“โฆษก ตร.” พบ “อธิบดีอัยการ” หารือกฎหมายช่วยเหลือ เหยื่อ “แก๊ง ตชด.อุ้มรีด” เยี่ยวยาประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เผย เตรียมตั้งคณะทำงานชุดสอบสวนให้ “ธานี” เป็นหัวหน้าชุด ตรวจสอบคดีที่ประชาชนมาร้องเรียนจากแก๊ง ตชด.ก่อน 30 คดี ด้าน “อธิบดีอัยการ” หากคดียังไม่สิ้นสุดให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องมาเพื่อพิจารณาถอนฟ้อง หากคดีสิ้นสุด แล้วมีหลักฐานใหม่ก็สามารถรื้อคดีขึ้นมาพิสูจน์ใหม่ได้
วันนี้ (1 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.30 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เดินทางเข้าพบ นายวิชช์ ธีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อหารือแนวทางช่วยเหลือเหยื่อ ที่ถูกร.ต.อ.ณัฎฐ์ ชนนิธิวณิชย์ ผบ.หมวด 426 กก. ตชด.42 จ.นครศรีธรรมราชและพวกจับกุม ซึ่งใช้เวลาหารือประมาณ 15 นาที
หลังจากนั้น จึงแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดย พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวว่า ช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับข้อมูลจากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกทำร้ายจากตำรวจชุดจับกุมดังกล่าวเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บางรายถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่ถูกยัดยาเสพติด ซึ่งวานนี้ ตนในฐานะตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เดินทางไปยังกระทรวงยุติธรรม พบกับอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและอธิบดีกรมราชทัณฑ์เพื่อให้การช่วยเหลือเยี่ยวยาเหยื่อผู้บริสุทธิ์
พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า ส่วนในวันนี้ก็ได้มาปรึกษากับทางอธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ว่า จะมีข้อคิดเห็นหรือช่องทางใดที่จะช่วยเหลือเหยื่อในกรณีเหล่านี้ได้บ้าง เนื่องจากตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนทำคดีเสร็จก็ต้องส่งมาให้อัยการพิจารณาอยู่แล้ว แต่เนื่องจากตอนนี้มีประชาชนร้องเรียนเข้ามาจำนวนมาก ว่าไม่ได้กระทำความผิดแต่ถูกดำเนินคดีอาญาและถูกฟ้องร้อง ซึ่งหลังจากได้มาพบและปรึกษาหารือกับอธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแล้วก็ได้ข้อสรุปตรงกันว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะตั้งคณะพนักงานสอบสวนขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยหลังจากหารือกับผบ.ตร.ก็จะมอบหมายให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.เป็นประธานคณะพนักงานสอบสวน แล้วจะเอาคดีทั้งหมดที่เคยถูก ร.ต.อ.ณัฏฐ์ และพวกจับกุม และดำเนินคดีในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา มาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งโดยจะเริ่มต้นจากคดีที่มีประชาชนมาร้องทุกข์ก่อน ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 30 คดี ทั้งที่เกิดขึ้นในกทม.และต่างจังหวัดพื้นที่สำนักงานตำรวจภูธร ภาค 9 เช่น จ.ชุมพร จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าตั้งแต่ปี 2547 ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ได้จับกุมคดียาเสพติด แล้วจำนวน 209 คดี มีผู้ต้องหาจำนวน 238 ราย
พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า เมื่อตั้งคณะพนักงานสอบสวนขึ้นมาก็จะเอา 30 คดีแรกขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยคดีใดที่มีข้อสรุปชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำความผิด เกิดจากพฤติการณ์ที่ถูกยัดยาเสพติดหรือไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ก็จะเสนออัยการสูงสุดผ่านอธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือให้ได้รับความเป็นธรรมตามต่อไป
ด้าน นายวิชช์ ธีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน กล่าวว่า หลังจากพนักงานสอบสวนที่ตั้งขึ้นมาใหม่ดำเนินการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความทางอาญา (ป.วิอาญา) จนได้ข้อยุติแล้ว กรณีที่ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิดและคดียังไม่สิ้นสุด อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของพนักงานอัยการ ก็ให้พนักงานสอบสวนเสนอความเห็นมายังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาถอนฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีที่เสร็จสิ้นเด็ดขาดไปแล้ว แต่ผู้ต้องหาหรือผู้ต้องขังถูกจำคุก ทั้งเป็นผู้บริสุทธิ์ หากพนักงานสอบสวนชุดดังกล่าวมีพยานหลักฐานใหม่ ที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาดังกล่าว พนักงานสอบสวนก็สามารถรื้อฟื้นคดีเพื่อมาพิสูจน์ใหม่ได้
