เผยแหล่งทุจริตของการรถไฟแห่งประเทศไทย ขนวัสดุอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ใช้ใส่ตู้โบกี้รถไฟออกจากโรงซ่อมมักกะสันนำไปขาย โยนบาปให้บริษัทรักษาความปลอดภัย เป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแทน โดยมีคนระดับบิ๊กของ ร.ฟ.ท.อยู่เบื้องหลัง ขณะที่ฝ่ายกฎหมายของ ร.ฟ.ท.ไม่กล้านำเรื่องขึ้นสู่ศาล ด้วยเกรงพบต้นตอเป็นคนกันเองระดับบิ๊กทั้งสิ้น เจ้าของบริษัทยามเหยื่อรายล่าสุดสุดทน แอบแจ้งผู้สื่อข่าวไปร่วมสำรวจ พบจะจะทั้งรางรถไฟ แบตเตอรี่ใหม่ ถังสี และสายไฟ เต็มตู้โบกี้ เตรียมลำเลียงออกนอกพื้นที่
วันนี้ (1 ต.ค.) เมื่อเวลา 08.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายอาวุธ ศรีราเพ็ญ กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูเนี่ยนการ์ด จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณโรงงานมักกะสัน หรือโรงซ่อมหัวรถจักรมักกะสัน แขวงและเขตมักกะสัน กทม.ว่า ทางบริษัทได้ตรวจพบความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ เรื่องการนำวัสดุอุปกรณ์ออกจากพื้นที่ที่รับผิดชอบ จึงขอร้องทุกข์ผ่านทางสื่อมวลชนเพื่อตีแผ่ข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับทราบด้วย
นายอาวุธ กล่าวว่า เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น.วานนี้ (30 ก.ย.) ขณะที่ตนและ รปภ.ของทางบริษัท กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในป้อมยามด้านหน้าทางเข้าโรงงานมักกะสัน ก็ได้รับใบอุปกรณ์ส่งแขวงจากงานพัสดุอะไหล่หมุนเวียน จากเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ คนหนึ่งระบุว่า จะนำหัวลากมาพ่วงล้อราง 3 คัน ซึ่งบรรทุกวงล้อรถไฟจำนวน 44 คู่ ออกจากพื้นที่ไปส่งยังสถานีรถไฟบางซื่อ โดยมีกำหนดการเดินทางออกไปเวลา 21.00 น. แต่เมื่อถึงเวลานัดหมายตนได้ออกไปทำการตรวจสอบพบว่ามีทรัพย์สินที่เป็นรายละเอียดเกินจำนวนกับที่ระบุไว้ในใบอุปกรณ์ส่งแขวงฯ ประกอบด้วย ตู้โบกี้รถไฟเลขที่ ตญ.150972 ที่ปิดผนึกด้วยซีลตะกั่ว จำนวน 1 ตู้ และ ท่อนเหล็กความยาว 7 เมตร จำนวน 25 ท่อน น้ำหนักรวมประมาณ 25 ตัน ราคาในท้องตลาดตกกิโลกรัมละ 40-50 บาท ถูกนำมาวางบนล้อรางอีก 1 คัน จึงได้ทำการสั่งหยุดรถหัวลากและยึดเอาไว้ทั้งหมด
นายอาวุธ กล่าวอีกว่า จากนั้นตนได้ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ พ.บ.ป.6 ชื่อ นายวิชา นวลปลอด เพื่อแจ้งเรื่องไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นให้นายวิชารับทราบ โดยตนแจ้งความประสงค์ไปว่าจะขอเปิดตู้โบกี้ตรวจสอบทรัพย์สินที่มีอยู่ภายในต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟ ซึ่งเมื่อเปิดออกมาแล้วพบว่า ภายในตู้โบกี้ดังกล่าว มีแบตเตอรี่สภาพใหม่ ถังสี และสายไฟ เก็บอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ท่อนเหล็กที่พบทั้งหมดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดบอกถึงที่มาที่ไปได้ และยังพยายามบ่ายเบี่ยงด้วยการโยนหน้าที่กันไปมา โดยทิ้งระยะเวลาอยู่นานกว่าจะเอาเอกสารสำแดงทรัพย์สินที่อยู่ในตู้โบกี้มาให้ดู ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่า เป็นเอกสารที่เพิ่งจัดทำกันขึ้นหรือไม่ เพราะเมื่อวานนี้ตนไม่ได้รับเอกสารดังกล่าวเอาไว้ให้ตรวจสอบเลย
