การกรีซผิดนัดชำระหนี้จากนั้นชาวกรีกก็ลงคะแนนล้มโต๊ะไม่รับเงื่อนไขเข้มงวดของชาติเจ้าหนี้ อาจจะนำมาสู่ผลกระทบใหญ่ตามมา สถาบันการเงินและชาติเจ้าหนี้ต้องกลับไปจัดการสำรองหนี้สูญเงินลงทุนตามตลาดหุ้นเอเชียอาจวูบลง เงินยูโรอาจจะอ่อนลงไปอีกทั้งๆ ที่อ่อนลงเรื่อยๆ มาตั้งแต่ปีกลาย ฯลฯ นี่เป็นประเด็นระดับโลกที่แม้จะห่างไกลจากบ้านเราแต่ทำเป็นไม่สนไม่ได้ เพราะมันกระทบเราด้วย
ปัญหาของกรีซคืออะไร? ตอบแบบทุบโต๊ะก็คือ หนี้มหาศาลท่วม ต่อให้กัดฟันกู้ไปพลางทำงานไปพลางใช้หนี้ไปก็ใช้เวลาถึงรุ่นหลาน มีแต่ต้องแฮร์คัตตัดหนี้แต่เจ้าหนี้เขาก็ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนเขา ยอมให้ไม่ได้!
บางท่านคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ หนี้ท่วมก็ล้มไปสิ ใครเป็นหนี้ไม่จ่ายก็รับกรรมของตนไป มันจะกระทบอะไรมากมาย? แต่ที่สุดมันก็ยังเป็นเรื่องใหญ่ ที่ใหญ่มากเสียด้วยสิครับ... ก็เพราะว่า ภาระหนี้ของกรีซและการดำรงอยู่ของกรีซดันไปผูกพันร่วมกับประชาคมยุโรปและสกุลเงินยูโรที่ชาติยุโรปใช้ร่วมกัน ชาติอื่นเลยพลอยรับภาระของกรีซไปด้วย จัดการไม่ดีพลอยลามถึงเงินยูโรและสถานะความเข้มแข็งของประชาคมยุโรป โยงไปถึงการเมืองโลกที่รัสเซียกับอเมริกาฮึ่มๆ ใส่กัน ชาตินาโต้จะมาแยกเป็นเสี่ยงเอาตอนหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ไม่ได้
นิสัยของชาวกรีกละม้ายกับคนไทยเราไม่น้อย สบายๆ ไม่เข้มงวด สะกดคำว่าวินัยไม่ค่อยเป็นกัน กรีซนี่เคยมีการรัฐประหารและทหารขึ้นปกครองแต่นานมาแล้วตั้งแต่ทศวรรษ 70 หลังจากนั้นพวกเขาก็ปกครองโดยประชาธิปไตยมาโดยตลอด ระยะหลังมีพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคที่ผลัดเปลี่ยนขึ้นครองอำนาจคือ New Democracy กับพรรค PASOKตอนที่พวกสหภาพยุโรปจะเริ่มใช้เงินยูโร 1999 น่ะ ที่จริงกรีซไม่มีสิทธิ์เข้าหรอกเพราะตัวเลขขาดดุลต่อจีดีพีเกิน 3%ไม่เข้าเงื่อนไข แต่ที่สุดก็ผ่านเข้าไปร่วมวงศ์ไพบูลย์นี้ได้ ผู้สันทัดกรณีเชื่อว่าองค์กรโลกบาลยักษ์ใหญ่การเงินโลกนั่นแหละที่แอบโกงข้อสอบให้เพราะประชาคมยุโรปหากขาดกรีซไปเหมือนกับขาดรากวิญญาณอะไรสักอย่างที่ดูไม่ขลัง มีกรีซจะทำให้ Story ครบองค์ประกอบขึ้นมา
