ยกฟ้อง ศิลปินแห่งชาติ ครูเพลงชื่อดัง “ ชาลี อินทรวิจิตร “ ถูกเจ้าของค่ายเพลงกล่าวหา ฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ ศาลชี้ ขาดเจตนา เข้าใจผิด เจ้าตัวปลุกนักแต่งเพลงลุกขึ้นสู้ค่ายเทป
วันนี้ ( 20 มี.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องพิจารณา 813 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีดำที่ อ.334/2549 ที่บริษัท กมลสุโกศล จำกัด , น.ส.เลียบ เธียรประสิทธิ์ , นางกมลา สุโกศล และบริษัท บางกอกคาสเสท จำกัด ผู้ผลิต จัดจำหน่าย เทป และซีดี เพลง เจ้าของค่ายเพลง “แม่ไม้เพลงไทย” ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ และนักประพันธ์เพลงลูกกรุงชื่อดัง เป็นจำเลย ในความผิดฐานฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 กรณีเมื่อวันที่ 9 ม.ค.47 นายชาลี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บจก.กมลสุโกศล กับพวก ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นคดีดำหมายเลขที่ อ.54/2547 ฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพลง 120 เพลง ที่นายชาลี เป็นผู้ประพันธ์ ซึ่งนายชาลีได้เบิกความเป็นพยานคดีดังกล่าววันที่ 17 และ 27 พ.ค. 48 ต่อมาศาลทรัพย์สิน ฯ ได้พิพากษายกฟ้อง
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความ และพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่าย นำสืบแล้วเห็นว่า แม้คดีที่จำเลย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ ต่อศาลทรัพย์สิน ฯ ศาลจะมีคำพิพากษาว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มาสเตอร์เทป และซีดีเพลงที่โจทก์ทั้งสี่ นำมาบันทึกลงในซีดีเพื่อจำหน่าย เพราะจำเลยได้ขายลิขสิทธิ์เพลงทั้ง 120 เพลงให้กับบุคคลอื่นตั้งแต่วันที่ที่ 31 พ.ค.46 ศาลทรัพย์สิน ฯจึงพิพากษายกฟ้อง แต่การพิจารณาของศาลทรัพย์สิน ฯ เป็นการวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานและข้อกฎหมายที่ปรากฏในสำนวนคดีนั้น ไม่ใช่เหตุที่จะนำมารับฟังได้ว่าจำเลยฟ้องและเบิกความเท็จ เพราะหากคดีต่างๆ ที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องแล้วคู่กรณีที่ชนะคดีนำคดีมารื้อฟื้นฟ้องกันใหม่ก็จะวุ่นวาย ทั้งการจะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฐานฟ้องและเบิกความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 นั้น ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 หรือไม่
เมื่อพิจารณาคำฟ้องและคำเบิกความของจำเลยในคดีที่มีการฟ้องกันต่อศาลทรัพย์สินฯแล้วเห็นว่า จำเลย เบิกความว่า โจทก์ทั้งสี่ ละเมิดลิขสิทธิ์เพลง 120 เพลงที่จำเลยเป็นผู้ประพันธ์ ที่จำเลยได้ซื้อซีดีจากร้านแม่ไม้เพลงไทย พบว่าปกซีดีระบุชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้จัดจำหน่าย และชื่อจำเลยเป็นผู้ประพันธ์ จึงฟังได้ว่าจำเลยฟ้องและเบิกความไปตามข้อเท็จจริงที่เข้าใจโดยสุจริตว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ดังนั้นจึงไม่เป็นการฟ้องและเบิกความเท็จที่โจทก์ฟ้อง พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมีน้ำหนักพอเพียงหักล้างพยานโจทก์ได้ พิพากษายกฟ้อง
ภายหลังนายชาลี กล่าวว่ารู้สึกดีใจมากที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เพราะเป็นการการแสดงให้เห็นว่าความยุติธรรมยังจรรโลงโลก และคิดว่าคดีนี้น่าจะเป็นคดีตัวอย่าง ที่ทำให้ครูเพลงหลายๆคนซึ่งถูกค่ายเพลงกระทำละเมิดเช่นเดียวกับตน ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ เพราะที่ผ่านมาทราบว่าสาเหตุที่ครูเพลงหลายคนไม่กล้าออกมาเรียกร้องในเรื่องนี้ เพราะโดนข่มขู่จากค่ายเทปว่าอาจโดนดำเนินคดีเช่นเดียวกับตน
