ผู้ประกอบการธุรกิจป้ายโฆษณา “ฮัลโล บางกอก ไตรวิชั่น” เรียกร้องบริษัทป้ายโฆษณาขนาดใหญ่รับผิดชอบต่อสังคม ย้ำหน่วยงานรัฐเข้มงวดรื้อถอนป้ายไม่ได้มาตรฐาน หวั่นเกิดเหตุซ้ำรอยป้ายโฆษณาสนามกอล์ฟ ล้มทับแคดดี้เสียชีวิต วอนผู้ประกอบการหยุดวิ่งเต้นล็อบบี้ยัดใต้โต๊ะติดตั้งป้ายที่จะสร้างความเสียหายแก่ส่วนรวม
จากเหตุการณ์ที่เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อคืนที่ผ่านมา (31 มี.ค.) เป็นเหตุให้เสาไฟฟ้าโค่นล้มกว่า 29 ต้น ทำให้บ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับความเสียหาย รวมทั้งมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย นอกจากนี้ ยังมีป้ายโฆษณาโครงเหล็กขนาดใหญ่ของสนามกอล์ฟนอร์ธเทิร์น ล้มทับร่าง น.ส.ปิยนันท์ คำแสงอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นแคดดี้ของสนามกอล์ฟดังกล่าวเสียชีวิตคาที่ ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน นั้น
วันนี้ (1 เม.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่อาคารไชโย เลขที่ 91/1 ถนนพระรามเก้า แขวงและเขตห้วยขวาง กทม.นายกิติชัย ศรีจำเริญ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสูงสุด บริษัท ฮัลโล บางกอก ไตรวิชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกอบการป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ออกมาแถลงเรียกร้องให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจป้ายโฆษณา ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
นายกิติชัย กล่าวว่า แม้ว่าป้ายโฆษณาของบริษัทตนจะยังไม่เกิดเหตุเลวร้ายอย่างที่เคยมีข่าวมา แต่ตนอยากจะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการทั้งหมดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากป้ายโฆษณา อันเป็นผลพวงมาจากภัยธรรมชาติโดยเฉพาะพายุฤดูร้อนในช่วงนี้ ผู้ประกอบการทั้งหมดควรยอมรับความจริง และรื้อถอนป้ายโฆษณาออกจากโครงเหล็กขนาดใหญ่ในช่วงที่มีพายุฤดูร้อน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอีก โดยป้ายโฆษณาในต่างจังหวัดกับในกรุงเทพฯสร้างความเสียหายที่แตกต่างกัน ป้ายโฆษณาในต่างจังหวัดมักจะอยู่ในที่โล่งติดข้างทางซึ่งไม่อันตรายมากเท่าในกรุงเทพฯ เพราะในกรุงเทพฯประกอบไปด้วยอาคารสูงใหญ่ บ้านเรือน ท้องถนนที่มีการจราจรหนาแน่นมีโอกาสเกิดอันตรายสูง
นายกิติชัย กล่าวอีกว่า หลังจากบริษัทของตนถูกทางหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีหนังสือแจ้งมาเพื่อให้เร่งรื้อถอนป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมายหรือไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.2551 และต้องดำเนินการรื้อถอนป้ายโฆษณาทั้งหมด 60 โครงป้ายภายในไม่เกินวันที่ 15 เมษายนนี้ ซึ่งตนก็ยินดีทำตามพร้อมที่จะรื้อถอนให้ และขณะนี้ได้ทำการรื้อถอนไปแล้วจำนวน 14 โครงป้าย โดยในล็อตแรกมีคำสั่งรื้อจำนวน 16 ป้าย
“ผมยอมเสียเงินรายได้กว่า 14 ล้านบาทต่อเดือน ในการรื้อถอนป้ายโฆษณาออก 16 โครงป้าย เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อประชนชน ซึ่งบริษัทผมมีป้ายโฆษณาทั้งหมด 277 ป้าย สำหรับป้ายที่ผิดกฎหมายและทางภาครัฐมีใบแจ้งให้ดำเนินการรื้อถอน ผมก็จะดำเนินการรื้อถอนตามคำสั่ง เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้อง แต่ผมอยากให้ผู้ประกอบการรายอื่นให้ความร่วมมือ อย่าไปวิ่งเต้นหาทางลอบบี้คนที่มีอำนาจในการต่อรองไม่ให้มีการรื้อถอนป้ายของตัวเอง และต่อไปก็จะมีป้ายโฆษณาล้มพังสร้างความเสียหายอีกมากหากยังไม่ปฏิบัติตามกฎ เพราะช่วงนี้เป็นหน้าร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อนบ่อยมาก ป้ายที่ว่าสร้างแข็งแรงแค่ไหนก็ต้านไม่อยู่” นายกิติชัย กล่าว