ทศวรรษแรกของประชาคมยุโรป เงินสกุลเดียวเป็นสวรรค์ของชาติเศรษฐกิจอ่อนกว่า เหมือนเสมียนได้จับพลัดจับผลูเข้าใช้บริการในสปอร์ตคลับชั้นสูงของเหล่าเศรษฐี ชาติอย่างไอร์แลนด์ อิตาลี สเปน ได้สิทธิ์ใช้เงินราคาถูกดอกเบี้ยต่ำเท่ากับเยอรมัน คนที่บรรยายภาวะฟองสบู่เงินทองไหลคล่องใช้ไม่อั้น อสังหาริมทรัพย์เบ่งบานสร้างแล้วสร้างอีกแต่ที่สุดไม่มีคนซื้อได้ดีที่สุดคนหนึ่งคือ Gavin Hewitt บ.ก.โต๊ะข่าวยุโรปของบีบีซีที่ได้เขียนหนังสือชื่อ The Lost Continent เมื่อปี 2013 เล่าถึงความล่มสลายและปัญหาทางเศรษฐกิจของประชาคมยุโรปตลอดถึงค่าเงินยูโร ที่ต่อมาเกิดวิกฤตกับกลุ่ม PIIGS (ไอร์แลนด์ สเปน อิตาลี โปรตุเกส และกรีก) จนเป็นปัญหาแบบงูกินหางให้กับประชาคมยุโรปและสกุลเงินยูโรในที่สุด อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วท่านอาจลดความเชื่อมั่นในยูโรลงมาครึ่งหนึ่งเพราะพวกอังกฤษไม่เชื่อในแนวทางนี้มาตั้งแต่แรกจึงไม่เข้าร่วม
ฟองสบู่เริ่มเป็นปัญหาเศรษฐกิจชาติในยุโรป โดยเริ่มฉายแววหลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ จนที่สุดกรีกและเพื่อนในกลุ่มที่มีปัญหาต้องทยอยรับเงื่อนไขเข้มงวดจากทรอยก้า (IMF แบงก์ยุโรป และชาติเจ้าหนี้ยุโรปอื่น) เมื่อปี 2011 เชื่อไหมครับว่า ในช่วงเดียวกันนั้นกรีซมีเลือกตั้งใหญ่และเปลี่ยนรัฐบาล พอรัฐบาลใหม่มาดูบัญชีถึงกับเอาอวัยวะอื่นมาก่ายหน้าผากเลยเพราะรัฐบาลก่อนหน้าตกแต่งบัญชี เล่นกลกับตัวเลขเศรษฐกิจเสียเละเทะ ผู้นำใหม่ที่ชื่อปาปันเดรอูต้องก้มหน้าไปยอมรับกับชาวโลกว่ากรีซนี่แต่งบัญชีตบตา เคยเป็นข่าวประจานประเทศนี้มาแล้วในรอบนั้น
รัฐบาลจากการเลือกตั้งสองพรรคใหญ่ของกรีซไม่ได้แตกต่างกัน เพราะชอบก่อหนี้เหมือนกัน ชอบลงทุน ยิ่งเป็นอีเวนท์อย่างโอลิมปิคยิ่งชอบเพราะกู้มาสร้างๆ เสร็จแล้วก็จบกัน ชอบซื้ออาวุธเพราะมันได้เปอร์เซ็นต์ง่ายดีจนกรีซติดอันดับโลกในแง่ของการใช้จ่ายด้านนี้ ตัวเลขการขยายตัวของระบบราชการก็เทอะทะขึ้น ข้าราชการเพิ่มจาก 2.5 แสนคน เป็น 7.6 แสนคนภายใน 20 ปี งบประมาณส่วนใหญ่ต้องเอามาใช้เป็นเงินประจำตอบแทนระบบราชการเหมือนประเทศไทยไม่ผิด รัฐบาลไหนมาก็ออกพันธบัตรกู้เงินมาใช้
วินัยที่หย่อนยานแบบนี้เองที่ก่อปัญหาสะสมเหมือนดินพอกหางหมู การรับเงื่อนไขจากทรอยก้าเมื่อปี 2011 ไม่ได้ช่วยอะไรมาก แค่ยืดลมหายใจเพราะกรีซหมดปัญญาชดใช้หนี้ไปแล้ว แถมเงื่อนไขที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลด ละ เลิก บำนาญ/ปลดคน/เพิ่มภาษี ฯลฯ ทำให้คนกรีกไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบก็พลอยเกลียดเจ้าหนี้ไปด้วย คนเยอรมันในฐานะเจ้าหนี้ใหญ่เพราะรวยที่สุดในยุโรปเลยพลอยซวยเพราะเป็นเป้าหลักของการเกลียดชัง
