ความเดิมตอนที่แล้ว อ่าน
Alone in Gifu ๑.๐ : กว่าจะถึงทาคะยะมะ ...
Alone in Gifu ๑.๑ : ตะลุย หมู่บ้านชาวฮิดะ Hida no sato
Alone in Gifu ๑.๒ : มรดกโลก Shirakawa go
Alone in Gifu ๑.๓ : Sanmachi เขาว่าที่นี่ Little Kyoto
Alone in Chubu : ข้าวหน้าทะเล สุดอลัง!! ที่ Kanazawa
Alone in Kyoto ๒.๐ : Nishi hongan ji วัดนี้ไม่ธรรมดา
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ : วัดนิชิ ฮงงัน นครเกียวโต ญี่ปุ่น
ภารกิจของผมในวันนี้ยังไม่หยุดอยู่ที่วัดเท่านั้น เรายังต้องเดินทางกันต่อไป จะเรียกว่าตามรอยแหล่งมรดกโลกก็คงไม่ผิดนัก เพราะจุดหมายต่อจากนี้ มีทั้งปราสาท และ ศาลเจ้า ซึ่งสถานที่ต่อไปก็คือ “ปราสาทนิโจ” (Nijo jo) ไม่ไกลจากแถวนี้เช่นกัน แต่บอกว่าไม่ไกลก็ไม่ใช่ว่าจะเดินไปนะครับ ขอเป็นไปแบบสบายนิดนึง นั่งรถประจำทางดีกว่า เพราะสะดวกและที่สำคัญจะได้ใช้บัตรโดยสารซิตี้ บัส ออล เดย์ พาส หรือว่า ตั๋ววัน ที่เราซื้อมาเมื่อวานด้วย
รอคอยไม่นานรถเมล์สีเขียวสาย ๙ ก็มา แต่...ได้โหนแทน ฮ่าๆๆ ค่าโดยสาร ๒๓๐ เยน เราใช้ตั๋ววันก็ไม่ต้องมากังวลกับการหาเหรียญหยอดแต่อย่างใด นั่งไปประมาณไม่กี่ป้ายก็ถึงหน้าทางเข้าปราสาท และแน่นอนที่นี่ไม่ฟรีเหมือนวัดนิชิ ฮงงัน ถ้าจะเข้าชมต้องจ่าย ๖๐๐ เยน เป็นค่าเข้าสถานที่ ซึ่งเวลาสายๆ แบบนี้ก็คราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวหลากเชื้อชาติยืนรอซื้อตั๋วกันเพียบไปหมด น่าเสียดายที่ซุ้มประตูทางเข้าหลัก ฮิงะชิโอะเตะ (Higashiote mon) อยู่ระหว่างการซ่อมแซม เลยได้ภาพที่ปกคลุมไปด้วยฉากป้องกันฝั่งและอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างมาแทน
จริงๆ แล้วเมื่อครั้งตอนที่มาเกียวโตก่อนหน้านี้ ที่นี่ก็เคยเป็นอีก ๑ ลิสต์สถานที่ที่อยากมาเยือนสักครั้ง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นปราสาทที่อยู่กลางเมืองหลวงเก่า แต่งวดนั้นเผอิญวางโปรแกรมเดินทางต่อเนื่องไว้ค่อนข้างห่างไกลกับที่นี่ เลยไม่ได้มา คราวนี้เลยได้เลือกมาเยือนสมใจอยาก ที่น่าสนใจก็คือ ในรูปภาพที่ดูผ่านๆ ทางเว็บไซต์ไม่ยักกะมีรูปปราสาทสูงๆ สวยๆ เลยแหะ? แปลกจัง หรือที่นี่เขาทำปราสาทชั้นเดียว?
