่านมาจึงสอบถามเบื้องต้นแล้วให้ถ่ายภาพธนบัตรกับถุงขนมหูหิ้วไว้ ก่อนส่งเงินคืนแล้วให้กลับไปได้ ซึ่งมีประเด็นน่าจะเป็นไปได้ คือ เป็นการเสนอให้เงินแก่เจ้าหน้าที่ไม่เจาะจงว่าเป็นคนหนึ่งคนใด โดยใช้เงินจำนวนมากเป็นเครื่องสะท้อนของความใจใหญ่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความสนใจ ที่จะช่วยเป็น “สื่อกลาง” ไปถึงตัวผู้พิพากษา และเป็นการโยนหินถามทาง โดยหยั่งเชิงดูว่าจะมีใครกล้ารับสินบนหรือไม่ สุดท้ายต้องการสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อทำลายชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของศาลยุติธรรม
หลังเกิดเรื่องราวใหญ่โตเดือนร้อนไปถึงประธานศาลฎีกา ต้องออกมาสั่งการแต่งตั้งองค์คณะผู้พิพากษาขึ้นมาทำการไต่สวนเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วนเพื่อสะสางข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ก่อนภาพลักษณ์ของศาลจะต้องมัวหมองด้วยน้ำมือคนชั่วเพียงไม่กี่คน จากนั้นใช้เวลาหาตัวผู้กระทำผิดเพียงไม่กี่วันก็สามารถรู้ตัว โดยเรื่องนี้มีคณะทนายความเกี่ยวข้องสามคน เป็นชาย 2 คน ซึ่งเป็นทนายความในคดีที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในศาลฎีกานี้ กับทนายความที่ไม่ได้ว่าความในคดีดังกล่าว เป็นคนนำเงินขึ้นมาส่งให้ เจ้าหน้าที่ศาล ก่อนจะมารับเงินคืนไป นอกจากนี้ยังมีหญิงสาว เข้ามาเกี่ยวข้องอีกคนด้วย ส่วนสาเหตุที่เอาเงินมาให้ถึงบนศาล เพราะต้องการล้วงความลับในสำนวนคดี จนในที่สุดความจริงก็ปรากฏ นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ,น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดี พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน เป็นผู้หิ้วถุงขนม 2 ล้าน
จนวันที่ 25 มิ.ย.51 ศาลฎีกาตัดสินลงโทษให้ 3 ทนาย จำคุก 6 เดือน ไม่ต้องรอลงอาญา ฐานละเมิดอำนาจศาล หิ้วเงินสด 2 ล้าน จูงใจเจ้าหน้าที่ศาล พร้อมชี้เป็นพฤติการณ์อุกอาจท้าทายศาลสูงสุดของประเทศ หวังประโยชน์เชื่อมโยงคดีที่ดินรัชดา สมควรลงโทษสถานหนักไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง แจ้งความข้อหาติดสินบนเจ้าพนักงานอีกกระทง
แม้วันเวลาจะผ่านไปอย่างรวดเร็วไม่น่าเชื่อก็ตาม วันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมาเป็นวันที่ครบกำหนด 3 ทนายถุงขนม 2 ล้านจะได้ออกมาสูดอากาศภายนอกตลอดเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา 3 ทนายชั่วต้องชดใช้กรรมในคุก ไม่รู้ว่าการเข้าไปอยู่ในคุกจะสามารถบ่มตัวให้สำนึกบ้างไหม แต่อย่าลืมไปว่าทั้ง 3 คน ยังมีข้อหาติดสินบนเจ้าพนักงานอยู่อีกคดี แม้ตำรวจจะทำตาใสกลับส่งสำนวนไม่ฟ้อง 3 ทนายความชั่ว ติดสินบนให้กับพนักงานอัยการ แต่หากการสั่งคดีถ้าอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด หรือผู้ต้องหาบางคน พนักงานสอบสวนก็จะต้องติดตามตัวผู้ต้องหานั้นมาส่งมอบให้อัยการเพื่อยื่นฟ้องศาลต่อไปได้ และต้องดูว่าทางสภาทนายความจะพิจารณาโทษกับการกระทำของ 3 ทนายที่เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งโทษของการทำผิดมรรยาท คือ ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความเป็นเวลา 5 ปี
แต่สุดท้ายแล้วแทนที่จะได้เห็น 3 ทนายชั่ว ได้กลับบ้านเก่าในคุกสายบัว อัยการกลับคล้อยตามตำรวจเห็นควรสั่งไม่ฟ้องคดีสินบน 2 ล้านซะหน้าตาเฉย งานนี้ทำดีได้ดี หรือทำชั่วได้ชั่ว หรือสำนวนส่งอัยการพิจารณาอ่อนเกินไป คดีสินบน 2 ล้าน ท้าทายอำนาจศาลน่าจะเป็นบทเรียนได้
ย้อนไปดูเหตุการณ์วันที่ 10 มิ.ย. 51 เวลาประมาณ 12.30 น.ได้มีอดีตทนายความของนักการเมืองคนหนึ่ง มายื่นคำร้องและยื่นถุงขนมให้เจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้าหน้าที่เปิดดู ก็พบเงินสดจึงสอบถามว่ามีความประสงค์อย่างไร อดีตทนายความตอบว่า “เอาไปแบ่งๆ กัน” เจ้าหน้าที่จึงรายงานผู้บังคับบัญชาและผู้พิพากษาทราบ ขณะนั้นมีผู้พิพากษาคนหนึ่งเดินผ่านมาจึงสอบถามเบื้องต้นแล้วให้ถ่ายภาพธนบัตรกับถุงขนมหูหิ้วไว้ ก่อนส่งเงินคืนแล้วให้กลับไปได้ ซึ่งมีประเด็นน่าจะเป็นไปได้ คือ เป็นการเสนอให้เงินแก่เจ้าหน้าที่ไม่เจาะจงว่าเป็นคนหนึ่งคนใด โดยใช้เงินจำนวนมากเป็นเครื่องสะท้อนของความใจใหญ่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความสนใจ ที่จะช่วยเป็น “สื่อกลาง” ไปถึงตัวผู้พิพากษา และเป็นการโยนหินถามทาง โดยหยั่งเชิงดูว่าจะมีใครกล้ารับสินบนหรือไม่ สุดท้ายต้องการสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อทำลายชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของศาลยุติธรรม
หลังเกิดเรื่องราวใหญ่โตเดือนร้อนไปถึงประธานศาลฎีกา ต้องออกมาสั่งการแต่งตั้งองค์คณะผู้พิพากษาขึ้นมาทำการไต่สวนเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วนเพื่อสะสางข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ก่อนภาพลักษณ์ของศาลจะต้องมัวหมองด้วยน้ำมือคนชั่วเพียงไม่กี่คน จากนั้นใช้เวลาหาตัวผู้กระทำผิดเพียงไม่กี่วันก็สามารถรู้ตัว โดยเรื่องนี้มีคณะทนายความเกี่ยวข้องสามคน เป็นชาย 2 คน ซึ่งเป็นทนายความในคดีที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในศาลฎีกานี้ กับทนายความที่ไม่ได้ว่าความในคดีดังกล่าว เป็นคนนำเงินขึ้นมาส่งให้ เจ้าหน้าที่ศาล ก่อนจะมารับเงินคืนไป นอกจากนี้ยังมีหญิงสาว เข้ามาเกี่ยวข้องอีกคนด้วย ส่วนสาเหตุที่เอาเงินมาให้ถึงบนศาล เพราะต้องการล้วงความลับในสำนวนคดี จนในที่สุดความจริงก็ปรากฏ นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ,น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดี พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน เป็นผู้หิ้วถุงขนม 2 ล้าน
จนวันที่ 25 มิ.ย.51 ศาลฎีกาตัดสินลงโทษให้ 3 ทนาย จำคุก 6 เดือน ไม่ต้องรอลงอาญา ฐานละเมิดอำนาจศาล หิ้วเงินสด 2 ล้าน จูงใจเจ้าหน้าที่ศาล พร้อมชี้เป็นพฤติการณ์อุกอาจท้าทายศาลสูงสุดของประเทศ หวังประโยชน์เชื่อมโยงคดีที่ดินรัชดา สมควรลงโทษสถานหนักไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง แจ้งความข้อหาติดสินบนเจ้าพนักงานอีกกระทง
แม้วันเวลาจะผ่านไปอย่างรวดเร็วไม่น่าเชื่อก็ตาม วันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมาเป็นวันที่ครบกำหนด 3 ทนายถุงขนม 2 ล้านจะได้ออกมาสูดอากาศภายนอกตลอดเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา 3 ทนายชั่วต้องชดใช้กรรมในคุก ไม่รู้ว่าการเข้าไปอยู่ในคุกจะสามารถบ่มตัวให้สำนึกบ้างไหม แต่อย่าลืมไปว่าทั้ง 3 คน ยังมีข้อหาติดสินบนเจ้าพนักงานอยู่อีกคดี แม้ตำรวจจะทำตาใสกลับส่งสำนวนไม่ฟ้อง 3 ทนายความชั่ว ติดสินบนให้กับพนักงานอัยการ แต่หากการสั่งคดีถ้าอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด หรือผู้ต้องหาบางคน พนักงานสอบสวนก็จะต้องติดตามตัวผู้ต้องหานั้นมาส่งมอบให้อัยการเพื่อยื่นฟ้องศาลต่อไปได้ และต้องดูว่าทางสภาทนายความจะพิจารณาโทษกับการกระทำของ 3 ทนายที่เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งโทษของการทำผิดมรรยาท คือ ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความเป็นเวลา 5 ปี
แต่สุดท้ายแล้วแทนที่จะได้เห็น 3 ทนายชั่ว ได้กลับบ้านเก่าในคุกสายบัว อัยการกลับคล้อยตามตำรวจเห็นควรสั่งไม่ฟ้องคดีสินบน 2 ล้านซะหน้าตาเฉย งานนี้ทำดีได้ดี หรือทำชั่วได้ชั่ว หรือสำนวนส่งอัยการพิจารณาอ่อนเกินไป คดีสินบน 2 ล้าน ท้าทายอำนาจศาลน่าจะเป็นบทเรียนได้