ตั้งแต่ 2011-2015 ภายใต้ภาวะเข้มงวดทางเศรษฐกิจที่เจ้าหนี้กำหนด ทำให้คนกรีซไม่พอใจ หันไปนิยมแนวทางของฝ่ายซ้ายจัด เปิดให้ทางพรรคเล็กๆ อย่างพรรคไซรีซาได้แทรกขึ้นมาแทนสองพรรคผูกขาดดั้งเดิม แล้วเขาก็ใช้ท่าทีแข็งกร้าวของลูกหนี้ไม่รับเงื่อนไขเข้มงวดจากเจ้าหนี้อีกต่อไป จนถึงจุดที่ทราบกันอยู่ว่ากรีซผิดนัดชำระหนี้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมไปแล้ว ไม่ได้เงินกู้ก็อกต่อไป นำมาสู่การประชามติที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังสนับสนุนแนวทางไม่มี ไม่หนี ไม่จ่ายตามเดิม
ผลกระทบจากเรื่องนี้มีแน่นอน ขึ้นกับว่าจะกระทบเยอะหรือน้อยเท่านั้น โลกยุคใหม่ที่เชื่อมถึงกันแบบนี้อย่างไรเสียทางโน้นจาม ทางนี้ก็อาจติดหวัดได้ ซึ่งก็ต้องจับตาดูกันต่อไป
สิ่งที่ควรนำมาขบคิดกันต่อก็คือปรากฏการณ์ที่เกิดกับกรีซบอกอะไรกับเรา?
กรีซได้บอกกับเราว่า การขาดวินัยทางการเงินการคลังโดยเฉพาะการยอมให้รัฐบาลก่อหนี้เพิ่มขึ้นๆ นั้นมันเสี่ยงมาก ดินพอกหางหมูนั้นมีผลต่อคนรุ่นต่อไปไอ้รัฐมนตรีที่ก่อหนี้ผูกพันมาเรื่อยเมื่อ 20-15-10 ปีก่อนบางคนอาจตายไปแล้ว บางคนได้เปอร์เซ็นต์จากโครงการร่ำรวยไปแล้ว แต่ผลของมันกลับตกอยู่ที่คนอีกรุ่นหนึ่ง การเมืองไทยของเราในระยะสิบกว่าปีมานี้มีนวัตกรรมใช้เงินหลวงเพิ่มขึ้นหลายอย่าง เริ่มจากงบกลางที่ไม่ลงรายละเอียด พร้อมโยกไปมาเหมือนเช็คเปล่า จากนั้นก็เป็นนวัตกรรมงบกลางปี ออก พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเพื่อให้มีเงินใช้มากขึ้น และส่วนใหญ่ที่ใช้ๆ กันก็งบขาดดุลกันทุกปี แปลว่ากู้เพิ่มขึ้น ๆ ทุกปี
ยังดีที่ระบบของเรามันมีกฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องของเพดานเงินกู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารใช้เงินเพลิน เป็นข้อกำหนดด้านวินัยใช้เงิน แต่พวกนักการเมืองก็เก่ง ก็ใช้ช่องอื่นปั๊มเงินมาใช้ได้เช่นใช้เงินกู้ผ่านรัฐวิสาหกิจ และล่าสุดที่นักการเมืองคิดจะกู้โดยไม่ต้องเอาวินัยอะไรมาจับก็คือ การตรากฎหมายกู้โดยตรง ออก พ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.กู้เงินที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายงบประมาณตามปกติ เรื่องนี้เคยเข้าสู่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วไม่ต้องเล่าซ้ำ ที่ยกมาเพื่อจะชี้ว่าการกู้ของบ้านเรานั้นไม่น้อยหน้ากรีซเขา