ปราสาทนิโจ ถูกสร้างขึ้นโดยอิเอะยะสุ โทะกุงะวะ เมื่อปี ๒๑๔๔ เสร็จสิ้นในอีก ๒ ปีต่อมา น่าจะถือเป็นการฉลองตำแหน่งโชกุนของเขาเลยก็ว่าได้ เคยถูกใช้เป็นที่ประชุมเพื่อทำสงครามในยุทธการล้อมปราสาทโอซาก้าใน พ.ศ.๒๑๕๗ เมื่อมาถึงยุคของอิเอะมิทสุ ก็ได้เริ่มมีการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้น อาทิ ฮงมะรุ , นิโนะมะรุ และปราสาทใหญ่ โดยแล้วเสร็จในปี ๒๑๖๙ ต่อมา ปี ๒๒๙๓ ตัวปราสาท ๕ ชั้นได้ถูกฟ้าผ่าจนไฟไหม้ทั้งหลัง
พื้นที่ปราสาทนี้ถูกครอบครองโดยตระกูลโทะกุงะวะ จนสิ้นระบอบโชกุน ทางรัฐบาลกลาง หรือ ดาโจะคังได (Dajokandai) ได้เข้ามาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ก่อนที่จะเป็นของจังหวัด และจากนั้นสำนักพระราชวังก็ได้เข้ามาถือครองในปี ๒๔๒๗ โดยย้ายพระราชวังคาสึระ โนะ มิยะ (Katsura no miya) จากภายในพระราชวังเกียวโต มาตั้งบริเวณอาคารฮงมะรุ แล้วเปลี่ยนชื่อที่ประทับว่า พระราชวังฮงมะรุ (Honmaru palace) แต่ภายหลังในปี ๒๔๘๒ สำนักพระราชวังก็ได้บริจาคพื้นที่ปราสาทนี้ให้กับทางกรุงเกียวโตดูแล และต่อมาก็ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกด้วยเช่นกัน
นั่นก็หมายความว่า ... เดิมเคยมีปราสาท แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วนั่นเอง
เอาล่ะ เรามาสำรวจกันดีกว่า รอบปราสาทนิโจ ถูกขุดเป็นคูน้ำล้อมรอบ เมื่อเราผ่านซุ้มประตูคาระมงที่สไตล์คล้ายๆ กับที่เราเห็นในวัดนิชิ ฮงงัน มาแล้วก็จะมาสู่ในส่วนแรกที่เรียกว่า "พระราชวังนิโนะมะรุ" (Ninomaru palace) เป็นอาคาร ๖ หลังเชื่อมต่อกันเป็นเส้นทแยงมุม รวม ๓๓ ห้อง มีพื้นที่ ๓,๓๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วยส่วนทางเข้า คุรุมะโยะเซะ (Kurumayose) ถัดมาเป็น อาคารโทะซะมุไร (Tozamurai no ma) ห้องสำหรับไดเมียวที่มารอเข้าไปภายในปราสาท จุดเด่นอยู่ที่รูปวาดเสือประดับที่ประตู ,ห้องโจะคุชิ (Chokushi no ma) ใช้พบปะระหว่างโชกุน กับราชทูตแห่งพระราชสำนัก , ห้อง ชิกิได (Shikidai no ma) ไว้สำหรับพบปะระหว่างโชกุน กับสมาชิกคณะมนตรีที่สูงอายุกว่า ,ห้อง โอะฮิโระมะจิ และห้อง นิ (Ohiroma Ichi no ma, Ni no ma) ห้องโถงใหญ่เพื่อใช้พบปะระหว่างโชกุน กับ บรรดาไดเมียว อย่างเป็นทางการ ,ห้องโอะฮิระมะ ยน (Ohiroma yon no ma) คลังสรรพวุธ , ห้องคุโระ โชะอิน (Kuro Shoin) ห้องพิเศษไว้ใช้สำหรับพูดคุยระหว่างโชกุนกับบรรดาไดเมียวตระกูลที่เคยร่วมรบข้างตระกูลโทกุงะวะ ในสงครามเซกิฮะระ และ ห้อง ชิโระ โชะอิน (Shiro Shoin) ห้องนอนของโชกุน
ทั้งหมดที่ร่ายมานี้ ... ไม่มีภาพประกอบ เนื่องจากภายในอาคาร ไม่สามารถถ่ายรูปได้ ซึ่งภายในก็มีภาพจิตรกรรมอันสวยงามมากอยู่แทบทุกห้อง ... แต่ ไม่ใช่ของจริงครับ เขาย้ายไปไว้ที่ ศูนย์แสดงผลงานครบรอบ ๔๐๐ ปี ปราสาทนิโจ ที่อยู่ใกล้ๆ กันทั้งหมดแล้ว ถ้าจะชมของจริงต้องเสียค่าเข้าอีก ๑๐๐ เยน ส่วนพระราชวังนี้ จัดว่าเก่าแก่ที่สุดในนี้แล้วกระมัง เพราะถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นสมบัติแห่งชาติเพียงอย่างเดียวภายในปราสาท