นายกิติชัย กล่าวด้วยว่า หน่วยงานของรัฐควรออกมาควบคุมเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังโดยไม่มีข้อยกเว้น หรือเลือกปฏิบัติ ซึ่งในขณะนี้ยังมีผู้ประกอบการหลายรายพยายามล็อบบี้ด้วยการระดมเงินจ่ายให้กับผู้มีอำนาจในการต่อรองไม่ให้รื้อถอน ตนอยากให้กระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นกับสังคมบ้านเรา และให้ผู้ประกอบกาธุรกิจป้ายโฆษณาทุกรายยอมรับข้อเท็จจริง ให้ปฏิบัติตามคำสั่งรื้อของภาครัฐ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกิติชัย ได้อ้างถึงผลงานการวิจัยเรื่องแรงลมที่มีผลต่อป้ายโฆษณา ของ รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ที่กล่าวผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนเป็นเหตุให้สภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น การเกิดพายุฝน หรือลมกระโชกแรงก็ส่งผลกระทบต่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ หากกฎหมายใหม่ที่พยายามผลักดันกันอยู่เพื่อควบคุมอาคารและป้ายโฆษณาก็จะสร้างมาตรฐานและความปลอดภัยขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพราะแทบทุกครั้งที่เกิดพายุฝนรุนแรงก็จะมีป้ายโฆษณาล้มอยู่เสมอ แต่หลายครั้งไม่เป็นข่าวเพราะไม่มีคนเสียชีวิต
แม้จะมีการสร้างป้ายให้ได้ตามมาตรฐานแล้วแต่ก็ยังไม่แข็งแรงพอ เพราะแรงลมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการออกแบบโครงสร้างป้ายที่กำหนดไว้ ไม่สามารถต้านแรงลมได้จริงในประเทศไทย จากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเทียบกับสภาพความเป็นจริง แรงลมสูงสุดในประเทศไทยมีค่าตั้งแต่ 107-193 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในขณะที่ป้ายขนาดใหญ่ทั่วไปสูงตั้งแต่ 10-40 เมตร ถูกออกแบบให้รับแรงลมเพียง 80-120 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเท่านั้น
จากเหตุการณ์ที่เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อคืนที่ผ่านมา (31 มี.ค.) เป็นเหตุให้เสาไฟฟ้าโค่นล้มกว่า 29 ต้น ทำให้บ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับความเสียหาย รวมทั้งมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย นอกจากนี้ ยังมีป้ายโฆษณาโครงเหล็กขนาดใหญ่ของสนามกอล์ฟนอร์ธเทิร์น ล้มทับร่าง น.ส.ปิยนันท์ คำแสงอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นแคดดี้ของสนามกอล์ฟดังกล่าวเสียชีวิตคาที่ ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน นั้น
วันนี้ (1 เม.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่อาคารไชโย เลขที่ 91/1 ถนนพระรามเก้า แขวงและเขตห้วยขวาง กทม.นายกิติชัย ศรีจำเริญ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสูงสุด บริษัท ฮัลโล บางกอก ไตรวิชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกอบการป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ออกมาแถลงเรียกร้องให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจป้ายโฆษณา ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
นายกิติชัย กล่าวว่า แม้ว่าป้ายโฆษณาของบริษัทตนจะยังไม่เกิดเหตุเลวร้ายอย่างที่เคยมีข่าวมา แต่ตนอยากจะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการทั้งหมดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากป้ายโฆษณา อันเป็นผลพวงมาจากภัยธรรมชาติโดยเฉพาะพายุฤดูร้อนในช่วงนี้ ผู้ประกอบการทั้งหมดควรยอมรับความจริง และรื้อถอนป้ายโฆษณาออกจากโครงเหล็กขนาดใหญ่ในช่วงที่มีพายุฤดูร้อน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอีก โดยป้ายโฆษณาในต่างจังหวัดกับในกรุงเทพฯสร้างความเสียหายที่แตกต่างกัน ป้ายโฆษณาในต่างจังหวัดมักจะอยู่ในที่โล่งติดข้างทางซึ่งไม่อันตรายมากเท่าในกรุงเทพฯ เพราะในกรุงเทพฯประกอบไปด้วยอาคารสูงใหญ่ บ้านเรือน ท้องถนนที่มีการจราจรหนาแน่นมีโอกาสเกิดอันตรายสูง