การที่ชาติจะล่มจมน่ะไม่ได้ขึ้นกับว่าปกครองด้วยระบอบอะไร ลองถ้ารัฐบาลเลว ประชาชนไม่สนใจโลกแล้วไซร้ ล้วนแต่พาชาติบ้านเมืองไปลงนรกได้ทั้งสิ้น การเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยที่สักแต่เลือกตัวแทนมาโดยไม่มีวินัย ไม่มีธรรมาภิบาล ตลอดถึงนโยบายที่มุ่งประโยชน์ต่อชาติจริงๆ ต่อให้เลือกมาจากเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงสวรรค์ แต่เสียงสวรรค์นั้นก็สามารถนำลงนรกได้ในพริบตา
ที่กล่าวมานี้ไม่ได้ให้หันไปเชียร์รัฐบาลทหาร หรือเผด็จการอื่นๆ นะครับอย่าเข้าใจผิด ประชาธิปไตยน่ะเป็นระบอบ/ระบบที่เลวน้อยที่สุดที่ยังไงเราก็ต้องเดินไปทางนั้น อย่างไรก็ตามก็ต้องมีหลักการและเงื่อนไขที่ดีของระบบ/ระบอบพ่วงไปด้วย ทั้งนโยบายที่ดี (ที่ไม่ใช่เอาใจประชาชนจ๋าโดยไม่ยึดวินัยทางการคลัง) ธรรมาภิบาล และการตรวจสอบถ่วงดุลที่ดี รัฐบาลกรีซซ่อนปัญหาไม่บอกประชาชนไว้ยาวนานจนหมดวาระไปแล้วเรื่องค่อยโผล่ขึ้นมา ไม่ต่างอะไรจากการขายข้าวโดยไม่บอกประชาชนว่าข้อมูลที่ปรากฏตามบัญชีล่าสุดน่ะเป็นเช่นไร
ที่จริงแล้วประเทศไทยเราสะสมปัญหาในโครงสร้างงบประมาณมายาวนาน เพราะประเทศเรามีระบบราชการที่ใหญ่โตและรวมศูนย์ เราเคยประกาศว่าจะลดขนาดของระบบราชการลงมา แต่แท้จริงกลับไปขยายออกทางกว้าง โดยตั้งหน่วยงานใหม่ภายใต้พรบ.องค์การมหาชนมากมาย กินเงินเดือนมากกว่าข้าราชการปกติด้วยซ้ำไป ความใหญ่โตเทอะทะของระบบราชการไทยเป็นปัญหาไม่แพ้กรีซ เพราะกินภาระของงบประมาณประจำปีมากขึ้นเรื่อยไปตามความเติบโตของฐานงบประมาณ
รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลทหารที่เป็นส่วนหนึ่ง/ส่วนเดียวกันกับระบบราชการ ไม่มีนโยบายลด มีแต่เพิ่ม ไม่มีนโยบายกระจายอำนาจ เห็นแต่กระชับอำนาจ ไม่ได้ต่างจากรัฐบาลเลือกตั้งก่อนหน้าเช่นยุคทักษิณ ชินวัตร ที่อ้างว่าปฏิรูประบบราชการแต่แท้จริงก็คือกระชับอำนาจรวมศูนย์ขึ้น ในส่วนนี้ของเราก็ละม้ายคล้ายกับกรีซเช่นกัน
การล่มสลายของชาติใดชาติหนึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ นับตั้งแต่มีรัฐชาติยุคใหม่ในปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วว่าเขาล่มสลาย หรือถดถอยจากที่เคยเป็นดาวโรจน์กลับต่ำเตี้ยเรี่ยดินกันอย่างไร
ตัวอย่างเหล่านี้สมควรที่คนไทยน่าจะเรียนรู้อย่างจริงจัง เอาแค่ง่ายๆ กับการที่รัฐบาลก่อหนี้มาทำเรื่องไร้สาระ แถมเลี่ยงการตรวจสอบ ประชาชนที่เป็นกองเชียร์ก็ยังปรบมือหนุนอย่างบ้าคลั่ง หรือเรื่องเอาเงินไปซื้ออาวุธแพงๆ แทนที่จะเอามาทำประโยชน์นี้ก็เช่นกัน.