ทางด้าน นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ในส่วนคดีของนางจุฑาพร นุ่นรอด จำเลยคดียาเสพติดที่ ร.ต.อ.ณัฏฐ์ จับกุมและศาลจังหวัดตลิ่งชันพิพากษายกฟ้อง ซึ่งอัยการได้ยื่นอุทธรณ์คดีไปแล้วนั้น ทาง ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง ได้ทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงการยื่นอุทธรณ์คดีให้ตนทราบว่า คดีนี้อัยการฝ่ายคดีอาญาธนบุรี 5 ตลิ่งชันยื่นฟ้องตามที่พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องมาตามปกติ และเมื่อศาลยกฟ้องเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550 ภายใน 30 วันอัยการต้องยื่นอุทธรณ์ ซึ่งอัยการฝ่ายคดีศาลสูงพิจารณาเห็นสมควรยื่นอุทธรณ์ก็ได้ทำเรื่องอุทธรณ์ไปตามกฎหมาย ก่อนที่จะปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์จับกุมของ ร.ต.อ.ณัฎฐ์ ดังนั้นตนจึงได้ให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง นำสำนวนคดีของนางจุฑาพร ทั้งหมดมาให้พิจารณาอีกครั้ง ก่อนเสนอให้ นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าจะเห็นสมควรถอนอุทธรณ์คดีนางจุฑาพรหรือไม่
“อัยการคงต้องคุยกันว่าเรื่องมันเป็นอย่างไรกันแน่ คงต้องเอาหลักฐานมารื้อดูใหม่หมดก่อน ถ้าปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดจะถอนฟ้องก็เป็นอำนาจอัยการสูงสุด เหมือนคดีเชอรี่แอนดันแคน ที่อัยการถอนฟ้องหลังจากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ตำรวจจับจำเลยผิดตัว” โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวตอนท้าย
นายธนพิชญ์ กล่าวว่า นอกจากอัยการสูงสุดจะมีอำนาจถอนฟ้องคดีแล้ว นางจุฑาพร ซึ่งเป็นจำเลยก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมให้อัยการสูงสุดพิจารณาถอนฟ้องได้ โดยอัยการจะดูข้อเท็จจริงข้อกฎหมายพยานหลักฐานในสำนวน ถ้าเห็นว่ามีน้ำหนักก็สั่งฟ้อง ถ้าพยานหลักฐานไม่พอฟ้องก็สั่งไม่ฟ้อง ทั้งนี้ส่วนใหญ่พยานหลักฐานคดียาเสพติดสำนวนการสอบสวนตำรวจมักบรรยายฟ้องว่า ล่อซื้อและจับจำเลยได้ที่ใด ส่วนหลักฐานก็เป็นยาเสพติดที่ริบเป็นของกลางปริมาณเท่าใดเท่านั้น ความจริงของการจับกุมมักจะไปปรากฏในการซักถามตำรวจของทนายจำเลยเช่นคดี นายจุฑาพร
วันนี้ (1 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.30 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เดินทางเข้าพบ นายวิชช์ ธีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อหารือแนวทางช่วยเหลือเหยื่อ ที่ถูกร.ต.อ.ณัฎฐ์ ชนนิธิวณิชย์ ผบ.หมวด 426 กก. ตชด.42 จ.นครศรีธรรมราชและพวกจับกุม ซึ่งใช้เวลาหารือประมาณ 15 นาที
หลังจากนั้น จึงแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดย พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวว่า ช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับข้อมูลจากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกทำร้ายจากตำรวจชุดจับกุมดังกล่าวเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บางรายถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่ถูกยัดยาเสพติด ซึ่งวานนี้ ตนในฐานะตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เดินทางไปยังกระทรวงยุติธรรม พบกับอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและอธิบดีกรมราชทัณฑ์เพื่อให้การช่วยเหลือเยี่ยวยาเหยื่อผู้บริสุทธิ์
พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า ส่วนในวันนี้ก็ได้มาปรึกษากับทางอธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ว่า จะมีข้อคิดเห็นหรือช่องทางใดที่จะช่วยเหลือเหยื่อในกรณีเหล่านี้ได้บ้าง เนื่องจากตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนทำคดีเสร็จก็ต้องส่งมาให้อัยการพิจารณาอยู่แล้ว แต่เนื่องจากตอนนี้มีประชาชนร้องเรียนเข้ามาจำนวนมาก ว่าไม่ได้กระทำความผิดแต่ถูกดำเนินคดีอาญาและถูกฟ้องร้อง ซึ่งหลังจากได้มาพบและปรึกษาหารือกับอธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแล้วก็ได้ข้อสรุปตรงกันว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะตั้งคณะพนักงานสอบสวนขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยหลังจากหารือกับผบ.ตร.ก็จะมอบหมายให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.เป็นประธานคณะพนักงานสอบสวน แล้วจะเอาคดีทั้งหมดที่เคยถูก ร.ต.อ.ณัฏฐ์ และพวกจับกุม และดำเนินคดีในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา มาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งโดยจะเริ่มต้นจากคดีที่มีประชาชนมาร้องทุกข์ก่อน ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 30 คดี ทั้งที่เกิดขึ้นในกทม.และต่างจังหวัดพื้นที่สำนักงานตำรวจภูธร ภาค 9 เช่น จ.ชุมพร จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าตั้งแต่ปี 2547 ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ได้จับกุมคดียาเสพติด แล้วจำนวน 209 คดี มีผู้ต้องหาจำนวน 238 ราย
พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า เมื่อตั้งคณะพนักงานสอบสวนขึ้นมาก็จะเอา 30 คดีแรกขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยคดีใดที่มีข้อสรุปชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำความผิด เกิดจากพฤติการณ์ที่ถูกยัดยาเสพติดหรือไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ก็จะเสนออัยการสูงสุดผ่านอธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือให้ได้รับความเป็นธรรมตามต่อไป
ด้าน นายวิชช์ ธีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน กล่าวว่า หลังจากพนักงานสอบสวนที่ตั้งขึ้นมาใหม่ดำเนินการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความทางอาญา (ป.วิอาญา) จนได้ข้อยุติแล้ว กรณีที่ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิดและคดียังไม่สิ้นสุด อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของพนักงานอัยการ ก็ให้พนักงานสอบสวนเสนอความเห็นมายังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาถอนฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีที่เสร็จสิ้นเด็ดขาดไปแล้ว แต่ผู้ต้องหาหรือผู้ต้องขังถูกจำคุก ทั้งเป็นผู้บริสุทธิ์ หากพนักงานสอบสวนชุดดังกล่าวมีพยานหลักฐานใหม่ ที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาดังกล่าว พนักงานสอบสวนก็สามารถรื้อฟื้นคดีเพื่อมาพิสูจน์ใหม่ได้
ทางด้าน นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ในส่วนคดีของนางจุฑาพร นุ่นรอด จำเลยคดียาเสพติดที่ ร.ต.อ.ณัฏฐ์ จับกุมและศาลจังหวัดตลิ่งชันพิพากษายกฟ้อง ซึ่งอัยการได้ยื่นอุทธรณ์คดีไปแล้วนั้น ทาง ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง ได้ทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงการยื่นอุทธรณ์คดีให้ตนทราบว่า คดีนี้อัยการฝ่ายคดีอาญาธนบุรี 5 ตลิ่งชันยื่นฟ้องตามที่พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องมาตามปกติ และเมื่อศาลยกฟ้องเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550 ภายใน 30 วันอัยการต้องยื่นอุทธรณ์ ซึ่งอัยการฝ่ายคดีศาลสูงพิจารณาเห็นสมควรยื่นอุทธรณ์ก็ได้ทำเรื่องอุทธรณ์ไปตามกฎหมาย ก่อนที่จะปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์จับกุมของ ร.ต.อ.ณัฎฐ์ ดังนั้นตนจึงได้ให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง นำสำนวนคดีของนางจุฑาพร ทั้งหมดมาให้พิจารณาอีกครั้ง ก่อนเสนอให้ นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าจะเห็นสมควรถอนอุทธรณ์คดีนางจุฑาพรหรือไม่
“อัยการคงต้องคุยกันว่าเรื่องมันเป็นอย่างไรกันแน่ คงต้องเอาหลักฐานมารื้อดูใหม่หมดก่อน ถ้าปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดจะถอนฟ้องก็เป็นอำนาจอัยการสูงสุด เหมือนคดีเชอรี่แอนดันแคน ที่อัยการถอนฟ้องหลังจากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ตำรวจจับจำเลยผิดตัว” โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวตอนท้าย
นายธนพิชญ์ กล่าวว่า นอกจากอัยการสูงสุดจะมีอำนาจถอนฟ้องคดีแล้ว นางจุฑาพร ซึ่งเป็นจำเลยก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมให้อัยการสูงสุดพิจารณาถอนฟ้องได้ โดยอัยการจะดูข้อเท็จจริงข้อกฎหมายพยานหลักฐานในสำนวน ถ้าเห็นว่ามีน้ำหนักก็สั่งฟ้อง ถ้าพยานหลักฐานไม่พอฟ้องก็สั่งไม่ฟ้อง ทั้งนี้ส่วนใหญ่พยานหลักฐานคดียาเสพติดสำนวนการสอบสวนตำรวจมักบรรยายฟ้องว่า ล่อซื้อและจับจำเลยได้ที่ใด ส่วนหลักฐานก็เป็นยาเสพติดที่ริบเป็นของกลางปริมาณเท่าใดเท่านั้น ความจริงของการจับกุมมักจะไปปรากฏในการซักถามตำรวจของทนายจำเลยเช่นคดี นายจุฑาพร