ไม่ถึงกับ “คาดไม่ถึง” แต่ก็ถือว่า “ผิดคาด” ไปพอสมควร ที่ในที่สุด เราก็ไม่ได้เห็นคนระดับอดีตนายกรัฐมนตรีถูกส่งเข้าเรือนจำจากคดีทุจริต
การมาขึ้นศาลทุกครั้ง เข้าสู่กระบวนพิจารณาตามครรลอง ต่อสู้ในกรอบในกติกาของกฎหมายมาตลอดสองปี ประกอบกับท่าทีที่ทางพรรคและคนเสื้อแดงเหมือนจะพยายามเชิดชูให้เธอเป็นเหมือน อองซาน ซูจี หรือเนลสัน แมนเดลา เมืองไทยนั้น ทำให้หลายฝ่ายออกจะผิดคาดกับการเลือกทางออกเช่นเดียวกับพี่ชายของเธอ
ยิ่งลักษณ์หนีไปได้อย่างไร มีใครสมรู้ร่วมคิดด้วยหรือไม่ หนีออกไปเมื่อไร ด้วยวิธีไหน เป็นการ “หนี” หรือการ “ปล่อย” ก็เป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันได้เพื่อหาความจริงที่ยังค้างคาใจ และอาจจะมีผู้ที่ต้องรับผิดชอบ หรือควรรับผิดชอบ
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ข้อเท็จจากนี้ต่อไป คือ เธอน่าจะหลุดพ้นไปจากพื้นที่ของการเมืองไทยอีกหลายปี ส่วนจะมีอิทธิพลอะไรเหลืออยู่นั้น ก็อาจจะมีประเด็นว่า หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินว่าเธอมีความผิดจริง แล้ว สถานะของการเป็นจำเลยผู้หลบหนีคดีของเธอก็จะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ และจะนำไปสู่ความชัดเจนว่า เธอจะหลบลี้อยู่ในโลกในฐานะใด ในฐานะของผู้ลี้ภัยทางการเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือผู้เร่ร่อนไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผู้เป็นพี่ชาย
บทบาททางการเมืองของเธอหลังจากนี้ ถ้าไม่เงียบหายไป ก็อาจจะออกมา “ส่งเสียง” ผ่านสื่อจากนอกประเทศ เหมือนเช่นที่พี่ชายของเธอทำอยู่ในปัจจุบันนี้
แต่ก็บอกตรงๆ ว่า “ราคา” ของเธอนั้นคงจะไม่มีเหลือ เหมือนเช่นที่พี่ชายของเธอเสียรังวัดไปนานแล้ว เพราะนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ “มวลชน” และ “นักการเมือง” ถูกคนตระกูลนี้หลอกกันแบบไม่เห็นหัว
ส่วนอนาคตของทางพรรคเพื่อไทยและนักการเมืองฝ่ายแดงนั้น ก็อยู่ในสภาพที่ไม่มีหัว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะสามารถเชิดใครขึ้นมาได้อีก เพราะสำหรับคนตระกูลชินวัตรนี้ก็คงจะปิดตำนานไปแล้ว
ส่วนจะหาหัวหน้าพรรคใหม่มาสวมเพื่อลงเลือกตั้งที่จะมาถึงในอนาคต ถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่มีการเลือกตั้งในปี 2550 หลังการรัฐประหาร 19 กันยา ที่สามารถเชิดนายสมัคร สุนทรเวช ขึ้นมาเป็นนายกฯ นอมินีผ่านพรรคพลังประชาชนได้นั้น ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าในตอนนั้นคุณสมัคร แกมี “บารมี” และมี “เสน่ห์” ในแบบที่เป็นจุดขายให้เป็นหัวขบวนในการนำการเลือกตั้งได้
แต่มองไปในพรรคเพื่อไทยตอนนี้ มองไม่เห็นเลยว่าใครที่จะมีคุณสมบัติลักษณะเดียวกับคุณสมัครได้อีก หรือจะให้เป็นคนนอกคนใหม่มาเลย ก็นึกไม่ออกเช่นกันว่า ในสภาพเช่นนี้ จะมีใครที่มีเสน่ห์และบารมีขนาดนั้นที่จะยอมถูกเชิดขึ้นมาเป็น “หัว” ของพรรคที่เต็มไปด้วยบาดแผลเช่นนี้ได้