ปัญหาของกรีซคืออะไร? ตอบแบบทุบโต๊ะก็คือ หนี้มหาศาลท่วม ต่อให้กัดฟันกู้ไปพลางทำงานไปพลางใช้หนี้ไปก็ใช้เวลาถึงรุ่นหลาน มีแต่ต้องแฮร์คัตตัดหนี้แต่เจ้าหนี้เขาก็ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนเขา ยอมให้ไม่ได้!
บางท่านคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ หนี้ท่วมก็ล้มไปสิ ใครเป็นหนี้ไม่จ่ายก็รับกรรมของตนไป มันจะกระทบอะไรมากมาย? แต่ที่สุดมันก็ยังเป็นเรื่องใหญ่ ที่ใหญ่มากเสียด้วยสิครับ... ก็เพราะว่า ภาระหนี้ของกรีซและการดำรงอยู่ของกรีซดันไปผูกพันร่วมกับประชาคมยุโรปและสกุลเงินยูโรที่ชาติยุโรปใช้ร่วมกัน ชาติอื่นเลยพลอยรับภาระของกรีซไปด้วย จัดการไม่ดีพลอยลามถึงเงินยูโรและสถานะความเข้มแข็งของประชาคมยุโรป โยงไปถึงการเมืองโลกที่รัสเซียกับอเมริกาฮึ่มๆ ใส่กัน ชาตินาโต้จะมาแยกเป็นเสี่ยงเอาตอนหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ไม่ได้
นิสัยของชาวกรีกละม้ายกับคนไทยเราไม่น้อย สบายๆ ไม่เข้มงวด สะกดคำว่าวินัยไม่ค่อยเป็นกัน กรีซนี่เคยมีการรัฐประหารและทหารขึ้นปกครองแต่นานมาแล้วตั้งแต่ทศวรรษ 70 หลังจากนั้นพวกเขาก็ปกครองโดยประชาธิปไตยมาโดยตลอด ระยะหลังมีพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคที่ผลัดเปลี่ยนขึ้นครองอำนาจคือ New Democracy กับพรรค PASOKตอนที่พวกสหภาพยุโรปจะเริ่มใช้เงินยูโร 1999 น่ะ ที่จริงกรีซไม่มีสิทธิ์เข้าหรอกเพราะตัวเลขขาดดุลต่อจีดีพีเกิน 3%ไม่เข้าเงื่อนไข แต่ที่สุดก็ผ่านเข้าไปร่วมวงศ์ไพบูลย์นี้ได้ ผู้สันทัดกรณีเชื่อว่าองค์กรโลกบาลยักษ์ใหญ่การเงินโลกนั่นแหละที่แอบโกงข้อสอบให้เพราะประชาคมยุโรปหากขาดกรีซไปเหมือนกับขาดรากวิญญาณอะไรสักอย่างที่ดูไม่ขลัง มีกรีซจะทำให้ Story ครบองค์ประกอบขึ้นมา
ทศวรรษแรกของประชาคมยุโรป เงินสกุลเดียวเป็นสวรรค์ของชาติเศรษฐกิจอ่อนกว่า เหมือนเสมียนได้จับพลัดจับผลูเข้าใช้บริการในสปอร์ตคลับชั้นสูงของเหล่าเศรษฐี ชาติอย่างไอร์แลนด์ อิตาลี สเปน ได้สิทธิ์ใช้เงินราคาถูกดอกเบี้ยต่ำเท่ากับเยอรมัน คนที่บรรยายภาวะฟองสบู่เงินทองไหลคล่องใช้ไม่อั้น อสังหาริมทรัพย์เบ่งบานสร้างแล้วสร้างอีกแต่ที่สุดไม่มีคนซื้อได้ดีที่สุดคนหนึ่งคือ Gavin Hewitt บ.ก.