ราวกับพูดแทนคนไทยทั้งประเทศที่จงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ เมื่อครั้งที่นายกฯ ออกมาแถลงการณ์เป็นครั้งแรก หลังจากที่มีประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต
โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ถือเป็น “...วันที่ชาวไทยทั้งปวงไม่ต้องการแม้แต่จะนึกคิด และไม่ปรารถนาแม้แต่จะได้ยิน...” ซึ่งก็เป็นตามนั้นจริงๆ
หัวใจของชาวไทยผู้รักในสถาบันทั้งหลายล้วนแตกสลายลงทันทีเมื่อได้ยินแถลงการณ์จากสำนักพระราชวังดังกล่าว ทั่วประเทศประโคมด้วยเสียงร่ำไห้ ตกอยู่ใต้บรรยากาศอันเศร้าสลดน้ำตานองทั่วแผ่นดิน ทั้งยังปกคลุมไปด้วยหมอกธุมเกตุเป็นอัศจรรย์
อย่างไรก็ตาม ก็เป็นไปตามที่ท่านนายกฯ ได้มีแถลงการณ์ในวาระแรกหลังจากคนไทยทั้งชาติได้สดับข่าวร้าย โดยกล่าวไว้อย่างน่ากินใจ จนควรที่จะคัดลงมาซ้ำว่า
“...ถึงแม้เราจะอยู่ในยามทุกข์โศกน้ำตานองหน้าทั่วกันเพียงใด ประเทศไทย อันเป็นที่รักของพวกเราและของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ต้องดำรงต่อไป อย่าให้การเสด็จสวรรคตครั้งนี้ ทำให้พระราชปณิธานที่จะเห็นราชอาณาจักรของพระองค์มีความเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรมีความผาสุกสวัสดีมีเมตตาและไมตรีต่อกัน ต้องหยุดชะงักลง
การจะแสดงความจงรักภักดี และความอาลัยที่ดีที่สุด คือ เจริญรอยตามพระยุคลบาท สืบสานพระราชปณิธานที่จะรักษาเอกราช อธิปไตย ความสมบูรณ์พูนสุข และ ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ตลอดจนการปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทพระราชดำรัส ที่เคยพระราชทานไว้...”
จะเห็นว่า นายกรัฐมนตรีก็ได้ดำเนินการตามปณิธานที่ประกาศไว้ซึ่งอาจสรุปได้ว่า เราจะต้องแสดงความอาลัยต่อการเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระองค์ท่านไปพร้อมๆ กันในขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้ประเทศชาตินั้นเจริญก้าวหน้าต่อไป
นั่นคือความพยายามรักษาความเป็นปกติ ท่ามกลางบรรยากาศที่ประชาชนคนทั้งประเทศกำลังโศกเศร้า ซึ่งถือเป็นงานยากสำหรับผู้ที่กุมบังเหียนของประเทศ ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหาร คือนายกรัฐมนตรี
เริ่มตั้งแต่ในชั้นแรก ที่มีประกาศว่าจะให้งดการจัดงานมหรสพรื่นเริงเป็นเวลา 30 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์เป็นเวลาหนึ่งปี ส่วนประชาชนทั่วไปให้พิจารณากันตามความเหมาะสม
ก็มีคำถามว่า แล้วสื่อสารมวลชนต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อใหม่อย่างโซเชียลเน็ตเวิร์คนั้นเล่า จะเอาอย่างไร
ในครั้งแรกก็มีกำหนดแผนกันไว้คร่าวๆ ว่า จะให้สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องออกอากาศจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจให้เหมือนกันทั้งหมด เป็นเวลาหนึ่งเดือน และในการนี้ การถ่ายทอดสดผ่านสื่อใหม่อย่าง Facebook live โดยสำนักข่าวต่างๆ ก็ให้ระงับไปก่อน
แต่เพียงวันเดียวเท่านั้น ท่านนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ ก็มีบัญชาโดยตรงให้ “ลด” ความเข้มงวดนี้ลงให้อยู่ในสภาวะที่กำลัง “พอเหมาะพอดี” คือให้สถานีโทรทัศน์และวิทยุต่างๆ สามารถตัดเข้ารายการปกติได้ในช่วงที่ไม่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธี โดยขอให้พิจารณารูปแบบรายการอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการบัญชาการที่ฉลาดและได้สัดส่วนพอเหมาะพอควรมากๆ เนื่องจากหลังจากการประกาศมาตรการในครั้งแรกที่จะให้สื่อเว้นวรรครายการปกติกันตลอดเดือน ก็มีคนในวงการสื่อท้วงติงว่าน่าจะให้โอกาสสถานีโทรทัศน์ต่างๆ สามารถนำเสนอรายการเพื่อแสดงความอาลัยต่อพระองค์ท่านได้อิสระเพื่อความหลากหลาย
และยังเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคสื่อสารมวลชนต่อไปได้โดยไม่สะดุดหยุดลง มีความเป็น “ปกติ” ภายใต้ “บรรยากาศ” แห่งความอาลัย
นี่คือเรื่องแรกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการกับสภาวะแห่งความโศกเศร้า ที่ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดในยุคสมัยใหม่จะมีประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ในการที่ประชาชนจะต้องไว้ทุกข์ แต่ก็มีปัญหาซึ่งก็เป็นไปตามธรรมดาของหลักเศรษฐศาสตร์ คือชุดไว้ทุกข์อันประกอบไปด้วยเสื้อผ้าชุดดำขาดตลาดเนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นมากกว่าอุปทานเดิมหลายเท่า ซึ่งนอกจากขาดตลาดแล้ว ก็ยังมีราคาแพงอีกด้วย
โดยทันต่อเหตุการณ์ ก็มีคำแนะนำมาจากรัฐบาล คือตัวท่านนายกฯ เองว่า ให้ประชาชนสามารถไว้ทุกข์ได้ด้วยการแต่งชุดสีสุภาพ และติดริบบิ้นสีดำเพื่อแสดงออกซึ่งการไว้ทุกข์ก็ได้
นอกจากนี้ก็ยังสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ไปดำเนินการเจรจากับผู้ผลิตและผู้ค้า ให้เพิ่มจำนวนการผลิตเสื้อผ้าสีดำ และกำหนดราคาให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อหามาใส่ได้อย่างไม่เดือดร้อน
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เป็นการแก้ปัญหาที่ฉับพลันรวดเร็วภายในวันหรือสองวัน นับแต่วันที่เริ่มปรากฏปัญหาขึ้น
และเมื่อมีข้อสงสัยของประชาชนหรือสื่อมวลชนในเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ก็จะมีคำตอบมาอย่างรวดเร็วจากทางรัฐบาลโดยท่านนายกฯ เป็นผู้แถลงเอง ซึ่งการแถลงข่าวที่รวดเร็ว ตรงไปตรงมานี้ ช่วยขจัดข่าวลือหรือการวิเคราะห์วิจารณ์อันนอกลู่นอกทางของประชาชนบางกลุ่มหรือสื่อบางสำนักได้อย่างเด็ดขาด
หรือล่าสุด เรื่องที่ปรากฏว่ามีประชาชนผู้จงรักภักดีใช้มาตรการทางสังคมต่อพวกที่หมิ่นเบื้องสูงบ้าง หรือเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องของการไว้ทุกข์บ้าง มีการทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องใครใส่เสื้อดำไม่ใส่เสื้อดำ ซึ่งในที่สุดก็เป็นภาพที่ไม่งามแพร่ออกไปในสื่อต่างๆ รวมถึงสื่อนอกที่เหมือนรอจังหวะแบบนี้อยู่แล้ว ก็ปรากฏว่าท่านนายกฯ ก็ออกมา “ปราม” สถานการณ์ดังกล่าวอย่างทันควันไม่ให้แพร่กระจายการใช้มาตรการทางสังคมที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดภาพที่ไม่งามนี้ต่อไป
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คะแนนความนิยมในตัวของนายกรัฐมนตรีนั้นพุ่งขึ้นเต็มที่ในช่วงเวลานี้
แม้จะเป็นเวลาแห่งความโศกาอาดูรของปวงชนชาวไทยทั้งหลาย แต่เราก็จำเป็นที่จะต้องชื่นชมในการเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ไว้ว่า เพราะบทบาทที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ช่วงเวลาแห่งความยากลำบากทางจิตใจของคนไทยนั้น ไม่ล่วงเลยไปจนเกิดความกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพและการขับเคลื่อนประเทศโดยรวม หรือไม่ทำให้เกิดสภาวะของรัฐล้มเหลว เพราะประชาชนขาดที่พึ่งทางใจอย่างกะทันหัน
การเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พล.อ.ประยุทธ์ก็ทำได้อย่างดีมากๆ จนเรานึกไม่ออกเลยว่า ถ้าไม่ได้ท่านเป็นนายกฯ แล้ว สถานการณ์อันใหญ่หลวงอย่างที่ประเทศไม่เคยประสบมาก่อนนี้จะขับเคลื่อนแตกขยายไปได้อย่างไร
จึงอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลาอันเลวร้ายที่สุดของประเทศไทย ก็ยังโชคดีที่ยังมีนายกรัฐมนตรีอย่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงเวลาที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นนี้.
โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ถือเป็น “...วันที่ชาวไทยทั้งปวงไม่ต้องการแม้แต่จะนึกคิด และไม่ปรารถนาแม้แต่จะได้ยิน...” ซึ่งก็เป็นตามนั้นจริงๆ
หัวใจของชาวไทยผู้รักในสถาบันทั้งหลายล้วนแตกสลายลงทันทีเมื่อได้ยินแถลงการณ์จากสำนักพระราชวังดังกล่าว ทั่วประเทศประโคมด้วยเสียงร่ำไห้ ตกอยู่ใต้บรรยากาศอันเศร้าสลดน้ำตานองทั่วแผ่นดิน ทั้งยังปกคลุมไปด้วยหมอกธุมเกตุเป็นอัศจรรย์
อย่างไรก็ตาม ก็เป็นไปตามที่ท่านนายกฯ ได้มีแถลงการณ์ในวาระแรกหลังจากคนไทยทั้งชาติได้สดับข่าวร้าย โดยกล่าวไว้อย่างน่ากินใจ จนควรที่จะคัดลงมาซ้ำว่า
“...ถึงแม้เราจะอยู่ในยามทุกข์โศกน้ำตานองหน้าทั่วกันเพียงใด ประเทศไทย อันเป็นที่รักของพวกเราและของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ต้องดำรงต่อไป อย่าให้การเสด็จสวรรคตครั้งนี้ ทำให้พระราชปณิธานที่จะเห็นราชอาณาจักรของพระองค์มีความเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรมีความผาสุกสวัสดีมีเมตตาและไมตรีต่อกัน ต้องหยุดชะงักลง
การจะแสดงความจงรักภักดี และความอาลัยที่ดีที่สุด คือ เจริญรอยตามพระยุคลบาท สืบสานพระราชปณิธานที่จะรักษาเอกราช อธิปไตย ความสมบูรณ์พูนสุข และ ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ตลอดจนการปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทพระราชดำรัส ที่เคยพระราชทานไว้...”
จะเห็นว่า นายกรัฐมนตรีก็ได้ดำเนินการตามปณิธานที่ประกาศไว้ซึ่งอาจสรุปได้ว่า เราจะต้องแสดงความอาลัยต่อการเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระองค์ท่านไปพร้อมๆ กันในขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้ประเทศชาตินั้นเจริญก้าวหน้าต่อไป
นั่นคือความพยายามรักษาความเป็นปกติ ท่ามกลางบรรยากาศที่ประชาชนคนทั้งประเทศกำลังโศกเศร้า ซึ่งถือเป็นงานยากสำหรับผู้ที่กุมบังเหียนของประเทศ ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหาร คือนายกรัฐมนตรี
เริ่มตั้งแต่ในชั้นแรก ที่มีประกาศว่าจะให้งดการจัดงานมหรสพรื่นเริงเป็นเวลา 30 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์เป็นเวลาหนึ่งปี ส่วนประชาชนทั่วไปให้พิจารณากันตามความเหมาะสม
ก็มีคำถามว่า แล้วสื่อสารมวลชนต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อใหม่อย่างโซเชียลเน็ตเวิร์คนั้นเล่า จะเอาอย่างไร
ในครั้งแรกก็มีกำหนดแผนกันไว้คร่าวๆ ว่า จะให้สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องออกอากาศจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจให้เหมือนกันทั้งหมด เป็นเวลาหนึ่งเดือน และในการนี้ การถ่ายทอดสดผ่านสื่อใหม่อย่าง Facebook live โดยสำนักข่าวต่างๆ ก็ให้ระงับไปก่อน
แต่เพียงวันเดียวเท่านั้น ท่านนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ ก็มีบัญชาโดยตรงให้ “ลด” ความเข้มงวดนี้ลงให้อยู่ในสภาวะที่กำลัง “พอเหมาะพอดี” คือให้สถานีโทรทัศน์และวิทยุต่างๆ สามารถตัดเข้ารายการปกติได้ในช่วงที่ไม่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธี โดยขอให้พิจารณารูปแบบรายการอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการบัญชาการที่ฉลาดและได้สัดส่วนพอเหมาะพอควรมากๆ เนื่องจากหลังจากการประกาศมาตรการในครั้งแรกที่จะให้สื่อเว้นวรรครายการปกติกันตลอดเดือน ก็มีคนในวงการสื่อท้วงติงว่าน่าจะให้โอกาสสถานีโทรทัศน์ต่างๆ สามารถนำเสนอรายการเพื่อแสดงความอาลัยต่อพระองค์ท่านได้อิสระเพื่อความหลากหลาย
และยังเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคสื่อสารมวลชนต่อไปได้โดยไม่สะดุดหยุดลง มีความเป็น “ปกติ” ภายใต้ “บรรยากาศ” แห่งความอาลัย
นี่คือเรื่องแรกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการกับสภาวะแห่งความโศกเศร้า ที่ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดในยุคสมัยใหม่จะมีประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ในการที่ประชาชนจะต้องไว้ทุกข์ แต่ก็มีปัญหาซึ่งก็เป็นไปตามธรรมดาของหลักเศรษฐศาสตร์ คือชุดไว้ทุกข์อันประกอบไปด้วยเสื้อผ้าชุดดำขาดตลาดเนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นมากกว่าอุปทานเดิมหลายเท่า ซึ่งนอกจากขาดตลาดแล้ว ก็ยังมีราคาแพงอีกด้วย
โดยทันต่อเหตุการณ์ ก็มีคำแนะนำมาจากรัฐบาล คือตัวท่านนายกฯ เองว่า ให้ประชาชนสามารถไว้ทุกข์ได้ด้วยการแต่งชุดสีสุภาพ และติดริบบิ้นสีดำเพื่อแสดงออกซึ่งการไว้ทุกข์ก็ได้
นอกจากนี้ก็ยังสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ไปดำเนินการเจรจากับผู้ผลิตและผู้ค้า ให้เพิ่มจำนวนการผลิตเสื้อผ้าสีดำ และกำหนดราคาให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อหามาใส่ได้อย่างไม่เดือดร้อน
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เป็นการแก้ปัญหาที่ฉับพลันรวดเร็วภายในวันหรือสองวัน นับแต่วันที่เริ่มปรากฏปัญหาขึ้น
และเมื่อมีข้อสงสัยของประชาชนหรือสื่อมวลชนในเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ก็จะมีคำตอบมาอย่างรวดเร็วจากทางรัฐบาลโดยท่านนายกฯ เป็นผู้แถลงเอง ซึ่งการแถลงข่าวที่รวดเร็ว ตรงไปตรงมานี้ ช่วยขจัดข่าวลือหรือการวิเคราะห์วิจารณ์อันนอกลู่นอกทางของประชาชนบางกลุ่มหรือสื่อบางสำนักได้อย่างเด็ดขาด
หรือล่าสุด เรื่องที่ปรากฏว่ามีประชาชนผู้จงรักภักดีใช้มาตรการทางสังคมต่อพวกที่หมิ่นเบื้องสูงบ้าง หรือเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องของการไว้ทุกข์บ้าง มีการทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องใครใส่เสื้อดำไม่ใส่เสื้อดำ ซึ่งในที่สุดก็เป็นภาพที่ไม่งามแพร่ออกไปในสื่อต่างๆ รวมถึงสื่อนอกที่เหมือนรอจังหวะแบบนี้อยู่แล้ว ก็ปรากฏว่าท่านนายกฯ ก็ออกมา “ปราม” สถานการณ์ดังกล่าวอย่างทันควันไม่ให้แพร่กระจายการใช้มาตรการทางสังคมที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดภาพที่ไม่งามนี้ต่อไป
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คะแนนความนิยมในตัวของนายกรัฐมนตรีนั้นพุ่งขึ้นเต็มที่ในช่วงเวลานี้
แม้จะเป็นเวลาแห่งความโศกาอาดูรของปวงชนชาวไทยทั้งหลาย แต่เราก็จำเป็นที่จะต้องชื่นชมในการเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ไว้ว่า เพราะบทบาทที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ช่วงเวลาแห่งความยากลำบากทางจิตใจของคนไทยนั้น ไม่ล่วงเลยไปจนเกิดความกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพและการขับเคลื่อนประเทศโดยรวม หรือไม่ทำให้เกิดสภาวะของรัฐล้มเหลว เพราะประชาชนขาดที่พึ่งทางใจอย่างกะทันหัน
การเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พล.อ.ประยุทธ์ก็ทำได้อย่างดีมากๆ จนเรานึกไม่ออกเลยว่า ถ้าไม่ได้ท่านเป็นนายกฯ แล้ว สถานการณ์อันใหญ่หลวงอย่างที่ประเทศไม่เคยประสบมาก่อนนี้จะขับเคลื่อนแตกขยายไปได้อย่างไร
จึงอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลาอันเลวร้ายที่สุดของประเทศไทย ก็ยังโชคดีที่ยังมีนายกรัฐมนตรีอย่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงเวลาที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นนี้.