วนดูภายในจนครบก็กลับมาสู่ด้านทางเข้าเดิมเพื่อรับรองเท้าแล้วเดินอ้อมผ่านสวนข้ามคูน้ำที่ล้อมรอบอีกชั้นเข้าสู่ชั้นในของปราสาท
ในส่วนนี้เป็นที่ตั้งของ "พระราชวังฮงมะรุ" ซึ่งไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม เมื่อกี้เล่าไปว่า พระราชวังหลังนี้ย้ายมาจากที่อื่น แล้วเรือนฮงมะรุเก่าล่ะ? เขาบอกว่า เรือนหลังแรกนั้นถูกไฟไหม้ในคราเหตุอัคคีภัยครั้งใหญ่เมืองเกียวโต เมื่อปี ๒๓๓๑ ต่อมาก็ได้มีการก่อสร้างใหม่ โดยโชกุนโยะชิโนะบุ เป็นคนสุดท้ายของตระกูลโทะกุงะวะ ที่ได้อยู่ที่นี่ก่อนสิ้นอำนาจ ตัวอาคารก็ถูกรื้อถอนในปี ๒๔๒๔ และก็ถูกแทนที่ด้วยพระราชวังในเวลาต่อมา
เราต้องเดินลัดเลาะผ่านสวนขึ้นไปชมวิวบริเวณจุดที่ตั้งของปราสาทที่ตอนนี้ไม่มีแล้ว อยู่ตรงส่วนมุมติดริมคู ข้างบนนี้ถ้ายังมีปราสาทนี่คงจะสวยน่าดู แต่ตอนนี้กลายเป็นลานที่นั่งพักเมื่อยกันไปทั้งญี่ปุ่นและต่างชาติ
ถัดจากพื้นที่ชั้นใน เราเดินออกด้านหลังข้ามสะพานไปยังสวน ต้องบอกก่อนว่า ในนี้นี่ร่มรื่นตามสไตล์ญี่ปุ่น ที่เน้นการอยู่กับธรรมชาติอย่างมาก ทุกพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้ สวนหิน บ่อน้ำ อย่างทางเดินตรงนี้ก็มีดอกไม้ให้ชมมากมาย เส้นทางได้ขีดให้เราเดินไปผ่านสวนหิน เซย์ริว เอ็น (Seiryu-en) มุ่งสู่ทางออกซึ่งจะผ่านดงต้นซากุระเรียงรายอยู่หลายต้น เขาว่าที่ปราสาทนี้คือ ๑ ในสถานที่ชมซากุระดีที่สุดในเกียวโตด้วยนะ แต่ในช่วงนี้ดอกซากุระเพิ่งจะเริ่มผลิบานออกมาให้ได้ชื่นชม เลยแอบรู้สึกเสียดายนิดๆ ว่า ถ้าเรามาช้ากว่านี้หน่อยคงได้ชมดอกซากุระบานสะพรั่งแบบเต็มรูปแบบแล้ว
ก่อนจะถึงทางออกเราได้พบกับลานกิจกรรม งวดนี้เขาเอาอาหารและของที่ระลึกมาตั้งเต็นท์วางขาย มีคนนั่งทานอาหารบนเก้าอี้กลางลานที่จัดวางเอาไว้ ส่วนผมเดินไปเรื่อยๆ ไปเจอร้านขายไอติม อยู่ในโรงอาหาร ชื่อร้าน “ซาโนะห์” (Sanoah) ขายเครื่องดื่มชาเขียว และไอศกรีมกดที่เรียกว่า ซอร์ฟเสิร์ฟ แบบไอติมแมคฯ มี ๔ รส คือ ชาเขียวจากเมืองอุจิ ,ชาเขียวเข้มข้น ,โฮะจิฉะ และวานิลลา ซึ่งก็มีแบบทรงเครื่องเต็มที่ กับแบบใส่วาฟเฟิลและขนมทองม้วนอบเชยแท่ง (ที่จะได้สัมผัสกลิ่นอบเชยเต็มๆ คำ) และแบบใส่โคนธรรมดา ผมเลือกอย่างหลังเพราะถูกตังค์สุด ในราคา ๓๘๐ เยน กับไอศกรีมรส สตรองมัชฉะ
ไม่นานก็ได้ไอศกรีมโคนที่ถูกวางไว้บนแท่นแหล็ก ใส่ถาดเสิร์ฟมาให้ ไอ้เราจะถือเดินกินไปเลยก็ไม่ได้ครับ ที่นี่เขามีกฎคือ ห้ามเดินถือกิน!! ต้องหาที่นั่งนั่งทานเป็นกิจลักษณะ เอ้า ก็ดี ถือว่าได้พักเท้าเล็กน้อย พอหาที่นั่งแทรกกับชาวบ้านเขาได้ก็เริ่มบรรจงเลียไอติมอย่างใจเย็น .. แต่ สัมผัสแรกที่ได้รับคือ .. ชาเขียวเพียวๆ เลยครับ ไม่ผสมสิ่งใดนอกจากชาเข้มๆ เต็มๆ คำ อื้อหือ ถ้าคนกินไม่สตรองกับความขมได้นี่คงมีทิ้งแน่ๆ ... แต่สำหรับผม .. ราคาเท่านี้ ก็ต้องทานให้หมดสิครับ
