“นัทธี จิตสว่าง” รับมอบงานกรมราชทัณฑ์วันแรก พร้อมดึงทีมงานชุดเก่าคุมคุกยาเสพติด เปิดทางตำรวจปล่อยโทร.มือถือเข้าคุกขยายผลล่อซื้อนักค้ารายใหญ่
วันนี้ (21 ก.ค.) ที่กรมราชทัณฑ์ นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เดินทางเข้ารับมอบงานอธิบดีกรมราชทัณฑ์อีกครั้ง พร้อมพบปะพูดคุยกับข้าราชการเป็นเวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นข้าราชการได้มอบดอกกุหลาบต้อนรับการกลับมาทำงานในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์อีกครั้ง โดย นายนัทธี กล่าวว่า ตนจะกลับมาสานต่องานที่เคยทำไว้ รวมถึงงานที่นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ เคยทำไว้ในขณะที่เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งงานต่างๆ กำลังเป็นไปด้วยดี และในช่วงที่ตนทำงานที่กรมคุมประพฤติทำให้ได้มุมมองในฐานะคนนอกทำให้ได้วิสัยทัศน์ใหม่ในการทำงานจากเดิมที่อาจมองข้ามไปบ้าง
นายนัทธี กล่าวถึงนโยบายแก้ปัญหายาเสพติดในเรือนจำ ว่า หลังจากนี้ จะต้องใช้บุคลากรให้เหมาะสมกับงาน โดยจะนำบุคลากรที่เคยทำงานด้านยาเสพติดในเรือนจำกลับมาทำงานในหน้าที่เดิม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่หลายส่วนได้ขอย้ายออกจากเรือนจำ เพราะกลัวจะถูกร้องเรียน และอาจทำให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจผิด แต่เมื่อตนกลับเข้ามาเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ บุคลากรดังกล่าวก็พร้อมจะกลับมาทำงานอีกครั้ง เนื่องจากบุคลากรเหล่านั้นสามารถควบคุมนักโทษคดียาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเชื่อใจกันในการทำงานสามารถสร้างสายข่าวในเรือนจำ นอกจากนี้จะเร่งฝึกผู้คุมชุดใหม่ให้ทำงานมีประสิทธิภาพและไว้ใจได้ เพื่อส่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในเรือนจำความมั่นคงสูง
นายนัทธี กล่าวอีกว่า การประสานงานด้านการปราบปรามยาเสพติดกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะการล่อซื้อยาเสพติดจากผู้ต้องขังที่อาจต้องปล่อยให้มีการลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือจากในเรือนจำต่อไป จึงไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ว่าจะต้องแก้ปัญหาให้หมดสิ้นไปได้ภายใน 3 เดือน สำหรับเครื่องมือในการป้องกัน เช่น อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์ หรือเครื่องเอกซเรย์เพื่อตรวจค้นยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือ เห็นว่า เท่าที่มีอยู่เพียงพอแล้วแต่จะเน้นให้ความสำคัญไปที่ตัวเจ้าหน้าที่มากกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์



วันนี้ (21 ก.ค.) ที่กรมราชทัณฑ์ นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เดินทางเข้ารับมอบงานอธิบดีกรมราชทัณฑ์อีกครั้ง พร้อมพบปะพูดคุยกับข้าราชการเป็นเวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นข้าราชการได้มอบดอกกุหลาบต้อนรับการกลับมาทำงานในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์อีกครั้ง โดย นายนัทธี กล่าวว่า ตนจะกลับมาสานต่องานที่เคยทำไว้ รวมถึงงานที่นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ เคยทำไว้ในขณะที่เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งงานต่างๆ กำลังเป็นไปด้วยดี และในช่วงที่ตนทำงานที่กรมคุมประพฤติทำให้ได้มุมมองในฐานะคนนอกทำให้ได้วิสัยทัศน์ใหม่ในการทำงานจากเดิมที่อาจมองข้ามไปบ้าง
นายนัทธี กล่าวถึงนโยบายแก้ปัญหายาเสพติดในเรือนจำ ว่า หลังจากนี้ จะต้องใช้บุคลากรให้เหมาะสมกับงาน โดยจะนำบุคลากรที่เคยทำงานด้านยาเสพติดในเรือนจำกลับมาทำงานในหน้าที่เดิม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่หลายส่วนได้ขอย้ายออกจากเรือนจำ เพราะกลัวจะถูกร้องเรียน และอาจทำให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจผิด แต่เมื่อตนกลับเข้ามาเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ บุคลากรดังกล่าวก็พร้อมจะกลับมาทำงานอีกครั้ง เนื่องจากบุคลากรเหล่านั้นสามารถควบคุมนักโทษคดียาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเชื่อใจกันในการทำงานสามารถสร้างสายข่าวในเรือนจำ นอกจากนี้จะเร่งฝึกผู้คุมชุดใหม่ให้ทำงานมีประสิทธิภาพและไว้ใจได้ เพื่อส่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในเรือนจำความมั่นคงสูง
นายนัทธี กล่าวอีกว่า การประสานงานด้านการปราบปรามยาเสพติดกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะการล่อซื้อยาเสพติดจากผู้ต้องขังที่อาจต้องปล่อยให้มีการลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือจากในเรือนจำต่อไป จึงไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ว่าจะต้องแก้ปัญหาให้หมดสิ้นไปได้ภายใน 3 เดือน สำหรับเครื่องมือในการป้องกัน เช่น อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์ หรือเครื่องเอกซเรย์เพื่อตรวจค้นยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือ เห็นว่า เท่าที่มีอยู่เพียงพอแล้วแต่จะเน้นให้ความสำคัญไปที่ตัวเจ้าหน้าที่มากกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์