“ผมได้รับประมูลงานมาปฏิบัติงานที่นี่เมื่อวันที่ 1 ต.ค.50 และเพิ่งจะหมดสัญญาไปเมื่อวานนี้ ที่ผ่านมาผมถูกฝ่ายกฎหมายของการรถไฟฯ เรียกร้องค่าเสียหายเรื่องที่ทรัพย์สินถูกขโมยออกไปแล้วจำนวน 5 ล้านบาท โดยรายละเอียดของทรัพย์สินที่สูญหายไปส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบตเตอรี่ สายไฟ ทองแดง เหล็กหล่อ และ หม้อน้ำ ซึ่งถูกตรวจพบภายในตู้โบกี้ในวันนี้แทบทั้งนั้น แต่ขณะนี้การรถไฟฯ ได้ยึดเงินเดือนจำนวน 311,000 บาท ของบริษัทผมไปแล้ว 4 เดือน โดยอ้างว่ายึดไว้เป็นค่าเสียหาย ทั้งๆ ที่ผมไม่มีโอกาสได้ต่อสู้ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์เลย เพราะเรื่องฟ้องร้องที่เกิดขึ้นยังอยู่ที่ฝ่ายกฎหมายของการรถไฟฯ ไม่ได้นำเข้ากระบวนการศาลแต่อย่างใด” นายอาวุธ กล่าว
นายอาวุธ กล่าวทิ้งท้ายว่า ก่อนหน้าที่จะมารับประมูลงานที่โรงซ่อมหัวรถจักรมักกะสันแห่งนี้ ทราบข่าวว่ามีบริษัทรักษาความปลอดภัยถูกรังแกในลักษณะเช่นนี้มามากแล้ว ขนาดองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ยังถูกการรถไฟฯ เรียกร้องเอาค่าเสียหายในลักษณะนี้มาแล้วถึงกว่า 4 ล้านบาทเช่นกัน และเมื่อไม่จ่ายก็ใช้วิธียึดเงินเดือน และเมื่อหมดสัญญาจ้างก็จะเก็บข้าวของย้ายออกไปกันเอง เพราะคงไม่มีใครกล้าประมูลงานต่อ เนื่องจากถ้าได้กลับมาทำอีก ก็เท่ากับว่าทำใช้หนี้ให้ฟรีๆ ทุกเดือนจนกว่าจะหมด แต่ตนก็คงไม่ยอมจากไปแบบมือเปล่าแน่เพราะขณะนี้กำลังให้ทีมทนายความของบริษัทฯ ยื่นใบเตือนให้การรถไฟฯ จ่ายเงินเดือนที่ติดค้างตนอยู่จำนวน 1,244,000 บาทคืนมาภายใน 7 วัน หากไม่เป็นไปตามข้อเรียกร้องตนก็จะนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป
มีรายงานว่า การที่ฝ่ายกฏหมายของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดองเรื่องดังกล่าวไว้โดยไม่นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางชั้นศาลนั้นก็ด้วยเหตุผลที่ว่า หากมีการไต่สวนเรื่องดังกล่าวในชั้นศาลแล้ว อาจจะพบผู้บงการเรื่องทุจริตดังกล่าวระดับผู้ใหญ่ของการรถไฟหลายคนอยู่เบื้องหลัง จึงต้องเก็บเรื่องดังกล่าวไว้เอง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะที่กลุ่มผู้สื่อข่าวเข้าไปปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ พยายามขับไล่ให้ออกไปจากนอกพื้นที่ โดยอ้างว่ายังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากทางผู้บังคับบัญชาในการให้ข่าว ประกอบกับยังไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดกล้าแสดงตัวออกมารับผิดชอบในเรื่องที่เกิดขึ้นเลยแม้แต่รายเดียว
ในวันเดียวกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) แหล่งข่าวระดับสูงกล่าวถึงการสืบสวนติดตามขบวนการยักยอกอะไหล่ซ่อมรถไฟ ในโรงซ่อมมักกะสัน ซึ่งเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ว่า ข้อเท็จจริงของคดีที่เกิดขึ้นตำรวจสามารถดักจับได้ตลอดเวลา เพราะมีการลักขโมยในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งทางตำรวจก็ได้ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ในการติดกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจสอบเวลาที่คนร้ายเข้าไปขโมยอะไหล่ แต่ก็แปลกที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่เลย ทั้งมีการบ่ายเบี่ยงหาผู้รับผิดชอบมาโดยตลอด จนเป็นเรื่องราวฟ้องร้องที่เกิดขึ้นกับบริษัทรักษาความปลอดภัย