ละเลียดไอติมจนหมดทั้งโคน ก็ออกเดินทางจากลาปราสาทนิโจ เพื่อจุดมุ่งหมายต่อไป ... แต่เดี๋ยวก่อน ผมต้องกลับไปเอาสัมภาระที่ที่พักครับ โชคดีรถเมล์สาย ๕๐ วิ่งผ่านหน้าปราสาท เลยได้นั่งกลับไปยังเกสต์เฮาส์ เพื่อหยิบกระเป๋าออกมาตามเวลานัดหมาย พอไปถึงที่นั่น กลับต้องพบกับความประหลาดอีกแล้ว ... พอเปิดประตูเข้าไปไม่เจอใครเฝ้าอยู่เลยครับ เออ แปลกใจมาก เขาไม่กลัวของหายหรืออย่างไร ผมก็คว้ากระเป๋าแล้วแอบเหลือบไปเห็นห้องๆ หนึ่ง ในนั้นมีกระเป๋าเดินทางเหมือนของนักท่องเที่ยวแบบผมอยู่ภายในหลายใบ เอ๋...หรือว่าจะเป็นห้องฝากกระเป๋า ... แล้วทำไมอ้างกับเราว่าไม่มีที่ฝากล่ะ? ... ได้แต่เก็บความสงสัยแล้วเดินจากมา
ผมกลายเป็นมนุษย์บ้าหอบฟางอีกครั้ง เดินมาสู่ถนนโกะโจะ (Gojo dori) แต่แน่นอน นี่คือแผนที่ผมเพิ่งเขียนขึ้นมาใหม่เมื่อคืนนี้ หลังเจอปัญหาไม่สามารถฝากกระเป๋าได้ หลายสถานที่ถูกตัดออกไปเพราะเวลาไม่พอ รวมทั้งร้านข้าวด้วย ทำให้มื้อกลางวันนี้ผมต้องมาฝากท้องกับร้านข้าวหน้าเนื้อที่มีสาขาในไทยอย่าง “โยะชิโนะยะ” (Yoshinoya) แถวแยกคาระสุมะโกะโจะ
ร้านนี้ผมคงไม่ต้องพูดอะไรมาก หลายคนคงเคยทาน เคยสัมผัสกันมาแล้ว ... แต่ยังไงเสีย ที่นี่ก็มีความต่างจากบ้านเราครับ ... เริ่มจากที่นั่ง เขาจะมีทั้งแบบนั่งหน้าบาร์ยาวหันหน้าชนกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางสำหรับพนักงาน ไม่ใช่คอยทำอาหาร แต่ไว้สำหรับรับออเดอร์ เสิร์ฟอาหาร และคิดเงินให้กับลูกค้า ส่วนที่ ๒ คือโต๊ะนั่งแบบปกติสำหรับมาเป็นกลุ่ม ก็มีพนักงานอีกชุดคอยให้บริการ และที่นี่เขามีน้ำชาฟรีให้ทานครับ อันนี้บ้านเราน้ำเปล่าก็เสียตังค์ อ่อ เมนูก็ต่างครับ มีพวกแนวๆ หม้อไฟอะไรอย่างนี้ด้วย ส่วนผมสั่งข้าวหน้าเนื้อต้นฉบับมาลองครับ อยากรู้ว่าเหมือนที่ไทยหรือไม่ ...
และผลปรากฏว่า ... ก็คล้ายๆ กันครับ เนื้อเหนียวนุ่มพอๆ กัน แต่ปริมาณดูมากกว่า ส่วนน้ำราดเหมือนที่นี่จะให้มาเยอะกว่านิดนึง สำหรับชามนี้เสียค่าใช้จ่ายไป ๕๕๐ เยน ก็ไม่แพงนัก
พออิ่มท้องก็ต้องออกเดินกันต่อครับ ผมสังเกตว่าบนถนนแถวนี้นี่มีร้านกิโมโนให้เช่าตั้งอยู่ด้วยแฮะ ก็ไม่รู้ว่าราคาเท่าไหร่ว่างๆ ต้องลองไปสืบดู (ให้ใครใส่ ... ใส่เองหรือ?) ซึ่งก็มีอยู่หลายร้านเหมือนกัน เดินมองไปเรื่อย
ไม่นานก็ถึงแยกคาระวะมะจิโกะโจะ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ป้ายรถเมล์แรกแล้วยืนรอ รถเมล์ที่นี่ค่อนข้างตรงเวลาตามป้ายที่เขาระบุไว้ จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการกะเวลาเดินทางเท่าไหร่นัก แต่เรื่องของสภาพการจราจร ถ้าช่วงเร่งด่วนก็ติดพอสมควรเหมือนกัน สักพักรถเมล์เกียวโตบัส สาย ๔ สีเขียวก็ขับเคลื่อนมาจอดให้เราขึ้นเพื่อพาเราไปยังสถานที่ต่อไป ... ศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งของนครเกียวโต
อ่านต่อฉบับหน้า...
ข้อมูลบางส่วน : http://www.japan-guide.com/e/e3918.html ,http://www2.city.kyoto.lg.jp/bunshi/nijojo/english/annai/index.html
Alone in Gifu ๑.๐ : กว่าจะถึงทาคะยะมะ ...