นอกจากนั้น การ “หนี” ของยิ่งลักษณ์ ก็ไม่รู้ว่าจะกระทบกระเทือนถึงฐานเสียงของคนเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียงที่เลือกพรรคเพราะความรักความนิยมแค่ไหน แม้จะไม่มีใครพูดอะไร แต่ลึกๆ แล้วเชื่อว่าบรรดาแฟนๆ ต่างก็เจ็บปวดกับการถูกหักหลังที่หน้าศาลในครั้งนี้
ประกอบกับ “คลังแสง” หรือ “กระสุนทุน” ที่ได้รับผลกระทบแน่นอนจากการยึดทรัพย์เป็นค่าเสียหายในคดีจำนำข้าว ซึ่งดูจากคำพิพากษาของนายบุญทรงในคดีจีทูจีแล้ว เพียงแค่นั้นก็ถือว่ามีมูลพอที่จะยึดทรัพย์เพื่อเป็นค่าเสียหายให้แก่รัฐได้แล้ว โดยยังไม่ต้องนับคดีของยิ่งลักษณ์ที่ยังไม่อ่านคำพิพากษาด้วย
อนาคตของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 นี้ จึงนับว่าลำบากยากยิ่ง ต่อให้ชนะก็ไม่ขาด โอกาสที่จะขาดลอยเป็นรัฐบาลพรรคเดียวหรือจับกับพรรคเล็กๆ ไม่กี่พรรคก็ตั้งรัฐบาลได้ อย่างในปี 2550 หรือ 2554 นั้นคงเป็นไปได้ยากมากๆ
กระนั้น แม้เพื่อไทยน่าจะเพลี่ยงพล้ำ แต่ก็ใช่ว่าอีกฝ่ายนั้นจะกำชัยได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์เองที่ตัวหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้นก็ “มีแผล” ไปแล้วพอสมควรจากการเป็นรัฐบาลในช่วงปี 2552 – 2553
หรือแม้แต่พรรคของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่อาจจะอาศัยฐานเสียงจากชาว กปปส. บางส่วนที่ยังเหนียวแน่นอยู่ แต่ถ้าพูดกันอย่างยอมรับความจริง คือชาว กปปส. นั้นไว้ใจมอบหมายให้ลุงกำนันเป็น “ผู้นำเฉพาะกิจ” เพื่อไล่รัฐบาลอดีตนายกฯ ปูเท่านั้น แต่ถ้าเรื่องจะถึงขนาดอยากให้ลุงกำนันเป็นนายกฯ เลยหรือไม่นั้น คิดว่าชาว กปปส.คงไม่ไปไกลขนาดนั้น
แต่กระนั้นเอง ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรค กปปส. (หากจะตั้งขึ้นมา) ก็น่าจะได้จำนวน ส.ส.มากจำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อบวกกับเสียงของพรรคเล็กพรรคน้อย หรืออาจจะมี “พรรคเฉพาะกิจ” ที่อาจจะโผล่ขึ้นมาในอนาคตก็ยังได้
ทั้งด้วยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่ให้ ส.ว.นั้นร่วมเห็นชอบผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบกับเมื่อเราดูจากความเคลื่อนไหวของ “เจ้าตัว” ในระยะหลังๆ ซึ่งก็ไม่ค่อยปฏิเสธเรื่องการกลับมาเป็นนายกฯ ด้วยเสียงที่แข็งขันเหมือนเมื่อก่อนแล้ว กับการเริ่ม “ลงพื้นที่” พบปะประชาชนแบบกลายๆ หรือการเปิดแฟนเพจใน Facebook เพื่อสื่อสารกับประชาชนแล้ว
เรียกว่าภาพของนายกฯ คนแรกหลังการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 นั้นจะเป็น “คนเดิม” ก็ชัดเจนยิ่งกว่าดูโทรทัศน์ระบบ 4K ซึ่งเหตุผลในการที่จะ “กลับมา” เพื่อจะมาสานต่อการปฏิรูปที่วางกรอบเวลาไว้ถึง 20 ปี ก็เรียกว่าเป็น “ข้ออ้าง” ที่ถือว่าไม่น่าเกลียด ในสภาวะที่ผู้คนยังคงเอือมระอากับนักการเมืองไม่ว่าจะฝ่ายไหน ฝ่ายหนึ่งก็หลอกลวงประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า อีกฝ่ายก็ไร้น้ำยาไม่มีความสามารถ ส่วนเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตนั้นก็พอๆ กัน คือไว้ใจไม่ได้ทั้งคู่