โต๊ะข่าวยุโรปของบีบีซีที่ได้เขียนหนังสือชื่อ The Lost Continent เมื่อปี 2013 เล่าถึงความล่มสลายและปัญหาทางเศรษฐกิจของประชาคมยุโรปตลอดถึงค่าเงินยูโร ที่ต่อมาเกิดวิกฤตกับกลุ่ม PIIGS (ไอร์แลนด์ สเปน อิตาลี โปรตุเกส และกรีก) จนเป็นปัญหาแบบงูกินหางให้กับประชาคมยุโรปและสกุลเงินยูโรในที่สุด อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วท่านอาจลดความเชื่อมั่นในยูโรลงมาครึ่งหนึ่งเพราะพวกอังกฤษไม่เชื่อในแนวทางนี้มาตั้งแต่แรกจึงไม่เข้าร่วม
ฟองสบู่เริ่มเป็นปัญหาเศรษฐกิจชาติในยุโรป โดยเริ่มฉายแววหลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ จนที่สุดกรีกและเพื่อนในกลุ่มที่มีปัญหาต้องทยอยรับเงื่อนไขเข้มงวดจากทรอยก้า (IMF แบงก์ยุโรป และชาติเจ้าหนี้ยุโรปอื่น) เมื่อปี 2011 เชื่อไหมครับว่า ในช่วงเดียวกันนั้นกรีซมีเลือกตั้งใหญ่และเปลี่ยนรัฐบาล พอรัฐบาลใหม่มาดูบัญชีถึงกับเอาอวัยวะอื่นมาก่ายหน้าผากเลยเพราะรัฐบาลก่อนหน้าตกแต่งบัญชี เล่นกลกับตัวเลขเศรษฐกิจเสียเละเทะ ผู้นำใหม่ที่ชื่อปาปันเดรอูต้องก้มหน้าไปยอมรับกับชาวโลกว่ากรีซนี่แต่งบัญชีตบตา เคยเป็นข่าวประจานประเทศนี้มาแล้วในรอบนั้น
รัฐบาลจากการเลือกตั้งสองพรรคใหญ่ของกรีซไม่ได้แตกต่างกัน เพราะชอบก่อหนี้เหมือนกัน ชอบลงทุน ยิ่งเป็นอีเวนท์อย่างโอลิมปิคยิ่งชอบเพราะกู้มาสร้างๆ เสร็จแล้วก็จบกัน ชอบซื้ออาวุธเพราะมันได้เปอร์เซ็นต์ง่ายดีจนกรีซติดอันดับโลกในแง่ของการใช้จ่ายด้านนี้ ตัวเลขการขยายตัวของระบบราชการก็เทอะทะขึ้น ข้าราชการเพิ่มจาก 2.5 แสนคน เป็น 7.6 แสนคนภายใน 20 ปี งบประมาณส่วนใหญ่ต้องเอามาใช้เป็นเงินประจำตอบแทนระบบราชการเหมือนประเทศไทยไม่ผิด รัฐบาลไหนมาก็ออกพันธบัตรกู้เงินมาใช้
วินัยที่หย่อนยานแบบนี้เองที่ก่อปัญหาสะสมเหมือนดินพอกหางหมู การรับเงื่อนไขจากทรอยก้าเมื่อปี 2011 ไม่ได้ช่วยอะไรมาก แค่ยืดลมหายใจเพราะกรีซหมดปัญญาชดใช้หนี้ไปแล้ว แถมเงื่อนไขที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลด ละ เลิก บำนาญ/ปลดคน/เพิ่มภาษี ฯลฯ ทำให้คนกรีกไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบก็พลอยเกลียดเจ้าหนี้ไปด้วย คนเยอรมันในฐานะเจ้าหนี้ใหญ่เพราะรวยที่สุดในยุโรปเลยพลอยซวยเพราะเป็นเป้าหลักของการเกลียดชัง