Alone in Gifu ๑.๑ : ตะลุย หมู่บ้านชาวฮิดะ Hida no sato
Alone in Gifu ๑.๒ : มรดกโลก Shirakawa go
Alone in Gifu ๑.๓ : Sanmachi เขาว่าที่นี่ Little Kyoto
Alone in Chubu : ข้าวหน้าทะเล สุดอลัง!! ที่ Kanazawa
Alone in Kyoto ๒.๐ : Nishi hongan ji วัดนี้ไม่ธรรมดา
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ : วัดนิชิ ฮงงัน นครเกียวโต ญี่ปุ่น
ภารกิจของผมในวันนี้ยังไม่หยุดอยู่ที่วัดเท่านั้น เรายังต้องเดินทางกันต่อไป จะเรียกว่าตามรอยแหล่งมรดกโลกก็คงไม่ผิดนัก เพราะจุดหมายต่อจากนี้ มีทั้งปราสาท และ ศาลเจ้า ซึ่งสถานที่ต่อไปก็คือ “ปราสาทนิโจ” (Nijo jo) ไม่ไกลจากแถวนี้เช่นกัน แต่บอกว่าไม่ไกลก็ไม่ใช่ว่าจะเดินไปนะครับ ขอเป็นไปแบบสบายนิดนึง นั่งรถประจำทางดีกว่า เพราะสะดวกและที่สำคัญจะได้ใช้บัตรโดยสารซิตี้ บัส ออล เดย์ พาส หรือว่า ตั๋ววัน ที่เราซื้อมาเมื่อวานด้วย
รอคอยไม่นานรถเมล์สีเขียวสาย ๙ ก็มา แต่...ได้โหนแทน ฮ่าๆๆ ค่าโดยสาร ๒๓๐ เยน เราใช้ตั๋ววันก็ไม่ต้องมากังวลกับการหาเหรียญหยอดแต่อย่างใด นั่งไปประมาณไม่กี่ป้ายก็ถึงหน้าทางเข้าปราสาท และแน่นอนที่นี่ไม่ฟรีเหมือนวัดนิชิ ฮงงัน ถ้าจะเข้าชมต้องจ่าย ๖๐๐ เยน เป็นค่าเข้าสถานที่ ซึ่งเวลาสายๆ แบบนี้ก็คราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวหลากเชื้อชาติยืนรอซื้อตั๋วกันเพียบไปหมด น่าเสียดายที่ซุ้มประตูทางเข้าหลัก ฮิงะชิโอะเตะ (Higashiote mon) อยู่ระหว่างการซ่อมแซม เลยได้ภาพที่ปกคลุมไปด้วยฉากป้องกันฝั่งและอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างมาแทน
จริงๆ แล้วเมื่อครั้งตอนที่มาเกียวโตก่อนหน้านี้ ที่นี่ก็เคยเป็นอีก ๑ ลิสต์สถานที่ที่อยากมาเยือนสักครั้ง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นปราสาทที่อยู่กลางเมืองหลวงเก่า แต่งวดนั้นเผอิญวางโปรแกรมเดินทางต่อเนื่องไว้ค่อนข้างห่างไกลกับที่นี่ เลยไม่ได้มา คราวนี้เลยได้เลือกมาเยือนสมใจอยาก ที่น่าสนใจก็คือ ในรูปภาพที่ดูผ่านๆ ทางเว็บไซต์ไม่ยักกะมีรูปปราสาทสูงๆ สวยๆ เลยแหะ? แปลกจัง หรือที่นี่เขาทำปราสาทชั้นเดียว?
ปราสาทนิโจ ถูกสร้างขึ้นโดยอิเอะยะสุ โทะกุงะวะ เมื่อปี ๒๑๔๔ เสร็จสิ้นในอีก ๒ ปีต่อมา น่าจะถือเป็นการฉลองตำแหน่งโชกุนของเขาเลยก็ว่าได้ เคยถูกใช้เป็นที่ประชุมเพื่อทำสงครามในยุทธการล้อมปราสาทโอซาก้าใน พ.ศ.๒๑๕๗ เมื่อมาถึงยุคของอิเอะมิทสุ ก็ได้เริ่มมีการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้น อาทิ ฮงมะรุ , นิโนะมะรุ และปราสาทใหญ่ โดยแล้วเสร็จในปี ๒๑๖๙ ต่อมา ปี ๒๒๙๓ ตัวปราสาท ๕ ชั้นได้ถูกฟ้าผ่าจนไฟไหม้ทั้งหลัง
พื้นที่ปราสาทนี้ถูกครอบครองโดยตระกูลโทะกุงะวะ จนสิ้นระบอบโชกุน ทางรัฐบาลกลาง หรือ ดาโจะคังได (Dajokandai) ได้เข้ามาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ก่อนที่จะเป็นของจังหวัด และจากนั้นสำนักพระราชวังก็ได้เข้ามาถือครองในปี ๒๔๒๗ โดยย้ายพระราชวังคาสึระ โนะ มิยะ (Katsura no miya) จากภายในพระราชวังเกียวโต มาตั้งบริเวณอาคารฮงมะรุ แล้วเปลี่ยนชื่อที่ประทับว่า พระราชวังฮงมะรุ (Honmaru palace) แต่ภายหลังในปี ๒๔๘๒ สำนักพระราชวังก็ได้บริจาคพื้นที่ปราสาทนี้ให้กับทางกรุงเกียวโตดูแล และต่อมาก็ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกด้วยเช่นกัน
นั่นก็หมายความว่า ... เดิมเคยมีปราสาท แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วนั่นเอง
เอาล่ะ เรามาสำรวจกันดีกว่า รอบปราสาทนิโจ ถูกขุดเป็นคูน้ำล้อมรอบ เมื่อเราผ่านซุ้มประตูคาระมงที่สไตล์คล้ายๆ กับที่เราเห็นในวัดนิชิ ฮงงัน มาแล้วก็จะมาสู่ในส่วนแรกที่เรียกว่า "พระราชวังนิโนะมะรุ" (Ninomaru palace) เป็นอาคาร ๖ หลังเชื่อมต่อกันเป็นเส้นทแยงมุม รวม ๓๓ ห้อง มีพื้นที่ ๓,๓๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วยส่วนทางเข้า คุรุมะโยะเซะ (Kurumayose) ถัดมาเป็น อาคารโทะซะมุไร (Tozamurai no ma) ห้องสำหรับไดเมียวที่มารอเข้าไปภายในปราสาท จุดเด่นอยู่ที่รูปวาดเสือประดับที่ประตู ,ห้องโจะคุชิ (Chokushi no ma) ใช้พบปะระหว่างโชกุน กับราชทูตแห่งพระราชสำนัก , ห้อง ชิกิได (Shikidai no ma) ไว้สำหรับพบปะระหว่างโชกุน กับสมาชิกคณะมนตรีที่สูงอายุกว่า ,ห้อง โอะฮิโระมะจิ และห้อง นิ (Ohiroma Ichi no ma, Ni no ma) ห้องโถงใหญ่เพื่อใช้พบปะระหว่างโชกุน กับ บรรดาไดเมียว อย่างเป็นทางการ ,ห้องโอะฮิระมะ ยน (Ohiroma yon no ma) คลังสรรพวุธ , ห้องคุโระ โชะอิน (Kuro Shoin) ห้องพิเศษไว้ใช้สำหรับพูดคุยระหว่างโชกุนกับบรรดาไดเมียวตระกูลที่เคยร่วมรบข้างตระกูลโทกุงะวะ ในสงครามเซกิฮะระ และ ห้อง ชิโระ โชะอิน (Shiro Shoin) ห้องนอนของโชกุน
ทั้งหมดที่ร่ายมานี้ ... ไม่มีภาพประกอบ เนื่องจากภายในอาคาร ไม่สามารถถ่ายรูปได้ ซึ่งภายในก็มีภาพจิตรกรรมอันสวยงามมากอยู่แทบทุกห้อง ... แต่ ไม่ใช่ของจริงครับ เขาย้ายไปไว้ที่ ศูนย์แสดงผลงานครบรอบ ๔๐๐ ปี ปราสาทนิโจ ที่อยู่ใกล้ๆ กันทั้งหมดแล้ว ถ้าจะชมของจริงต้องเสียค่าเข้าอีก ๑๐๐ เยน ส่วนพระราชวังนี้ จัดว่าเก่าแก่ที่สุดในนี้แล้วกระมัง เพราะถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นสมบัติแห่งชาติเพียงอย่างเดียวภายในปราสาท