นายกิติชัย กล่าวอีกว่า หลังจากบริษัทของตนถูกทางหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีหนังสือแจ้งมาเพื่อให้เร่งรื้อถอนป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมายหรือไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.2551 และต้องดำเนินการรื้อถอนป้ายโฆษณาทั้งหมด 60 โครงป้ายภายในไม่เกินวันที่ 15 เมษายนนี้ ซึ่งตนก็ยินดีทำตามพร้อมที่จะรื้อถอนให้ และขณะนี้ได้ทำการรื้อถอนไปแล้วจำนวน 14 โครงป้าย โดยในล็อตแรกมีคำสั่งรื้อจำนวน 16 ป้าย
“ผมยอมเสียเงินรายได้กว่า 14 ล้านบาทต่อเดือน ในการรื้อถอนป้ายโฆษณาออก 16 โครงป้าย เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อประชนชน ซึ่งบริษัทผมมีป้ายโฆษณาทั้งหมด 277 ป้าย สำหรับป้ายที่ผิดกฎหมายและทางภาครัฐมีใบแจ้งให้ดำเนินการรื้อถอน ผมก็จะดำเนินการรื้อถอนตามคำสั่ง เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้อง แต่ผมอยากให้ผู้ประกอบการรายอื่นให้ความร่วมมือ อย่าไปวิ่งเต้นหาทางลอบบี้คนที่มีอำนาจในการต่อรองไม่ให้มีการรื้อถอนป้ายของตัวเอง และต่อไปก็จะมีป้ายโฆษณาล้มพังสร้างความเสียหายอีกมากหากยังไม่ปฏิบัติตามกฎ เพราะช่วงนี้เป็นหน้าร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อนบ่อยมาก ป้ายที่ว่าสร้างแข็งแรงแค่ไหนก็ต้านไม่อยู่” นายกิติชัย กล่าว
นายกิติชัย กล่าวด้วยว่า หน่วยงานของรัฐควรออกมาควบคุมเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังโดยไม่มีข้อยกเว้น หรือเลือกปฏิบัติ ซึ่งในขณะนี้ยังมีผู้ประกอบการหลายรายพยายามล็อบบี้ด้วยการระดมเงินจ่ายให้กับผู้มีอำนาจในการต่อรองไม่ให้รื้อถอน ตนอยากให้กระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นกับสังคมบ้านเรา และให้ผู้ประกอบกาธุรกิจป้ายโฆษณาทุกรายยอมรับข้อเท็จจริง ให้ปฏิบัติตามคำสั่งรื้อของภาครัฐ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกิติชัย ได้อ้างถึงผลงานการวิจัยเรื่องแรงลมที่มีผลต่อป้ายโฆษณา ของ รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ที่กล่าวผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนเป็นเหตุให้สภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น การเกิดพายุฝน หรือลมกระโชกแรงก็ส่งผลกระทบต่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ หากกฎหมายใหม่ที่พยายามผลักดันกันอยู่เพื่อควบคุมอาคารและป้ายโฆษณาก็จะสร้างมาตรฐานและความปลอดภัยขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพราะแทบทุกครั้งที่เกิดพายุฝนรุนแรงก็จะมีป้ายโฆษณาล้มอยู่เสมอ แต่หลายครั้งไม่เป็นข่าวเพราะไม่มีคนเสียชีวิต
แม้จะมีการสร้างป้ายให้ได้ตามมาตรฐานแล้วแต่ก็ยังไม่แข็งแรงพอ เพราะแรงลมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการออกแบบโครงสร้างป้ายที่กำหนดไว้ ไม่สามารถต้านแรงลมได้จริงในประเทศไทย จากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเทียบกับสภาพความเป็นจริง แรงลมสูงสุดในประเทศไทยมีค่าตั้งแต่ 107-193 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในขณะที่ป้ายขนาดใหญ่ทั่วไปสูงตั้งแต่ 10-40 เมตร ถูกออกแบบให้รับแรงลมเพียง 80-120 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเท่านั้น