ศาลฎีกา พิพากษายืนให้ บจก.จันทร์กรุ๊ป ชนะคดี ขับไล่ “บจก.อีสท์ซีแลนด์” จากที่ดิน 21 แปลง ย่านสวนหลวง หลังลูกชาย “วัฒนา อัศวเหม” หนึ่งใน กก.บจก.อีสท์ซีแลนด์ กับพวก ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารเปลี่ยนตัวกรรมการบริษัทโจทก์ ทำสัญญาให้เช่าที่ 30 ปี 40 ล้านบาท โดยไม่ชอบ
วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อานคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 4057/25550 ที่บริษัท จันทร์กรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัท อีสท์ซีแลนด์ จำกัด เป็นจำเลย เรื่องขับไล่ โดยขอให้ศาลบังคับให้ขับไล่จำเลย และบริวาร ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ และห้ามจำเลยและบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดิน สิ่งปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์อีกต่อไป และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่จะเป็นค่าเช่าในอัตราเดือนละ 500,000 บาท นับแต่วันที่ถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ต.สวนหลวง อ.พระโขนง กทม.รวม 21 โฉนด พร้อมปั๊มน้ำมันเอ็มพี ปิโตรเลียม อาคารพาณิชย์ 2 ชั้นจำนวน 11 คูหา อาคารสำนักงานพาณิชย์และที่พักอาศัย 9 ชั้น อาคาร อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น และอาคารสำนักงาน 4 ชั้น ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าว โดยมี นายสยาม สุริยศิษย์ เป็นกรรมการผู้อำนาจแต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อปี 2539 นางพรพันธ์ พุทธเจริญ กับพวกร่วมกันปลอมลายมือชื่อนายสยาม เพื่อเพิ่มจำนวนกรรมการ และให้ นางพรพันธ์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เพียงผู้เดียว จากนั้นเดือน ก.ย.2540 จำเลยร่วมกับนางพรพันธ์ สมคบกันนำที่ดิน 21 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยเช่าเป็นเวลา 30 ปี ค่าเช่าเป็นเงิน 40 ล้านบาท โดยที่โจทก์ไม่เคยมีความประสงค์ให้จำเลยเช่าแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อ ปี 2543 นายสยาม จึงได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งกับนางพรพันธ์ กับพวกรวม 6 คน ต่อศาลจังหวัดขอนแก่น เพื่อขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนที่นางพรพันธ์ กับพวกร่วมกันปลอม และต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนที่นางพรพันธ์ กับพวก ดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งคดีที่สุดแล้ว และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินดังกล่าวแต่จำเลยกลับเพิกเฉย จึงยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ขับไล่จำเลย
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้ว มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่โจทก์ ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ขับไล่จำเลยและบริวาร และให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอีกต่อไป และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินแล้วเสร็จ ต่อมาจำเลยยื่นฎีกา
ศาลฎีกา ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า โจทก์นำสืบว่า เริ่มก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2536 จดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดขอนแก่น มี นายสยาม ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์เพียงผู้เดียว ต่อมาปี 2539 นางพรพันธ์, นางรำพัน รัชโพธิ์, นางวงศ์เดือน มณีวงษ์, นางลัดดาวัลย์ แต่พงษ์โสรัถ และ นายพิบูลย์ อัศวเหม ซึ่ง นายพิบูลย์ ขณะนั้นเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย และกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เอ็มพีปิโตรเลียม จำกัด ได้ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารและลายมือชื่อ นายสยาม เพื่อไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนบริษัทว่านายสยาม ลาออก แล้ว นางพรพันธ์เอาที่ดินทั้งหมดและอาคาร ต่างๆ ไปให้จำเลยเช่าและครอบครอง ต่อมานายสยาม ทราบจึงฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดต่อศาลจังหวัดขอนแก่น ซึ่งศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบทั้งหมดแล้ว
ขณะที่จำเลยปฏิเสธ นำสืบต่อสู้คดีว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่กับ นางพรพันธ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินดังกล่าว โดยจำเลยชำระเงินค่าเช่าให้โจทก์ผ่าน บจก.เอ็มพีปิโตรเลียม ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โจทก์ค่าน้ำมัน แต่โจทก์ไม่ยอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ จำเลยจึงไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อบังคับให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่า ซึ่งระหว่างพิจารณาคดีโจทก์-จำเลย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดขอนแก่นหมายเลขแดงที่ 1216/2543 ดังนั้นเมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ที่
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เมื่อศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ นางพรพันธ์ กับพวกรวม 6 คน ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารแล้ว ย่อมทำให้นางพรพันธ์ ถูกเพิกถอนจากการเป็นกรรมการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ไปแล้ว ที่มีผลให้สิ่งใดที่นางพรพันธ์ ได้ทำไปในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจไม่มีผลผูกพันโจทก์ ทั้งสัญญาเช่า และสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับได้เป็นที่ยุติว่านางพรพันธ์ ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงไม่มีอำนาจทำสัญญา แม้จำเลยจะอ้างว่าการทำสัญญาเช่าได้เสียค่าตอบแทนแล้วก็ตามก็ไม่ได้ทำให้จำเลยมีสิทธิเช่า
ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน พร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 500,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่เหมาะสมแล้ว เพราะจำเลยก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่วันนี้ กรรมการผู้มีอำนาจบริษัทโจทก์-จำเลย ได้ส่งตัวแทนมาฟังคำพิพากษาแทน
วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อานคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 4057/25550 ที่บริษัท จันทร์กรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัท อีสท์ซีแลนด์ จำกัด เป็นจำเลย เรื่องขับไล่ โดยขอให้ศาลบังคับให้ขับไล่จำเลย และบริวาร ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ และห้ามจำเลยและบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดิน สิ่งปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์อีกต่อไป และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่จะเป็นค่าเช่าในอัตราเดือนละ 500,000 บาท นับแต่วันที่ถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ต.สวนหลวง อ.พระโขนง กทม.รวม 21 โฉนด พร้อมปั๊มน้ำมันเอ็มพี ปิโตรเลียม อาคารพาณิชย์ 2 ชั้นจำนวน 11 คูหา อาคารสำนักงานพาณิชย์และที่พักอาศัย 9 ชั้น อาคาร อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น และอาคารสำนักงาน 4 ชั้น ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าว โดยมี นายสยาม สุริยศิษย์ เป็นกรรมการผู้อำนาจแต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อปี 2539 นางพรพันธ์ พุทธเจริญ กับพวกร่วมกันปลอมลายมือชื่อนายสยาม เพื่อเพิ่มจำนวนกรรมการ และให้ นางพรพันธ์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เพียงผู้เดียว จากนั้นเดือน ก.ย.2540 จำเลยร่วมกับนางพรพันธ์ สมคบกันนำที่ดิน 21 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยเช่าเป็นเวลา 30 ปี ค่าเช่าเป็นเงิน 40 ล้านบาท โดยที่โจทก์ไม่เคยมีความประสงค์ให้จำเลยเช่าแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อ ปี 2543 นายสยาม จึงได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งกับนางพรพันธ์ กับพวกรวม 6 คน ต่อศาลจังหวัดขอนแก่น เพื่อขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนที่นางพรพันธ์ กับพวกร่วมกันปลอม และต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนที่นางพรพันธ์ กับพวก ดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งคดีที่สุดแล้ว และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินดังกล่าวแต่จำเลยกลับเพิกเฉย จึงยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ขับไล่จำเลย
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้ว มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่โจทก์ ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ขับไล่จำเลยและบริวาร และให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอีกต่อไป และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินแล้วเสร็จ ต่อมาจำเลยยื่นฎีกา
ศาลฎีกา ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า โจทก์นำสืบว่า เริ่มก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2536 จดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดขอนแก่น มี นายสยาม ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์เพียงผู้เดียว ต่อมาปี 2539 นางพรพันธ์, นางรำพัน รัชโพธิ์, นางวงศ์เดือน มณีวงษ์, นางลัดดาวัลย์ แต่พงษ์โสรัถ และ นายพิบูลย์ อัศวเหม ซึ่ง นายพิบูลย์ ขณะนั้นเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย และกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เอ็มพีปิโตรเลียม จำกัด ได้ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารและลายมือชื่อ นายสยาม เพื่อไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนบริษัทว่านายสยาม ลาออก แล้ว นางพรพันธ์เอาที่ดินทั้งหมดและอาคาร ต่างๆ ไปให้จำเลยเช่าและครอบครอง ต่อมานายสยาม ทราบจึงฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดต่อศาลจังหวัดขอนแก่น ซึ่งศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบทั้งหมดแล้ว
ขณะที่จำเลยปฏิเสธ นำสืบต่อสู้คดีว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่กับ นางพรพันธ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินดังกล่าว โดยจำเลยชำระเงินค่าเช่าให้โจทก์ผ่าน บจก.เอ็มพีปิโตรเลียม ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โจทก์ค่าน้ำมัน แต่โจทก์ไม่ยอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ จำเลยจึงไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อบังคับให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่า ซึ่งระหว่างพิจารณาคดีโจทก์-จำเลย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดขอนแก่นหมายเลขแดงที่ 1216/2543 ดังนั้นเมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ที่
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เมื่อศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ นางพรพันธ์ กับพวกรวม 6 คน ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารแล้ว ย่อมทำให้นางพรพันธ์ ถูกเพิกถอนจากการเป็นกรรมการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ไปแล้ว ที่มีผลให้สิ่งใดที่นางพรพันธ์ ได้ทำไปในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจไม่มีผลผูกพันโจทก์ ทั้งสัญญาเช่า และสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับได้เป็นที่ยุติว่านางพรพันธ์ ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงไม่มีอำนาจทำสัญญา แม้จำเลยจะอ้างว่าการทำสัญญาเช่าได้เสียค่าตอบแทนแล้วก็ตามก็ไม่ได้ทำให้จำเลยมีสิทธิเช่า
ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน พร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 500,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่เหมาะสมแล้ว เพราะจำเลยก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่วันนี้ กรรมการผู้มีอำนาจบริษัทโจทก์-จำเลย ได้ส่งตัวแทนมาฟังคำพิพากษาแทน