ดีเอสไอเรียกผู้บริหารบริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้ปากคำคดียักยอกทรัพย์บริษัท ธนสิน เตรียมฟ้องศาลเรียงกระทงลงโทษ ขณะที่ดีเอสไอเสนอ ครม.ขยายอำนาจสอบสวนอีก 10 คดี
วันนี้ (29 ก.ค.) พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผอ.ส่วนคดีการเงินการธนาคาร สำนักคดีการเงินและการธนาคาร ดีเอสไอ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสอบสวนคดียักยอกทรัพย์ บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) จนเป็นเหตุให้บริษัทประกันภัยต้องถูกระงับกิจการ มูลค่าความเสียหาย 300 ล้านบาทว่า ดีเอสไอได้รับคดียักยอกทรัพย์บริษัท ธนสินประกันภัย ไว้เป็นคดีพิเศษเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 จากนั้นได้สอบปากคำพยานและรวบรวมเอกสารหลักฐานทางบัญชี
ล่าสุด พนักงานสอบสวนได้มีหมายเรียกนายสุรศักดิ์ เกียรติกำจร กรรมการผู้จัดการ นายธนัท พรหเมศ น.ส.สุทิศา เข็มประดับ กรรมการผู้มีอำนาจ และนายภาณุวัฒน์ วรพิชญางกูร กรรมการบริษัท มารับทราบข้อกล่าวหาฐานยักยอกทรัพย์ และทำบัญชีอันเป็นเท็จเพื่อหลอกลวงกรมการประกันภัย โดยคดีมีความผิดอาญาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่คดีนี้มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง จึงต้องฟ้องคดีให้ศาลเรียงกระทงลงโทษ
พ.ต.ท.วรรณพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีบริษัท ธนสินประกันภัย กรมการประกันภัยได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษไว้กับกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2549 เนื่องจากกรมการประกันภัยตรวจสอบพบว่า บริษัทถอนเงินที่สั่งให้เพิ่มทุน 300 ล้านบาท ออกไปจากบัญชี ทำให้บริษัทค้างจ่ายค่ากรมธรรม์ประกันภัยโดยมีหลักฐานน่าเชื่อว่ามีการทุจริตยักยอกเงินออกไปจากบัญชีบริษัท มีการรายงานบัญชีอันเป็นเท็จ ทั้งนี้ กรรมการบริษัทอ้างว่านำไปเงินไปลงทุนซื้อหุ้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะบริษัท ธนสินประกันภัย เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
“กรณีบริษัท ธนสินประกันภัย กรมการประกันภัยตรวจสอบพบเร็วทำให้มีความเสียหาย 300 ล้านบาท ส่วนคดียักยอกทรัพย์ในบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยที่มีความเสียหายมากกว่า 1,000 ล้านบาท และดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษเช่นกัน ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีย้อนหลังทั้งหมด” พ.ต.ท.วรรณพงษ์ กล่าว
รายงานจากดีเอสไอแจ้งว่า ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เตรียมเพิ่ม พ.ร.บ.แนบท้าย ประกอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขยายอำนาจในการสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ 10 คดี ประกอบด้วย คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งรวมกับกฎหมายเก่า ดีเอสไอจะมีอำนาจสอบสวนทั้งสิ้น 37 ฉบับ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกฎหมายบางอย่างที่ยังไม่ระบุชัดเจนตามบัญชีแนบท้าย
รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังมีการเสนอกฎหมายเพิ่มเติ่มของดีเอสไอครั้งนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกิดข้อสงสัยในหลายประเด็น เพราะมีหลายคดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของ สตช.จะมีผลให้บทบาทการสอบสวนของ สตช.ในคดีดังกล่าวมีความซ้ำซ้อนหรือไม่ ดังนั้นจึงส่ง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ไปชี้แจงถึงสาเหตุการขอเพิ่ม พ.ร.บ.แนบท้ายดังกล่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
วันนี้ (29 ก.ค.) พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผอ.ส่วนคดีการเงินการธนาคาร สำนักคดีการเงินและการธนาคาร ดีเอสไอ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสอบสวนคดียักยอกทรัพย์ บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) จนเป็นเหตุให้บริษัทประกันภัยต้องถูกระงับกิจการ มูลค่าความเสียหาย 300 ล้านบาทว่า ดีเอสไอได้รับคดียักยอกทรัพย์บริษัท ธนสินประกันภัย ไว้เป็นคดีพิเศษเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 จากนั้นได้สอบปากคำพยานและรวบรวมเอกสารหลักฐานทางบัญชี
ล่าสุด พนักงานสอบสวนได้มีหมายเรียกนายสุรศักดิ์ เกียรติกำจร กรรมการผู้จัดการ นายธนัท พรหเมศ น.ส.สุทิศา เข็มประดับ กรรมการผู้มีอำนาจ และนายภาณุวัฒน์ วรพิชญางกูร กรรมการบริษัท มารับทราบข้อกล่าวหาฐานยักยอกทรัพย์ และทำบัญชีอันเป็นเท็จเพื่อหลอกลวงกรมการประกันภัย โดยคดีมีความผิดอาญาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่คดีนี้มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง จึงต้องฟ้องคดีให้ศาลเรียงกระทงลงโทษ
พ.ต.ท.วรรณพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีบริษัท ธนสินประกันภัย กรมการประกันภัยได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษไว้กับกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2549 เนื่องจากกรมการประกันภัยตรวจสอบพบว่า บริษัทถอนเงินที่สั่งให้เพิ่มทุน 300 ล้านบาท ออกไปจากบัญชี ทำให้บริษัทค้างจ่ายค่ากรมธรรม์ประกันภัยโดยมีหลักฐานน่าเชื่อว่ามีการทุจริตยักยอกเงินออกไปจากบัญชีบริษัท มีการรายงานบัญชีอันเป็นเท็จ ทั้งนี้ กรรมการบริษัทอ้างว่านำไปเงินไปลงทุนซื้อหุ้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะบริษัท ธนสินประกันภัย เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
“กรณีบริษัท ธนสินประกันภัย กรมการประกันภัยตรวจสอบพบเร็วทำให้มีความเสียหาย 300 ล้านบาท ส่วนคดียักยอกทรัพย์ในบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยที่มีความเสียหายมากกว่า 1,000 ล้านบาท และดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษเช่นกัน ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีย้อนหลังทั้งหมด” พ.ต.ท.วรรณพงษ์ กล่าว
รายงานจากดีเอสไอแจ้งว่า ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เตรียมเพิ่ม พ.ร.บ.แนบท้าย ประกอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขยายอำนาจในการสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ 10 คดี ประกอบด้วย คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งรวมกับกฎหมายเก่า ดีเอสไอจะมีอำนาจสอบสวนทั้งสิ้น 37 ฉบับ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกฎหมายบางอย่างที่ยังไม่ระบุชัดเจนตามบัญชีแนบท้าย
รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังมีการเสนอกฎหมายเพิ่มเติ่มของดีเอสไอครั้งนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกิดข้อสงสัยในหลายประเด็น เพราะมีหลายคดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของ สตช.จะมีผลให้บทบาทการสอบสวนของ สตช.ในคดีดังกล่าวมีความซ้ำซ้อนหรือไม่ ดังนั้นจึงส่ง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ไปชี้แจงถึงสาเหตุการขอเพิ่ม พ.ร.บ.แนบท้ายดังกล่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)