“ข้อที่น่าสังเกตอีกประการคือของที่เข้าไปลักขโมยนั้นอยู่ภายใน ถ้าคนที่เข้าไปไม่ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้างก็ไม่มีทางเอาไปได้ ถ้าคนในไม่รู้เห็นเป็นใจก็ไม่มีทางเป็นไปได้ เมื่อเกิดเหตุก็พยายามจะไปเคลมกับบริษัทยาม เราได้สอบปากคำทั้งบริษัทรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่การรถไฟแล้วแต่ต่างก็บอกไม่รู้เรื่อง อย่างไรก็ตามเราพอทราบเบาะแสคนร้ายแล้วเพียงแต่ขาดหลักฐาน แต่เราก็มีวิธีการคาดว่าจะรู้ตัวไม่ช้านี้อย่างแน่นอน” แหล่งข่าว กล่าว
วันนี้ (1 ต.ค.) เมื่อเวลา 08.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายอาวุธ ศรีราเพ็ญ กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูเนี่ยนการ์ด จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณโรงงานมักกะสัน หรือโรงซ่อมหัวรถจักรมักกะสัน แขวงและเขตมักกะสัน กทม.ว่า ทางบริษัทได้ตรวจพบความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ เรื่องการนำวัสดุอุปกรณ์ออกจากพื้นที่ที่รับผิดชอบ จึงขอร้องทุกข์ผ่านทางสื่อมวลชนเพื่อตีแผ่ข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับทราบด้วย
นายอาวุธ กล่าวว่า เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น.วานนี้ (30 ก.ย.) ขณะที่ตนและ รปภ.ของทางบริษัท กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในป้อมยามด้านหน้าทางเข้าโรงงานมักกะสัน ก็ได้รับใบอุปกรณ์ส่งแขวงจากงานพัสดุอะไหล่หมุนเวียน จากเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ คนหนึ่งระบุว่า จะนำหัวลากมาพ่วงล้อราง 3 คัน ซึ่งบรรทุกวงล้อรถไฟจำนวน 44 คู่ ออกจากพื้นที่ไปส่งยังสถานีรถไฟบางซื่อ โดยมีกำหนดการเดินทางออกไปเวลา 21.00 น. แต่เมื่อถึงเวลานัดหมายตนได้ออกไปทำการตรวจสอบพบว่ามีทรัพย์สินที่เป็นรายละเอียดเกินจำนวนกับที่ระบุไว้ในใบอุปกรณ์ส่งแขวงฯ ประกอบด้วย ตู้โบกี้รถไฟเลขที่ ตญ.150972 ที่ปิดผนึกด้วยซีลตะกั่ว จำนวน 1 ตู้ และ ท่อนเหล็กความยาว 7 เมตร จำนวน 25 ท่อน น้ำหนักรวมประมาณ 25 ตัน ราคาในท้องตลาดตกกิโลกรัมละ 40-50 บาท ถูกนำมาวางบนล้อรางอีก 1 คัน จึงได้ทำการสั่งหยุดรถหัวลากและยึดเอาไว้ทั้งหมด
นายอาวุธ กล่าวอีกว่า จากนั้นตนได้ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ พ.บ.ป.6 ชื่อ นายวิชา นวลปลอด เพื่อแจ้งเรื่องไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นให้นายวิชารับทราบ โดยตนแจ้งความประสงค์ไปว่าจะขอเปิดตู้โบกี้ตรวจสอบทรัพย์สินที่มีอยู่ภายในต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟ ซึ่งเมื่อเปิดออกมาแล้วพบว่า ภายในตู้โบกี้ดังกล่าว มีแบตเตอรี่สภาพใหม่ ถังสี และสายไฟ เก็บอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ท่อนเหล็กที่พบทั้งหมดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดบอกถึงที่มาที่ไปได้ และยังพยายามบ่ายเบี่ยงด้วยการโยนหน้าที่กันไปมา โดยทิ้งระยะเวลาอยู่นานกว่าจะเอาเอกสารสำแดงทรัพย์สินที่อยู่ในตู้โบกี้มาให้ดู ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่า เป็นเอกสารที่เพิ่งจัดทำกันขึ้นหรือไม่ เพราะเมื่อวานนี้ตนไม่ได้รับเอกสารดังกล่าวเอาไว้ให้ตรวจสอบเลย
“ผมได้รับประมูลงานมาปฏิบัติงานที่นี่เมื่อวันที่ 1 ต.ค.50 และเพิ่งจะหมดสัญญาไปเมื่อวานนี้ ที่ผ่านมาผมถูกฝ่ายกฎหมายของการรถไฟฯ เรียกร้องค่าเสียหายเรื่องที่ทรัพย์สินถูกขโมยออกไปแล้วจำนวน 5 ล้านบาท โดยรายละเอียดของทรัพย์สินที่สูญหายไปส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบตเตอรี่ สายไฟ ทองแดง เหล็กหล่อ และ หม้อน้ำ ซึ่งถูกตรวจพบภายในตู้โบกี้ในวันนี้แทบทั้งนั้น แต่ขณะนี้การรถไฟฯ ได้ยึดเงินเดือนจำนวน 311,000 บาท ของบริษัทผมไปแล้ว 4 เดือน โดยอ้างว่ายึดไว้เป็นค่าเสียหาย ทั้งๆ ที่ผมไม่มีโอกาสได้ต่อสู้ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์เลย เพราะเรื่องฟ้องร้องที่เกิดขึ้นยังอยู่ที่ฝ่ายกฎหมายของการรถไฟฯ ไม่ได้นำเข้ากระบวนการศาลแต่อย่างใด” นายอาวุธ กล่าว