หากสิ่งที่อาจจะต้อง “เตรียมใจ” หากว่าท่านตกลงจะกลับมาเป็นนายกฯ หลังการเลือกตั้งจริงๆ ก็คงจะได้แก่การที่จะต้องกลับมาแก้ปัญหาต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ในรัฐบาลนี้ต่อไป โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน อย่างที่จะโบ้ยให้รัฐบาลก่อนหน้าอีกเรื่อยๆ ก็ไม่สวยเท่าไรแล้ว
โดยจะต้องเจอกับ “การเมืองของจริง” ภายใต้กติกาแบบประชาธิปไตย ที่ไม่ว่าจะเป็นแบบครึ่งใบค่อนใบอย่างไร แต่ก็เป็นรูปแบบประชาธิปไตยที่จะต้องรับผิดชอบต่อ “ประชาชน” ซึ่งเป็นฐานที่มาแห่งความชอบธรรมในอำนาจ ไม่ใช่ด้วยกำลังอาวุธในสถานการณ์พิเศษเช่นที่ผ่านมา
การใช้อำนาจที่จะต้องมาพร้อมกับ “ความรับผิดชอบ” ที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 เบ็ดเสร็จเด็ดขาดปราศจากความรับผิดในทางใด ก็ไม่ได้แล้วเช่นกัน
การออกกฎหมายมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารหรือขับเคลื่อนนโยบาย ก็จะไม่สามารถทำได้ทันใจ เช่นที่เคยทำได้ในทุกวันนี้ ผ่านมาตรา 44 หรือผ่าน สนช.ที่เป็นเหมือนองคาพยพเดียวกันได้อีกต่อไป
ซ้ำยังอาจจะต้องถูกตรวจสอบได้ ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อันเป็นกระบวนการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระบบรัฐสภา
และยังจะต้องเตรียมใจที่จะได้สัมผัสกับ “ความนิยม” จากประชาชนแบบ “ของจริง” มากขึ้น อย่างที่ไม่สามารถจะใช้อำนาจปิดปากห้ามวิพากษ์วิจารณ์ออกความเห็นทางการเมือง พาไปปรับทัศนคติ หรือห้ามชุมนุมทางการเมืองอย่างเช่นอำนาจที่มีอยู่ในปัจจุบันได้
นี่คือสิ่งที่ว่าที่นายกฯ คนใหม่แต่หน้าเดิม อาจจะต้องเตรียมปรับตัวยอมรับไว้แต่เนิ่นๆ ว่าการบริหารประเทศจะไม่เป็นไปโดยสะดวกง่ายดาย เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแน่นอน.
การมาขึ้นศาลทุกครั้ง เข้าสู่กระบวนพิจารณาตามครรลอง ต่อสู้ในกรอบในกติกาของกฎหมายมาตลอดสองปี ประกอบกับท่าทีที่ทางพรรคและคนเสื้อแดงเหมือนจะพยายามเชิดชูให้เธอเป็นเหมือน อองซาน ซูจี หรือเนลสัน แมนเดลา เมืองไทยนั้น ทำให้หลายฝ่ายออกจะผิดคาดกับการเลือกทางออกเช่นเดียวกับพี่ชายของเธอ
ยิ่งลักษณ์หนีไปได้อย่างไร มีใครสมรู้ร่วมคิดด้วยหรือไม่ หนีออกไปเมื่อไร ด้วยวิธีไหน เป็นการ “หนี” หรือการ “ปล่อย” ก็เป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันได้เพื่อหาความจริงที่ยังค้างคาใจ และอาจจะมีผู้ที่ต้องรับผิดชอบ หรือควรรับผิดชอบ
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ข้อเท็จจากนี้ต่อไป คือ เธอน่าจะหลุดพ้นไปจากพื้นที่ของการเมืองไทยอีกหลายปี ส่วนจะมีอิทธิพลอะไรเหลืออยู่นั้น ก็อาจจะมีประเด็นว่า หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินว่าเธอมีความผิดจริง แล้ว สถานะของการเป็นจำเลยผู้หลบหนีคดีของเธอก็จะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ และจะนำไปสู่ความชัดเจนว่า เธอจะหลบลี้อยู่ในโลกในฐานะใด ในฐานะของผู้ลี้ภัยทางการเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือผู้เร่ร่อนไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับผู้เป็นพี่ชาย
บทบาททางการเมืองของเธอหลังจากนี้ ถ้าไม่เงียบหายไป ก็อาจจะออกมา “ส่งเสียง” ผ่านสื่อจากนอกประเทศ เหมือนเช่นที่พี่ชายของเธอทำอยู่ในปัจจุบันนี้
