เจ้าหน้าที่ สคบ.หอบหลักฐานเพิ่มเติม มัดเสี่ยอู๊ดคดีพระสมเด็จเหนือหัว ต่อดีเอสไอ กรณีโฆษณาเกินจริง คาดไม่เกินสองสัปดาห์ สามารถสรุปสำนวนสั่งฟ้องได้
วันนี้ (22 เม.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ สคบ.นำมติของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) และเอกสารการโฆษณาการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ นายสิทธิกร บุญฉิม หรือ เสี่ยอู๊ด กรรมการผู้มีอำนาจผูกพันบริษัท ไดมอนด์ ฮิลล์ จำกัด ผู้จัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ต่อ นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย ผบ.สำนักงานคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดีเอสไอ หลังที่ประชุม คคบ.ซึ่งมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้ลงมติว่าการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ของนายสิทธกร บุญฉิม เข้าข่ายโฆษณาขายสินค้าเกินความตาม ม.47 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 หลังพบว่ามีการโฆษณาแอบอ้างว่า ได้รับมวลสารพระราชทานจากเบื้องสูงในการจัดสร้าง และมีการใช้ตราลักษณะคล้ายพระมหามงกุฎประกอบด้วยหลังด้านองค์พระ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อตัดสินใจเช่าพระรุ่นดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย ผบ.สำนักงานคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว กล่าวว่า การเข้าร้องทุกข์ของ สคบ.จะทำให้สำนวนการสอบสวนคดีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัวของดีเอสไอ มีความรอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาทาง สคบ.เข้าใจผิดว่า เมื่อดีเอสไอเข้าดำเนินคดีดังกล่าว สคบ.ไม่ต้องดำเนินการอีก ทำให้เพิ่งเข้าร้องทุกข์ ส่วนความคืบหน้าการสอบสวนคดีดังกล่าว ขณะนี้ชุดสืบสวนสอบสวนอยู่ระหว่างสอบปากคำพยานในต่างจังหวัด คาดว่า อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จะเรียกประชุมพนักงานสอบสวนคดีพระสมเด็จเหนือหัว เพื่อพิจารณาสรุปสำนวนสั่งฟ้องต่อไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยอดเงินหรือจำนวนผู้เช่าพระสมเด็จเหนือหัวของทั่วประเทศ คงต้องรอผลสรุปอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
สำหรับคดีพระสมเด็จเหนือหัว ดีเอสไอ ได้เข้าดำเนินคดีนายสิทธิกร บุญฉิม หรือเสี่ยอู๊ด กรรมการบริษัท ไดมอนด์ ฮิลล์ จำกัด ผู้จัดสร้างพระดังกล่าว 2 ข้อหา ประกอบด้วย โฆษณาขายสินค้าเกินความจริงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และข้อหาฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา หลังสำนักพระราชวัง แจ้งให้ดีเอสไอเข้าตรวจสอบกรณีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว หลังพบว่ามีการแอบอ้างเบื้องสูงในการโฆษณาเช่าพระดังกล่าวอย่างครึกโคมทั่วประเทศ จนเป็นคดีอื้อฉาวโด่งดังเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
วันนี้ (22 เม.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ สคบ.นำมติของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) และเอกสารการโฆษณาการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ นายสิทธิกร บุญฉิม หรือ เสี่ยอู๊ด กรรมการผู้มีอำนาจผูกพันบริษัท ไดมอนด์ ฮิลล์ จำกัด ผู้จัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ต่อ นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย ผบ.สำนักงานคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดีเอสไอ หลังที่ประชุม คคบ.ซึ่งมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้ลงมติว่าการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ของนายสิทธกร บุญฉิม เข้าข่ายโฆษณาขายสินค้าเกินความตาม ม.47 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 หลังพบว่ามีการโฆษณาแอบอ้างว่า ได้รับมวลสารพระราชทานจากเบื้องสูงในการจัดสร้าง และมีการใช้ตราลักษณะคล้ายพระมหามงกุฎประกอบด้วยหลังด้านองค์พระ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อตัดสินใจเช่าพระรุ่นดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย ผบ.สำนักงานคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว กล่าวว่า การเข้าร้องทุกข์ของ สคบ.จะทำให้สำนวนการสอบสวนคดีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัวของดีเอสไอ มีความรอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาทาง สคบ.เข้าใจผิดว่า เมื่อดีเอสไอเข้าดำเนินคดีดังกล่าว สคบ.ไม่ต้องดำเนินการอีก ทำให้เพิ่งเข้าร้องทุกข์ ส่วนความคืบหน้าการสอบสวนคดีดังกล่าว ขณะนี้ชุดสืบสวนสอบสวนอยู่ระหว่างสอบปากคำพยานในต่างจังหวัด คาดว่า อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จะเรียกประชุมพนักงานสอบสวนคดีพระสมเด็จเหนือหัว เพื่อพิจารณาสรุปสำนวนสั่งฟ้องต่อไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยอดเงินหรือจำนวนผู้เช่าพระสมเด็จเหนือหัวของทั่วประเทศ คงต้องรอผลสรุปอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
สำหรับคดีพระสมเด็จเหนือหัว ดีเอสไอ ได้เข้าดำเนินคดีนายสิทธิกร บุญฉิม หรือเสี่ยอู๊ด กรรมการบริษัท ไดมอนด์ ฮิลล์ จำกัด ผู้จัดสร้างพระดังกล่าว 2 ข้อหา ประกอบด้วย โฆษณาขายสินค้าเกินความจริงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และข้อหาฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา หลังสำนักพระราชวัง แจ้งให้ดีเอสไอเข้าตรวจสอบกรณีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว หลังพบว่ามีการแอบอ้างเบื้องสูงในการโฆษณาเช่าพระดังกล่าวอย่างครึกโคมทั่วประเทศ จนเป็นคดีอื้อฉาวโด่งดังเมื่อปลายปีที่ผ่านมา