นายอาวุธ กล่าวทิ้งท้ายว่า ก่อนหน้าที่จะมารับประมูลงานที่โรงซ่อมหัวรถจักรมักกะสันแห่งนี้ ทราบข่าวว่ามีบริษัทรักษาความปลอดภัยถูกรังแกในลักษณะเช่นนี้มามากแล้ว ขนาดองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ยังถูกการรถไฟฯ เรียกร้องเอาค่าเสียหายในลักษณะนี้มาแล้วถึงกว่า 4 ล้านบาทเช่นกัน และเมื่อไม่จ่ายก็ใช้วิธียึดเงินเดือน และเมื่อหมดสัญญาจ้างก็จะเก็บข้าวของย้ายออกไปกันเอง เพราะคงไม่มีใครกล้าประมูลงานต่อ เนื่องจากถ้าได้กลับมาทำอีก ก็เท่ากับว่าทำใช้หนี้ให้ฟรีๆ ทุกเดือนจนกว่าจะหมด แต่ตนก็คงไม่ยอมจากไปแบบมือเปล่าแน่เพราะขณะนี้กำลังให้ทีมทนายความของบริษัทฯ ยื่นใบเตือนให้การรถไฟฯ จ่ายเงินเดือนที่ติดค้างตนอยู่จำนวน 1,244,000 บาทคืนมาภายใน 7 วัน หากไม่เป็นไปตามข้อเรียกร้องตนก็จะนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป
มีรายงานว่า การที่ฝ่ายกฏหมายของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดองเรื่องดังกล่าวไว้โดยไม่นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางชั้นศาลนั้นก็ด้วยเหตุผลที่ว่า หากมีการไต่สวนเรื่องดังกล่าวในชั้นศาลแล้ว อาจจะพบผู้บงการเรื่องทุจริตดังกล่าวระดับผู้ใหญ่ของการรถไฟหลายคนอยู่เบื้องหลัง จึงต้องเก็บเรื่องดังกล่าวไว้เอง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะที่กลุ่มผู้สื่อข่าวเข้าไปปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ พยายามขับไล่ให้ออกไปจากนอกพื้นที่ โดยอ้างว่ายังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากทางผู้บังคับบัญชาในการให้ข่าว ประกอบกับยังไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดกล้าแสดงตัวออกมารับผิดชอบในเรื่องที่เกิดขึ้นเลยแม้แต่รายเดียว
ในวันเดียวกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) แหล่งข่าวระดับสูงกล่าวถึงการสืบสวนติดตามขบวนการยักยอกอะไหล่ซ่อมรถไฟ ในโรงซ่อมมักกะสัน ซึ่งเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ว่า ข้อเท็จจริงของคดีที่เกิดขึ้นตำรวจสามารถดักจับได้ตลอดเวลา เพราะมีการลักขโมยในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งทางตำรวจก็ได้ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ในการติดกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจสอบเวลาที่คนร้ายเข้าไปขโมยอะไหล่ แต่ก็แปลกที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่เลย ทั้งมีการบ่ายเบี่ยงหาผู้รับผิดชอบมาโดยตลอด จนเป็นเรื่องราวฟ้องร้องที่เกิดขึ้นกับบริษัทรักษาความปลอดภัย
“ข้อที่น่าสังเกตอีกประการคือของที่เข้าไปลักขโมยนั้นอยู่ภายใน ถ้าคนที่เข้าไปไม่ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้างก็ไม่มีทางเอาไปได้ ถ้าคนในไม่รู้เห็นเป็นใจก็ไม่มีทางเป็นไปได้ เมื่อเกิดเหตุก็พยายามจะไปเคลมกับบริษัทยาม เราได้สอบปากคำทั้งบริษัทรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่การรถไฟแล้วแต่ต่างก็บอกไม่รู้เรื่อง อย่างไรก็ตามเราพอทราบเบาะแสคนร้ายแล้วเพียงแต่ขาดหลักฐาน แต่เราก็มีวิธีการคาดว่าจะรู้ตัวไม่ช้านี้อย่างแน่นอน” แหล่งข่าว กล่าว