แต่ก็บอกตรงๆ ว่า “ราคา” ของเธอนั้นคงจะไม่มีเหลือ เหมือนเช่นที่พี่ชายของเธอเสียรังวัดไปนานแล้ว เพราะนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ “มวลชน” และ “นักการเมือง” ถูกคนตระกูลนี้หลอกกันแบบไม่เห็นหัว
ส่วนอนาคตของทางพรรคเพื่อไทยและนักการเมืองฝ่ายแดงนั้น ก็อยู่ในสภาพที่ไม่มีหัว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะสามารถเชิดใครขึ้นมาได้อีก เพราะสำหรับคนตระกูลชินวัตรนี้ก็คงจะปิดตำนานไปแล้ว
ส่วนจะหาหัวหน้าพรรคใหม่มาสวมเพื่อลงเลือกตั้งที่จะมาถึงในอนาคต ถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่มีการเลือกตั้งในปี 2550 หลังการรัฐประหาร 19 กันยา ที่สามารถเชิดนายสมัคร สุนทรเวช ขึ้นมาเป็นนายกฯ นอมินีผ่านพรรคพลังประชาชนได้นั้น ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าในตอนนั้นคุณสมัคร แกมี “บารมี” และมี “เสน่ห์” ในแบบที่เป็นจุดขายให้เป็นหัวขบวนในการนำการเลือกตั้งได้
แต่มองไปในพรรคเพื่อไทยตอนนี้ มองไม่เห็นเลยว่าใครที่จะมีคุณสมบัติลักษณะเดียวกับคุณสมัครได้อีก หรือจะให้เป็นคนนอกคนใหม่มาเลย ก็นึกไม่ออกเช่นกันว่า ในสภาพเช่นนี้ จะมีใครที่มีเสน่ห์และบารมีขนาดนั้นที่จะยอมถูกเชิดขึ้นมาเป็น “หัว” ของพรรคที่เต็มไปด้วยบาดแผลเช่นนี้ได้
นอกจากนั้น การ “หนี” ของยิ่งลักษณ์ ก็ไม่รู้ว่าจะกระทบกระเทือนถึงฐานเสียงของคนเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียงที่เลือกพรรคเพราะความรักความนิยมแค่ไหน แม้จะไม่มีใครพูดอะไร แต่ลึกๆ แล้วเชื่อว่าบรรดาแฟนๆ ต่างก็เจ็บปวดกับการถูกหักหลังที่หน้าศาลในครั้งนี้
ประกอบกับ “คลังแสง” หรือ “กระสุนทุน” ที่ได้รับผลกระทบแน่นอนจากการยึดทรัพย์เป็นค่าเสียหายในคดีจำนำข้าว ซึ่งดูจากคำพิพากษาของนายบุญทรงในคดีจีทูจีแล้ว เพียงแค่นั้นก็ถือว่ามีมูลพอที่จะยึดทรัพย์เพื่อเป็นค่าเสียหายให้แก่รัฐได้แล้ว โดยยังไม่ต้องนับคดีของยิ่งลักษณ์ที่ยังไม่อ่านคำพิพากษาด้วย
อนาคตของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 นี้ จึงนับว่าลำบากยากยิ่ง ต่อให้ชนะก็ไม่ขาด โอกาสที่จะขาดลอยเป็นรัฐบาลพรรคเดียวหรือจับกับพรรคเล็กๆ ไม่กี่พรรคก็ตั้งรัฐบาลได้ อย่างในปี 2550 หรือ 2554 นั้นคงเป็นไปได้ยากมากๆ
กระนั้น แม้เพื่อไทยน่าจะเพลี่ยงพล้ำ แต่ก็ใช่ว่าอีกฝ่ายนั้นจะกำชัยได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์เองที่ตัวหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้นก็ “มีแผล” ไปแล้วพอสมควรจากการเป็นรัฐบาลในช่วงปี 2552 – 2553
หรือแม้แต่พรรคของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่อาจจะอาศัยฐานเสียงจากชาว กปปส. บางส่วนที่ยังเหนียวแน่นอยู่ แต่ถ้าพูดกันอย่างยอมรับความจริง คือชาว กปปส. นั้นไว้ใจมอบหมายให้ลุงกำนันเป็น “ผู้นำเฉพาะกิจ” เพื่อไล่รัฐบาลอดีตนายกฯ ปูเท่านั้น แต่ถ้าเรื่องจะถึงขนาดอยากให้ลุงกำนันเป็นนายกฯ เลยหรือไม่นั้น คิดว่าชาว กปปส.คงไม่ไปไกลขนาดนั้น