ตั้งแต่ 2011-2015 ภายใต้ภาวะเข้มงวดทางเศรษฐกิจที่เจ้าหนี้กำหนด ทำให้คนกรีซไม่พอใจ หันไปนิยมแนวทางของฝ่ายซ้ายจัด เปิดให้ทางพรรคเล็กๆ อย่างพรรคไซรีซาได้แทรกขึ้นมาแทนสองพรรคผูกขาดดั้งเดิม แล้วเขาก็ใช้ท่าทีแข็งกร้าวของลูกหนี้ไม่รับเงื่อนไขเข้มงวดจากเจ้าหนี้อีกต่อไป จนถึงจุดที่ทราบกันอยู่ว่ากรีซผิดนัดชำระหนี้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมไปแล้ว ไม่ได้เงินกู้ก็อกต่อไป นำมาสู่การประชามติที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังสนับสนุนแนวทางไม่มี ไม่หนี ไม่จ่ายตามเดิม
ผลกระทบจากเรื่องนี้มีแน่นอน ขึ้นกับว่าจะกระทบเยอะหรือน้อยเท่านั้น โลกยุคใหม่ที่เชื่อมถึงกันแบบนี้อย่างไรเสียทางโน้นจาม ทางนี้ก็อาจติดหวัดได้ ซึ่งก็ต้องจับตาดูกันต่อไป
สิ่งที่ควรนำมาขบคิดกันต่อก็คือปรากฏการณ์ที่เกิดกับกรีซบอกอะไรกับเรา?
กรีซได้บอกกับเราว่า การขาดวินัยทางการเงินการคลังโดยเฉพาะการยอมให้รัฐบาลก่อหนี้เพิ่มขึ้นๆ นั้นมันเสี่ยงมาก ดินพอกหางหมูนั้นมีผลต่อคนรุ่นต่อไปไอ้รัฐมนตรีที่ก่อหนี้ผูกพันมาเรื่อยเมื่อ 20-15-10 ปีก่อนบางคนอาจตายไปแล้ว บางคนได้เปอร์เซ็นต์จากโครงการร่ำรวยไปแล้ว แต่ผลของมันกลับตกอยู่ที่คนอีกรุ่นหนึ่ง การเมืองไทยของเราในระยะสิบกว่าปีมานี้มีนวัตกรรมใช้เงินหลวงเพิ่มขึ้นหลายอย่าง เริ่มจากงบกลางที่ไม่ลงรายละเอียด พร้อมโยกไปมาเหมือนเช็คเปล่า จากนั้นก็เป็นนวัตกรรมงบกลางปี ออก พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเพื่อให้มีเงินใช้มากขึ้น และส่วนใหญ่ที่ใช้ๆ กันก็งบขาดดุลกันทุกปี แปลว่ากู้เพิ่มขึ้น ๆ ทุกปี
ยังดีที่ระบบของเรามันมีกฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องของเพดานเงินกู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารใช้เงินเพลิน เป็นข้อกำหนดด้านวินัยใช้เงิน แต่พวกนักการเมืองก็เก่ง ก็ใช้ช่องอื่นปั๊มเงินมาใช้ได้เช่นใช้เงินกู้ผ่านรัฐวิสาหกิจ และล่าสุดที่นักการเมืองคิดจะกู้โดยไม่ต้องเอาวินัยอะไรมาจับก็คือ การตรากฎหมายกู้โดยตรง ออก พ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.กู้เงินที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายงบประมาณตามปกติ เรื่องนี้เคยเข้าสู่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วไม่ต้องเล่าซ้ำ ที่ยกมาเพื่อจะชี้ว่าการกู้ของบ้านเรานั้นไม่น้อยหน้ากรีซเขา