วนดูภายในจนครบก็กลับมาสู่ด้านทางเข้าเดิมเพื่อรับรองเท้าแล้วเดินอ้อมผ่านสวนข้ามคูน้ำที่ล้อมรอบอีกชั้นเข้าสู่ชั้นในของปราสาท
ในส่วนนี้เป็นที่ตั้งของ "พระราชวังฮงมะรุ" ซึ่งไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม เมื่อกี้เล่าไปว่า พระราชวังหลังนี้ย้ายมาจากที่อื่น แล้วเรือนฮงมะรุเก่าล่ะ? เขาบอกว่า เรือนหลังแรกนั้นถูกไฟไหม้ในคราเหตุอัคคีภัยครั้งใหญ่เมืองเกียวโต เมื่อปี ๒๓๓๑ ต่อมาก็ได้มีการก่อสร้างใหม่ โดยโชกุนโยะชิโนะบุ เป็นคนสุดท้ายของตระกูลโทะกุงะวะ ที่ได้อยู่ที่นี่ก่อนสิ้นอำนาจ ตัวอาคารก็ถูกรื้อถอนในปี ๒๔๒๔ และก็ถูกแทนที่ด้วยพระราชวังในเวลาต่อมา
เราต้องเดินลัดเลาะผ่านสวนขึ้นไปชมวิวบริเวณจุดที่ตั้งของปราสาทที่ตอนนี้ไม่มีแล้ว อยู่ตรงส่วนมุมติดริมคู ข้างบนนี้ถ้ายังมีปราสาทนี่คงจะสวยน่าดู แต่ตอนนี้กลายเป็นลานที่นั่งพักเมื่อยกันไปทั้งญี่ปุ่นและต่างชาติ
ถัดจากพื้นที่ชั้นใน เราเดินออกด้านหลังข้ามสะพานไปยังสวน ต้องบอกก่อนว่า ในนี้นี่ร่มรื่นตามสไตล์ญี่ปุ่น ที่เน้นการอยู่กับธรรมชาติอย่างมาก ทุกพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้ สวนหิน บ่อน้ำ อย่างทางเดินตรงนี้ก็มีดอกไม้ให้ชมมากมาย เส้นทางได้ขีดให้เราเดินไปผ่านสวนหิน เซย์ริว เอ็น (Seiryu-en) มุ่งสู่ทางออกซึ่งจะผ่านดงต้นซากุระเรียงรายอยู่หลายต้น เขาว่าที่ปราสาทนี้คือ ๑ ในสถานที่ชมซากุระดีที่สุดในเกียวโตด้วยนะ แต่ในช่วงนี้ดอกซากุระเพิ่งจะเริ่มผลิบานออกมาให้ได้ชื่นชม เลยแอบรู้สึกเสียดายนิดๆ ว่า ถ้าเรามาช้ากว่านี้หน่อยคงได้ชมดอกซากุระบานสะพรั่งแบบเต็มรูปแบบแล้ว
ก่อนจะถึงทางออกเราได้พบกับลานกิจกรรม งวดนี้เขาเอาอาหารและของที่ระลึกมาตั้งเต็นท์วางขาย มีคนนั่งทานอาหารบนเก้าอี้กลางลานที่จัดวางเอาไว้ ส่วนผมเดินไปเรื่อยๆ ไปเจอร้านขายไอติม อยู่ในโรงอาหาร ชื่อร้าน “ซาโนะห์” (Sanoah) ขายเครื่องดื่มชาเขียว และไอศกรีมกดที่เรียกว่า ซอร์ฟเสิร์ฟ แบบไอติมแมคฯ มี ๔ รส คือ ชาเขียวจากเมืองอุจิ ,ชาเขียวเข้มข้น ,โฮะจิฉะ และวานิลลา ซึ่งก็มีแบบทรงเครื่องเต็มที่ กับแบบใส่วาฟเฟิลและขนมทองม้วนอบเชยแท่ง (ที่จะได้สัมผัสกลิ่นอบเชยเต็มๆ คำ) และแบบใส่โคนธรรมดา ผมเลือกอย่างหลังเพราะถูกตังค์สุด ในราคา ๓๘๐ เยน กับไอศกรีมรส สตรองมัชฉะ
ไม่นานก็ได้ไอศกรีมโคนที่ถูกวางไว้บนแท่นแหล็ก ใส่ถาดเสิร์ฟมาให้ ไอ้เราจะถือเดินกินไปเลยก็ไม่ได้ครับ ที่นี่เขามีกฎคือ ห้ามเดินถือกิน!! ต้องหาที่นั่งนั่งทานเป็นกิจลักษณะ เอ้า ก็ดี ถือว่าได้พักเท้าเล็กน้อย พอหาที่นั่งแทรกกับชาวบ้านเขาได้ก็เริ่มบรรจงเลียไอติมอย่างใจเย็น .. แต่ สัมผัสแรกที่ได้รับคือ .. ชาเขียวเพียวๆ เลยครับ ไม่ผสมสิ่งใดนอกจากชาเข้มๆ เต็มๆ คำ อื้อหือ ถ้าคนกินไม่สตรองกับความขมได้นี่คงมีทิ้งแน่ๆ ... แต่สำหรับผม .. ราคาเท่านี้ ก็ต้องทานให้หมดสิครับ
ละเลียดไอติมจนหมดทั้งโคน ก็ออกเดินทางจากลาปราสาทนิโจ เพื่อจุดมุ่งหมายต่อไป ... แต่เดี๋ยวก่อน ผมต้องกลับไปเอาสัมภาระที่ที่พักครับ โชคดีรถเมล์สาย ๕๐ วิ่งผ่านหน้าปราสาท เลยได้นั่งกลับไปยังเกสต์เฮาส์ เพื่อหยิบกระเป๋าออกมาตามเวลานัดหมาย พอไปถึงที่นั่น กลับต้องพบกับความประหลาดอีกแล้ว ... พอเปิดประตูเข้าไปไม่เจอใครเฝ้าอยู่เลยครับ เออ แปลกใจมาก เขาไม่กลัวของหายหรืออย่างไร ผมก็คว้ากระเป๋าแล้วแอบเหลือบไปเห็นห้องๆ หนึ่ง ในนั้นมีกระเป๋าเดินทางเหมือนของนักท่องเที่ยวแบบผมอยู่ภายในหลายใบ เอ๋...หรือว่าจะเป็นห้องฝากกระเป๋า ... แล้วทำไมอ้างกับเราว่าไม่มีที่ฝากล่ะ? ... ได้แต่เก็บความสงสัยแล้วเดินจากมา
ผมกลายเป็นมนุษย์บ้าหอบฟางอีกครั้ง เดินมาสู่ถนนโกะโจะ (Gojo dori) แต่แน่นอน นี่คือแผนที่ผมเพิ่งเขียนขึ้นมาใหม่เมื่อคืนนี้ หลังเจอปัญหาไม่สามารถฝากกระเป๋าได้ หลายสถานที่ถูกตัดออกไปเพราะเวลาไม่พอ รวมทั้งร้านข้าวด้วย ทำให้มื้อกลางวันนี้ผมต้องมาฝากท้องกับร้านข้าวหน้าเนื้อที่มีสาขาในไทยอย่าง “โยะชิโนะยะ” (Yoshinoya) แถวแยกคาระสุมะโกะโจะ
ร้านนี้ผมคงไม่ต้องพูดอะไรมาก หลายคนคงเคยทาน เคยสัมผัสกันมาแล้ว ... แต่ยังไงเสีย ที่นี่ก็มีความต่างจากบ้านเราครับ ... เริ่มจากที่นั่ง เขาจะมีทั้งแบบนั่งหน้าบาร์ยาวหันหน้าชนกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางสำหรับพนักงาน ไม่ใช่คอยทำอาหาร แต่ไว้สำหรับรับออเดอร์ เสิร์ฟอาหาร และคิดเงินให้กับลูกค้า ส่วนที่ ๒ คือโต๊ะนั่งแบบปกติสำหรับมาเป็นกลุ่ม ก็มีพนักงานอีกชุดคอยให้บริการ และที่นี่เขามีน้ำชาฟรีให้ทานครับ อันนี้บ้านเราน้ำเปล่าก็เสียตังค์ อ่อ เมนูก็ต่างครับ มีพวกแนวๆ หม้อไฟอะไรอย่างนี้ด้วย ส่วนผมสั่งข้าวหน้าเนื้อต้นฉบับมาลองครับ อยากรู้ว่าเหมือนที่ไทยหรือไม่ ...
และผลปรากฏว่า ... ก็คล้ายๆ กันครับ เนื้อเหนียวนุ่มพอๆ กัน แต่ปริมาณดูมากกว่า ส่วนน้ำราดเหมือนที่นี่จะให้มาเยอะกว่านิดนึง สำหรับชามนี้เสียค่าใช้จ่ายไป ๕๕๐ เยน ก็ไม่แพงนัก
พออิ่มท้องก็ต้องออกเดินกันต่อครับ ผมสังเกตว่าบนถนนแถวนี้นี่มีร้านกิโมโนให้เช่าตั้งอยู่ด้วยแฮะ ก็ไม่รู้ว่าราคาเท่าไหร่ว่างๆ ต้องลองไปสืบดู (ให้ใครใส่ ... ใส่เองหรือ?) ซึ่งก็มีอยู่หลายร้านเหมือนกัน เดินมองไปเรื่อย
ไม่นานก็ถึงแยกคาระวะมะจิโกะโจะ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ป้ายรถเมล์แรกแล้วยืนรอ รถเมล์ที่นี่ค่อนข้างตรงเวลาตามป้ายที่เขาระบุไว้ จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการกะเวลาเดินทางเท่าไหร่นัก แต่เรื่องของสภาพการจราจร ถ้าช่วงเร่งด่วนก็ติดพอสมควรเหมือนกัน สักพักรถเมล์เกียวโตบัส สาย ๔ สีเขียวก็ขับเคลื่อนมาจอดให้เราขึ้นเพื่อพาเราไปยังสถานที่ต่อไป ... ศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งของนครเกียวโต
อ่านต่อฉบับหน้า...
ข้อมูลบางส่วน : http://www.japan-guide.com/e/e3918.html ,http://www2.city.kyoto.lg.jp/bunshi/nijojo/english/annai/index.html