แต่กระนั้นเอง ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรค กปปส. (หากจะตั้งขึ้นมา) ก็น่าจะได้จำนวน ส.ส.มากจำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อบวกกับเสียงของพรรคเล็กพรรคน้อย หรืออาจจะมี “พรรคเฉพาะกิจ” ที่อาจจะโผล่ขึ้นมาในอนาคตก็ยังได้
ทั้งด้วยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่ให้ ส.ว.นั้นร่วมเห็นชอบผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบกับเมื่อเราดูจากความเคลื่อนไหวของ “เจ้าตัว” ในระยะหลังๆ ซึ่งก็ไม่ค่อยปฏิเสธเรื่องการกลับมาเป็นนายกฯ ด้วยเสียงที่แข็งขันเหมือนเมื่อก่อนแล้ว กับการเริ่ม “ลงพื้นที่” พบปะประชาชนแบบกลายๆ หรือการเปิดแฟนเพจใน Facebook เพื่อสื่อสารกับประชาชนแล้ว
เรียกว่าภาพของนายกฯ คนแรกหลังการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 นั้นจะเป็น “คนเดิม” ก็ชัดเจนยิ่งกว่าดูโทรทัศน์ระบบ 4K ซึ่งเหตุผลในการที่จะ “กลับมา” เพื่อจะมาสานต่อการปฏิรูปที่วางกรอบเวลาไว้ถึง 20 ปี ก็เรียกว่าเป็น “ข้ออ้าง” ที่ถือว่าไม่น่าเกลียด ในสภาวะที่ผู้คนยังคงเอือมระอากับนักการเมืองไม่ว่าจะฝ่ายไหน ฝ่ายหนึ่งก็หลอกลวงประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า อีกฝ่ายก็ไร้น้ำยาไม่มีความสามารถ ส่วนเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตนั้นก็พอๆ กัน คือไว้ใจไม่ได้ทั้งคู่
หากสิ่งที่อาจจะต้อง “เตรียมใจ” หากว่าท่านตกลงจะกลับมาเป็นนายกฯ หลังการเลือกตั้งจริงๆ ก็คงจะได้แก่การที่จะต้องกลับมาแก้ปัญหาต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ในรัฐบาลนี้ต่อไป โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน อย่างที่จะโบ้ยให้รัฐบาลก่อนหน้าอีกเรื่อยๆ ก็ไม่สวยเท่าไรแล้ว
โดยจะต้องเจอกับ “การเมืองของจริง” ภายใต้กติกาแบบประชาธิปไตย ที่ไม่ว่าจะเป็นแบบครึ่งใบค่อนใบอย่างไร แต่ก็เป็นรูปแบบประชาธิปไตยที่จะต้องรับผิดชอบต่อ “ประชาชน” ซึ่งเป็นฐานที่มาแห่งความชอบธรรมในอำนาจ ไม่ใช่ด้วยกำลังอาวุธในสถานการณ์พิเศษเช่นที่ผ่านมา
การใช้อำนาจที่จะต้องมาพร้อมกับ “ความรับผิดชอบ” ที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 เบ็ดเสร็จเด็ดขาดปราศจากความรับผิดในทางใด ก็ไม่ได้แล้วเช่นกัน
การออกกฎหมายมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารหรือขับเคลื่อนนโยบาย ก็จะไม่สามารถทำได้ทันใจ เช่นที่เคยทำได้ในทุกวันนี้ ผ่านมาตรา 44 หรือผ่าน สนช.ที่เป็นเหมือนองคาพยพเดียวกันได้อีกต่อไป
ซ้ำยังอาจจะต้องถูกตรวจสอบได้ ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อันเป็นกระบวนการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระบบรัฐสภา
และยังจะต้องเตรียมใจที่จะได้สัมผัสกับ “ความนิยม” จากประชาชนแบบ “ของจริง” มากขึ้น อย่างที่ไม่สามารถจะใช้อำนาจปิดปากห้ามวิพากษ์วิจารณ์ออกความเห็นทางการเมือง พาไปปรับทัศนคติ หรือห้ามชุมนุมทางการเมืองอย่างเช่นอำนาจที่มีอยู่ในปัจจุบันได้
นี่คือสิ่งที่ว่าที่นายกฯ คนใหม่แต่หน้าเดิม อาจจะต้องเตรียมปรับตัวยอมรับไว้แต่เนิ่นๆ ว่าการบริหารประเทศจะไม่เป็นไปโดยสะดวกง่ายดาย เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแน่นอน.