ศาลนัดชี้ชะตาคดี "หญิงอ้อ" โอนหุ้นชินคอร์ปให้พี่ชายวันนี้ โดยก่อนหน้านี้เบิกความปากแข็งโอนให้ด้วยความเสน่ห์หาไม่ได้ใช้กลอุบายแอบซุกหุ้นฯ
วันนี้(31 ก.ค.) เวลา 09.00 น. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษกศาลนัดพิพากษาคู่ความในคดีหมายเลขดำที่ อ.1149/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ อดีตประธานกรรมการบริหารชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมานเป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐาน ร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 546 ล้านบาทจากหุ้นจำนวน 4.5 ล้านหุ้นซึ่งมีหุ้นมูลค่า 738 ล้านบาท โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยใช้กลอุบาย อันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) (2) และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91 เพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องอำนาจการสืบสวนคดีของ คตส.ประกาศ ตาม คปค.ฉบับที่ 30
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 26 มี.ค.50 โดยใช้โจทก์นำสืบพยานกว่า 30 ปาก ทั้งในส่วนของ คตส. อาทิ นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนการชำระภาษีอากรหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) , เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร , นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อดีตปลัดกระทรวงการคลังและอดีตอธิบดีกรมสรรพากร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง, น.ส.ปนัดดา พ่วงพลับ คณะกรรมการพิจารณาวินัย กระทรวงคลัง และเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์ ขณะที่ฝ่ายจำเลย นำสืบพยานร่วม 20 ปาก ต่อสู้คดี โดยมีนายบรรณพจน์ คุณหญิงพจมาน และนางกาญจนาภา จำเลยทั้งสาม ขึ้นเบิกความ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร และ อดีตเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ซึ่งจำเลยทั้งสาม ต่างยืนกรานให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ทั้งนี้ วันที่ 18 เม.ย. คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยคดีซุกหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ ได้ขึ้นศาลเบิกความ พร้อมกับยืนยันว่าได้โอนหุ้นให้นายบรรณพจน์ พี่ชายต่างมารดาโดยเสน่หา ไม่ได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษี พร้อมทั้งขอศาลสืบพิจารณาคดีลับ เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกล่วงรู้พฤติกรรมกลโกง และ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 51 นายบรรณพจน์ ได้เดินทางขึ้นศาล เบิกความปากสุดท้าย ในคดีเลี่ยงภาษีโอนหุ้นชินฯ 546 ล้านบาท โดยได้กล่าวย้ำว่ารับโอนหุ้น จากคุณหญิงพจมาน 4.5 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นของขวัญแต่งงาน และได้รับการยกเว้นภาษี
อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 51 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่าประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะคปค.เป็นผู้มีอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงมีอำนาจที่จะออกกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การแต่งตั้ง คตส. ก็เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้ คตส.สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ แต่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาประกาศ และคำสั่งของ คปค.หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะ คปค.ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 ก.ย.49 จนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญก็ได้รองรับไว้
ศาลออกกฏเหล็กคุมเข้มวันชี้ชะตา"หญิงอ้อ"!ทีวีวงจรปิดถ่ายทอดสด ห้ามม็อบต้าน-เชียร์
วันนี้(31 ก.ค.) เวลา 09.00 น. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษกศาลนัดพิพากษาคู่ความในคดีหมายเลขดำที่ อ.1149/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ อดีตประธานกรรมการบริหารชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมานเป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐาน ร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 546 ล้านบาทจากหุ้นจำนวน 4.5 ล้านหุ้นซึ่งมีหุ้นมูลค่า 738 ล้านบาท โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยใช้กลอุบาย อันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) (2) และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91 เพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องอำนาจการสืบสวนคดีของ คตส.ประกาศ ตาม คปค.ฉบับที่ 30
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 26 มี.ค.50 โดยใช้โจทก์นำสืบพยานกว่า 30 ปาก ทั้งในส่วนของ คตส. อาทิ นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนการชำระภาษีอากรหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) , เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร , นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อดีตปลัดกระทรวงการคลังและอดีตอธิบดีกรมสรรพากร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง, น.ส.ปนัดดา พ่วงพลับ คณะกรรมการพิจารณาวินัย กระทรวงคลัง และเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์ ขณะที่ฝ่ายจำเลย นำสืบพยานร่วม 20 ปาก ต่อสู้คดี โดยมีนายบรรณพจน์ คุณหญิงพจมาน และนางกาญจนาภา จำเลยทั้งสาม ขึ้นเบิกความ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร และ อดีตเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ซึ่งจำเลยทั้งสาม ต่างยืนกรานให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ทั้งนี้ วันที่ 18 เม.ย. คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยคดีซุกหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ ได้ขึ้นศาลเบิกความ พร้อมกับยืนยันว่าได้โอนหุ้นให้นายบรรณพจน์ พี่ชายต่างมารดาโดยเสน่หา ไม่ได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษี พร้อมทั้งขอศาลสืบพิจารณาคดีลับ เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกล่วงรู้พฤติกรรมกลโกง และ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 51 นายบรรณพจน์ ได้เดินทางขึ้นศาล เบิกความปากสุดท้าย ในคดีเลี่ยงภาษีโอนหุ้นชินฯ 546 ล้านบาท โดยได้กล่าวย้ำว่ารับโอนหุ้น จากคุณหญิงพจมาน 4.5 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นของขวัญแต่งงาน และได้รับการยกเว้นภาษี
อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 51 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่าประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะคปค.เป็นผู้มีอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงมีอำนาจที่จะออกกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การแต่งตั้ง คตส. ก็เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้ คตส.สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ แต่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาประกาศ และคำสั่งของ คปค.หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะ คปค.ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 ก.ย.49 จนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญก็ได้รองรับไว้
ศาลออกกฏเหล็กคุมเข้มวันชี้ชะตา"หญิงอ้อ"!ทีวีวงจรปิดถ่ายทอดสด ห้ามม็อบต้าน-เชียร์