วันนี้ ( 20 มี.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องพิจารณา 813 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีดำที่ อ.334/2549 ที่บริษัท กมลสุโกศล จำกัด , น.ส.เลียบ เธียรประสิทธิ์ , นางกมลา สุโกศล และบริษัท บางกอกคาสเสท จำกัด ผู้ผลิต จัดจำหน่าย เทป และซีดี เพลง เจ้าของค่ายเพลง “แม่ไม้เพลงไทย” ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ และนักประพันธ์เพลงลูกกรุงชื่อดัง เป็นจำเลย ในความผิดฐานฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 กรณีเมื่อวันที่ 9 ม.ค.47 นายชาลี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บจก.กมลสุโกศล กับพวก ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นคดีดำหมายเลขที่ อ.54/2547 ฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพลง 120 เพลง ที่นายชาลี เป็นผู้ประพันธ์ ซึ่งนายชาลีได้เบิกความเป็นพยานคดีดังกล่าววันที่ 17 และ 27 พ.ค. 48 ต่อมาศาลทรัพย์สิน ฯ ได้พิพากษายกฟ้อง
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความ และพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่าย นำสืบแล้วเห็นว่า แม้คดีที่จำเลย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ ต่อศาลทรัพย์สิน ฯ ศาลจะมีคำพิพากษาว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มาสเตอร์เทป และซีดีเพลงที่โจทก์ทั้งสี่ นำมาบันทึกลงในซีดีเพื่อจำหน่าย เพราะจำเลยได้ขายลิขสิทธิ์เพลงทั้ง 120 เพลงให้กับบุคคลอื่นตั้งแต่วันที่ที่ 31 พ.ค.46 ศาลทรัพย์สิน ฯจึงพิพากษายกฟ้อง แต่การพิจารณาของศาลทรัพย์สิน ฯ เป็นการวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานและข้อกฎหมายที่ปรากฏในสำนวนคดีนั้น ไม่ใช่เหตุที่จะนำมารับฟังได้ว่าจำเลยฟ้องและเบิกความเท็จ เพราะหากคดีต่างๆ ที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องแล้วคู่กรณีที่ชนะคดีนำคดีมารื้อฟื้นฟ้องกันใหม่ก็จะวุ่นวาย ทั้งการจะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฐานฟ้องและเบิกความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 นั้น ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 หรือไม่
เมื่อพิจารณาคำฟ้องและคำเบิกความของจำเลยในคดีที่มีการฟ้องกันต่อศาลทรัพย์สินฯแล้วเห็นว่า จำเลย เบิกความว่า โจทก์ทั้งสี่ ละเมิดลิขสิทธิ์เพลง 120 เพลงที่จำเลยเป็นผู้ประพันธ์ ที่จำเลยได้ซื้อซีดีจากร้านแม่ไม้เพลงไทย พบว่าปกซีดีระบุชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้จัดจำหน่าย และชื่อจำเลยเป็นผู้ประพันธ์ จึงฟังได้ว่าจำเลยฟ้องและเบิกความไปตามข้อเท็จจริงที่เข้าใจโดยสุจริตว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ดังนั้นจึงไม่เป็นการฟ้องและเบิกความเท็จที่โจทก์ฟ้อง พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมีน้ำหนักพอเพียงหักล้างพยานโจทก์ได้ พิพากษายกฟ้อง
ภายหลังนายชาลี กล่าวว่ารู้สึกดีใจมากที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เพราะเป็นการการแสดงให้เห็นว่าความยุติธรรมยังจรรโลงโลก และคิดว่าคดีนี้น่าจะเป็นคดีตัวอย่าง ที่ทำให้ครูเพลงหลายๆคนซึ่งถูกค่ายเพลงกระทำละเมิดเช่นเดียวกับตน ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ เพราะที่ผ่านมาทราบว่าสาเหตุที่ครูเพลงหลายคนไม่กล้าออกมาเรียกร้องในเรื่องนี้ เพราะโดนข่มขู่จากค่ายเทปว่าอาจโดนดำเนินคดีเช่นเดียวกับตน