การที่ชาติจะล่มจมน่ะไม่ได้ขึ้นกับว่าปกครองด้วยระบอบอะไร ลองถ้ารัฐบาลเลว ประชาชนไม่สนใจโลกแล้วไซร้ ล้วนแต่พาชาติบ้านเมืองไปลงนรกได้ทั้งสิ้น การเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยที่สักแต่เลือกตัวแทนมาโดยไม่มีวินัย ไม่มีธรรมาภิบาล ตลอดถึงนโยบายที่มุ่งประโยชน์ต่อชาติจริงๆ ต่อให้เลือกมาจากเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงสวรรค์ แต่เสียงสวรรค์นั้นก็สามารถนำลงนรกได้ในพริบตา
ที่กล่าวมานี้ไม่ได้ให้หันไปเชียร์รัฐบาลทหาร หรือเผด็จการอื่นๆ นะครับอย่าเข้าใจผิด ประชาธิปไตยน่ะเป็นระบอบ/ระบบที่เลวน้อยที่สุดที่ยังไงเราก็ต้องเดินไปทางนั้น อย่างไรก็ตามก็ต้องมีหลักการและเงื่อนไขที่ดีของระบบ/ระบอบพ่วงไปด้วย ทั้งนโยบายที่ดี (ที่ไม่ใช่เอาใจประชาชนจ๋าโดยไม่ยึดวินัยทางการคลัง) ธรรมาภิบาล และการตรวจสอบถ่วงดุลที่ดี รัฐบาลกรีซซ่อนปัญหาไม่บอกประชาชนไว้ยาวนานจนหมดวาระไปแล้วเรื่องค่อยโผล่ขึ้นมา ไม่ต่างอะไรจากการขายข้าวโดยไม่บอกประชาชนว่าข้อมูลที่ปรากฏตามบัญชีล่าสุดน่ะเป็นเช่นไร
ที่จริงแล้วประเทศไทยเราสะสมปัญหาในโครงสร้างงบประมาณมายาวนาน เพราะประเทศเรามีระบบราชการที่ใหญ่โตและรวมศูนย์ เราเคยประกาศว่าจะลดขนาดของระบบราชการลงมา แต่แท้จริงกลับไปขยายออกทางกว้าง โดยตั้งหน่วยงานใหม่ภายใต้พรบ.องค์การมหาชนมากมาย กินเงินเดือนมากกว่าข้าราชการปกติด้วยซ้ำไป ความใหญ่โตเทอะทะของระบบราชการไทยเป็นปัญหาไม่แพ้กรีซ เพราะกินภาระของงบประมาณประจำปีมากขึ้นเรื่อยไปตามความเติบโตของฐานงบประมาณ
รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลทหารที่เป็นส่วนหนึ่ง/ส่วนเดียวกันกับระบบราชการ ไม่มีนโยบายลด มีแต่เพิ่ม ไม่มีนโยบายกระจายอำนาจ เห็นแต่กระชับอำนาจ ไม่ได้ต่างจากรัฐบาลเลือกตั้งก่อนหน้าเช่นยุคทักษิณ ชินวัตร ที่อ้างว่าปฏิรูประบบราชการแต่แท้จริงก็คือกระชับอำนาจรวมศูนย์ขึ้น ในส่วนนี้ของเราก็ละม้ายคล้ายกับกรีซเช่นกัน
การล่มสลายของชาติใดชาติหนึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ นับตั้งแต่มีรัฐชาติยุคใหม่ในปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วว่าเขาล่มสลาย หรือถดถอยจากที่เคยเป็นดาวโรจน์กลับต่ำเตี้ยเรี่ยดินกันอย่างไร
ตัวอย่างเหล่านี้สมควรที่คนไทยน่าจะเรียนรู้อย่างจริงจัง เอาแค่ง่ายๆ กับการที่รัฐบาลก่อหนี้มาทำเรื่องไร้สาระ แถมเลี่ยงการตรวจสอบ ประชาชนที่เป็นกองเชียร์ก็ยังปรบมือหนุนอย่างบ้าคลั่ง หรือเรื่องเอาเงินไปซื้ออาวุธแพงๆ แทนที่จะเอามาทำประโยชน์นี้ก็เช่นกัน.