“สมพงษ์” เตรียมหารือ มท.1 วางนโยบายปราบปรามยาเสพติด ชี้ การประกาศสงครามยาเสพติดต้องระวังเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน ลุยแก้ไขกฎหมายแพ่ง หวังคุ้มครองสิทธิประชาชนให้สอดรับกระแสโลก ส่วนเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายขรก. ย้ำยังไม่คิดแต่ทิ้งท้ายให้ติดตามอาจมีย้ายจริง
วันนี้ (22 ก.พ.) ที่โรงแรมสยามซิตี้ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุถึงการปราบปรามยาเสพติดซึ่งอาจจะมีคนตาย 3,000-4,000 คน ก็ต้องยอม ว่า ตนอยู่ในที่เกิดเหตุ ร.ต.อ.เฉลิม พูดถึงประเด็นดังกล่าวในอาคารรัฐสภา ท่านก็พูดว่าจะเอานโยบายปราบปรามยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาใช้ ไม่ได้พูดเจาะจงว่าจะทำให้มีใครตาย 3,000-5,000 คน เราในฐานะกระทรวงยุติธรรม เป็นสื่อกลางในการวางกลยุทธ์ นโยบายต่างๆให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องปราบปรามยาเสพติด ส่วนเรื่องปฏิบัติเราไม่มีกำลังจะทำได้ คงไม่มีโอกาสไปรบรากับใคร ต้องให้ฝ่ายปกครอง ส่วนจะทำอย่างไรเป็นเรื่องของเขา
ผู้สื่อข่าวถามว่า กำกับดูแลกระทรวงยุติธรรมจะปล่อยให้เป็นเรื่องของฝ่ายปกครองได้หรือ เพราะมีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย นายสมพงษ์ กล่าวว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง และคงต้องมีการพูดคุยกัน อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานต้องมีหนักเบา เพื่อให้เกิดความหลาบจำแต่ในฐานะกระทรวงยุติธรรมจะหามาตรการและแนวทางว่าจะทำอย่างไร หากไปดำเนินการุนแรงจนต้องฆ่ากันคงไม่เห็นด้วยเหมือนกันแต่ถ้าเป็นคนผิดจริงๆจะทำอย่างไรก็ว่ากัน
นายสมพงษ์ กล่าวอีกว่า การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติด มีคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กระทรวงยุติธรรมเป็นกรรมการ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาต้องมีการพูดคุยกัน ซึ่งจะต้องมีความระมัดระวัง สำหรับตนมีความเป็นห่วงจริงๆ อย่าว่าแต่ให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต แค่ติดคุกติดตะรางเหมือนกรณีแก๊งตชด.ก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
“เรื่องประกาศสงครามกับยาเสพติดต้องระวัง เพราะขณะที่มีการประกาศสงคราม ทำให้คนที่ไม่ชอบหน้ากันสวมรอยฆ่ากันไปด้วย” นายสมพงษ์ กล่าว
ต่อมา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการละเมิด ว่า กฎหมายละเมิดมีการบัญญัติมา 16 ปีแล้ว ถึงเวลาต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่ตื่นตัวกับการละเมิดสิทธิ หากมีการแก้ไขกฎหมายจะทำให้สามารถดูแลประชาชนในด้านสิทธิต่างๆ ได้ดีขึ้น ที่ผ่านมา คนถูกละเมิดต้องไปสรรหาวัตถุพยานต่างๆ มาต่อสู้เอง หากมีการแก้ไขกฎหมายจะครอบคลุม เช่น เรื่องการถูกละเมิดทางเพศสำหรับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประเด็นสำคัญจะมีการแก้ไขสิทธิในการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งให้ชัดเจนเพิ่มขึ้นในทุกกรณี เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2550 และรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในบทสันนิษฐานความรับผิด จะมีการปรับปรุงเพิ่มขึ้น เช่น กรณีโรงงานก่อมลพิษให้ชุมชนจะถือเป็นการละเมิดสิทธิที่ต้องรับผิดทางแพ่ง
นายสมพงษ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงภายในกระทรวงยุติธรรมว่า กรณีนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่มีข่าวกันมาก ตนก็สงสัยว่าทำไมถึงออกข่าวกันมากมาย เพราะตอนนี้ยังไม่เกิดความคิดใดๆ ในเรื่องนี้ การย้ายอาจมีจริงหรือไม่จริง ต้องดู แต่ยืนยันได้ว่าการย้ายต่างๆ ต้องมีเหตุผลที่ตอบได้ว่า เป็นการย้ายเพื่ออะไร และให้ไปทำอะไรยังไง วันนี้ตนเพิ่งทำงานจริงจังวันแรก เพราะรัฐบาลเพิ่งแถลงนโยบายเสร็จ การโยกย้ายจะดูทั่วไปหมด ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง
วันนี้ (22 ก.พ.) ที่โรงแรมสยามซิตี้ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุถึงการปราบปรามยาเสพติดซึ่งอาจจะมีคนตาย 3,000-4,000 คน ก็ต้องยอม ว่า ตนอยู่ในที่เกิดเหตุ ร.ต.อ.เฉลิม พูดถึงประเด็นดังกล่าวในอาคารรัฐสภา ท่านก็พูดว่าจะเอานโยบายปราบปรามยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาใช้ ไม่ได้พูดเจาะจงว่าจะทำให้มีใครตาย 3,000-5,000 คน เราในฐานะกระทรวงยุติธรรม เป็นสื่อกลางในการวางกลยุทธ์ นโยบายต่างๆให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องปราบปรามยาเสพติด ส่วนเรื่องปฏิบัติเราไม่มีกำลังจะทำได้ คงไม่มีโอกาสไปรบรากับใคร ต้องให้ฝ่ายปกครอง ส่วนจะทำอย่างไรเป็นเรื่องของเขา
ผู้สื่อข่าวถามว่า กำกับดูแลกระทรวงยุติธรรมจะปล่อยให้เป็นเรื่องของฝ่ายปกครองได้หรือ เพราะมีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย นายสมพงษ์ กล่าวว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง และคงต้องมีการพูดคุยกัน อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานต้องมีหนักเบา เพื่อให้เกิดความหลาบจำแต่ในฐานะกระทรวงยุติธรรมจะหามาตรการและแนวทางว่าจะทำอย่างไร หากไปดำเนินการุนแรงจนต้องฆ่ากันคงไม่เห็นด้วยเหมือนกันแต่ถ้าเป็นคนผิดจริงๆจะทำอย่างไรก็ว่ากัน
นายสมพงษ์ กล่าวอีกว่า การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติด มีคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กระทรวงยุติธรรมเป็นกรรมการ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาต้องมีการพูดคุยกัน ซึ่งจะต้องมีความระมัดระวัง สำหรับตนมีความเป็นห่วงจริงๆ อย่าว่าแต่ให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต แค่ติดคุกติดตะรางเหมือนกรณีแก๊งตชด.ก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
“เรื่องประกาศสงครามกับยาเสพติดต้องระวัง เพราะขณะที่มีการประกาศสงคราม ทำให้คนที่ไม่ชอบหน้ากันสวมรอยฆ่ากันไปด้วย” นายสมพงษ์ กล่าว
ต่อมา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการละเมิด ว่า กฎหมายละเมิดมีการบัญญัติมา 16 ปีแล้ว ถึงเวลาต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่ตื่นตัวกับการละเมิดสิทธิ หากมีการแก้ไขกฎหมายจะทำให้สามารถดูแลประชาชนในด้านสิทธิต่างๆ ได้ดีขึ้น ที่ผ่านมา คนถูกละเมิดต้องไปสรรหาวัตถุพยานต่างๆ มาต่อสู้เอง หากมีการแก้ไขกฎหมายจะครอบคลุม เช่น เรื่องการถูกละเมิดทางเพศสำหรับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประเด็นสำคัญจะมีการแก้ไขสิทธิในการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งให้ชัดเจนเพิ่มขึ้นในทุกกรณี เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2550 และรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในบทสันนิษฐานความรับผิด จะมีการปรับปรุงเพิ่มขึ้น เช่น กรณีโรงงานก่อมลพิษให้ชุมชนจะถือเป็นการละเมิดสิทธิที่ต้องรับผิดทางแพ่ง
นายสมพงษ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงภายในกระทรวงยุติธรรมว่า กรณีนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่มีข่าวกันมาก ตนก็สงสัยว่าทำไมถึงออกข่าวกันมากมาย เพราะตอนนี้ยังไม่เกิดความคิดใดๆ ในเรื่องนี้ การย้ายอาจมีจริงหรือไม่จริง ต้องดู แต่ยืนยันได้ว่าการย้ายต่างๆ ต้องมีเหตุผลที่ตอบได้ว่า เป็นการย้ายเพื่ออะไร และให้ไปทำอะไรยังไง วันนี้ตนเพิ่งทำงานจริงจังวันแรก เพราะรัฐบาลเพิ่งแถลงนโยบายเสร็จ การโยกย้ายจะดูทั่วไปหมด ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง