ทำไปทำมาก็ชักสงสัยแล้วเหมือนกัน ว่าตกลงฝ่าย “ไม่เอารัฐประหาร” นั้น เขาอยากที่จะให้ทหารไปเร็วๆ หรืออยากอยู่กับระบอบนี้นานๆ กันแน่
เพราะว่าเหมือนจะ “ป่วน” ให้รัฐธรรมนูญ “ไม่ผ่าน” ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งกันจริงๆ
เกมที่เริ่มจากฝ่ายทาง “พรรค” และ นปช.เดิม ก็คือเกม “ยั่วโมโห” รัฐบาล ด้วยการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติขึ้นมาแบบขึงขัง
น่าขำที่ว่า การโกงประชามติจะทำอย่างไร? ใช้วิธีจ่ายเงินซื้อเสียงให้ประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญกันอย่างนั้นหรือ
เรื่องประชามติมันต่างจากการเลือกตั้ง ตรงที่ประชามตินี้ไม่มีประโยชน์ได้เสียเป็นตัวเงิน แตกต่างจากการเลือกตั้งที่หากชนะการเลือกตั้งเข้าไปก็ “ถอนทุน” ได้ แต่กับประชามติ “ชนะ” ไปก็ไม่ได้อะไรมา ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถ้าใครคิดจะโกงจริง จะโกงประชามติไปทำไม เพราะประชามติผ่าน คสช.และรัฐบาลก็นับถอยหลังสิ้นอำนาจลง หรือถ้าประชามติไม่ผ่าน คสช.ก็ได้อยู่ในอำนาจต่อไป เพราะปัจจุบันก็ยังไม่แน่ชัดว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านจริงๆ จะทำอย่างไรกัน
หรือถ้าจะเอากันจริงๆ อยากให้ผ่านหรือไม่อยากให้ผ่าน หัวหน้า คสช.ก็ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ไปเลยก็ได้
เหตุผลที่จะให้ทำได้มีสารพัด ส่วนหนึ่งก็อาจจะว่า เพื่อป้องกันความแตกแยกของคนในชาติ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีคนจ้องจะป่วนประชามตินี้อยู่
“ศูนย์ปราบโกง” ประชามติ จึงไม่มีอะไรไปมากกว่าความพยายาม “แหย่รังแตน” ให้ท่านนายกฯ หัวหน้า คสช. “ของขึ้น” ไวๆ ขึ้นไปอีก เพื่อหวังผลให้มีการล้มประชามติ เพื่อจะได้เอาไปขยายความหรือเอาไปเล่นต่อ
ส่วนในสายของ “แดงปัญญาชน” หรือที่เรียกกันเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” อันประกอบด้วยบรรดานักเขียนบ้าง นักวิชาการ บรรณาธิการ และผู้มีชื่อเสียงใน Facebook ก็ปรากฏว่ามีวิวาทะกันยกใหญ่ เกี่ยวกับกระแสว่า “คนไม่เอารัฐประหาร ควรจะ No Vote (ไม่ออกไปลงประชามติ) หรือ Vote No (ออกไปลงประชามติ แต่ลงว่าไม่เห็นชอบ) กันดี”
ต่างฝ่ายต่างยกเหตุผลมาห้ำหั่นกันแบบเจ็บๆ แสบๆ เหมือนกับไม่ใช่พวกเดียวกันอย่างนั้นแหละ
ฝ่าย Vote No ก็ว่า พวก No Vote นั้นจะทำให้ “เสียของ” ตัดคะแนนกันเอง แล้วก็จะทำให้รัฐธรรมนูญ (ที่เขาว่า) เผด็จการครึ่งใบนั้นผ่านมาใช้บังคับ
แทนที่จะรวมพลังกัน Vote No ให้มันคว่ำๆ ไป อย่างน้อยไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ได้ตบหน้า “เจ้าภาพ” ที่จัดให้มีและลงประชามติรัฐธรรมนูญได้ก็แล้วกัน
ส่วนฝ่าย No Vote ก็ชี้หน้าว่า พวก Vote No นั้น รู้ก็รู้ว่ากติกาไม่ยุติธรรม แถมรัฐธรรมนูญนี้ก็มีที่มาจากรัฐประหาร ถ้าไปร่วมลงประชามติ ก็เท่ากับไปยอมรับผลของรัฐประหาร ถ้าแพ้ฝ่าย Vote Yes ขึ้นมาจะทำอย่างไร
การยอมเดินเซื่องๆ ไปลงประชามตินี้ ก็เหมือนกับการไปเป็นหางเครื่องให้คณะรัฐประหาร - นี่เขาว่ากันแบบนี้เลยครับ
ก็ฟัดกันฝุ่นตลบกันไป ในหมู่ “แดงก้าวหน้า” อาจารย์ นักวิชาการ นักเขียน บรรณาธิการทั้งหลายที่สมาทานกับระบอบ “ประชาธิปไตย” แบบทักษิณๆ
ฝุ่นตลบแบบนี้ ในที่สุด ฝ่ายไหนจะชนะก็ไม่รู้นะครับ แต่ก็น่าแปลกใจอย่างที่กล่าวไป ว่า ทำไมคนพวกนี้ถึง “เกลียดกลัว” รัฐธรรมนูญฉบับนี้เสียจนรู้สึกว่า ถ้าอย่างนั้นทนต่อไปกับระบอบ คสช.ก็ได้ ดีกว่าที่ คสช.จะปล่อยมือและทิ้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้เป็นมรดก
มาลองคิดดูว่า ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านการลงประชามติ ใครจะได้ประโยชน์ อย่างไร
ประการแรกเลย คือถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ก็จะคล้ายว่าเป็นการ “ฉีกหน้า” คสช.ผู้บัญชาให้ร่างรัฐธรรมนูญ และอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็จะมีรายการมา “เรียกร้อง” ความรับผิดชอบจากฝ่าย คสช.กันแน่นอน ดูจากที่นักการเมืองฝ่ายแดงหลายคนเลยแพล่มออกมาก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ ก็จะเป็นการตีขลุมลงไปอีกว่า ที่ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องมาจากประชาชนไม่เห็นด้วย ไม่เอาด้วยกับการทำรัฐประหารของ คสช.
หรือไม่ก็ขยายความว่า การที่มีประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นการไม่ไว้วางใจรัฐบาล ขยายความกันไปได้ถึงระดับนี้เลยครับ
กับตอนนี้มีการปล่อยข่าวลือกันในแวดวงเดิมๆ ว่า ประชามติยังไงก็จะไม่เกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหา ตามกำหนดการ แต่จะถูกเลื่อนออกไป หรืออาจจะถึงกับยกเลิกกันเลยก็ได้ ถ้าฝ่ายกุมอำนาจรัฐไม่มั่นใจว่าประชามติจะออกมาเห็นชอบ
ครับ ดูแล้วคล้ายกับว่า คนที่ไม่อยากหลุดพ้นจากการปกครองระบอบ คสช.ก็คือฝ่ายที่อ้างตัวว่าเป็น “ฝ่ายประชาธิปไตย” นั่นเองแหละครับ ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงนั้นก็ไม่รู้ ว่าเป็นเพราะพวกเขามองทางแล้ว โอกาสที่จะกลับมาครองอำนาจได้ภายใต้กติกาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นเป็นไปได้ยาก และถึงกลับมาได้ ก็จะเหยียดแข้งเหยียดขาอะไรก็ทำได้ยาก เนื่องจากกติกาที่ล็อกไว้แน่นหนาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ให้ฉายากันว่า เป็น “ฉบับปราบโกง”
ถ้าอย่างนั้น สู้พยายาม “ล้ม” ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีกว่า และปล่อยให้ คสช.จะต้องอยู่ต่อไป ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าเข้ามาเรื่อยๆ ให้ล้มไปเพราะกระแสสังคมหรือความนิยมตกน่าจะดีกว่า แล้วจากนั้นค่อยเสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับที่พวกตัวเองจะได้เปรียบ กลับมาใช้บังคับใหม่
นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายป่วนประชามติคิดเอาไว้ก็ได้.
เพราะว่าเหมือนจะ “ป่วน” ให้รัฐธรรมนูญ “ไม่ผ่าน” ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งกันจริงๆ
เกมที่เริ่มจากฝ่ายทาง “พรรค” และ นปช.เดิม ก็คือเกม “ยั่วโมโห” รัฐบาล ด้วยการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติขึ้นมาแบบขึงขัง
น่าขำที่ว่า การโกงประชามติจะทำอย่างไร? ใช้วิธีจ่ายเงินซื้อเสียงให้ประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญกันอย่างนั้นหรือ
เรื่องประชามติมันต่างจากการเลือกตั้ง ตรงที่ประชามตินี้ไม่มีประโยชน์ได้เสียเป็นตัวเงิน แตกต่างจากการเลือกตั้งที่หากชนะการเลือกตั้งเข้าไปก็ “ถอนทุน” ได้ แต่กับประชามติ “ชนะ” ไปก็ไม่ได้อะไรมา ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถ้าใครคิดจะโกงจริง จะโกงประชามติไปทำไม เพราะประชามติผ่าน คสช.และรัฐบาลก็นับถอยหลังสิ้นอำนาจลง หรือถ้าประชามติไม่ผ่าน คสช.ก็ได้อยู่ในอำนาจต่อไป เพราะปัจจุบันก็ยังไม่แน่ชัดว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านจริงๆ จะทำอย่างไรกัน
หรือถ้าจะเอากันจริงๆ อยากให้ผ่านหรือไม่อยากให้ผ่าน หัวหน้า คสช.ก็ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ไปเลยก็ได้
เหตุผลที่จะให้ทำได้มีสารพัด ส่วนหนึ่งก็อาจจะว่า เพื่อป้องกันความแตกแยกของคนในชาติ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีคนจ้องจะป่วนประชามตินี้อยู่
“ศูนย์ปราบโกง” ประชามติ จึงไม่มีอะไรไปมากกว่าความพยายาม “แหย่รังแตน” ให้ท่านนายกฯ หัวหน้า คสช. “ของขึ้น” ไวๆ ขึ้นไปอีก เพื่อหวังผลให้มีการล้มประชามติ เพื่อจะได้เอาไปขยายความหรือเอาไปเล่นต่อ
ส่วนในสายของ “แดงปัญญาชน” หรือที่เรียกกันเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” อันประกอบด้วยบรรดานักเขียนบ้าง นักวิชาการ บรรณาธิการ และผู้มีชื่อเสียงใน Facebook ก็ปรากฏว่ามีวิวาทะกันยกใหญ่ เกี่ยวกับกระแสว่า “คนไม่เอารัฐประหาร ควรจะ No Vote (ไม่ออกไปลงประชามติ) หรือ Vote No (ออกไปลงประชามติ แต่ลงว่าไม่เห็นชอบ) กันดี”
ต่างฝ่ายต่างยกเหตุผลมาห้ำหั่นกันแบบเจ็บๆ แสบๆ เหมือนกับไม่ใช่พวกเดียวกันอย่างนั้นแหละ
ฝ่าย Vote No ก็ว่า พวก No Vote นั้นจะทำให้ “เสียของ” ตัดคะแนนกันเอง แล้วก็จะทำให้รัฐธรรมนูญ (ที่เขาว่า) เผด็จการครึ่งใบนั้นผ่านมาใช้บังคับ
แทนที่จะรวมพลังกัน Vote No ให้มันคว่ำๆ ไป อย่างน้อยไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ได้ตบหน้า “เจ้าภาพ” ที่จัดให้มีและลงประชามติรัฐธรรมนูญได้ก็แล้วกัน
ส่วนฝ่าย No Vote ก็ชี้หน้าว่า พวก Vote No นั้น รู้ก็รู้ว่ากติกาไม่ยุติธรรม แถมรัฐธรรมนูญนี้ก็มีที่มาจากรัฐประหาร ถ้าไปร่วมลงประชามติ ก็เท่ากับไปยอมรับผลของรัฐประหาร ถ้าแพ้ฝ่าย Vote Yes ขึ้นมาจะทำอย่างไร
การยอมเดินเซื่องๆ ไปลงประชามตินี้ ก็เหมือนกับการไปเป็นหางเครื่องให้คณะรัฐประหาร - นี่เขาว่ากันแบบนี้เลยครับ
ก็ฟัดกันฝุ่นตลบกันไป ในหมู่ “แดงก้าวหน้า” อาจารย์ นักวิชาการ นักเขียน บรรณาธิการทั้งหลายที่สมาทานกับระบอบ “ประชาธิปไตย” แบบทักษิณๆ
ฝุ่นตลบแบบนี้ ในที่สุด ฝ่ายไหนจะชนะก็ไม่รู้นะครับ แต่ก็น่าแปลกใจอย่างที่กล่าวไป ว่า ทำไมคนพวกนี้ถึง “เกลียดกลัว” รัฐธรรมนูญฉบับนี้เสียจนรู้สึกว่า ถ้าอย่างนั้นทนต่อไปกับระบอบ คสช.ก็ได้ ดีกว่าที่ คสช.จะปล่อยมือและทิ้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้เป็นมรดก
มาลองคิดดูว่า ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านการลงประชามติ ใครจะได้ประโยชน์ อย่างไร
ประการแรกเลย คือถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ก็จะคล้ายว่าเป็นการ “ฉีกหน้า” คสช.ผู้บัญชาให้ร่างรัฐธรรมนูญ และอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็จะมีรายการมา “เรียกร้อง” ความรับผิดชอบจากฝ่าย คสช.กันแน่นอน ดูจากที่นักการเมืองฝ่ายแดงหลายคนเลยแพล่มออกมาก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ ก็จะเป็นการตีขลุมลงไปอีกว่า ที่ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องมาจากประชาชนไม่เห็นด้วย ไม่เอาด้วยกับการทำรัฐประหารของ คสช.
หรือไม่ก็ขยายความว่า การที่มีประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นการไม่ไว้วางใจรัฐบาล ขยายความกันไปได้ถึงระดับนี้เลยครับ
กับตอนนี้มีการปล่อยข่าวลือกันในแวดวงเดิมๆ ว่า ประชามติยังไงก็จะไม่เกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหา ตามกำหนดการ แต่จะถูกเลื่อนออกไป หรืออาจจะถึงกับยกเลิกกันเลยก็ได้ ถ้าฝ่ายกุมอำนาจรัฐไม่มั่นใจว่าประชามติจะออกมาเห็นชอบ
ครับ ดูแล้วคล้ายกับว่า คนที่ไม่อยากหลุดพ้นจากการปกครองระบอบ คสช.ก็คือฝ่ายที่อ้างตัวว่าเป็น “ฝ่ายประชาธิปไตย” นั่นเองแหละครับ ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงนั้นก็ไม่รู้ ว่าเป็นเพราะพวกเขามองทางแล้ว โอกาสที่จะกลับมาครองอำนาจได้ภายใต้กติกาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นเป็นไปได้ยาก และถึงกลับมาได้ ก็จะเหยียดแข้งเหยียดขาอะไรก็ทำได้ยาก เนื่องจากกติกาที่ล็อกไว้แน่นหนาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ให้ฉายากันว่า เป็น “ฉบับปราบโกง”
ถ้าอย่างนั้น สู้พยายาม “ล้ม” ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีกว่า และปล่อยให้ คสช.จะต้องอยู่ต่อไป ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าเข้ามาเรื่อยๆ ให้ล้มไปเพราะกระแสสังคมหรือความนิยมตกน่าจะดีกว่า แล้วจากนั้นค่อยเสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับที่พวกตัวเองจะได้เปรียบ กลับมาใช้บังคับใหม่
นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายป่วนประชามติคิดเอาไว้ก็ได้.